December 2013

เรื่อง กล้วย กล้วย

กล้วยน้ำว้าครับ หวีละ 10 บาท
แม่ค้ากำลังตัดออกจากเครือในตลาดอัศวิน
ระยะหลังผมเริ่มซื้อผลไม้เข้าบ้าน
เช่น กล้วยกับมะละกอ เพราะอยากอยู่มองดูโลกนาน ๆ 

banana

http://naturalnoshing.wordpress.com/2011/08/17/banana-split/


ท่านใดมีมาม่าซอง 5 บาทติดบ้าน
ผมว่าบางมื้อทานกล้วยครึ่งหวีก็อิ่มได้นะครับ
แต่มะละกอนี่ไม่แนะนำให้กินแทนข้าว เพราะไม่อิ่ม

เทียบกับน้ำโกโก้แก้วละ 25 บาท
ผมรู้สึกไม่ค่อยสบายใจนิดหน่อย
กับราคาของน้ำโกโก้ ที่ต่างกับราคากล้วยมากมาย

ปล. เรื่องนี้ทำให้นึกถึงคำว่า #bananasplit
เพราะสอนนักศึกษาเรื่องคำสั่ง split ก็จะยกมาถามทุกครั้งไป

Mr.Hossein Farmani ช่างภาพชื่อดังชาวอเมริกัน

Mr.Hossein Farmani ช่างภาพชื่อดังชาวอเมริกัน

คุณโฮเซน ฟาร์มานี Mr.Hossein Farmani
ช่างภาพชื่อดังชาวอเมริกัน ภัณฑารักษ์ และเจ้าของห้องแสดงภาพ
มาบรรยายที่ 4201 ม.เนชั่น วันที่ 20 ธ.ค.56 14.30-16.00
ตามความร่วมมือกับสถานทูตอเมริกาที่เชียงใหม่
นำโดย Mr.Michael Heath กงสุลใหญ่สหรัฐอเมริกา
และมี ดร.สุจิรา หาผล เป็นผู้สัมภาษณ์และแปลไทย
ในหัวข้อ Connecting the world though Photography
เกี่ยวกับเรื่องการถ่ายภาพ และความสำเร็จที่เขาทำได้ในฐานะช่างภาพ
และจะไปเปิดนิทรรศการภาพถ่าย ที่ห้างเซ็นทรัลพลาซา ลำปาง
ในวันศุกร์ ที่ 20 ธ.ค.56 เวลา 14.00-17.00 น.
http://www.farmani.com/

ก่อนหน้านี้เคยฟัง
Jeffrey Blitz ผู้กำกับภาพยนตร์เรื่อง spellbound ที่ ม.เนชั่น ลำปาง
http://blog.nation.ac.th/?p=2380

เมืองน่าเรียนของโลก

13 ธันวาคม 2556

จิระนันต์ jiranan_dp@yahoo.com
ปารีสติดอันดับเมืองในฝันที่นักเรียนมุ่งหน้าไปศึกษาต่อมหาวิทยาลัยมากที่สุด แม้ว่านครแห่งแฟชั่นนี้มีค่าครองชีพแพงมาก แต่ทดแทนด้วยค่าเล่า เรียนถูก และคุณภาพชีวิตสูง

Quacquarelli Symonds (QS) เผยผลการจัดอันดับเมืองมหาวิทยาลัยในปี 2014 จากทั้งหมด 98 เมือง โดยเกณฑ์ที่ใช้ในการจัดอันดับนั้นพิจารณาจากปัจจัยต่างๆ 5 ด้านดังต่อไปนี้ คุณภาพสถาบันการศึกษา ความหลากหลายของนักศึกษาต่างชาติ คุณภาพการใช้ชีวิต โอกาสจ้างงานในอนาคต และค่าใช้จ่าย

