Seminar and Articles

จากการประชุม สัมมนา หรืออ่านบทความ ก็สามารถเรียกได้ว่าเป็นบทเรียนของชีวิต ดังนั้น slug หรือ url friendly จึงใช้คำว่า lesson ซึ่งสื่อไปว่า “นี่คือเรื่องที่เป็นบทเรียนให้เราได้เรียนรู้และเลือกมาใช้กับชีวิตของเราในภายภาคหน้าต่อไป”

Mr.Hossein Farmani ช่างภาพชื่อดังชาวอเมริกัน

Mr.Hossein Farmani ช่างภาพชื่อดังชาวอเมริกัน

คุณโฮเซน ฟาร์มานี Mr.Hossein Farmani
ช่างภาพชื่อดังชาวอเมริกัน ภัณฑารักษ์ และเจ้าของห้องแสดงภาพ
มาบรรยายที่ 4201 ม.เนชั่น วันที่ 20 ธ.ค.56 14.30-16.00
ตามความร่วมมือกับสถานทูตอเมริกาที่เชียงใหม่
นำโดย Mr.Michael Heath กงสุลใหญ่สหรัฐอเมริกา
และมี ดร.สุจิรา หาผล เป็นผู้สัมภาษณ์และแปลไทย
ในหัวข้อ Connecting the world though Photography
เกี่ยวกับเรื่องการถ่ายภาพ และความสำเร็จที่เขาทำได้ในฐานะช่างภาพ
และจะไปเปิดนิทรรศการภาพถ่าย ที่ห้างเซ็นทรัลพลาซา ลำปาง
ในวันศุกร์ ที่ 20 ธ.ค.56 เวลา 14.00-17.00 น.
http://www.farmani.com/

ก่อนหน้านี้เคยฟัง
Jeffrey Blitz ผู้กำกับภาพยนตร์เรื่อง spellbound ที่ ม.เนชั่น ลำปาง
http://blog.nation.ac.th/?p=2380

ทักษะการสื่อสาร เป็นกุญแจไขไปสู่อาชีพที่ดี

พบข่าวในเว็บไซต์ THE NATION

the nation
the nation

หัวข้อ Communication skills ‘key to a good career’
ทักษะการสื่อสาร เป็นกุญแจไขไปสู่อาชีพที่ดี

Nation University is seriously equipping its students with communication skills – the key for them to advance in their career and to prosper in daily life.
มหาวิทยาลัยเนชั่นเตรียมความพร้อมอย่างจริงจังที่จะบ่มเพาะให้นักศึกษามี
ทักษะการสื่อสาร ซึ่งเป็นกุญแจที่จะทำให้พวกเข้าก้าวหน้าในอาชีพ และ
ประสบความสำเร็จในการใช้ชีวิต

“Communications are related to all fields of works and parts of daily lives. So, we have placed an emphasis on communications. This applies to students at all faculties, not just the Faculty of Communication Arts,” Nation Multimedia Group (NMG) chairman Suthichai Yoon said during the university’s Open House event.
สุทธิชัย หยุ่น กล่าวว่า “การสื่อสารเข้าไปเชื่อมโยงกับทุกงาน และเชื่อมกับชีวิตประจำวัน
ดังนั้นเราเน้นการสื่อสารที่นำไปใช้กับนักศึกษาทุกคนและบุคลากรทั้งหมด ไม่ใช่เฉพาะสายนิเทศศาสตร์”

Held at the university’s Bang Na Centre on Sunday, the event attracted a number of students and parents. The university is operating under the NMG.

“People with good communication skills usually enjoy career advancement and demonstrate leadership,” Suthichai said.
สุทธิชัย หยุ่น กล่าวว่า “คนที่มีทักษะการสื่อสารที่ดี โดยปกติจะมีความสุข ก้าวหน้า
และแสดงถึงความเป็นผู้นำ”

NMG editor-in-chief Thepchai Yong said students at Nation University would also know how to work and to communicate effectively in English. At Nation University, students will get apprenticeships from their first year up.
เทพชัย หย่อง กล่าวว่า นักศึกษาที่นี่รู้ว่าจะต้องทำงานอย่างไร และมีการสื่อสารด้วยภาษาอังกฤษอย่างมีประสิทธิภาพ
นักศึกษาจะได้รับการฝึกงานตั้งแต่ชั้นปีที่หนึ่งเป็นต้นไป

For more information on the programme,
please visit http://www.nation.ac.th or call 0-2338-3777.

http://www.nationmultimedia.com/national/Communication-skills-key-to-a-good-career-30206600.html

ข้อมูลตามมาตรฐานข้อมูลอุดมศึกษา

ข้อมูลตามมาตรฐานข้อมูลอุดมศึกษา
ข้อมูลตามมาตรฐานข้อมูลอุดมศึกษา

ประเทศไทยได้จัดทำข้อมูลให้เป็นมาตรฐานมาหลายปีแล้ว แบ่งเป็น 3 ส่วนคือ ข้อมูลด้านนักศึกษา ข้อมูลด้านบุคลากร และข้อมูลด้านหลักสูตร ซึ่งสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษาทุกแห่งต้องส่ง .. ในเวลาต่อมาก็เพิ่มข้อมูลการมีงานทำของบัณฑิต และการเงินอุดมศึกษาของสถาบันอุดมศึกษา  และปีนี้จะนำไปใช้ร่วมกับข้อมูลกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.)

 

 

 

สกอ. จึงจัดประชุมชี้แจง
เรื่อง “การจัดทำข้อมูลตามมาตรฐานข้อมูลอุดมศึกษา ปีการศึกษา ๒๕๕๖
วันพฤหัสบดีที่ 30 พฤษภาคม 2556 เวลา 9.30 – 15.00น. ณ ห้องคอนแวนชั่น A-B ชั้น 1
โรงแรมแอมบาสเดอร์ กรุงเทพฯ

สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา
สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา

เมื่อสกอ. ได้ข้อมูล ก็จะนำไปเผยแพร่สู่สาธารณะ
โดยข้อมูลต้องมีการแปลงให้อยู่ในรูปแบบที่เขากำหนดก่อน
ที่เผยแพร่คือ http://www.info.mua.go.th/information/

ตารางมาตรฐานต่าง ๆ ที่
http://interapp.mua.go.th/NewreferenceTable/

ฟอร์มการเขียนรายงานการวิจัย

ฟอร์มการเขียนรายงานการวิจัย

Research Lifecycle
Research Lifecycle

http://www.jisc.ac.uk/whatwedo/campaigns/res3/jischelp.aspx
คู่มือการรายงานความก้าวหน้าและผลงานของโครงการวิจัย ประกอบด้วยตัวอย่างการเขียนรายงานความก้าวหน้า ข้อมูลที่ควรนำไปใช้ในการจัดทำรายงานการวิจัย การสรุปผลการดำเนินกิจกรรมและการสรุปบทเรียนต่าง ๆ จากกิจกรรม และการเขียนรายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์

