July 2015

เล่าเรื่องสุดโต่ง กับบทบาทที่ต้องพูดเรื่องสุดโต่ง .. ผมว่าธรรมดานะ

อ่านความเห็นของท่านหนึ่งบอกว่า
หลายปีที่ผ่านมา ผมสังเกตเห็นความผิดพลาดอย่างหนึ่ง
ในระบบความคิดและการนำเสนอของสื่อไทย โดยเฉพาะ
แนวสร้างแรงบันดาลใจ ไม่ว่าจะเป็นบทความหรือบทสัมภาษณ์
ตัวอย่างผู้ประสบความสำเร็จก็คือ มักชอบสร้างสตอรี่ดราม่า
ให้ค่ากับความ ‘สุดโต่ง’ มากเกินไป
อ่านมาจาก http://storylog.co/story/55990ab560a1c1e968c6ab94

แต่ผมมองเห็นอีกมุมนะ และคิดว่าเป็นปกติของบทบาท
ของผู้พูด ผู้เขียน ที่ต้องสร้างแรงบันดาลใจแบบสุดโต่ง
.. เขาได้รับบทบาทมาอย่างนั้น

1. พวกเขาก็เป็นเพียง ผู้นำเสนอ ที่มีบทบาท มีเป้าหมายสร้างแรงบันดาลใจ
ไม่ได้รับมอบหมายมาให้รับผิดชอบต่อการพูด ไม่เหมือนพ่อแม่
สั่งสอนลูกอย่างไร ก็ต้องรับผิดชอบ ไม่ได้มีอาชีพรับจ้างพูดหรือรับเขียน
ซึ่งเป็นอาชีพที่ต้องสร้างความประทับใจให้ฮือฮา
2. ตัวอย่าง ที่ยกมาอาจเป็นหนึ่งในสิบ ร้อน พัน หมื่น แสน ล้าน
ก็เป็นปกติที่ต้องหาเรื่องผิดปกติมาเล่า แต่ทำได้ง่ายดุจพลิกฝ่ามือ
ย้อนกับไปข้อ 1 เขาไม่จำเป็นต้องรับผิดชอบต่อชะตากรรมผู้ฟัง
เหมือนพ่อแม่ที่สั่งสอนลูก จะให้คาดหวังอะไรจากผู้พูด
ก็คงเป็นไปไม่ได้ เพราะไม่ได้มีบทบาท หรือหน้าที่ต้องรับผิดชอบต่อคำพูดของตน
3.  ตัวอย่างของบทสัมภาษณ์ในบทความ
“.. ชีวิตมันสั้น อย่าไปกลัวอดตาย ทำตามความฝันเลย
อย่าไปคิดเรื่องหากิน หรือเงินทองมากนัก ..”
ส่วนใหญ่เขาก็แค่พูดหรือเขียนเพื่อสร้างแรงบันดาลใจ
ให้รู้สึกว่าเขาพูดน่ะ ผิดปกติ เพราะพูดปกติก็คงไม่มีใครฟัง
แล้วผลจากการพูด การเขียน ก็คงได้รับสิ่งตอบแทนที่ดี ไม่ทางตรง หรือทางอ้อม
4. จะให้พูดปกติหรือครับ
– ตั้งใจเรียนนะลูก หนทางอีกยาวไกล พยายามให้มาก และมากกว่าที่ทำอยู่
– ชีวิตไม่มีอะไรง่าย อ่านหนังสือ แล้วจะสอบได้ ความพยายามอยู่ที่ไหน ความสำเร็จอยู่ที่นั่น
– ชีวิตแบบ steve jobs น่ะ หนึ่งในล้าน อย่าคิดเอาอย่างเชียว เราคงไม่โชคดี
– ชีวิตแบบ นักกีฬา นักร้อง นักแสดง ที่สำเร็จน่ะ หนึ่งในล้าน อย่าหลงเชื่อเชียว เราคงไม่โชคดี
พูดแบบนี้ พ่อแม่พูดกรอกหูทุกฟัง เด็กที่ไหนจะไปฟัง

