February 2014

คลอด 6 นโยบายใช้เปิดเทอมใหม่ ยกระดับการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ

นางอ่องจิต เมธยะประภาส รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) เปิดเผยว่า นายจาตุรนต์ ฉายแสง รักษาการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ได้ลงนามในประกาศ ศธ. เรื่องนโยบายการปฏิรูปการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ โดยได้กำหนด 6 นโยบาย เพื่อให้บรรลุเป้าหมายเพื่อให้ผู้เรียนในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานมีความรู้ความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษเป็นเครื่องมือเข้าถึงองค์ความรู้และก้าวทันโลก รวมถึงพัฒนาตนเองเพื่อนำไปสู่การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทย ดังต่อไปนี้

1. ให้ใช้กรอบมาตรการความสามารถทางภาษาอังกฤษที่เป็นสากล ได้แก่ The Common European Framework of Reference for Languages (CEFR) เป็นกรอบความคิดหลักในการจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษของประเทศไทย ทั้งในการออกแบบหลักสูตร การพัฒนาการเรียนการสอน การทดสอบ การวัดผล การพัฒนาครู รวมถึงการกำหนดเป้าหมายการเรียนรู้

2. ปรับจุดเน้นการเรียนการสอนภาษาอังกฤษให้เป็นไปตามธรรมชาติของการเรียนรู้ โดยเน้นการสื่อสารที่เริ่มจากการฟัง ตามด้วยการพูด การอ่าน และการเขียนตามลำดับ

3. ส่งเสริมให้มีการเรียนการสอนภาษาอังกฤษที่มีมาตรฐานตามกรอบมาตรฐานหลัก ด้วยหลักสูตรแบบเรียน สื่อการเรียนการสอนแต่ด้วยวิธีการที่แตกต่างกันได้ ทั้งตามความพร้อมของแต่ละสถานศึกษา และแสดงถึงความถนัดและความสนใจของผู้เรียน

4. ส่งเสริมการยกระดับความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษ อาทิ ขยายโครงการพิเศษด้านการเรียนการสอนในหลักสูตร English Program หรือ EP, Mini EP, International Program แก่ผู้ที่มีความสามารถทางวิชาการสูง, English Bilingual Education โดยจัดการเรียนการสอนวิชาวิทยาศาสตร์ สังคมศึกษา และศิลปการศึกษาแบบสองภาษา พัฒนาห้องเรียนสนทนาภาษาอังกฤษที่เน้นทักษะการฟังและการพูดอย่างน้อยสัปดาห์ละ 2 ชั่วโมง และให้มีการเรียนการสอนวิชา
สนทนาภาษาอังกฤษเป็นการทั่วไป และมีการเรียนการสอนแบบเข้มข้น รวมถึงจัดให้เป็นสาระเพิ่มเติมในลักษณะวิชาเลือกได้ด้วย เพื่อให้ผู้เรียนเลือกเรียนตามความสนใจ ความถนัด และศักยภาพ เป็นต้น

5. ยกระดับความสามารถในการจัดการเรียนการสอนของครูให้สอดคล้องกับวิธีการเรียนที่เน้นการสื่อสารและ 6. ส่งเสริมให้มีการใช้สื่อเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษาเป็นเครื่องมือสำคัญในการพัฒนาความสามารถทางภาษาของครูและผู้เรียน

อย่างไรก็ตาม เพื่อให้การขับเคลื่อนนโยบายดังกล่าวเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ กำหนดให้หน่วยงานที่ต้องจัดการเรียนการสอนนำนโยบายไปปฏิบัติโดยคำนึงถึงศักยภาพของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา สถานศึกษาแต่ละแห่ง รวมทั้งบริบทและความต้องการของพื้นที่ที่แตกต่างกัน

นางอ่องจิต กล่าวว่า หลังจากออกประกาศ ศธ. แล้ว สพฐ. จะจัดทำแนวปฏิบัติแจ้งไปยังสถานศึกษาทั่วประเทศเพื่อใช้ในภาคเรียนที่1 ปีการศึกษา 2557 ซึ่งโรงเรียนสามารถเริ่มจัดการเรียนการสอนได้ตั้งแต่ระดับประถมศึกษาปีที่ 1 เป็นต้นไป ตามศักยภาพและความพร้อม