ปารีส ครองแชมป์เป็นปีที่สอง โดยสามารถดึงดูดนักศึกษาให้มาเรียนต่อได้มากที่สุด ถัดไปเป็นลอนดอน สิงคโปร์ ซิดนีย์ ส่วนเมลเบิร์นและซูริกครองอันดับ 5 ร่วมกัน ต่อจากนั้นเป็นฮ่องกง บอสตัน มอน ทรีล และมิวนิก  แม้ว่าปารีสค่าครองชีพสูงลิ่ว แต่ชดเชยด้วยค่าใช้จ่ายในการเรียนการสอนที่ค่อนข้างต่ำ คุณภาพของชีวิตสูง และเป็นชุมชนนักศึกษาที่ประสบความสำเร็จอย่างสูง นอกจากนี้ยังทำคะแนนนำในด้านโอกาสการมีงานทำ มหาวิทยาลัยที่ทำคะแนนรวมสูงสุดคือ cole Nor male Suprieure (ENS) อยู่อันดับ 28 ในการจัดอันดับมหาวิทยาลัยโลกล่าสุดของ QS ตั้งอยู่ในศูนย์กลางทางวัฒน ธรรมและการศึกษา

ลอนดอน ตามมาเป็นอัน ดับ 2 โดยมีมหาวิทยาลัยติดอันดับท็อป 10 ของโลก 2 แห่งคือ University College Lon don อันดับ 4 และ Imperial College London อันดับ 5 นอกจากนี้ยังทำคะแนนได้ดีในด้านโอกาสการมีงานทำ และความหลากหลายของนักศึกษา
ในด้านคุณภาพชีวิตด้อยกว่า 5 อันดับแรก และค่าครองชีพสูงมาก แต่ลอนดอนมีชื่อเสียงด้านสิ่งอำนวยความสะดวก เป็นศูนย์กลางทางวัฒนธรรม สถานบันเทิงยามค่ำคืน และบรร ยากาศความเป็นนานาชาติ

สิงคโปร์ ได้ชื่อว่ามีระบบการศึกษาที่ดีที่สุดแห่งหนึ่งของโลก และติดอันดับเมืองน่าเรียนต่ออันดับ 3 ค่าครองชีพอาจสูงกว่าประเทศสมาชิกเอเชียตะ วันออกเฉียงใต้ แต่ยังได้เปรียบประเทศชั้นนำทางตะวันตก
มหาวิทยาลัย 2 แห่งของสิงคโปร์ติดใน 50 อันดับแรกของอันดับมหาวิทยาลัยโลก ได้แก่ National University of Singapore อันดับ 24 และ Nanyang Technological University อันดับ 41

ฮ่องกง เป็นเมืองมหาวิทยาลัยที่คึกคักมาก มีสถาบันการศึกษาชั้นนำ 7 แห่ง โดย 3 แห่ง ติดใน 50 อันดับแรกของอันดับมหาวิทยาลัยโลก ได้แก่ University of Hong Kong ติดอันดับ 26 ตามด้วย Hong Kong University of Science and Technology อันดับ 34 และ The Chinese Universi ty of Hong Kong อันดับ 39

ฮ่องกง เป็นอีกประเทศหนึ่ง ที่สร้างชื่อให้เอเชียในฐานะที่เป็นเมืองน่าเรียนอันดับ 7 ในโลก ค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวันค่อนข้างต่ำ แต่ค่าเช่าที่พักค่อนข้างแพง

http://www.moe.go.th/moe/th/news/detail.php?NewsID=35079&Key=hotnews

ทุนรัฐบาลเพื่อดึงดูดผู้มีศักยภาพสูงที่กำลังศึกษาอยู่ในสถาบันการศึกษาในประเทศ Undergraduate Intelligence Scholarship Program (UiS)

13 ธันวาคม 2556

ทุนรัฐบาลเพื่อดึงดูดผู้มีศักยภาพสูงที่กำลังศึกษาอยู่ในสถาบัน การศึกษาในประเทศ หรือ ทุน UIS คือ ทุนสนับสนุนการศึกษา ที่มี การวางแผนพัฒนาขีดความสามารถที่ชัดเจนและเป็นระบบ เพื่อเตรียม ความพร้อมด้านกำลังคนภาครัฐ โดยการสรรหาบุคลากรที่มีขีดความสามารถ ให้เข้ารับราชการเพื่อเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศ ในปีนี้ ทุน UIS ได้ดำเนินการมาเป็นปีที่ 5 มีจำนวนทุนทั้งสิ้น 89 ทุน จาก 21 ส่วนราชการ

คุณสมบัติผู้สมัคร
เป็นนักศึกษาปริญญาตรีที่กำลังจะศึกษาชั้นปีสุดท้ายในปี พ.ศ.2557 ของสถาบันการศึกษาในประเทศ ที่มีเกรดเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 2.75 สำหรับสายวิทย์ฯ และไม่ต่ำกว่า 3.00 สำหรับสายสังคม