โดย โกมล สนั่นก้อง มิถุนายน 2543

 

สร้างทางตัน หรือทางออก (itinlife395)

end road
end road

ในด้านเทคโนโลยีสารสนเทศมีเรื่องของทางเลือก (Decision) ที่คนเขียนโปรแกรมทุกคนต้องใช้คำสั่ง if สำหรับการเขียนโปรแกรมยุคใหม่ก็อาจเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝันที่ไม่ใช่เงื่อนไขปกติ จะมีบริการตรวจสอบความผิดพลาดที่เป็นข้อยกเว้น (Exception) แล้วดำเนินการแบบพิเศษกับเหตุการณ์เหล่านั้น ซึ่งการเขียนโปรแกรมก็จะต้องเขียนตามนโยบาย หรือความต้องการของผู้ใช้ อาทิ เขียนโปรแกรมตัดเกรด คุณครูก็ต้องกำหนดว่าจะตัดเกรดแบบอิงเกณฑ์ หรืออิงกลุ่ม ถ้าอิงเกณฑ์จะให้ A มีคะแนนเท่าใด หรืออิงกลุ่มจะใช้ค่าเบียงเบนมาตรฐานเท่าใด

http://www.oknation.net/blog/zumon/2011/07/05/entry-1

ในทางคอมพิวเตอร์มีทางออก และมีแนวทางแก้ไขเสมอ มีเหตุและมีผลทุกครั้ง ไม่มีหลักไสยศาสตร์เข้ามาเกี่ยวข้อง ในอดีตตัวแปรภาษายังไม่ดีนัก เวลากำหนดให้โปรแกรมทำซ้ำตลอดกาลก็จะทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ค้างไม่ตอบสนองใด แล้วผู้ใช้ก็ต้องปิดเครื่องแล้วเปิดใหม่ เมื่อรู้ก็เข้าไปแก้ไขได้ไม่ปล่อยให้ปัญหาเกิดซ้ำแล้วซ้ำอีก ต่างกับปัญหาในชีวิตจริงที่ไม่สมเหตุสมผล อาทิ ในบางกิจกรรมบอกว่าเรามีเมตตาไปทำบุญปล่อยนกปล่อยปลา จากนั้นไปทานอาหารร่วมกันบนโต๊ะอาหารก็มีปลาเผาไก่ย่างส้มตำ ซึ่งปลาก็ได้มาจากแม่น้ำหน้าวัดนั่นเอง หรือดื่มสุราทำให้เสียสุขภาพ แต่ก็เหมือนดื่มเพื่อสุขภาพ เพราะดื่มกันบ่อยแล้วแบ่งปันผ่านเฟสบุ๊คมาให้ดูอย่างมีความสุข

ปัจจุบันเราพูดว่าปฏิเสธรถไฟความเร็วสูง ปฏิเสธเสื้อผ้ายี่ห้อ ปฏิเสธฟุตบอลนอก ปฏิเสธอาหารต่างชาติ ปฏิเสธยักค้าปลีก เพราะชาตินิยมสูง แต่พบว่าสถิติอุปโภคบริโภคไม่เป็นเช่นนั้น หากนึกไปถึงการปฏิเสธผู้นำ ถ้าคนกลุ่มเล็กกลุ่มหนึ่งเชื่อว่าผู้นำไม่ดี ไม่ชอบผลการเลือกตั้ง แล้วขอให้เลือกตั้งใหม่หลังรู้ผลเลือกตั้ง สังคมนั้นก็คงมีชีวิตอยู่ในทางตัน เพราะในชีวิตจริงไม่มีสังคมขนาดใหญ่สังคมใดยอมรับผู้นำที่ถูกเลือกตั้งร้อยละร้อย คงเพราะสามัญสำนึกของผู้คนรู้ว่าสังคมต้องมีผู้นำ แม้ไม่ถูกใจบ้างแต่เรือจะขาดกัปตันไม่ได้ ก็ต้องปล่อยให้บริหารไปวาระหนึ่ง แล้วค่อยมาพิจารณากันใหม่ ในทางคอมพิวเตอร์ก็เช่นกันเทคโนโลยีใดก็ต้องเข้าสู่กระบวนการทดลองใช้ แล้วประเมินผล  หากผลประเมินไม่น่าพอใจก็ต้องเปลี่ยนใหม่ ถ้าดีก็บอกต่อ แต่อย่างน้อยก็ได้ประโยชน์จากเทคโนโลยีนั้นไประยะหนึ่ง เมื่อมีของใหม่มาให้เลือกก็ค่อยพิจารณาทางเลือกนั้นอีกครั้ง

 

 

องค์ประกอบดี ผลลัพธ์ย่อมดี แปรผันตามกัน

ทัศนะวิจารณ์  ..  “องค์ประกอบชำรุด ผลลัพธ์ย่อมผิดรูปไป

 

องค์ประกอบ และผลลัพธ์
องค์ประกอบ และผลลัพธ์

สิ่งมีชีวิตทั้งมวลล้วนเป็นไปตามกฎวัฏสงสาร มีเกิดมีดับเปลี่ยนไปตามภพภูมิ มีเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป แล้วก็กลับมาเกิดใหม่ แล้วทุกสถานะก็จะมีองค์ประกอบและค่าประจำองค์ของตน การเลื่อนไหลจากสถานะหนึ่งไปอีกสถานะหนึ่งล้วนมีที่มาที่ไป ซึ่งค่าขององค์ประกอบทั้งหมดจะถูกรวมและประเมินว่าจะไหลไปอยู่ที่ใดเป็นเวลาเท่าใด  เช่นเดียวกันกับคุณภาพการศึกษาที่ต้องมีองค์ประกอบเป็นปัจจัยว่าสถาบันจะรุ่ง หรือจะร่วง

ทุกอย่างเกิดขึ้นจากการรวมกันขององค์ประกอบ เช่น ข้าวมันไก่จะประกอบด้วย ข้าว ไก่ น้ำจิ้ม น้ำซุป แต่จะมีลูกค้ามากน้อยเพียงใดย่อมมีอีกหลายองค์ประกอบที่เกี่ยวข้อง สำหรับข้าวมันไก่ที่มีคุณภาพก็จะมีรสชาติและปริมาณใกล้เคียงกันทุกจาน หากกุ๊กทำมานับสิบปีที่เรียกว่ามืออาชีพก็มักมีมาตรฐาน คือ ปริมาณและรสชาติใกล้เคียงกันทุกจาน ส่วนร้านใดเปลี่ยนกุ๊กบ่อยก็คาดได้ว่าไม่มีมาตรฐาน คือ รสชาติเปลี่ยนตามแม่ครัว ลูกค้าก็มักทยอยหนีหายไปร้านอื่น