สิ่งที่ต้องแลกระหว่างผลได้ทางเศรษฐกิจกับผลเสียทางสังคมและวัฒนธรรม

จาก หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ ฉบับ 8 กรกฎาคม 2558
บ่อนกาสิโนถูกกฎหมายในประเทศไทย เป็นที่วิพากษ์วิจารณ์แสดงความคิดเห็น
กันอย่างกว้างขวางในช่วงที่ผ่านมา

http://bit.ly/1Uv2ZN2

สถาบันวิจัยมหาวิทยาลัยเนชั่น ได้ทำการสำรวจความคิดเห็นของประชาชน ซึ่งมีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป ในกรุงเทพมหานคร จำนวน 980 คน พบว่ากลุ่มตัวอย่าง 56.18 % ไม่เห็นด้วยกับการเปิดบ่อนถูกกฎหมายในประเทศไทย โดยให้เหตุผลมากที่สุดคือ การเปิดบ่อนกาสิโนถูกกฎหมายในประเทศไทยนั้นจะเป็นการมอมเมาให้ประชาชน ซึ่งรวมถึงเยาวชนติดการพนัน ไม่ใส่ใจทำงาน เป็นการสร้างหนี้สินเพิ่มขึ้น และย่อมมีผลให้ครอบครัวแตกแยก และอีกเหตุผลหนึ่งที่ให้ความเห็นในจำนวนที่ใกล้เคียงกันคือ แม้การเปิดบ่อนกาสิโนจะทำให้ถูกกฎหมาย แต่การพนันก็ยังเป็นสิ่งที่ผิดกฎหมายอยู่ดี

การส่งเสริมเศรษฐกิจและการท่องเที่ยวของไทย สามารถทำได้ในทางอื่น แทนที่จะส่งเสริมบ่อนกาสิโน  ส่วนกลุ่มตัวอย่างที่เห็นด้วย 43.82 % นั้น ให้เหตุผลว่า การเปิดบ่อนกาสิโนถูกกฎหมายจะเป็นการสร้างงานสร้างรายได้ให้กับประชาชนในประเทศ ช่วยในการพัฒนาเศรษฐกิจและการท่องเที่ยว รัฐจะสามารถจัดเก็บภาษีได้มากขึ้น และในเมื่อมีการลักลอบเล่นกันอยู่แล้ว หากทำให้มีการเปิดอย่างถูกกฎหมายก็จะทำให้สามารถควบคุมและจัดระเบียบได้

ถ้าดูสัดส่วนระหว่างผู้ที่เห็นด้วยกับผู้ที่ไม่เห็นด้วยนี้ คงจะไม่สามารถบ่งชี้ได้อย่างชัดเจนว่า ผู้คนคัดค้านการเปิดบ่อนถูกกฎหมายอย่างชัดเจน เพราะจริงๆ แล้ว ผู้ที่ไม่เห็นด้วยก็มีสัดส่วนเกิดครึ่งเพียงเล็กน้อยเท่านั้น คงจะพูดยากว่า การที่ผู้คนไม่เห็นด้วยกับการเปิดบ่อนกาสิโนถูกกฎหมายนั้น เพราะคัดค้านกับการเล่นการพนัน เพราะในความเป็นจริงแล้ว กลุ่มคนเหล่านี้เองก็เคยมีประสบการณ์เล่นการพนันมาก่อน คงจะเป็นที่รู้กันว่า ในสังคมไทยก็ยังมีผู้นิยมการเสี่ยงโชคและการพนัน และยังมีการลักลอบเล่นกันอยู่ ไม่ว่าจะเป็นบ่อนใต้ดิน หวยใต้ดิน หรือ การเล่นพนันบอล ก็ในเมื่อเป็นที่ทราบกันอยู่โดยทั่วไป และยังไม่สามารถจัดการหรือควบคุมได้ ก็น่าจะตัดสินใจทำให้สิ่งเหล่านี้มาเป็นสิ่งที่ถูกกฎหมาย และให้มีการจัดระเบียบกันอย่างจริงจัง

