July 2014

รศ.กำจร ตติยกวี จะรื้อใหญ่แก้ปัญหาหลักสูตรไม่ตอบรับภาคแรงงานมานานแล้ว

คุณณฐา จิรอนันตกุล นักข่าว Thaipbs รายงานเรื่องที่ เลขาฯ สกอ. จะรื้อใหญ่
ระบบการศึกษาไทย ชี้ให้เห็นปัญหาระหว่าง demand กับ supply ไม่ตรงกัน
ผู้ผลิตก็ผลิตบัณฑิตไปอีกทาง ผู้บริโภคแรงงานก็ไม่ได้ที่ต้องการ บัณฑิตก็เคว้งคว้างว่างงาน
เพราะเลือกเรียนไม่ตรงกับความต้องการของตลาด เลือกเรียนที่มีความสุข สนุกสนาน

ก็ผู้บริโภคแรงงานมีค่านิยมรับแต่คนเก่ง .. ไม่รับคนดี
สวนกระแส ที่เด็ก ๆ มักได้รับผ่านสื่อ ว่า
อะไรก็ไม่เป็น แต่ขอให้เป็นคนดี เดี๋ยวผู้ประกอบการก็จะรับเข้าทำงาน
ผู้สัมภาษณ์: พิมพ์ดีดเป็นไหม
ผู้สมัคร: ไม่เป็นครับ
ผู้สัมภาษณ์: ใช้คอมพิวเตอร์เป็นไหม
ผู้สมัคร: ไม่เป็นครับ
ผู้สัมภาษณ์: เอ้า! แล้วเป็นอะไรมั่งเนี่ย
ผู้สมัคร: เป็นคนดีครับ
ผู้สัมภาษณ์: โอเค…รับเลย
http://kt-thoughts.blogspot.com/2011_12_01_archive.html
ในชีวิตจริง ไม่เหมือนกับกระแสสังคมที่เด็ก ๆ รับไปนะครับ

ปัญหาเรื่อง demand กับ supply มีรายละเอียดเยอะจริง ๆ ครับ

สกอ.เตรียมรื้อใหญ่ระบบการศึกษา ตั้งแต่ ปวส. ปริญญาตรี-โท-เอก เน้นคุณภาพรับตลาดแรงงาน กลุ้มใจหลายสถาบันการศึกษาเน้นปริมาณ ไม่สนเด็กจบมาตกงานอื้อ ชี้ “ครู” จบปีละหมื่น
ได้งานปีละพัน แต่เด็กไม่เคยรู้ข้อมูล บริษัทขนาดใหญ่บางแห่งเลือกรับเด็กบางมหาวิทยาลัยทำงาน พร้อมเตรียมฟัน ดร.เก๊!ไร้คุณภาพ

จากข้อมูลการสำรวจของสำนักงานสถิติแห่งชาติที่ระบุ 5 อันดับของคนตกงานมากที่สุดในปี 2557 นี้ มีอาชีพอะไรบ้าง ได้แก่
อันดับที่ 1 คือ อาชีพที่เกี่ยวกับการบริหารธุรกิจ/บริหารการพาณิชย์
อันดับที่ 2 คือ สายงานคอมพิวเตอร์
อันดับที่ 3 คือ สายวิศวกร
อันดับที่ 4 คือ สังคมศาสตร์
อันดับที่ 5 คือ สายมนุษยศาสตร์

สิ่งที่น่าสนใจ คือ สายงานที่ได้รับความนิยมเรียนอย่างมากอย่างสายงานอย่างคอมพิวเตอร์ และสายงานวิศวกรรมนั้นทำไมถึงติดอันดับคนตกงานมากสุดในอันดับ 2 และ 3 แซงหน้าสายสังคมศาสตร์ และมนุษยศาสตร์เสียอีก ขณะที่แรงงานสายช่างกลับขาดแคลนหนักเพราะนักศึกษาระดับปวช.ปวส.สนใจเรียนต่อเพื่อเอาวุฒิปริญญาตรีไปทำงานมากกว่า

ผลสำรวจนี้สะท้อนให้เห็นชัดเจนว่าระบบการศึกษาของไทยกำลังมีปัญหาอย่างหนัก โดยเฉพาะการผลิตบุคลากรเพื่อรองรับตลาดแรงงานที่ไม่สอดรับกัน