การศึกษายุคโบราณที่มีวัดเป็นโรงเรียนจะมีองค์ประกอบที่ต่างกับปัจจุบัน คือ มีพระสงฆ์ มีกระดานชนวน มีปั๊บสา มีศาลาวัดเป็นห้องเรียน ซึ่งยังไม่มีใครพูดถึงคุณภาพหรือมาตรฐาน แต่ปัจจุบันโรงเรียนประกอบด้วย อาคารเรียน ครู ห้องเรียน สื่อการเรียนรู้ หลักสูตร คุณภาพและมาตรฐาน เป็นต้น แล้วองค์ประกอบที่ทำให้โรงเรียนแตกต่างกันก็มีอยู่มากมาย เพื่อแยกความแตกต่างจึงมีการจัดลำดับโรงเรียน ก็มีทั้งจัดอันดับในจังหวัด ในประเทศ และในโลก เมื่อมีโรงเรียนที่เป็นเลิศก็ย่อมมีโรงเรียนที่อยู่ท้ายสุด ผู้จัดอันดับแต่ละรายก็จะสนใจองค์ประกอบที่เป็นที่มาของคะแนนแตกต่างกัน อาจพิจารณาจากจำนวนนักเรียนที่สอบเข้าในสถาบันการศึกษาของรัฐ จำนวนนักเรียนที่เป็นตัวแทนระดับชาติ หรือคะแนนเฉลี่ยจากการสอบวัดผลด้วยข้อสอบส่วนกลาง

ในระดับอุดมศึกษามีสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) กำหนดว่าสถาบันที่มีคุณภาพต้องประเมินองค์ประกอบคุณภาพทั้งหมด 9 องค์ประกอบ นอกจากนั้นก็ยังมีสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา(องค์การมหาชน) (สมศ.) กำหนดว่ามาตรฐานคุณภาพต้องมี 18 มาตรฐาน หากลงไปในรายละเอียดก็จะพบว่ามีตัวบ่งชี้ และเกณฑ์คุณภาพอีกร้อยกว่าตัวที่ทุกหลักสูตรต้องปฏิบัติ ไม่มีหลักฐานมาแสดงก็จะไม่ได้คะแนนในส่วนนั้น ถ้าไม่ดำเนินการตามเกณฑ์ในระดับหนึ่งก็จะถูกประเมินว่าไม่มีคุณภาพ อาจมีผลพิจารณาจากต้นสังกัดว่าไม่ได้รับอนุญาตให้เปิดรับนักเรียนในปีต่อไป หากดื้อดึงยังรับนักศึกษาต่อไปก็จะไม่ส่งเรื่องให้สำนักงาน ก.พ. เป็นผลให้หลักสูตรที่มีบัณฑิตจบออกมานั้นไม่สามารถรับราชการได้

องค์ประกอบของสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษาที่มีคุณภาพต้องมี 9 องค์ประกอบ คือ แผนการดำเนินการ การผลิตบัณฑิต การพัฒนานักศึกษา การวิจัย การบริการวิชาการ การทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม การบริหาร การเงิน และการประกันคุณภาพ จากการกำกับให้มีการประกันคุณภาพการศึกษาอย่างต่อเนื่องมากว่า 10 ปีของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ได้นำผลการประเมินคุณภาพการศึกษาของทุกสถาบันเผยแพร่สู่สาธารณะผ่านระบบ CHEQA เมื่อเข้าไปสืบค้นข้อมูลผลประเมินสถาบันการศึกษาในไทย พบว่า มีสถาบันการศึกษากลุ่มหนึ่งที่มีผลประเมินต่ำกว่าระดับดี โดยองค์ประกอบที่มีคะแนนต่ำคือ การผลิตบัณฑิต และการวิจัย

เมื่อเข้าไปดูผลการดำเนินงานของสถาบันที่มีผลประเมินในระดับต่ำในระบบ CHEQA ที่ สกอ. เผยแพร่ พบว่า ตัวบ่งชี้ของการผลิตบัณฑิตที่ได้คะแนนต่ำ คือ จำนวนอาจารย์ที่มีวุฒิปริญญาเอก และจำนวนอาจารย์ที่มีตำแหน่งทางวิชาการมีน้อย ซึ่งสะท้อนได้ว่าจำนวนอาจารย์ที่พร้อมสอนในระดับนี้ยังขาดแคลน ส่วนตัวบ่งชี้ของการวิจัยที่ได้คะแนนต่ำ คือ วงเงินสนับสนุนงานวิจัย ถ้าหลักสูตรด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมีอาจารย์ 5 ท่านจะต้องได้ทุนวิจัย 300,000 บาทต่อปี จึงจะได้คะแนนในระดับดีมาก

องค์ประกอบทั้งสองส่งผลถึงการผลิตบัณฑิตว่า ถ้าอาจารย์มีความพร้อมที่จะสอน ย่อมผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพเป็นที่ยอมรับของสังคม ถ้าอาจารย์ทำวิจัยที่มีคุณภาพก็ย่อมจะได้องค์ความรู้ใหม่ และนำไปถ่ายทอดให้นักศึกษามีความรู้ใหม่ แล้วจบเป็นบัณฑิตที่มีคุณภาพ เป็นที่ต้องการของสังคม แต่จากการติดตามข่าวเด่นประเด็นร้อนในเว็บไซต์ของกระทรวงศึกษาธิการ พบว่า สถาบันการศึกษาบางแห่งไม่ใส่ใจเรื่องคุณภาพการศึกษาจนเป็นเหตุให้ต้องถอนใบอนุญาตจัดตั้งมหาวิทยาลัย หรือบางแห่งต่างเรื่องคุณภาพอาจารย์จน สกอ. มีคำสั่งให้หยุดรับนักศึกษาใหม่ในหลักสูตรที่มีจำนวนอาจารย์วุฒิปริญญาเอกน้อย และตำแหน่งทางวิชาการน้อย