คุณลักษณะของทุน
1.เป็นทุนสำหรับศึกษาในชั้นปีที่ 4 หรือชั้นปีสุดท้ายจนสำเร็จการศึกษาปริญญาตรีตามโครงสร้างหลักสูตร ทั้งนี้ ต้องใช้ระยะเวลาศึกษาไม่เกิน1 ปี และจะได้ฝึกงานที่ส่วนราชการต้นสังกัดเพื่อเรียนรู้ประสบการณ์ การทำงานในระหว่างที่ศึกษา ตลอดจนได้รับการพัฒนาฝึกอบรมเพื่อเตรียมความพร้อมก่อนการทำงานจริง
2.หลังจากสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีแล้ว ผู้รับทุนจะได้รับการบรรจุเข้ารับราชการทันที และจะปฏิบัติราชการชดใช้ทุนเป็นระยะเวลา 2 เท่า ของระยะเวลาที่ได้รับทุน หลังจากนั้นจะได้รับทุนต่อเนื่องเพื่อศึกษาต่อระดับปริญญาโทในระยะที่ 2 ในหรือต่างประเทศ

การรับสมัคร
เปิดรับสมัครตั้งแต่วันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ.2556 ถึงวันที่ 7 มกราคม พ.ศ.2557 โดยสมัครผ่านเว็บไซต์สำนักงาน ก.พ. ที่ www.ocsc.go.th โดยเลือกหัวข้อ “การสอบเพื่อรับทุน” โทร 02-547-1000 ต่อ 6802 – 6804, 6817 – 6819

www.ocsc.go.th โทร. 02-547-1291 โทรสาร 02-547-1792 มีข้อเสนอแนะ โปรดติดต่อ pr@ocsc.go.th

————-

http://www.moe.go.th/moe/th/news/detail.php?NewsID=35078&Key=hotnews

การพัฒนางานวิจัย เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งเครือข่ายอุดมศึกษาภาคเหนือตอนบน

การพัฒนางานวิจัย เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งเครือข่ายอุดมศึกษาภาคเหนือตอนบน

ตามที่ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กับ มหาวิทยาลัยเนชั่น จัดประชุมวิจัย วันที่ 9 ธ.ค.56
เรื่อง การพัฒนางานวิจัย เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งเครือข่ายอุดมศึกษาภาคเหนือตอนบน
และมีการบันทึกคลิ๊ปการสัมมนาไว้ โดยท่านอธิการมีนโยบาย
ให้บันทึกคลิ๊ปไว้ และเปิดให้บุคลากรที่สนใจเข้ามาเรียนรู้
หรือนำไปใช้ในกิจกรรมวิชาการอื่นใดต่อไป

วัตถุประสงค์ของการฝึกอบรม / การสัมมนา
1. เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจในกระบวนการวิจัยให้แก่คณาจารย์ นักวิจัย บุคลากรของเครือข่ายอุดมศึกษาภาคเหนือตอนบน ให้สามารถขอสนับสนุนการวิจัยจากแหล่งทุนได้
2. เพื่อเปิดโอกาสให้คณาจารยย์ นักวิจัย และบุคลากรของเครือข่ายอุดมศึกษาภาคเหนือตอนบน ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้และประสบการณ์ อันส่งผลให้เกิดความร่วมมือทางการวิจัยระหว่างสถาบันอุดมศึกษา
3. เพื่อสร้างบุคลากรด้านการวิจัยของเครือข่ายอุดมศึกษาภาคเหนือตอนบน ให้มีความรู้ ความสามารถ ความเชี่ยวชาญ และวิสัยทัศน์ในการวิจัย