ปฏิรูป “สายช่าง” ให้ไปต่อได้อีก
รศ.กำจร ตติยกวี เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา(สกอ.)เปิดเผยกับ “ผู้สื่อข่าวออนไลน์ไทยพีบีเอส” ถึงแผนการปฏิรูประบบการศึกษาในระดับอุดมศึกษาแบบที่เรียกว่า “รื้อใหญ่” โดยระบุว่า ปัญหาของหลักสูตรการศึกษาระดับอุดมศึกษาที่ไม่ตอบรับภาคแรงงานมีมานานแล้ว ซึ่งถือเป็นปัญหาใหญ่ และต้องแก้ไขทุกระดับ

เริ่มตั้งแต่ระดับปวช-.ปวส. ปัญหาการขาดแคลนแรงงานประเภทช่างเป็นตัวบ่งบอกปัญหาในการเรียรการสอนระดับปวช.และ ปวส.ได้อย่างดี

ความต้องการหลักอยู่ที่ช่าง แต่การผลิตในสายอาชีวะมีปัญหา เพราะค่านิยมการได้ใบปริญญามีค่อนข้างสูงในสังคมไทย และยิ่งมีปัญหามากขึ้นเมื่อได้รับผลกระทบจากการที่รัฐบาลชุดที่ผ่านมาประกาศนโยบายเงินเดือน 15,000 บาทสำหรับคนจบปริญญาตรี มั่นใจว่าเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้นักศึกษาที่จบสายช่างมีน้อยลงไปอีก” เลขาธิการ สกอ.กล่าว

ดังนั้นปัญหานี้เป็นปัญหาเร่งด่วนหนึ่งที่ต้องแก้

เลขาธิการ สกอ. ชี้ว่าปัญหาของการเรียนสายช่างคือ ไม่มีหลักสูตรให้คนต่อปริญญาตรีได้ ดังนั้นคนจึงไม่เลือกเรียนสายช่าง ขณะนี้จึงกำลังทบทวนว่าหลักสูตรสายช่างจะต้องมีมากขึ้น และต้องเป็นหลักสูตรสายช่างที่เด็กสามารถเรียนต่อปริญญาตรีได้ด้วย

ถ้าทบทวนตรงนี้ได้ เด็กก็จะไม่หันเหจากปวช.- ปวส. ไปเรียนปริญญาตรี เพราะสายช่างพอไปเรียนปริญญาตรีก็ไม่เก่งเท่าปริญญาตรีจริง จบออกมาก็แข่งขันไม่ได้ ผู้ประกอบการไม่รับ แต่ถ้าเรียนสายช่างแล้วไปทำงานเลย ตลาดแรงงานมีรองรับอยู่มาก

ต่อไปหลักสูตรที่จะมีเพิ่มขึ้น คือหลักสูตรที่ให้เด็กปวส.สามารถเรียนต่อเนื่องได้ แต่หากใครไม่อยากเรียนต่อก็สามารถทำงานได้เลย เพราะคนจบปวส.ตอนนี้หากจบสายช่าง และมีฝีมือ เงินเดือนก็เท่าคนที่จบปริญญาตรี และมีความก้าวหน้าในสายอาชีพทีดีไม่น้อยไปกว่าสายปริญญาตรี ไม่จำเป็นต้องเรียนต่อปริญญาตรี แต่หากคนไหนอยากเรียนต่อปริญญาตรีจริงๆ ก็จะมีหลักสูตรรองรับ แต่สุดท้ายจะตัดสินใจมาทำงานช่างโดยวุฒิ ปวส.ก็ได้ด้วย

นับเป็นจุดสำคัญของระบบการศึกษาไทยที่กำลังจะปรับ!

จบปริญญาตรีแต่ไร้คุณภาพ!
สำหรับระดับปริญญาตรี ที่มีการไปสำรวจว่าเรียนจบมาแล้วตกงานจำนวนมากในสาขาคอมพิวเตอร์ และวิศวกรรม เลขาธิการ สกอ.เปิดเผยว่า โดยความเป็นจริงแล้ว นักศึกษาที่เรียนจบทั้ง 2 สาขาหากเป็นผู้มีศักยภาพสูง จะไม่ประสบปัญหาตกงาน แต่ยอมรับว่าปัญหาใหญ่ของระบบการเรียนการสอนระดับปริญญาตรีคือคุณภาพ

“ตลาดแรงงานยังมีตำแหน่งที่ต้องการคนจบใหม่ไปทำงานเยอะ แต่ต้องการเฉพาะคนมีศักยภาพสูงเท่านั้น”