เกณฑ์คุณภาพการศึกษาเป็นเรื่องที่มองได้หลายมุม คนที่กำหนดเกณฑ์เป็นคนกลุ่มหนึ่ง คนที่รักษากฎเป็นอีกกลุ่ม คนที่พิพากษาเป็นอีกกลุ่ม แต่กลุ่มใหญ่ที่สุดคือคนที่ต้องปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ทุกข้อให้ครบถ้วน ปัจจุบันพบว่ามีนักวิชาการไทยก็ยังเห็นต่างเรื่องคุณภาพการศึกษา อาทิ เน้นการกระจายโอกาสทางการศึกษาจนทำให้คุณภาพเสียไป เน้นเรียนกับมืออาชีพโดยใช้คนที่ทำงานในภาคธุรกิจมาเป็นอาจารย์พิเศษเป็นสัดส่วนที่มากเกินไปก็จะไม่เป็นตามเกณฑ์คุณภาพ
ประเทศไทยยังเป็นประเทศกำลังพัฒนา และอยู่ระหว่างพัฒนา ทั้งองค์ประกอบคุณภาพ มาตรฐานคุณภาพ และเกณฑ์คุณภาพมีการปรับเปลี่ยนตลอดเวลาในช่วงเวลา 10 ปีนี้ และจะยังปรับเปลี่ยนต่อไป การให้ความสำคัญกับองค์ประกอบใดอย่างไรย่อมทำให้ผลลัพธ์แปรผันตามกันไป ในอนาคตการศึกษาไทยอาจให้ความสำคัญกับองค์ประกอบด้านศิลปวัฒนธรรมเป็นอันดับหนึ่ง ถ้าวันนั้นมาถึงก็เชื่อได้ว่าบัณฑิตใหม่จะสวดมนต์ และฟ้อนรำเป็นทุกคน

แหล่งข้อมูล
http://www.cheqa.mua.go.th
http://www.mua.go.th
http://www.onesqa.or.th
http://www.moe.go.th

เฟสบุ๊คไม่ใช่ที่ส่วนตัวอีกต่อไป (itinlife393)

กรณีผู้จัดการโรงภาพยนตร์กับลูกค้า
กรณีผู้จัดการโรงภาพยนตร์กับลูกค้า

http://www.manager.co.th/lite/ViewNews.aspx?NewsID=9560000046526

ผู้ใช้เฟสบุ๊คหลายคนคงเชื่อฝังหัวว่า เฟสบุ๊คคือพื้นที่ส่วนตัว จะบ่น จะด่าอะไรก็ได้ เป็นที่ระบายอารมณ์ให้เพื่อนฟังอย่างเสรี ไร้ปัญหาแน่นอน จะถ่มน้ำลายขึ้นฟ้า โทษฟ้า โทษดินก็ทำได้ เพราะไม่ใช้ชื่อจริง ไม่ใช้ภาพจริง แล้วหลายคนก็ประกาศไว้ว่าถ้าไม่อยากติดต่อ ไม่พอใจในการเป็นเพื่อนก็ให้กดปุ่ม unfriend ยกเลิกความสัมพันธ์ได้ทันที ซึ่งความจริงไม่เป็นเช่นนั้นไปทั้งหมด มีกรณีปัญหาจากการโพสต์ไม่คิดเกิดขึ้นมาแล้ว อาทิ ด่าเจ้านายก็ถูกไล่ออก ครูชายชมนักเรียนหญิงก็ถูกไล่ออก พนักงานด่าลูกค้าก็ถูกไล่ออก แม้ใช้ชื่อปลอม หรือภาพประจำตัวปลอมก็ไม่อาจปฏิเสธความรับผิดชอบได้ ซึ่งสามกรณีข้างต้นเกิดขึ้น และถูกแบ่งปันกันอย่างแพร่หลาย

ในต่างประเทศเมื่อเกิดข้อพิพาทก็จะผ่านกระบวนการหลายขั้นตอน แต่ที่ประเทศไทยเกิดข้อพิพาทระหว่างผู้จัดการโรงภาพยนตร์กับลูกค้าย่านพระราม 3 เมื่อกลางเดือนเมษายน 2556 เป็นเหตุให้ผู้จัดการพิจารณาตนเองแล้วลาออกไป จากนั้นอีก 2 วันพนักงาน 2 คนก็ถูกให้ออก แบบประกาศผ่านเครือข่ายสังคม เพราะมีเหตุมาจากเครือข่ายสังคมที่พนักงานไปแสดงความเห็นว่าเบื่องาน และพูดถึงลูกค้าด้วยวาจาไม่เหมาะสม ซึ่งเชื่อว่าผู้ถูกพิจารณาให้ออกงานจะไม่ยื่นอุทธรณ์ แล้วโรงภาพยนตร์ก็ประกาศเป็นการแสดงความรับผิดชอบ และแก้ไข เพื่อสร้างความมั่นใจแก่ลูกค้าในการให้บริการที่มีคุณภาพต่อไป

เคยมีคนกล่าวว่า การเขียนในเครือข่ายสังคม โดยเฉพาะเฟสบุ๊คเสมือนเขียนด้วยปากกา ไม่ใช่ดินสอ เพราะเกิดเรื่องมาแล้วลบด้วยยางลบไม่ได้ แล้วมากกว่าครึ่งหนึ่งของคนไทยก็จะเขียนด้วยสำนวนที่เป็นกันเองมากเกินไป เหมือนเขียนไว้อ่านคนเดียว ไม่คำนึงว่าเพื่อนนับร้อยนับพันที่เคยรับไว้เป็นเพื่อน นั้นมีเพื่อนของเพื่อน ญาติ ครู อาจารย์ ลูกค้า เจ้านาย หรือผู้สูงอายุอยู่ในกลุ่มได้รับข้อความเหล่านั้น เมื่อเคยชินกับการใช้ถ้อยคำที่ไม่ได้กลั่นกรอง ก็อาจมีบางครั้งเขียนข้อความที่ผู้อ่านบางคนยอมรับไม่ได้ แล้วถ้าผู้อ่านคือหัวหน้า เจ้านาย หรือลูกค้าก็อาจนำไปเขียนซ้ำ (repost) แบ่งปัน (share) หรือเก็บจอภาพ (capture) ไปเผยแพร่ต่อ ย่อมเป็นความเสียหายที่ไม่อาจปฏิเสธความรับผิดชอบได้ ก็หวังว่าเพื่อนชาวไทยจะใช้ความระมัดระวังในการเขียนเรื่องราวลงไปในเครือข่ายสังคมเพิ่มขึ้น

 

 

แนวคิด ทฤษฎี และการออกแบบองค์การ (Organization)