หากเพื่อนบุคลากรที่เข้าร่วมกิจกรรมแล้ว ต้องการติดตามย้อนหลัง
หรือท่านที่ติดภารกิจ สามารถเข้าไปติดตามการบรรยาย ของวิทยากรทั้ง 6 ท่านได้
1. ศ.นพ.สุทธิพร  จิตต์มิตรภาพ บรรยายเรื่อง แหล่งทุนและทิศทางการวิจัยในประเทศ
Track ทั้ง 4 ของความก้าวหน้าในอาชีพ
1.1 ผลงานตีพิมพ์ วารสาร หนังสือ
1.2 สิทธิบัตร/นวัตกรรม/กระบวนการ/มูลค่าเศรษฐกิจ
1.3 ผลกระทบที่เปลี่ยนแปลงวิถีชีวิต
1.4 การเปลี่ยนแปลงนโยบาย กติกา
2. ศ.นพ.คม สุคนธสรรพ์ บรรยายเรื่อง กระบวนการวิจัยและพัฒนางานวิจัย
ในสาขาวิชาด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ
3. รศ.ดร.อรรถชัย จินตะเวช บรรยายเรื่อง กระบวนการวิจัยและพัฒนางานวิจัย
ในสาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
4. ศ.ดร.มนัส สุวรรณ บรรยายเรื่อง กระบวนการวิจัยและพัฒนางานวิจัย
ในสาขาวิชามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
5. ผศ.วุฒิพงศ์ เตชะดำรงสิน บรรยายเรื่อง เขียนโครงการวิจัยอย่างไรให้ได้รับทุน
6. นพ.วิจารณ์ พานิช บรรยายเรื่อง เทคนิคการจัดการองค์ความรู้เพื่อประยุกต์ใช้ในงานวิจัย
Organizational Knowledge Creation : SECI Model
– Socialization
– Externalization
– Combination
– Internalization

แหล่งภาพ
https://www.facebook.com/media/set/?set=a.1442035516015857.1073741856.1399580723594670

ข้อมูลโครงการ และกำหนดการ
ที่ http://www.scribd.com/doc/189761687/

ปัญหาความโปร่งใสของตำแหน่งอธิการบดี การยึดโยงกับประชาคมภายในมหาวิทยาลัย และความเหลื่อมล้ำ

ปัญหาความโปร่งใสของตำแหน่งอธิการบดี การยึดโยงกับประชาคมภายในมหาวิทยาลัย และความเหลื่อมล้ำ
คนที่เขียนเรื่องนี้ไม่ธรรมดาครับ เพราะเชิงอรรถแน่น และร้อยเรียงได้ดี
ผมคัดลอกส่วนของปัญหาความโปร่งใส .. รายละเอียดอื่นอีกเพียบ
ที่ http://prachatai.com/journal/2013/12/50325

ในด้านหนึ่งตำแหน่งอธิการบดีนั้นถือว่าเป็นพื้นที่ขับเคี่ยวทางการเมืองเป็นอย่างยิ่ง การที่อดีตรัฐมนตรีกระทรวงศึกษาธิการ พงศ์เทพ เทพกาญจนาออกมาเตือนให้ สภามหาวิทยาลัยควรมีความโปร่งใสในการสรรหาอธิการบดี ก็ยิ่งเป็นตัวชี้วัดได้ดี [10] ไม่เพียงเท่านั้นข่าวฉาวของอธิการบดีก็มีอยู่เรื่อยๆ ทั้งในระดับมหาวิทยาลัยชั้นนำสมาชิก ทปอ. และมหาวิทยาลัยนอก ทปอ. ยังไม่ต้องนับว่า ตำแหน่งอธิการบดีหลายแห่งในประเทศไทย ไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง และตัดขาดความมีส่วนร่วมของประชาคมในมหาวิทยาลัยนั้นๆ

ความเหลื่อมล้ำของสถาบันต่างๆ โดยโครงสร้างนั้นมีอยู่จริง ไม่นับต้องพูดถึงความเหลื่อมล้ำภายในองค์กรที่จัดฐานันดรศักดิ์ ข้าราชการ พนักงานมหาวิทยาลัย ลูกจ้างชั่วคราว ที่เป็นปัญหาอย่างมากในฐานะขององค์กรแนวดิ่ง ไม่มีสหภาพแรงงานเฉกเช่นประเทศในโลกสมัยใหม่ทั้งหลาย  ในที่นี้ขอปิดท้ายด้วยงบประมาณที่มหาวิทยาลัยต่างๆ ได้รับการจัดสรร ตั้งแต่งบประมาณปี 2549-2556 ทำให้เห็นความแตกต่างของมหาวิทยาลัยต่างๆ ในระดับครีมสมาชิกทั้ง 27 แห่ง มีความแตกต่างอย่างไรกับมหาวิทยาลัยที่ไม่ถูกนับ ช่องว่างดังกล่าวแสดงถึงความเหลื่อมล้ำอย่างเป็นรูปธรรมยิ่ง มหาวิทยาลัยใหญ่จึงได้รับทั้งอภิสิทธิ์ทางเกียรติยศ เงินทอง และบทบาททางการเมือง ซึ่งที่ถือว่ามีปัญหามากในสายตาของผู้เขียนคือ ทำตัวเป็นผู้ไม่รู้ร้อนเกี่ยวกับหลักการอยู่ร่วมกันโลกสมัยใหม่ และระบอบประชาธิปไตย.