ดังนั้นปัญหาจริงๆ คือการผลิตบัณฑิตที่ไม่มีคุณภาพ ทำให้ปัญหาของการตกงานอยู่ที่ปัจจัยสำคัญ คือจบมาจากสถาบันที่ไม่น่าเชื่อถือ จบในสาขาไม่ตรงตลาดแรงงาน และจบมาแล้วความรู้ด้อยเกินไป และสำหรับตำแหน่งที่เฉพาะตัว บางคนก็มีการเลือกงาน ก็มีโอกาสตกงานได้เหมือนกัน

“ตลาดไอทียังเติบโตเยอะ แต่ต้องการคนมีศักยภาพ เข้าไปแล้วทำงานได้เลย ไม่ใช่เข้าไปถึงทำได้แต่ word กับ excel”

จุดนี้เลขาฯ สกอ.ระบุว่า จะต้องมีการสำรวจอย่างจริงจังและสะท้อนกลับไปให้สถาบันต่างๆ เห็นเลยว่า สถาบันใดบ้างที่กำลังมีปัญหา เพราะที่ผ่านมาการสะท้อนแบบนี้ไม่เคยเกิดขึ้น

ดัชนีชี้คุณภาพ? เมื่อหลายบริษัทเลือก ไม่รับเด็กบางมหาวิทยาลัย
ต่อไปต้องมีการสำรวจฝ่ายบุคคลของบริษัทใหญ่ๆ ว่าเวลาสมัครงาน ใครมาสมัคร แล้วรับใคร คุณสมบัติแบบไหนที่รับ แล้วแต่ละบริษัทมีลิสต์สถาบันที่จะรับจริงไหม ทำไมรับแต่คนจบจุฬาฯ ธรรมศาสตร์ฯ ทำไมคนจบจากมหาวิทยาลัยราชภัฎจึงไม่รับ อย่างบริษัทใหญ่บางแห่งส่วนใหญ่ถึงรับแต่วิศวะฯ จุฬา เป็นต้น” เลขาธิการ สกอ.ระบุ

โดยสำหรับ สกอ.เอง ที่ผ่านมาได้มีการสำรวจอัตราการสอบ ก.พ. ซึ่งจะมีทั้งเด็กจบใหม่ และเด็กไม่เก่งที่ยังค้างอยู่ในตลาดแรงงานมาสอบ พบว่า มีสถาบันบางแห่งคนไปสอบ ก.พ. ภาค ก. จำนวน 8,000 คน แต่สอบก.พ. ภาคก.ได้แค่ 70 คน

ไม่ถึง 1 เปอร์เซ็นต์ที่สอบได้ คนที่ไม่ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 90 กว่า

นี่คือข้อมูลที่น่าตกใจ!

ซึ่งทาง สกอ.ก็ยอมรับว่าการสะท้อนกลับไปตรงๆ ที่สถาบันต่างๆ นั้น ทำให้สถาบันต่างๆ ไม่ชอบใจนัก

ต้องเข้าใจว่าในสังคมไทยไม่ชอบถูกประเมิน อย่างสมศ.(สำนักงานรับรองและประเมินคุณภาพการศึกษา) ตอนนี้ก็มีปัญหาว่ามีคนเสนอให้ยุบ เพราะไม่อยากถูกประเมิน และเมื่อประเมินแล้วก็ยังสะท้อนกลับไปไม่ชัด เมื่อสะท้อนกลับไปไม่ชัด ก็เกิดปัญหาว่าสถาบันต่างๆ ไม่ยอมรับ

จบครูปีละหมื่น แต่มีตำแหน่งงานให้ปีละพัน!
ในขณะที่ข้อมูลยังระบุว่า การเรียนในหลักสูตรครูก็ประสบปัญหา เพราะตอนนี้มีการผลิตครูปีละ 10,000 คนรวมทุกมหาวิทยาลัย แต่มีตำแหน่งงานครูให้ปีละ 1,000 คน

เป็นเรื่องใหญ่เรื่องหนึ่งที่ เลขาธิการ สกอ.ยอมรับว่าหนักใจ เพราะสถาบันการศึกษาที่ผลิตครูไม่ยอมบอกผู้เรียนไปตรงๆ ว่าเรียนแล้วคุณจะตกงาน และที่สำคัญคือเด็กเองก็รู้แค่ว่าจะเรียนอะไร แต่ไม่รู้เลยว่า เรียนแล้วจะไปทำงานอะไร ตลาดแรงงานรองรับหรือไม่

คนเรียนจบครูตอนนี้เลยตกงานอื้อ!

