March 2014

d-day u-net มามิถุนายน 2558

24 มี.ค.57 ศ.ดร.ชาญณรงค์ พรรุ่งโรจน์ ผู้อำนวยการสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.) เปิดเผยถึงการประชุมหารือถึงการนำผลการทดสอบตามมาตรฐานการอุดมศึกษา หรือ U-NET มาเป็นตัวบ่งชี้ในการประเมินคุณภาพภายนอกรอบสี่ (ปีงบประมาณ 2559-2563) เมื่อเร็วๆ นี้ ว่า ที่ประชุมเห็นด้วยที่ สมศ.จะใช้ผลสอบ U-NET ซึ่งประเมินคุณภาพบัณฑิตมาเป็นตัวบ่งชี้ในการประเมินมหาวิทยาลัย เพราะที่ผ่านมายังไม่มีหน่วยงานกลางใดทำการประเมิน ส่วนใหญ่ดูจากการมีงานทำของบัณฑิต ความพึงพอใจของผู้ใช้บัณฑิต ดังนั้น การที่ สมศ.นำผลสอบ U-NET มาใช้จะเป็นเสมือนหน่วยงานกลางในการประเมิน เพื่อให้เกิดมาตรฐานเดียวกัน

ทั้งนี้ เท่าที่ได้หารือร่วมกับทางสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (สทศ.) ซึ่งรับผิดชอบจัดสอบ U-NET เบื้องต้นจะจัดสอบฟรี ให้แก่นิสิตนักศึกษาชั้นปีสุดท้ายของทุกหลักสูตร ระดับปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอกทั่วประเทศ โดยจะวัดองค์ความรู้ความสามารถของบัณฑิต ใน 4 วิชา ได้แก่ 1) ความสามารถภาษาไทย 2) ความสามารถภาษาอังกฤษ 3) การคิดวิเคราะห์ และ 4) การใช้สื่อเทคโนโลยี ซึ่งทาง สทศ.ยืนยันว่าจะจัดสอบครั้งแรกได้ก่อนเดือนมิถุนายน ปี 2558 อย่างไรก็ตาม ยังห่วงและกังวลในเรื่องการวัดเรื่องวิชาชีพ เพราะมีอาชีพจำนวนมากอีกทั้งบางสาขา/คณะ ไม่มีสภาวิชาชีพควบคุม เพราะฉะนั้น สมศ.และ วทศ.จะหารือกับสภาวิชาชีพว่าจะดำเนินการใดได้บ้าง

ผอ.สมศ.กล่าวด้วยว่า ทั้งนี้ นอกจาก สทศ.ยังมีในส่วนของที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) ก็เสนอว่าจะเป็นหน่วยงานกลางในการพัฒนา U-NET เช่นเดียวกัน ขณะเดียวกัน องค์ประกอบการประเมินมหาวิทยาลัยไม่ใช่แค่การวัดความรู้ความสามารถบัณฑิตใน 4 วิชาเท่านั้น สมศ.จะนำกรอบกรอบมาตรฐานคุณวุฒิอุดมศึกษาแห่งชาติ หรือ TQF ที่กำหนด 5 ด้านหลัก คือ 1) ด้านคุณธรรม จริยธรรม 2) ด้านความรู้ 3) ด้านทักษะทางปัญญา 4) ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5) ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ รวมถึงความพึงพอใจผู้ใช้บัณฑิต มาใช้เป็นองค์ประกอบหนึ่งในการประเมินด้วย

ด้าน รศ.ดร.สัมพันธ์ พันธุ์พฤกษ์ ผอ.สทศ. กล่าวว่า สทศ.ได้มีการกำหนดกรอบงานวิจัยโครงการการวิจัย U-NET มาตั้งแต่ปี 2554 ซึ่งขณะนี้อยู่ในขั้นตอนของการจัดตั้งคณะทำงานพัฒนาข้อสอบ ทั้ง 4 วิชา ซึ่งคาดว่าจะสามารถจัดสอบมหาวิทยาลัยได้ทัน เพื่อให้สมศ.นำคะแนนไปใช้ในการประเมินมหาวิทยาลัยในปี 2558 อย่างไรก็ตาม สทศ.จะนำเรื่องดังกล่าวเข้าที่ประชุมคณะกรรมการบริหาร สทศ.ในวันที่ 24 มี.ค.2557 นี้ เพื่อแจ้งความคืบหน้าในการจัดสอบยูเน็ต นำไปสู่กระบวนการออกข้อสอบยูเน็ต
http://www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?newsid=9570000032784