กอศ. ปลุกจิตสำนึกอาชีวะช่วยเหลือประชาชน.ผ่านโครงการ Fix it Center ตลอดเดือนมหามงคลนี้

6 ธันวาคม 2556

ดร.ชัยพฤกษ์ เสรีรักษ์ เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา หรือ กอศ.กล่าวว่า เนื่องในวโรกาสมหามงคล พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เจริญพระชนมพรรษา 86 พรรษา 5 ธันวาคม 2556 ด้วยสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ท่านที่มีต่อพสกนิกรชาวไทย สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา(สอศ.) ได้มีการส่งเสริมให้นักเรียน นักศึกษาอาชีวศึกษามีจิตสำนึกทำความดีช่วยเหลือประชาชน ผ่านโครงการศูนย์ซ่อมสร้างเพื่อชุมชน (Fix it Center)ตลอดเดือนมหามงคลนี้
โดย สอศ.ได้มอบให้วิทยาลัยในสังกัดทั่วประเทศ วางแผนดำเนินการเอง ทั้งการเปิดศูนย์พร้อมทั้งประชาสัมพันธ์ Fix it Center ภายในวิทยาลัย หรือตามหมู่บ้าน เพื่อซ่อมแซม อาทิ เครื่องใช้ไฟฟ้า เครื่องใช้ในครัวเรือน เครื่องจักรกลทางการเกษตร รถจักรยานยนต์ การให้คำแนะนำบำรุงรักษาเครื่องมือต่างๆ เพื่อยืดอายุการใช้งาน และการถ่ายทอดความรู้ทักษะช่างชุมนุมให้กับประชาชน เพื่อยกระดับฝีมือช่างชุมชน เป็นต้น

“นอกจากตั้งศูนย์ตามจุดบริการต่างๆ แล้วในครั้งนี้ สอศ.จะเพิ่มการบริการผ่านรถโมบายซึ่งเป็นรถจักรยานยนต์ออกให้บริการแก่ประชาชนตามบ้านเรือนด้วย เนื่องจากชาวบ้านที่ลำบากจริงๆ จะไม่มีรถขนของที่ต้องการให้ซ่อม เช่น ตู้เย็น โทรทัศน์ หรือปั้มน้ำมายังจุดบริการได้ ผมเชื่อว่า Fix it Center จะช่วยพัฒนาจิตสำนึกของเด็กอาชีวะในเรื่องของการน้อมนำพระราชดำริและงานที่พระองค์ทรงบำเพ็ญพระราชกรณียกิจ มาเป็นแรงขับเคลื่อนการทำงานที่เสียสละเพื่อผู้อื่น ดังเช่นที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณากับพสกนิกรชาวไทยมาโดยตลอด”

ที่มา: http://www.thanonline.com

http://www.moe.go.th/moe/th/news/detail.php?NewsID=34998&Key=hotnews

งานรวมพลังยกระดับคุณภาพการศึกษา เสียงสะท้อนการจัดการศึกษาจากชาวเหนือ

6 ธันวาคม 2556

เมื่อเวลา 09.00 น. วันที่ 1 ธันวาคม 2556 ที่ห้องประชุมโรงแรมอมรินทร์ลากูน พิษณุโลก รศ.ดร.กิตติ ลิ่มสกุล ผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานเปิดงานรวมพลังยกระดับคุณภาพการศึกษาเพื่อเปิดรับฟังเสียงสะท้อนความคิดเห็นในเรื่องการจัดการศึกษาจากผู้ที่เกี่ยวข้องในเขตภาคเหนือโดยสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 39 เป็นเจ้าภาพจัดงาน มีผู้เข้าร่วมงานจากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาและสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาและสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาและสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาและสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา จำนวน 53 เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา จำนวน 53 เขตพื้นที่การศึกษาของภาคเหนือ จำนวน 550 คน