สิ่งที่สกอ.กำลังทำคือพยายามจะหากลไกมาสะท้อนกลับในส่วนนี้ โดยเฉพาะความร่วมมือกับสื่อมวลชนที่จะกำหนดตัวชี้วัดบางตัวขึ้นมา เพื่อให้ทำเรทติ้งสถาบันต่างๆ เพื่อวัดคุณภาพมหาวิทยาลัย แต่ตอนนี้ยังเป็นแค่แนวคิด ยังไม่ได้มีความร่วมมืออย่างจริงจัง

เตรียมฟันพวกลอกวิทยา จบ ป.โท-เอกไร้คุณภาพ
รศ.กำจร ตติยกวียังกล่าวถึงปัญหาการศึกษาในระดับปริญญาโท และปริญญาเอก ของสถาบันการศึกษาต่างๆ ว่า เป็นอีกส่วนหนึ่งที่กำลังเป็นปัญหา และต้องเร่งแก้ไข เพราะวันนี้คำถามเรื่องคุณภาพเป็นเรื่องที่มีการถามกันมาก

“ในระดับปริญญาโท และปริญญาเอก การจ้างทำวิทยานิพนธ์และการลอกวิทยานิพนธ์เป็นเรื่องที่เป็นปัญหาใหญ่มาก ซึ่งจุดนี้ทาง สกอ.ได้เตรียมที่จะแก้ไข”

เลขาธิการ สกอ. กล่าวต่อไปว่า ทาง สกอ. เตรียมจะดำเนินการแก้ปัญหาการคัดลอกวิทยานิพนธ์เป็นพิเศษ โดยสกอ.จะให้ทางสถาบันการศึกษาต่างๆ กำหนดเกณฑ์การตรวจสอบวิทยานิพนธ์ว่าอนุญาตให้มีการกึ่งคัดลอกวิทยานิพนธ์ได้ในสัดส่วนกี่เปอร์เซ็นต์ ซึ่งตรงนี้ แต่ละสถาบันการศึกษาจะให้นักศึกษารับผิดชอบแต่เพียงคนเดียวไม่ได้ อาจารย์ที่ปรึกษา และสถาบันจะต้องร่วมรับผิดชอบในส่วนนี้ด้วย

โดยหลังจากสถาบันต่างๆ กำหนดเกณฑ์การคัดลอกวิทยานิพนธ์แล้ว สกอ.จะนำวิทยานิพนธ์ฉบับนั้นๆ มาตรวจสอบอีกรอบหนึ่งก่อนทำการตีพิมพ์วิทยานิพนธ์ โดยสกอ.จะตั้งเกณฑ์การคัดลอกให้สูงกว่าที่สถาบันต่างๆ ที่กำหนดไว้ เช่น หากสถาบันการศึกษากำหนดเกณฑ์การคัดลอกไว้ที่ 30% ทางสกอ.จะกำหนดเกณฑ์การคัดลอกที่สูงกว่า

“ไม่ได้บอกว่าห้ามอ่านวิทยานิพนธ์คนอื่น อ่านได้ ทบทวนวรรณกรรมเสร็จต้องสร้างความเป็นตัวตนของตัวผู้วิจัยขึ้นมาให้ได้”

และเพื่อไม่ให้สถาบันต่างๆ อ้างว่าไม่มีเครื่องมือ ขณะนี้ สกอ.ก็กำลังเตรียมหาเครื่องมือเพื่อให้สถาบันการศึกษาต่างๆ นำไปใช้ตรวจวัดวิทยานิพนธ์อยู่ คาดว่าอีกไม่นานคงเรียบร้อย และจะเริ่มใช้ในปีการศึกษาที่จะถึงนี้

ต่อไป ปริญญาโท ปริญญาเอก จะมีคุณภาพมากขึ้น ไม่ต้องมีคำถามอีกว่า คนๆ นี้จบดร.มาได้ยังไง ไม่มีความรู้ ทำไมนักการเมืองได้ดร.ง่าย ต่อไปต้องตอบคำถามได้ คือคนที่ทำวิทยานิพนธ์จะต้องตอบคำถามได้จริง มีความรู้จริง อย่างนี้ถึงจะจบจริง