องค์การ ถือเป็นสิ่งที่มีความเกี่ยวข้องและมีความสำคัญต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ทุกคน ไม่ว่าจะในสถานะของสมาชิกในองค์การหนึ่ง ๆ หรือในสถานะผู้ซื้อสินค้าหรือรับบริการจากองค์การใดๆ ในสังคม

five S model
five S model
สวรัย นัยนานนท์
สวรัย นัยนานนท์

การศึกษาถึงแนวคิด ทฤษฎี และการออกแบบองค์การ จึงเป็นสิ่งสำคัญสำหรับบุคคลทุกคน โดยเฉพาะอย่างยิ่งบุคคลในระดับบริหาร ซึ่งหากมีความรู้ ความเข้าใจถึงแนวคิดและทฤษฎีองค์การ เชื่อว่าจะสามารถบริหารและจัดการให้องค์การ มีผลการดำเนินงานตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดได้อย่างมีประสิทธิภาพ

แนวคิดและทฤษฎีองค์การ มีผู้ศึกษาและให้นิยามขององค์การไว้อย่างหลากหลาย อาทิเช่น “องค์การ คือ การรวมตัวของคนตั้งแต่สองคนขึ้นไป เพื่อดำเนินกิจกรรมใดๆ ให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้” (ดร.ทิพวรรณ หล่อสุวรรณรัตน์) หรือ “สิ่งที่มีอยู่ในสังคม มีการจัดตั้งขึ้นมาอย่างมีเป้าหมาย มีการออกแบบระบบโครงสร้างและระบบกิจกรรมที่มีการประสานงานกัน และมีการเชื่อมโยงสัมพันธ์กับสภาพแวดล้อมภายนอก” (Richard L. Daft) เป็นต้น

ในส่วนของทฤษฎีองค์การ “เป็นหลักการศึกษาถึงโครงสร้าง และการออกแบบองค์การ โดยอธิบายว่าองค์การถูกจัดตั้งขึ้นมาได้อย่างไร และให้ข้อเสนอแนะการสร้างองค์การในลักษณะใด ที่จะก่อให้เกิดประสิทธิผลแก่องค์การเอง” (นิตยา เงินประเสริฐศรี) และเพื่อประโยชน์ต่อการศึกษาทฤษฎีองค์การ จึงจัดแบ่งทฤษฎีองค์การออกเป็น 3 สำนัก คือ

1. สำนักทฤษฎีองค์การสมัยดั้งเดิม จะมุ่งเน้นโครงสร้างองค์การที่เป็นทางการ และการบรรลุวัตถุประสงค์เฉพาะที่กำหนดไว้เป็นหลัก

2. สำนักทฤษฎีองค์การเน้นมนุษยสัมพันธ์ จะมีลักษณะตรงข้ามกับสำนักทฤษฎีองค์การสมัยดั้งเดิม กล่าวคือ มีโครงสร้างองค์การอย่างไม่เป็นทางการ และให้ความสำคัญกับความรู้สึกของคนมากขึ้น

3. สำนักระบบและสถานการณ์ จะให้ความสำคัญกับการพิจารณาถึงลักษณะของระบบต่างๆ ภายในองค์การที่มีความสัมพันธ์กัน และสอดคล้องกับสภาพแวดล้อมขององค์การนั้นๆ

จากทฤษฎีองค์การของแต่ละสำนักตามข้างต้น จะพบว่า ในการศึกษาทฤษฎีองค์การให้เกิดความเข้าใจขึ้นได้นั้น จำเป็นจะต้องทำความเข้าใจหรือศึกษาพฤติกรรมองค์การประกอบด้วย เพราะการบรรลุผลสำเร็จขององค์การได้หรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับคนหรือสมาชิกภายในองค์การนั้นๆ เป็นสำคัญ

การออกแบบองค์การ โดยทั่วไปองค์การจะประกอบด้วยองค์ประกอบ 5 ส่วน คือ ฝ่ายบริหารระดับสูง ฝ่ายบริหารระดับกลาง กลุ่มผู้ปฏิบัติการ ฝ่ายสนับสนุนทางการบริหาร และฝ่ายสนับสนุนทางเทคนิค ซึ่งระดับของบทบาทหน้าที่และความสำคัญขององค์ประกอบใดๆ ข้างต้น จะขึ้นอยู่กับรูปแบบขององค์การ ที่มี 5 รูปแบบ (มินซ์เบอร์ก) คือ องค์การแบบโครงสร้างอย่างง่าย องค์การแบบเครื่องจักรกล องค์การทางวิชาชีพ องค์การแบบโครงสร้างแยกหน่วยงาน และองค์การแบบเฉพาะกิจ

ทั้งนี้ มีแนวคิดเกี่ยวกับวิธีการออกแบบองค์การ โดยใช้ยุทธศาสตร์ 3Rs (ฐิติกร พูลภัทรชีวิน) คือ การปรับความคิดความเข้าใจ (Rethinking) การปรับกระบวนการทำงาน (Reengineering) และ การปรับโครงสร้าง (Restructuring) ซึ่งเป็นการพัฒนาองค์การเพื่อเพิ่มประสิทธิผลในการปฏิบัติงาน

นอกจากนี้ ในปัจจุบันผู้ออกแบบองค์การควรตระหนักถึงลักษณะขององค์การสมัยใหม่ หรือ 5’s Model (รศ.ดร.เสน่ห์ จุ้ยโต) คือ องค์การจิ๋วแต่แจ๋วคุณภาพ (Small) องค์การฉลาดทรงภูมิปัญญา (Smart) องค์การยิ้มแย้มเปี่ยมน้ำใจ (Smile) องค์การร่วมมือไร้ความขัดแย้ง (Smooth) และ องค์การทำเรื่องยากให้ง่ายและเร็ว (Simplify) ซึ่งจะต้องอาศัยความรู้ความสามารถของผู้บริหาร (Competency) การมีวินัยและความรับผิดชอบต่อตนเอง ของพนักงาน (Self-Control) การมีกระบวนการที่ดีมีประสิทธิภาพ มีความน่าเชื่อถือ การมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ซึ่งลักษณะขององค์การตาม 5’s Model นี้ จะสามารถเพิ่มขีดความสามารถให้แก่องค์การ สู่ความเป็นเลิศได้

โดย สวรัย นัยนานนท์  ในกรุงเทพธุรกิจ

! http://blog.nation.ac.th/?p=2576

การศึกษาไทยถ้าไม่เปลี่ยนอาจบ๊วย .. แน่นอน

ตอนนี้หากถามว่าภูมิใจกับอันดับด้านการศึกษาของประเทศไทยในเวทีโลกหรือไม่
ก็คงไม่มีใครไปตอบว่า “ดีกว่านี้ไม่มีอีกแล้ว” ! http://bit.ly/17oaJI9

วัฒนธรรมการศึกษา (education culture)
วัฒนธรรมการศึกษา (education culture)