การศึกษาไทย เรียนให้ตาย ก็สู้เลียไม่ได้

การศึกษาไทย เรียนให้ตาย ก็สู้เลียไม่ได้
การศึกษาไทย เรียนให้ตาย ก็สู้เลียไม่ได้

สี่วาทะการศึกษา .. วันนี้
การศึกษาไทย เรียนให้ตาย ก็สู้เลียไม่ได้
การศึกษาไทย เรียนให้ตาย ก็สู้ขาวไม่ได้
การศึกษาไทย เรียนให้ตาย ก็สู้เส้นไม่ได้
การศึกษาไทย เรียนให้ตาย ก็สู้ทุจริตไม่ได้” (คนโกงเขาเชื่ออย่างนั้น)
จากเพลงเรียนและงาน
http://www.youtube.com/watch?v=EDw98E7Lh0o

15 มิ.ย.56 นักเรียน ม.4 มีวาทะว่า “การศึกษาไทย เรียนให้ตาย ก็สู้เลียไม่ได้
ในโครงการสมัชชาการศึกษา ครั้งที่ 2 โดยเครือข่ายยุวทัศน์ กรุงเทพมหานคร
ที่ได้รับการสนับสนุนจาก
สำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน (สสค)
และกระทรวงศึกษาธิการ ณ โรงแรมบางกอกชฎา กรุงเทพมหานคร
https://www.facebook.com/quotequotequote/posts/552626601494322
https://www.facebook.com/EducationReview/photos/a.519999038069381.1073741828.519774391425179/563846200351331/

24 มี.ค.57 เป็นที่มาของวาทะ “การศึกษาไทย เรียนให้ตาย ก็สู้ขาวไม่ได้
ขำขำนะครับ เพราะผมเห็นโฆษณาของโฮโม
ที่เจ้านายเลือกไม่ได้เลือกจากความรู้ความสามารถแต่เลือกจากความขาว
มีคลิ๊ปหัวหน้าเลือกนักข่าวจากสีเสื้อ สืบค้นยังไม่พบ
http://www.youtube.com/watch?v=8aVjfSnwRvc

6 มี.ค.56 เป็นที่มาของวาทะ “การศึกษาไทย เรียนให้ตาย ก็สู้ทุจริตไม่ได้
จากที่ คุณสรยุทธ พูดคุยกับ นายธานินทร์ เปรมปรีดิ์
รองผู้อำนวยการสำนักคดีอาญาพิเศษ กรมสอบสวนคดีพิเศษ
เรื่องทุจริตครูผู้ช่วย มีประเด็นหลายข้อ
1. ส่งมือปืน คนนั่งหน้าหลัง
2. ใช้เครื่องมือสื่อสารเข้าห้องสอบ
3. ข้อสอบรั่ว เอาโพยเข้าห้องสอบ
ค่าจ้างสำหรับการทุจริต ประมาณ 300,000 – 500,000 บาท
จากกรณีที่พบทุจริตการสอบบรรจุเป็นข้าราชการ ตำแหน่งครูผู้ช่วย
มีคนได้คะแนนเต็มถึง 480 คน
http://education.kapook.com/view58020.html
http://www.youtube.com/watch?v=0mk3P-zfgRo

ความเห็น เรื่องเห็นต่าง

teacher & student
teacher & student

ปัจจุบันครูไทย .. เลือกปฏิบัติมาได้พักหนึ่งแล้ว
กับนักเรียนแต่ละคนแตกต่างกันแล้ว
นักเรียนก็เลือกเรียนกับครูแตกต่างกันแล้ว เช่นกัน

หมายความ ..
ว่าครูไม่ได้สาดวิชา โดยไม่ดูนักเรียน ดูใกล้ชิดเลย
และนักเรียนก็ไม่ได้รอรับการสาดวิชากับอยู่อย่างเดียว
เพราะถ้าครูไม่สาด หรือสาดน้อยไป เจอเปลี่ยนที่เรียนครับ