รศ.กำจรบอกว่าทุกวันนี้ถามคำเดียวรู้ได้แล้วใครทำวิทยานิพนธ์จริง ไม่จริง

ถามคำเดียวรู้เลย ใครทำจริง ไม่จริง คือถามว่าทำวิทยานิพนธ์ ทำสารนิพนธ์เรื่องอะไร ใครตอบตะกุกตะกัก หรือขึ้นชื่อวิทยานิพนธ์ว่าสำรวจความพึงพอใจอย่างนี้ อนุมานได้ก่อนว่าไม่ได้ทำเอง ลอกตามๆ แบบเดิมกันมา หรือบางคนก็ตอบคำถามไม่ได้ด้วยซ้ำว่าอาจารย์ที่ปรึกษาชื่ออะไร” รศ.กำจร ตติยกวี กล่าวทิ้งท้าย

นี่คืออีกก้าวของการปฏิรูปการศึกษา ที่หลายคนบอกว่าปัญหาการศึกษาไทยเป็นแผลเก่าที่สมานได้ยาก

ต้องจับตาดูว่า สกอ.จะทำงานใหญ่งานนี้สำเร็จหรือไม่? แต่ถ้าทำได้ นั่นหมายถึงคุณภาพของระบบการศึกษาไทยเริ่มเห็นแสงสว่างรำไร

รายงานพิเศษโดย : ณฐา จิรอนันตกุล ทีมข่าวไทยพีบีเอสออนไลน์

http://bit.ly/1rD32tD

หนังเรื่อง Waiting for Superman สารคดีตีแผ่ปัญหาคุณภาพการศึกษาอเมริกัน

ที่อเมริกาก็มีปัญหาด้านการศึกษา โดยเฉพาะวิชาคณิตศาสตร์
ครองอันดับ 25 จาก 30 ประเทศที่พัฒนาแล้ว

แสดงว่าเด็กที่อเมริกาคิดว่ามนุษย์ไม่เหมือนมนุษย์ธรรมดา
คิดว่าจะมีคนเก่งขั้นเทพ และโชคชะตาจะมาช่วยเหลือ
แล้วเป็นเหตุให้มีความพยายามช่วยเหลือตนเองไม่มากเท่าที่ควร
แต่ถ้าคิดว่ามนุษย์ทุกคนก็เป็นแค่สิ่งมีชีวิต ที่เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป
เขาอาจลดจินตนาการมาใกล้เคียงกับความเป็นจริง
แล้วพยายามอย่างที่สิ่งมีชีวิตอื่น ๆ เขาทำกัน

ภาพยนตร์ Waiting for Superman
การศึกษาวิชาคณิตศาสตร์ของอเมริกาจัดอยู่ลำดับที่ 25 และรั้งท้ายในหลายวิชา เมื่อเทียบกับ 30 ประเทศที่พัฒนาแล้ว แต่กลับสวนทางกับความมั่นใจในตัวเองของวัยรุ่นอเมริกันที่พุ่งสูงเป็นอันดับ 1 ระบบการศึกษาที่ไร้คุณภาพ และโอกาสอันริบหรี่ที่จะได้เข้าโรงเรียนรัฐบาลชื่อดัง ซึ่งทำให้อนาคตของเยาวชนทั้งประเทศต้องแขวนอยู่บนเส้นด้าย นำมาตีแผ่ผ่านภาพยนตร์สารคดี Waiting for Superman

ไม่เพียงเจาะลึกวิกฤตการศึกษาอเมริกาได้อย่างน่าเชื่อถือ ภาพยนตร์สารคดีเรื่องนี้ยังนำเสนอข้อมูลต่าง ๆ ให้เข้าใจง่ายผ่านแอนิเมชั่น ละครและภาพยนตร์ฮิตในอดีต ทำให้ผู้คนตระหนักถึงปัญหาการศึกษาที่ฝังลึกจนยากจะเยียวยา และพยายามหาทางออกที่เป็นรูปธรรม สารคดีเรื่องนี้สร้างสรรค์โดย Davis Guggenheim ผู้กำกับหนังสารคดีตีแผ่สิ่งแวดล้อม An Inconvenient Truth และคว้ารางวัลใหญ่ในปี 2010 จากเทศกาลซันแดนซ์ และ Critics’ Choice Movie Awards