ดร.สมเกียรติ บุญรอด ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 39 (ผอ.สฬม.39) ในฐานะประธานจัดงาน “รวมพลังยกระดับคุณภาพการศึกษา” จุดที่ 4 ภาคเหนือ (1-2 ธันวาคม 2556) เปิดเผยว่า ตามที่กระทรวงศึกษาธิการ โดยนายจาตุรนต์ ฉายแสง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (รมว.ศธ.) ได้มีผลการผลักดัน 8 นโยบายด้านการศึกษาสู่การปฏิบัติ ซึ่งในส่วนของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขึ้นพื้นฐานนั้น ได้มีการประกาศให้ “การศึกษา” เป็นวาระแห่งชาติ และในปีพุทธศักราช 2556 เป็นปีแห่งการ “รวมพลังยกระดับคุณภาพการศึกษา” เพื่อให้การศึกษาไทยมีคุณภาพมาตรฐานในระดับสากลและสอดคล้องกับสังคมโลกยุคใหม่ ในการจัดงานครั้งนี้ได้มุ่งเน้นใน 4 ประเด็นหลักตามนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ คือ

1. การพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้ทั้งระบบที่สัมพันธ์เชื่อมโยง ที่ทำให้ผู้เรียนสามารถคิดวิเคราะห์แก้ปัญหา และเรียนรู้ได้ด้วยตนเองอย่างต่อนเนื่อง เช่นการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่สนุกสนานเร้าใจผู้เรียนมีความสนุกสนานและไม่เบื่อหน่ายในการเรียน การจัดการเรียนการสอนที่มีระบบการวัดผล/ประเมิลผลตามศักยภาพของนักเรียน นักเรียนเกิดความสุขในการเรียน เป็นต้น

2. การพัฒนาครู ให้มีความรู้ความสามารถในการจัดการการเรียนการสอน รองรับการเรียนรู้สู่โลกยุคใหม่ รวมถึงระบบการดูแลสวัสดิการ การสร้างขวัญกำลังใจให้กับข้าราชการครู และการส่งเสริมความสามารถของข้าราชการครูให้มีประสิทธิภาพในการจัดการเรียนการสอน

3. การนำเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสารมาใช้ในการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนเช่น การสร้างมาตรฐานการเรียนการสอนดัวยคอมพิวเตอร์พกพา (แท็บเล็ต) การพัฒนาเนื้อหาสาระ รวมทั้งการใช้คอมพิวเตอร์ เทคโนโลยี เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ได้ตลอดชีวิต

4. การเพิ่มและการกระจายโอกาสทางการศึกษาอย่างมีคุณภาพ เช่น ประชาชนสามารถได้รับการบริการทางการศึกษาอย่างมีคุณภาพ โดยเฉพาะผู้ด้อยโอกาส การพัฒนากองทุนต่างๆ การพัฒนากองทุนกู้ยืมฯ การระดมทุนเพื่อพัฒนาการศึกษา ตลอดจนการนำมาใช้ในการพัฒนาด้านการศึกษาเป็นต้น

นอกจากนี้ ในส่วนของการเสวนาบนเวทีภายใต้หัวข้อ “แนวคิดการพัฒนา ก้าวหน้าไม่มีอุปสรรค”  “การสนับสนุนเพื่อมุ่งสู่เป้าหมายด้วยความสำเร็จ” ได้มีการคัดเลือกบุคคลทั่วไปในด้านการจัดการศึกษา อาทิ ผู้ว่าราชการจังหวัด นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด เลขาธิการสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย หรือผู้แทนชุมชน ผู้นำองค์กรต่างๆ ผู้บริหารดีเด่น ครูต้นแบบ นักเรียน ในเขตพื้นที่ ภาคเหนือทั้ง 17 จังหวัดมาร่วมเสวนาให้ความรู้และสะท้อนเสียงการจัดการศึกษา