มีข้อมูลแลกเปลี่ยน .. ดังนี้
1. นักเรียนมีหลายกลุ่ม
กลุ่มที่เปิดรับวิชาจะเลือกที่เรียนที่สาดวิชา
เช่น โรงเรียนประจำจังหวัด ที่สมัครเป็นพัน แต่รับไม่กี่ร้อย
กลุ่มที่ไม่อยากรับอะไร ก็เลือกที่เรียนที่ไม่สาดวิชา
เช่น โรงเรียนในชุมชน โรงเรียนที่ไม่ต้องสอบแข่ง
2. คุณครูมักไม่เทจนหมดหน้าตักในห้องเรียน
เพราะเงื่อนไขเยอะมาก เวลาสอนน้อยลงเยอะ
ต้องเกลี่ยไปตามกลุ่มสาระ ต้องบูรณาการ ติดงานหลวง
3. ถ้าเด็กอยากเรียนมาก ครูก็เปิดติว
พากลับไปเรียนต่อที่บ้าน จัดคอร์สพิเศษ สำหรับผู้สนใจ
4. ในแต่ละโรงเรียน มีหลายห้องตามถนัด ตามชอบ
แบ่งห้อง king queen math engl
5. โรงเรียนประจำจังหวัด
สอบเข้า ม.1 แล้ว ถ้าไม่พร้อมรับการสาดวิชา
ต้องกรองอีกตอนสอบเข้า ม.4
ถ้าไม่อยากเรียน ก็ไม่ต้องทำข้อสอบ
ไปหาโรงเรียนเบา ๆ เรียนได้ เด็กเลือกได้เสมอ

กลอนโดย กอบวิทย์ พิริยะวัฒน์
http://teacherkobwit2010.wordpress.com/

เปรียบคนถือสายยางนี้นี่คือครูเปรียบสายน้ำคือความรู้ครูสอนให้
เปรียบศิษย์กับภาชนะต่างกันไป
เปรียบให้เห็นตระหนักไว้ให้คิดกัน
หากเรามุ่งแต่สาดน้ำไปมั่วซั่ว
แม้จะทั่วแต่จะรับได้ไหมนั่น
ภาชนะแต่ละใบแตกต่างกัน
แต่ละอันมีเด่นด้อยต่างกันไป
บ้างเป็นขวดบ้างเป็นแก้วบ้างเป็นอ่าง
บ้างมีรูอยู่ข้างล่างบ้างเล็กใหญ่
บ้างคว่ำอยู่ไม่เปิดรับสิ่งอื่นใด
รับน้ำได้เท่ากันไหมลองคิดดู
เช่นเดียวกับการสอนศิษย์ของครูนั้น
เด็กต่างกันคือสิ่งที่ครูต้องรู้
ปรับการสอนให้เหมาะสมช่วยอุ้มชู
ตามศักยภาพที่มีอยู่ในตัวตน
ครูที่ดีต้องไม่ใช่สาดความรู้
ตริตรองดูสอนอย่างไรให้เห็นผล
คำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล
พัฒนาจนศิษย์เก่งดีมีสุขเอย

https://www.facebook.com/photo.php?fbid=808741769153811&set=a.118832161478112.15682.100000539852258
ที่มา: วรภัทร์ ภู่เจริญ. 2543.
การบริหารการเรียนรู้ที่ยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ
กรุงเทพ : สำนักพิมพ์ สสท. หน้า 11

ในภาพยนตร์จำลองเหตุการณ์ในชั้นเรียน
เล่าถึงกระบวนการพิจารณาไล่นักเรียนออกจากโรงเรียน
เห็นว่าปีที่แล้วเชิญนักเรียนที่ไม่พร้อมออกไป 12 คน

การบินไทยแจกทุนนักบินฝึกหัดเริ่มรับสมัคร 1 เม.ย.นี้

28 กุมภาพันธ์ 2557
การบินไทยแจกทุนนักบินฝึกหัดเริ่มรับสมัคร 1 เม.ย.นี้
  
          การบินไทย ประกาศรับสมัครบุคคลทั่วไป สอบคัดเลือกเป็น “นักบินฝึกหัดทุนการบินไทย” เริ่มรับสมัครวันที่ 1 เม.ย.57 เป็นต้นไป ผ่านทางออนไลน์ ซึ่งมี 7 ขั้นตอนการสอบ ได้แก่
1. สอบข้อเขียน ทดสอบความรู้พื้นฐานของการเป็นนักบิน
2.ทดสอบควมพร้อมของร่างกาย
3.สอบสัมภาษณ์กับกัปตันการบินไทย
4. สอบAptitude Test รอบแรกกับ Professor: Written test
5.สอบ Aptiude Test รอบสองกับ Professor: Teamwork Exercise
6.สอบ Aptiude Test รอบสามกับ Professor: Individual
7.สอบจิตวิทยาการบิน
       
รับสมัครระหว่างวันที่ 1-18 เม.ย.57 ผ่านทางระบบออนไลน์เท่านั้น ที่เว็บไซต์ http:// www.tgpilotrecruitment.com/
 
ที่มา: หนังสือพิมพ์สยามกีฬา
http://www.moe.go.th/moe/th/news/detail.php?NewsID=35958&Key=hotnews