ติดตามชีวิตนักเรียนอเมริกันทั้ง 5 คน กับวิกฤตทางการศึกษาที่ต้องเผชิญ และการพยายามหาทางออกด้วยตัวเอง โดยหยุดฝันเฟื่องถึงฮีโร่ที่ไม่มีอยู่จริง ก่อนทุกอย่างจะสายเกินแก้ ในภาพยนตร์สารคดี Waiting for Superman Thai เธียเตอร์ 22.00 น. ทาง ThaiPBS

คนในแวดวงการศึกษาและนักการเมืองในอเมริกาหลายคนได้มีโอกาสชมภาพยนตร์สารคดีเรื่องนี้ หนึ่งในนั้นก็คือประธานาธิบดี Barack Obama ซึ่งสนใจประเด็นนี้มาก จนถึงขั้นเชิญผู้กำกับและเด็กในสารคดีทั้งห้าเข้าไปพูดคุยถึงทำเนียบขาวเลยทีเดียว

http://bit.ly/1rlnbRo

Movie trailer
http://www.youtube.com/watch?v=ZKTfaro96dg

คุณธรรม จริยธรรม จากงานวิจัย

เห็นข่าวเด่นทางทีวีที่เล่าถึงการกระทำผิดของผู้คน เห็นได้ชัดว่าผู้กระทำความผิดไม่น้อย ขาดจริยธรรมตั้งแต่ขั้นที่ 1 ที่มักพบในเด็กอายุ 2 – 10 ขวบ ตามทฤษฎีของ Kohlberg ที่ ผศ.ดร.ดุจเดือน ได้ไปสังเคราะห์มา ก็ไม่อยากจะยกตัวอย่าง เพราะตัวอย่างมีให้เห็นแทบทุกวันในข่าวเช้าเกือบทุกช่อง วันไหนไม่มี ถือว่าผิดปกติมากมาย

Lawrence Kohlberg
Lawrence Kohlberg
อ่าน รายงานการสังเคราะห์งานวิจัยเกี่ยวกับคุณธรรมจริยธรรมในประเทศไทยและต่างประเทศ [1] ของ ผศ.ดร.ดุจเดือน พันธุนาวิน (2550) ได้รับการสนับสนุนจากศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาพลังแผ่นดินเชิงคุณธรรม สำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ (องค์กรมหาชน)
โดยเล่าเรื่องของ พัฒนาการทางจริยธรรม (Moral Development) 
ตามทฤษฎีของ Kohlberg (1969)  ในหน้า 9 ว่า ระดับจริยธรรม และอายุมี 3 ระดับ 
แต่ละระดับมี 2 ขั้นของการใช้เหตุผลเชิงจริยธรรม ดังนี้

ระดับที่ 1 ก่อนกฎเกณฑ์ อายุ 2 – 10 ขวบ
– ขั้นที่ 1 หลักการหลบหลีกการถูกลงโทษ (คล้ายกับคำว่า หิริโอตัปปะ) สมัยเด็ก แค่เด็กไม่ร้องไห้เอาแต่ใจ เพราะกลัวถูกตีก็เรียกว่ามีจริยธรรมได้
– ขั้นที่ 2 หลักการแสวงหารางวัล สมัยเด็ก เด็กคนไหนเชื่อฟัง อาบน้ำกินข้าว เพราะหวังขนม เรียกว่ามีจริยธรรมได้

ระดับที่ 2 ตามกฎเกณฑ์ อายุ 10 – 16 ปี
– ขั้นที่ 3 หลักการทําตามความเห็นชอบของผู้อื่น สมัยแรกรุ่น ใครว่าสิ่งไหนดี แล้วทำตาม เรียกว่ามีจริยธรรมได้
– ขั้นที่ 4 หลักการทําตามหน้าที่และกฎข้อบังคับในสังคม สมัยแรกรุ่น แต่ชุดนักเรียน ไม่ไว้ผมยาว ไม่เข้าเรียนสาย เรียกว่ามีจริยธรรมได้

ระดับที่ 3 เหนือกฎเกณฑ์ อายุ 16 ปี ขึ้นไป
– ขั้นที่ 5 หลักการทําตามคํามั่นสัญญา สมัยผู้ใหญ่ ไม่โกหก ไม่นอกใจ ไม่หักหลัง เรียกว่ามีจริยธรรมได้
– ขั้นที่ 6 หลักการยึดอุดมคติสากล สมัยผู้ใหญ่ คิดดี พูดดี ทำดี อย่างที่สังคมต้องการ เรียกว่ามีจริยธรรมได้