เพราะระบบการศึกษาของไทยอยู่อันดับที่ 37 จากทั้งหมด 40 ประเทศในปี 2555 จากผลการจัดอันดับโดยบริษัทด้านการศึกษา คือ เพียร์สัน (Pearson) และ อีไอยู (EIU = The Economist Intelligence Unit) ในทางกลับกันพบว่ากรุงเทพฯ ซึ่งเป็นเมืองหลวงของประเทศไทยมีสถิติการเข้าถึงเครือข่ายสังคมอย่างเฟซบุ๊คเป็นอันดับหนึ่งในโลก เท่ากับ 12.7 ล้านคนจากทั้งหมด 7.8 ล้านคน มีบัญชีผู้ใช้เข้าถึงเกือบ 2 เท่าของจำนวนประชากร ก่อนถามคนไทยว่าภูมิใจหรือไม่กับการเป็นอันดับหนึ่ง ก็ต้องกลับไปทบทวนวรรณกรรมว่าสถิติแต่ละค่าเป็นตัวบ่งชี้ต่อการแผนพัฒนาประเทศในด้านใด แล้วการเข้าเฟซบุ๊คมากผิดปกติเช่นนี้จะทำให้การศึกษาของไทยพัฒนาไปกว่าเดิมหรือไม่ ถ้ามีผลเป็นปฏิกิริยาต่อกันจะเป็นแนวแปรผันหรือแนวผกผัน

เมื่อเข้าอยู่ในสนามประลองย่อมต้องเหลียวซ้ายแลขวา และย้อนดูตนเองไปพร้อมกับการชำเรืองดูคู่แข่งขัน เพราะระบบการศึกษาของเราอยู่ในอันดับเกือบบ๊วย แล้ว 5 อันดับแรกคือใคร พบว่าเบอร์หนึ่งคือ ฟินแลนด์ ตามด้วย เกาหลีใต้ ฮ่องกง ญี่ปุ่น และสิงคโปร์ หลังผลการจัดอันดับออกมาแล้วพบว่ากระทรวงศึกษาธิการขยับในหลายเรื่อง อาทิเช่น ส่งหนังสือเวียนไปยังโรงเรียนให้ยกเลิกการบังคับนักเรียนชายตัดผมเกรียน นักเรียนหญิงตัดผมบ๊อบ รวมถึงสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานสั่งลดการบ้าน และหวังลดภาระนักเรียน เพื่อจะเน้นบูรณาการ ทั้งเนื้อหา เวลาเรียน การวัดผลประเมินผล และบูรณาการกลุ่มสาระการเรียนรู้ไม่ให้ซ้ำซ้อน ซึ่งเป็นการปฏิรูปการศึกษาที่ทำให้เกิดข้อถกเถียงในช่วงเวลาที่ผ่านมาว่าถูกที่ ถูกทางแล้วใช่ไหม

รายงานของเพียร์สันในส่วนสรุปผู้บริหาร (Executive Summary) ได้เขียนคำแนะนำสำหรับผู้จัดทำนโยบายด้านการศึกษาทั้งหมด 5 ข้อ ซึ่งขอสรุปเป็นวลีสำคัญดังนี้ ต้องลงทุนอย่างต่อเนื่อง สอนเด็กให้เลิศต้องสอนโดยครูที่เป็นเลิศ มีวัฒนธรรมที่ดีที่สนับสนุนการศึกษา พ่อแม่ต้องส่งเสริม สอนเรื่องที่นำไปใช้ในอนาคตได้ ซึ่ง 5 วลีนี้เป็นข้อเสนอในภาพรวมของการปฏิรูปการศึกษา หลังจากอ่านแล้วอ่านอีกหลายรอบ ก็รู้สึกอื้ออึงในสมองซีกซ้ายเป็นคำถามว่ามีเรื่องใดแก้ไขได้เร็วที่สุดบ้าง เพราะทุกเรื่องล้วนเป็นปัญหาที่พบเห็นเป็นประจักษ์ แต่ก็ฉุกคิดขึ้นมาได้ว่าถ้าประเทศของเราไม่มีปัญหาดัง 5 ข้อนี้ เราก็คงไม่ได้ตำแหน่งเกือบบ๊วยเป็นแน่

สำหรับข้อที่ 3 ในคำแนะนำของเพียร์สันเป็นเรื่องกลาง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับคนทุกอาชีพ และทุกวัยอย่างแท้จริง เกี่ยวตรงคำว่าวัฒนธรรม ก็ต้องทำความเข้าใจกันก่อนว่า วัฒนธรรม หมายถึง วิถีการดำเนินชีวิต รูปแบบของกิจกรรม ความสัมพันธ์ทางสังคม มุมมองต่อโลก และแนวการปฏิบัติของมนุษย์ ซึ่งวัฒนธรรม ความเชื่อ และค่านิยมที่กระทบต่อคุณภาพการศึกษามีมากมาย อาทิเช่น อยากเรียนต้องได้เรียน สอบได้เป็นเรื่องตลกสอบตกเดี๋ยวก็สอบซ่อม จ่ายครบจบแน่ เชื่อในสิ่งที่เห็น เห็นแต่สิ่งที่อยากเชื่อ ชิงสุกก่อนห่าม ลูกไม้หล่นไม่ไกลต้น ตั้งใจเรียนโตขึ้นจะได้เป็นเจ้าคนนายคน รีบเรียนให้จบนะลูกจะได้มาช่วยพ่อแม่ไถนา เรียนไปก็ตกงานจะตั้งใจเรียนไปทำไม เงินซื้อได้ทุกอย่างแม้แต่ปริญญา สาธุขอให้เจ้าพ่อเจ้าแม่ช่วยลูกช้างให้สอบผ่านทีเถอะ หมอดูในทีวีทักมาว่าราศีไม่ดีสอบปลายภาคตกแน่ ปล่อยให้หนูจบเถอะไม่งั้นอาจารย์เจอดีแน่

การเปลี่ยนวัฒนธรรมด้านการศึกษาของคนไทยไม่ใช่เรื่องง่าย ดังคำว่า กรุงโรมไม่อาจสร้างเสร็จในวันเดียวฉันใด ก็ไม่อาจพัฒนาการศึกษาให้สำเร็จได้ในปีเดียวฉันนั้น เพราะการเปลี่ยนวัฒนธรรมการศึกษาต้องเริ่มต้นจากการมีต้นแบบวัฒนธรรมที่ดีที่เป็นแบบอย่างได้ ถ้ายังไม่รู้ยังไม่มีวัฒนธรรมการศึกษาที่ดีมีคุณภาพ และเป็นที่ยอมรับทั้งสังคม ประเทศก็คงค่อยเดินค่อยคลานไปในความมืดโดยมีเป้าประสงค์ที่เลือนรางรออยู่ เพราะในสังคมไทยมีผู้คนที่เดินสวนทางกับวัฒนธรรมการศึกษาคุณภาพอยู่มากมาย โดยเฉพาะภาคเอกชนที่จะได้รับผลกระทบทันที ถ้าคนในสังคมเริ่มคิดเป็น ทำเป็น แล้วรู้จักเลือกอุปโภคบริโภคที่ไม่ได้ไปอิงกับค่านิยม ความเชื่อ ตามอิทธิพลของสื่อ ตามคนหมู่มาก หรือแฟชั่นที่ฟุ้งเฟ้อ