ข้อค้นพบอย่างหนึ่งจากการสำรวจครั้งนี้พบว่า ประเด็นเรื่องบ่อนกาสิโนในสังคมไทยนั้น เป็นเรื่องของศีลธรรม เมื่อขอให้กลุ่มตัวอย่างประเมินความเห็นว่า “การพนันเป็นสิ่งที่ผิดศีลธรรม” ผลการทดสอบทางสถิติพบว่า ผู้ที่ไม่เห็นด้วยกับการเปิดบ่อนกาสิโนถูกกฎหมาย มีความตระหนักในศีลธรรมในระดับที่สูง กว่าผู้ที่เห็นด้วยอย่างมีนัยยะสำคัญ และผู้ที่ไม่เห็นด้วยกับการเปิดบ่อนกาสิโนถูกกฎหมายในประเทศ คัดค้านอย่างชัดเจนว่า การเปิดบ่อนนี้ไม่ได้ทำให้เกิดผลได้ทางเศรษฐกิจดังที่กล่าวอ้างกัน ผลการวิเคราะห์นี้อาจจะตีความได้ว่า หากจะมีการเล่นการพนัน ก็ปล่อยให้เป็นเรื่องของการลักลอบเล่นไป ไม่ควรมีนโยบายที่จะส่งเสริมให้สิ่งที่ผิดศีลธรรมนี้ ขึ้นมาเป็นสิ่งที่ถูกต้องตามกฎหมาย ผลจากการสำรวจของสถาบันวิจัย มหาวิทยาลัยเนชั่น มิได้ต้องการเพียงสะท้อนถึงความเห็นของคนกรุงเทพฯ ที่มีต่อการเปิดบ่อนกาสิโนถูกกฎหมายในประเทศไทยเท่านั้น แต่ต้องการนำเสนอให้ผู้ที่มีอำนาจตัดสินใจในเชิงนโยบายว่า สิ่งที่คนกรุงมีทัศนคติจากประเด็นนี้ก็คือ การเปิดบ่อนกาสิโนนั้น แม้จะมีผลได้ทางเศรษฐกิจ แต่ก็คงจะไม่คุ้มค่ากับต้นทุนทางศีลธรรมของสังคมที่จะเสียไป ทั้งยังจะเกิดผลกระทบอันเป็นการบ่อนทำลายสังคมไปอีกทางหนึ่ง

ผลจากการสำรวจนี้จึงชี้ให้เห็นว่า การเปิดบ่อนกาสิโนอย่างถูกกฎหมาย เป็นสิ่งที่ผู้บริหารประเทศต้องเลือกหรือแลกกัน ระหว่าง ผลได้ทางเศรษฐกิจ กับ ผลเสียทางสังคมและวัฒนธรรม ในฐานะที่มหาวิทยาลัยเนชั่นเป็นสถาบันอุดมศึกษา ซึ่งมีหน้าที่ชี้นำสังคม คงต้องอ้างอิงตามหลักการพัฒนาที่ยั่งยืน ที่นำเสนอว่าการกำหนดนโยบายใดๆ ต้องคำนึงถึงผลได้ทั้ง 4 ด้านประกอบกัน คือ ผลได้ทางเศรษฐกิจ ผลได้ทางสังคม ผลได้ทางสิ่งแวดล้อม และผลได้ทางวัฒนธรรม ไม่ใช่สิ่งที่จะต้องแลกระหว่างอย่างใดอย่างหนึ่ง ในเมื่อประเทศไทยกำลังมุ่งแสวงหาแนวทางที่จะพัฒนาไปสู่ความยั่งยืน เราก็ควรที่จะกำหนดนโยบายอย่างอื่นที่สร้างจุดเด่นให้กับประเทศไทยให้มีความก้าวหน้าในทางเศรษฐกิจ และยังเป็นการส่งเสริมให้สังคมน่าอยู่ มีสิ่งแวดล้อมที่ดี และวัฒนธรรมที่งดงามมิใช่หรือ?

เขียนโดย อ.ดร.ทันกวินท์ รัฐวัฒก์อังกูร
ผู้อำนวยการสถาบันวิจัย มหาวิทยาลัยเนชั่น
http://www.bangkokbiznews.com/blog/detail/634978