ต่อมา Lawrence Kohlberg ได้เขียนบทความถึงขั้นที่สูงกว่าไว้หลายบทความ
แล้วนักวิชาการได้ให้ความสําคัญกับขั้นที่ 7 มากขึ้น (Lapsley, 1996) 
โดยเรียกเหตุผลเชิงจริยธรรมในขั้นนี้ว่า “Ultimate faith” 
หรือ ขั้น “ความเชื่อศรัทธาขั้นปรมัตถ์ในความเกี่ยวเนื่องของชีวิต” 
เป็นการที่บุคคลกระทําหรือไม่กระทําสิ่งใด โดยคํานึงถึงความเกี่ยวเนื่องของผลการกระทํา
ทั้งในเชิงของสถานที่ และ/หรือ เวลา  
ซึ่งใกล้เคียงกับหลักทางพุทธศาสนาเกี่ยวกับ การเวียนว่ายตายเกิด (อเนกชาติ)    
---
คนมีจริยธรรมถึงขั้น 7 นี่ต้องดีโดยสมบูรณ์พร้อมเผื่อชาติหน้า ถึงจะเรียกว่ามีจริยธรรมในขั้นนี้
ประสูติ ตรัสรู้ ปรินิพพาน
ประสูติ ตรัสรู้ ปรินิพพาน

การสอดส่องดูแลนิสิตนักศึกษา .. เต้นโชว์

วันนี้เห็นหนังสือฉบับหนึ่ง ส่งถึงอธิการบดีในสถาบันต่าง ๆ และแทงเรื่องให้อาจารย์
ได้ช่วยกันสอดส่องดูแล เป็นประเด็นน่าสนใจครับ จึงไปค้นดูในเน็ตพบเยอะเลย
ถ้าอาจารย์เห็นว่าหน้าตาคุ้น ๆ ก็ไปสอบถาม ตักเตือน และชี้แนวทางที่ถูกต้องด้วยนะครับ
นักศึกษาอาจรู้เท่าไม่ถึงการ ก็เป็นได้ ถ้ารู้ว่าไม่ดี อีกหน่อยก็จะไม่ทำซ้ำ

ข้อความในหนังสือจาก สกอ. มีใจความดังนี้ จากกรณีสื่อสังคมออนไลน์กำลังวิพากษ์วิจารณ์คลิ๊ปวีดีโอเกี่ยวกับพฤติกรรมของหญิงสาว กลุ่มหนึ่งซึ่งสวมเครื่องแบบคล้ายนักศึกษา เต้นยั่วยวนในลักษณะอนาจารต่อหน้ากล้องภายในห้องน้ำแห่งหนึ่ง ภายหลังจากคลิ๊ปวีดีโอดังกล่าวถูกเผยแพร่ไปบนโซเชียลเน็ตเวิร์ก ต่างเกิดกระแสวิพากษ์วิจารณือย่างหนักนั้น

ในการนี้ สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาพิจารณาแล้ว เห็นว่า การแสดงออกดังกล่าว ของหญิงสาวกลุ่มนี้ ไม่ได้คำนึงถึงผลเสียที่จะตามมา เพราะไม่มีการปิดบังใบหน้าและใช้ห้องน้ำสาธารณะในการ แสดงพฤติกรรม ซึ่งบุคคลอื่นอาจมาพบเห็นได้ พฤติกรรมดังกล่าวน่าจะเป็นเพราะความคึกคะนอง ถือว่าเป็นการ แสดงออกในทางที่ไม่เหมาะสม ดังนั้น เพื่อมิให้เกิดเหตุการณ์ในทำนองเดียวกันกับกรณีดังกล่าว สำนักงาน คณะกรรมการการอุดมศึกษา จึงขอให้ท่านช่วยสอดส่องดูแลนักศึกษาของสถาบัน มิให้แสดงออกในลักษณะ ที่ไม่เหมาะสม โดยอาจกำหนดแนวทาง มาตรการ และระบบการดูแลนักศึกษาที่ดี
http://beta.soccersuck.com/boards/topic/1081592
http://news.mthai.com/hot-news/363276.html
http://www.thairath.co.th/content/434714

กรณีความขัดแย้งของน้องก้อยกับโค้ชเช

ขัดแย้ง น้อยก้อย กับ โค้ชเช
ขัดแย้ง น้อยก้อย กับ โค้ชเช
โค้ชทักษ์ ปัดอยู่เบื้องหลังชักใย
โค้ชทักษ์ ปัดอยู่เบื้องหลังชักใย