! http://blog.nation.ac.th/?p=2563

news paper
news paper

http://www.facebook.com/photo.php?fbid=477721182295748&set=a.160162067384996.39239.100001736120394

แหล่งข้อมูล
http://thelearningcurve.pearson.com/
http://www.thairath.co.th/content/edu/325982
! http://www.khaosod.co.th/view_newsonline.php?newsid=TVRNMU56ZzJPRFl5T0E9PQ==
http://www.voathai.com/content/best-education-systems-ss/1557918.html
http://www.thaiall.com/blogacla/admin/2176/
http://www.ipsr.mahidol.ac.th/ipsr-th/population_thai.html
http://www.socialbakers.com/facebook-statistics/cities/

วารสารศาสตร์ กับคอนเวอร์เจ้นท์ และความเสี่ยงสูง

จักร์กฤษ เพิ่มพูล
จักร์กฤษ เพิ่มพูล

หากเราไม่พิจารณาปรากฏการณ์ วารสารศาสตร์คอนเวอร์เจนท์ (Convergence Journalism) หรือรูปแบบการรายงานข่าวแบบหลากหลายสื่อ

ในมิติการปรับตัวของผู้ประกอบวิชาชีพสื่อมวลชน ทั้งในแง่ทัศนคติของคนทำงาน ความรู้ความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยี รวมทั้งการออกแบบหลักสูตร การจัดการเรียน การสอน นักศึกษาด้านนิเทศศาสตร์ วารสารศาสตร์ เพื่อให้มีทักษะในการทำงานในแบบ multi-tasking skills แล้ว ประเด็นที่ไม่ควรมองข้ามไป ก็คือ ระดับจิตสำนึกความรับผิดชอบในเชิงจริยธรรมก็เป็นความท้าทายของนักข่าวในยุคมีเดีย คอนเวอร์เจ้นท์ด้วย

การร่วมกันในการวางแผน เลือกช่องทางในการส่งสาร ไม่ว่าจะผ่านสื่อสิ่งพิมพ์ วิทยุและโทรทัศน์ สื่อดิจิตอลในรูปแบบต่างๆ สื่อสังคมออนไลน์ที่มีความไวสูง แน่นอนที่สุดว่า ผู้บริโภคข่าวสารจะได้ประโยชน์ โดยสามารถเข้าถึงข่าว หรือข้อมูลในช่องทางที่ง่าย และสะดวกสบายขึ้น ในขณะที่ผู้ประกอบการก็อาจได้ประโยชน์ในการลดต้นทุนการผลิต และใช้เทคโนโลยีการสื่อสารสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ เพื่อรักษากลุ่มลูกค้าในสื่อดั้งเดิม แต่ในขณะเดียวกันภาระรับผิดชอบของบรรณาธิการ และนักข่าวก็เพิ่มขึ้นเป็นเงาตามตัว โดยเฉพาะเมื่อมีประเด็นการฟ้องคดี ในช่องทางสื่อดิจิตอลหรือสื่อใหม่

เริ่มจากสื่อดั้งเดิม ความรับผิดชอบของบรรณาธิการ ผู้พิมพ์ ผู้โฆษณา ตามพระราชบัญญัติจดแจ้งการพิมพ์ พ.ศ.2550 ยังเป็นประเด็นที่ถกเถียงกันอยู่ว่า ขอบเขตความรับผิดตามหลักสันนิษฐานของกฎหมายเดิมนั้น ได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างไร หรือไม่ เพราะในทางคดี บรรณาธิการหลายคนที่ถูกฟ้องคดีก็ยังต้องรับผิดในฐานะตัวการร่วมในการหมิ่นประมาท ถึงแม้ว่าฝ่ายโจทก์หรือผู้เสียหาย จะไม่สามารถนำสืบได้ว่า บรรณาธิการมีส่วนร่วมในการกระทำความผิดอย่างไร

ยิ่งไปกว่านั้น ก็คือ แม้จะมีการตราพระราชบัญญัติจดแจ้งการพิมพ์ขึ้นใช้บังคับแล้ว ในหลายคดีโจทก์ก็ยังอ้าง พระราชบัญญัติการพิมพ์ พ.ศ.2484 ที่ได้ยกเลิกไปแล้ว ในคำขอท้ายฟ้องเพื่อให้ลงโทษจำเลยอีก เช่น คดีที่นายวีระ มุสิกพงศ์ นายจตุพร พรหมพันธุ์ และนายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ ฟ้องบรรณาธิการ กรุงเทพธุรกิจ และเมื่อไม่นานมานี้ ข้อสอบวิชากฎหมาย ของคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง ก็ยังอ้างพระราชบัญญัติการพิมพ์ เป็นคำถามในการสอบ

แต่หลังจากมีคำพิพากษาฎีกาฉบับนี้ หลักในการพิจารณาอาจเปลี่ยนไป

พิพากษาศาลฎีกา ที่ 4948/2554 คดีหมิ่นประมาท ระหว่าง พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร โจทก์ น.ต.ประสงค์ สุ่นศิริ ที่ 1 บริษัทหนังสือพิมพ์แนวหน้า จำกัด ที่ 2 นายวารินทร์ พูนศิริวงศ์ ที่ 3 และนายจิระพงศ์ เต็มเปี่ยม ที่ 4 ยืนยันหลักการบรรณาธิการไม่ต้องรับผิด เป็นบรรทัดฐาน ซึ่งจะเป็นประเด็นข้อต่อสู้สำคัญของจำเลย ที่เป็นบรรณาธิการต่อไป

คดีนี้ โจทก์ ระบุว่าจำเลยร่วมกันหมิ่นประมาท โดยตีพิมพ์จดหมายจากผู้อ่าน ในคอลัมน์ “น.ต.ประสงค์ สุ่นศิริ พูด” พาดหัวคอลัมน์ว่า “พลังเงียบ” มีข้อความบางตอนว่า มีการสร้างกระแสอย่างเป็นขบวนการ และอย่างเป็นระบบเพื่อกดดันศาลรัฐธรรมนูญ เรื่องแจ้งความเท็จแสดงทรัพย์สินของนายกรัฐมนตรีผู้นำของประเทศ จนทำให้ผู้คนทั่วไปคิดว่า ผู้นำของประเทศในตำแหน่งนายกรัฐมนตรีอยู่เหนือกฎหมาย และอยู่เหนือสามัญชน