–ทรานสปอร์ต เจอร์นัล ประจำวันที่ 10 – 16 ก.พ. 2557–

แหล่งที่มา/ผู้ส่ง :: ชนาพร เคลือบคล้าย

http://www.moe.go.th/moe/th/news/detail.php?NewsID=35696&Key=hotnews

บทเรียนจากหัวหน้า 7 เรื่อง

เล่าสู่กันฟัง .. เป็นบทเรียนจากหัวหน้า
ผมบันทึกไว้อ่าน เป็นเครื่องช่วยจำครับ
4 ก.พ.57 ท่านให้แนวทางในการทำงานไว้ 7 ข้อ

1. เรื่อง เขียนบันทึกต้องละเอียด
ถ้าต้นเรื่องทำบันทึกขออนุมัติกิจกรรม/โครงการ
ต้องมีรายละเอียดที่ชัดเจนว่าจะใช้งบส่วนไหน มี หรือไม่มีงบ
จะได้ใช้ข้อมูลที่ครบถ้วน ประกอบการพิจารณาอย่างเหมาะสม
2. เรื่อง อย่างนิ่งดูดายต่อคำถาม
เมื่อมีคำถามต่อบันทึกขออนุมัติกิจกรรม/โครงการ
มาทางอีเมลถึงทุกคน แล้วคนที่คิดว่ามีข้อมูลต่อคำถามก็ต้องชี้แจงไป
และก็ต้องช่วยกันสะกิดสะเกาให้ตอบไป เรื่องจะได้เดินต่อ
3. เรื่อง ห้ามเขียนงบอื่น ๆ
หลายองค์กรตั้งงบประมาณว่า อื่น ๆ หรือถัวเฉลี่ย
แต่บริบทของเราทำไม่ได้ ต้องชัดเจน โปร่งใส ตรวจสอบได้
เราผ่านการปฏิรูปมาแล้วนะ ต่อไปอย่าตั้งมาอย่างนั้น
4. เรื่อง ไปดูงาน ไม่ใช่ไปเที่ยว
การดูงานในอดีต มีรายการท่องเที่ยวแฝงอยู่มาก
หลายสถาบันยกเลิกการดูงานว่าเป็นเงื่อนไขของหลักสูตร
ถ้าดูงานก็ต้องดูกันจริง ๆ ดูแล้วน.ศ.ก็ต้องกลับมาทำรายงานผลด้วย
5. เรื่อง ถ้าตั้งใจก็เรียนได้ เรื่องจ่ายผ่อนเอา
ภาครัฐสนับสนุนการศึกษา ออกกฎว่า ขั้นพื้นฐานไม่มีเงินก็เรียนได้
ถ้าจัดการแยกว่า คนที่มีกับคนไม่มี ต้องปฏิบัติต่างกัน จะทำให้จัดการยุ่งยาก
ตอนนี้ระดับอุดมฯ คุมที่ใบรับรอง คือไม่มีเงินก็เรียนได้ แต่ต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่าย
ดังนั้น ไม่มีเงินก็เข้าสอบได้ ถ้าสอบผ่าน แต่ไม่จ่าย ก็ไม่ออกใบรับรองให้
6. เรื่อง ขู่นักศึกษา เขาอาจเก็บกระเป๋านะ
ปัญหาการสื่อสาร การขู่ให้กลัวก็ดีอย่างหนึ่ง จะได้ “ฮึกเหิม”
แต่อาจเกิดผลกระทบทางลบได้ เช่น “ไม่ตั้งใจเรียน ระวังไม่จบนะ”
คนที่ไม่ตั้งใจเรียนก็พาลใจเสีย ต้องดูแลใกล้ชิด เอาน้ำเย็นเข้าลูบ ทำความเข้าใจ
7. เรื่อง ระบบของคนเซ็นรับตัง กับระบบของเรา
หลักฐานทางราชการ ต้องทำความเข้าใจเรื่องใครเซ็น
เพราะเข้าท้องพระคลังไปแล้วออกยากครับ
ต้องเข้าใจตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ
ต้นต้องรู้ว่าการเซ็นรับตัง มีเงื่อนไขอย่างไร
เพราะคนรับเขาก็มีระบบ เราก็มีระบบ ต้นกลางปลายมีระบบหมด
ต้องสรุปให้ได้ว่า หลักฐานแบบใดที่จะให้คนนอกเซ็น
จึงจะ happy ทุกฝ่าย ทั้งหมดขึ้นกับต้นเรื่องที่ต้องเข้าใจ

งบประมาณปี 2556 กระทรวงศึกษาอันดับ 1 ได้ 4.6 แสนล้าน
http://thaipublica.org/2012/08/the-budget-2556/

ปัญหาการศึกษาไทยอยู่ที่ไหนกันแน่ ที่นี่มีคำตอบ
http://www.anantasook.com/thai-education-problem/