ผู้สื่อข่าวรายงานต่อไปว่า ในการจัดงานด้านการศึกษาครั้งนี้ตามกำหนดการเดิม นายจาตุรนต์ ฉายแสง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ จะเดินทางมาเป็นประธานและการร่วมการเสวนาด้วย แต่จากสถานการณ์ทางการเมืองที่ส่อว่าจะรุนแรงขึ้นเรื่อยทำให้มีการเปลี่ยนแปลง โดยก่อนพิธีเปิดจะเริ่มขึ้น นายจาตุรนต์ ฉายแสง รมต.ศึกษาธิการ ได้ส่งสัญญาณวิดีโอคอนเฟอเรนซ์มายังห้องประชุม โดยได้ชี้แจงถึงสาเหตุที่เดินทางมาร่วมงานไม่ได้ว่า ต้องอยู่ที่กระทรวงศึกษาธิการ เนื่องจากสถานการณ์ทางการเมืองส่อว่าจะรุนแรง พร้อมทั้งฝากถึงผู้ที่เข้าร่วมงานเสวนาว่า ให้ช่วยกันแสดงความคิดเห็น ระดมความคิดเพื่อช่วยกันปฏิรูปการศึกษาอันจะนำปสู่การจัดการศึกษาของไทยให้ดียิ่งขึ้น.

ที่มา: หนังสือพิมพ์ไทยโพสต์

http://www.moe.go.th/moe/th/news/detail.php?NewsID=34996&Key=hotnews

กลุ่มสถาบันผลิตครูหนุนจำกัดจำนวนรับนักศึกษา เพื่อผลิตครูให้มีคุณภาพคาดเริ่มรับผู้เรียนได้ปี 58

6 ธันวาคม 2556

กลุ่มสถาบันผลิตครู หนุนจำกัดจำนวนรับนิสิตนักศึกษา เพื่อผลิตครูให้มีคุณภาพเริ่มปี 2558 พร้อมเสนอรับร่วมกันเหมือนกลุ่มแพทย์

รศ.ดร.พินิติ รตะนานุกูล รองเลขาธิการคณะกรรมการอุดมศึกษา (กกอ.) ในฐานะเลขานุการคณะกรรมการปฏิรูประบบการผลิตและพัฒนาครู ซึ่งมี นายจาตุรนต์ ฉายแสง รมว.ศึกษาธิการ เป็นประธาน กล่าวภายหลังการประชุมร่วมกับสภาคณบดีคณะครุศาสตร์ศึกษาศาสตร์แห่งประเทศไทย ทั้งในส่วนของ มหาวิทยาลัยรัฐและมหาวิทยาลัยราชภัฎ (มรภ.) สภาคณบดีคณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม ผลิตครูสายช่าง และสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) ว่าที่ประชุมเห็นชอบตามที่เสนอที่จะให้มีการจำกัดจำนวนรับนิสิตนักศึกษาในปี 2557 และปีถัดไป เพื่อผลิตครูให้มีคุณภาพในส่วนของปี 2557 จำนวนการรับนิสิต นักศึกษาอาจจะไม่ลดลง เนื่องจากขณะนี้

มหาวิทยาลัยบางส่วนได้ปิดรับตรงไปแล้ว ส่วนปีถัดไป ทุกกลุ่มรับปากจะไปหามาตรการการรับนิสิตนักศึกษา ซึ่งได้มีข้อเสนอว่าในอนาคตกลุ่มคณะครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ ทั่วประเทศอาจจะรวมตัวกันรับจำนวนนิสิตนักศึกษาเหมือนกลุ่มแพทย์ เพื่อให้การรับนิสิตนักศึกษาตรงตามจำนวนที่ต้องการและควบคุมคุณภาพการผลิต

“นอกจากนั้น ยังเห็นว่าควรมีการพัฒนาหลักสูตร ต้องปรับหลักสูตร เปลี่ยนการเรียนการสอน ซึ่งการดำเนินการดังกล่าวต่อไปหารือร่วมกับเลขาธิการคุรุสภาด้วย เพราะเป็นหน่วยงานที่กำหนดมาตรฐานวิชาชีพ โดยแนวโน้มอาจจะให้ครูต้องสอบใบประกาศวิชาชีพครูเหมือนกับวิชาชีพอื่น โดยการสอบต้องสอบทั้งภาคทฤษฎีและกระบวนการสอน” รองเลขาฯ กกอ.กล่าว