ติดตามข่าวที่ชาวไทยให้ความสนใจ ความขัดแย้งในกีฬาเทควันโด
เพราะเห็นข่าวมาเป็นตอน แต่ละตอนก็จะมีมุมมองต่างกันไป
ดูตอนเดียวแล้วสรุปไม่ได้ครับ
แต่ละตอนก็เป็นแต่ละมุมของแต่ละคน
เหมือนการตอบโต้ทางการเมืองที่เกิดขึ้นในไทยช่วงต้นปี 2557
ก่อนความสงบจะเข้ามาแทนที่ความขัดแย้งโดยสิ้นเชิง

คำว่า จริยธรรม = จริย + ธรรม = ความประพฤติ + คุณความดี
ผมว่าเรื่องนี้โยงเป็นกรณีศึกษา จริยธรรม ของ ศิษย์ กับ ครูฝึกได้นะ

ข่าวนี้เกิดในกีฬาเทควันโด (Taekwondo)
ระหว่างลูกศิษย์ น้องก้อย รุ่งระวี ขุระสะ กับครูฝึก โค้ชเช ชเว ยองซอก
เป็นข้อพิพาทว่าครูฝึกสั่งสอนลูกศิษย์เกินกว่าเหตุ
ลองมาตามข่าวกันครับ ก่อนจะแสดงความคิดเห็นก็ต้องมีข้อมูลกันก่อน

1. น้องก้อยถูกกระทำ ตัดสินใจประกาศอำลาทีมชาติ
น้อยก้อยเรียกร้องให้โค้ชเชมารับผิดชอบ
ด้วยการขอโทษต่อหน้าสื่อมวลชน เพราะไม่ใช่ความผิดของก้อย
เช้า 16 ก.ค.57
http://www.youtube.com/watch?v=tTtfUDhl6yk
เช้า 17 ก.ค.57
http://www.youtube.com/watch?v=iGATqqmX9zk

2. โค้ชแม็กซ์ ชัชวาล อัดคลิปยัน น้องก้อย รุ่งระวี ไม่เตรียมตัวก่อนแข่ง
ระบุผู้เข้าแข่งต้องเตรียมความพร้อม และวอล์มร่างกายก่อนแข่ง
เช้า 17 ก.ค.57
http://www.youtube.com/watch?v=8SR4mscMtFI

3. น้องวิว แสดงความเห็นว่า โค้ชน่าจะทำเพราะต้องการกระตุ้น
ให้ดีขึ้นกว่าเดิม ถ้าแข่งแพ้หมายถึงไม่ได้แพ้คนเดียว แต่ประเทศไทยแพ้
เช้า 17 ก.ค.57
http://www.youtube.com/watch?v=HY0ZE2f0qFY

4. นายพิมล ยืนยัน โค้ชเช บอกผ่าน แม็กซ์ ไม่กลับประเทศไทยแล้ว
บอกว่าไม่เอาไอดีการ์ด ไม่เอาถุงมือมา และคำแก้ตัวไม่เป็นความจริง
เช้า 17 ก.ค.57
http://www.youtube.com/watch?v=iL4NqTFYxp8

5. โค้ชทักษ์ ปัดอยู่เบื้องหลังชักใย ก้อย รุ่งระวี แฉ โค้ชเช
http://hilight.kapook.com/view/105194
เช้า 17 ก.ค.57
http://www.youtube.com/watch?v=EooMpdbJA8s

6. เปิดใจ ‘วิว เยาวภา – เล็ก ชนาธิป’ ฮีโร่เหรียญโอลิมปิก
เย็น 17 ก.ค.57
http://www.youtube.com/watch?v=rnkuVi3Ajpo

7. โค้ชเช แจงไม่ได้ต่อยน้องก้อย
“ในขณะที่นักกีฬาฝ่ายตรงข้ามรอที่คอร์ดแล้ว แต่รุ่งระวี
ยังไม่รู้เลยว่า การแข่งขันได้เริ่มขึ้นแล้ว จนเกือบถูกจับตัดสิทธิ์”
ผมได้สั่งสอนต่อหน้านักกีฬาคนอื่น ๆ จริง
แต่จะเรียกว่าต่อยคงไม่ได้
http://www.youtube.com/watch?v=HvriW0jEUXo