จำเลยที่ 1 ตอบจดหมายผู้ใช้ชื่อว่า “พลังเงียบ” ว่า เห็นด้วยทุกอย่างครับที่เขียนมา

ศาลชั้นต้นพิพากษาจำคุกจำเลยที่ 1 และที่ 4 ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน ก่อนที่ศาลฎีกา จะพิพากษากลับให้ยกฟ้อง

ศาลฎีกา วินิจฉัยว่า ข้อความที่ลงตีพิมพ์ในคอลัมน์ “น.ต.ประสงค์ สุ่นศิริ พูด” เป็นการแสดงความคิดเห็น ความเป็นห่วงเป็นใยในกฎระเบียบกติกา และความถูกต้องของบ้านเมือง เป็นการวิพากษ์วิจารณ์ ติชมด้วยเจตนาสุจริต ด้วยความเป็นธรรมอันเป็นวิสัยของประชาชน ย่อมกระทำได้โดยชอบตามสิทธิเสรีภาพของประชาชน สื่อมวลชนภายใต้รัฐธรรมนูญ มิใช่เป็นการใส่ความโจทก์ ขณะที่จำเลยที่ 1 นำข้อความในจดหมายของผู้ที่ใช้นามแฝงว่า “พลังเงียบ” เขียนถึงจำเลยที่ 1 มาลงพิมพ์ในคอลัมน์ “น.ต.ประสงค์ สุ่นศิริ พูด” ซึ่งเป็นคอลัมน์ประจำของจำเลยที่ 1 ในหนังสือพิมพ์รายวันแนวหน้านั้น อยู่ในช่วงที่โจทก์ดำรงตำแหน่งหัวหน้าพรรคไทยรักไทย และดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี

..ตำแหน่งหัวหน้าพรรคไทยรักไทย และตำแหน่งนายกรัฐมนตรีถือเป็นตำแหน่งทางการเมือง โดยเฉพาะตำแหน่งนายกรัฐมนตรีถือเป็นตำแหน่งสูงสุดของฝ่ายบริหาร ในระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และถือว่าเป็นตำแหน่งที่ได้ผ่านกระบวนการเลือกตั้งจากประชาชนทั้งประเทศ โดยสถานะของโจทก์จึงต้องมีความรับผิดชอบต่อประชาชน ในฐานะนายกรัฐมนตรีที่ต้องรับผิดชอบต่อประชาชนดังกล่าว จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่โจทก์ต้องประพฤติปฏิบัติอยู่ในกรอบของจริยธรรม

ศาลฎีกา ตัดสินว่า การกระทำของจำเลยที่ 1 ไม่เป็นความผิดฐานหมิ่นประมาทโดยการโฆษณา ส่วนจำเลยที่ 4 ในส่วนที่โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษในฐานะบรรณาธิการหนังสือพิมพ์ซึ่งลงข้อความหมิ่นประมาทโจทก์โดยการโฆษณาตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 326, 328 พระราชบัญญัติการพิมพ์ พ.ศ.2484 มาตรา 48 ในขณะที่คดีอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา ได้มีพระราชบัญญัติจดแจ้งการพิมพ์ พ.ศ.2550 มาตรา 3 ให้ยกเลิกพระราชบัญญัติการพิมพ์ พ.ศ.2484 ซึ่งมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 19 ธันวาคม 2550 เป็นต้นไป พระราชบัญญัติจดแจ้งการพิมพ์ พ.ศ.2550 ไม่ได้บัญญัติให้บรรณาธิการหนังสือพิมพ์เป็นผู้รับผิดชอบในข้อความที่ลงพิมพ์ในหนังสือที่ตนเป็นบรรณาธิการ จำเลยที่ 4 ย่อมพ้นจากการเป็นผู้กระทำความผิดในส่วนนี้

นี่เป็นการยืนยันหลักการตามพระราชบัญญัติจดแจ้งการพิมพ์ พ.ศ.2550 ว่าไม่ได้บัญญัติให้ บรรณาธิการต้องรับผิดเป็นตัวการร่วมกับผู้ประพันธ์ บรรณาธิการจึงไม่ต้องร่วมรับผิดกับผู้ประพันธ์ หากอัยการ โจทก์ หรือผู้เสียหาย นำสืบไม่ได้ว่าบรรณาธิการมีส่วนร่วมในการประพันธ์บทประพันธ์หรือมีส่วนร่วมรู้ เห็นกับการโฆษณาบทประพันธ์ในหนังสือพิมพ์ที่ตนเป็นบรรณาธิการ อย่างไร ถือว่าบรรณาธิการไม่ได้มีส่วนร่วมในการกระทำความผิดด้วย ดังที่ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 2 บัญญัติ ว่า

บุคคลจักต้องรับโทษทางอาญาต่อเมื่อได้กระทำการอันกฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำนั้น บัญญัติเป็นความผิดและกำหนดโทษไว้ และ โทษที่จะลงแก่ผู้กระทำความผิดนั้น ต้องเป็นโทษที่ บัญญัติไว้ในกฎหมาย

ศาลไม่อาจนำหลักสันนิษฐาน ตามพระราชบัญญัติการพิมพ์ พ.ศ.2484 ที่ได้ยกเลิกไปแล้วมาพิจารณาลงโทษบรรณาธิการได้

สำหรับการเสนอข่าวในรูปแบบของ วารสารศาสตร์ คอนเวอร์เจ้นท์ ยังไม่มีคำพิพากษาเป็นบรรทัดฐาน แต่มีการฟ้องคดีแล้วจำนวนมาก ประเด็นที่เป็นปัญหาอยู่ขณะนี้ คือ บรรณาธิการ หรือ นักข่าวยังต้องรับผิดชอบในทุกสื่อที่เป็นช่องทางในการนำเสนอข่าวหรือไม่ โดยเฉพาะในกรณีที่มีการอ้างอิงไปยังเว็บไซต์อื่น ๆ ที่อยู่นอกเหนือการควบคุมของผู้ส่งสาร เช่น กรณีการที่ผู้เสียหายไปพบข้อความหมิ่นประมาทใน google.com บรรณาธิการยังต้องรับผิดชอบอยู่ในระยะเวลายาวนาน เพียงใด นับจากวันที่นำเสนอข่าวในครั้งแรก

โอกาสในการส่งข่าวที่ฉับไว ผ่านสื่อที่หลากหลาย จึงอาจหมายถึงความเสี่ยงสูงที่ต้องรับผิดชอบในทางคดีด้วย

http://blog.nation.ac.th/?p=2555