รศ.ดร.พินิติ กล่าวต่อว่า สำหรับโครงการผลิตครูมืออาชีพนั้น ที่ประชุมอยากให้กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) สนับสนุนโครงการดังกล่าวอย่างต่อเนื่อง เพื่อพัฒนาครูคุรภาพเข้าสู่ระบบ และอยากให้นำระบบการคัดเลือกเริ่มแรกกลับมาใช้ โดยมีการคัดเลือกสถาบันการผลิตครู เพราะแต่ละแห่งมีความเชี่ยวชาญแตกต่างกัน โดยรูปแบบโครงการอาจไม่จำเป็นต้องให้ทุนการศึกษา แต่ต้องประกันการมีงานทำ แต่อยากให้โครงการผลิตครูมืออาชีพ เริ่มในปี 2557 โดยคัดเลือกนิสิตนักศึกษาครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ชั้นปีที่ 5 ที่มีผลการเรียนดีต่อเนื่องมาสอบแข่งขัน และพิจารณาผู้รับทุนต้องดูภูมิลำเนาของผู้สมัครเป็นหลัก และต้องดูข้อมูลทั้งระบบเพราะเกี่ยวข้องกับอัตราการบรรจุ ทั้งนี้ จะนำข้อสรุปทั้งหมดเข้าสู่การพิจารณาในที่ประชุมคณะกรรมการปฏิรูประบบผลิตและพัฒนาครูอีกครั้ง

ที่มา: หนังสือพิมพ์คมชัดลึก

http://www.moe.go.th/moe/th/news/detail.php?NewsID=34995&Key=hotnews

ศธ.หนุนเด็กใต้เรียน ม.ปลาย

6 ธันวาคม 2556

นางสุทธศรี วงษ์สมาน ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เปิดเผยว่า จากการประชุมคณะกรรมการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่มี นายจาตุรนต์ ฉายแสง รมว.ศธ.เป็นประธาน ที่ประชุมมีมติเห็นชอบในหลักการแผนพัฒนาการศึกษาในจังหวัดชายแดนภาคใต้ (พ.ศ. 2556-2558) โดยที่มีเป้าหมายยุทธศาสตร์ 7 ยุทธศาสตร์ เช่น ยุทธศาสตร์การเพิ่มคุณภาพการศึกษา การพัฒนาไอซีที และการให้ทุนการศึกษา เพื่อเรียนต่อระดับอุดมศึกษา เป็นต้น นอกจากนี้ที่ประชุมยังหารือถึงการส่งเสริมให้นักเรียนในพื้นที่ได้เรียนจบการศึกษาภาคบังคับ 9 ปีหรือจบการศึกษาระดับชั้น ม.3 และเรียนต่อระดับ ม.ปลาย มากขึ้น เนื่องจากพบว่าสัดส่วนนักเรียนที่จบชั้น ม.ปลายยังมีไม่มาก เพราะส่วนใหญ่จะเรียนด้านศาสนา ซึ่งยังไม่สามารถเทียบโอนระดับชั้น ม.ปลาย ได้จึงยังทำให้ไม่สามารถเรียนต่อระดับอุดมศึกษาได้ ดังนั้นที่ประชุมได้มอบให้สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (กศน.) เข้าไปช่วยส่งเสริมให้เด็กเหล่านี้ได้เรียนจนจบระดับ ม.ปลาย เพิ่มขึ้น

“ที่ประชุมยังเสนอให้ส่งเสริมการเรียนการสอนสองภาษา หรือ ทวิภาษาให้มากขึ้น โดยมีเป้าหมายให้นักเรียนใต้อ่านและเขียนภาษาไทยได้ นอกจากนี้นายจาตุรนต์ได้ย้ำให้ส่งเสริมการเรียนภาษาเพื่อเชื่อมโยงกับความเป็นอาเซียนและสากล โดยตั้งเป้าให้เด็กใต้เรียนเพิ่มขึ้นร้อยละ 3 ต่อปี และการเพิ่มสัดส่วนการเรียนต่อสายสามัญและสายอาชีพตลอดจนการพัฒนาครูในพื้นที่ให้ได้อย่างน้อย 80% ด้วย” นางสุทธศรีกล่าว.

–เดลินิวส์ ฉบับวันที่ 6 ธ.ค. 2556 (กรอบบ่าย)–

http://www.moe.go.th/moe/th/news/detail.php?NewsID=34994&Key=hotnews