January 2016

อ.ธรรมรัตน์ คําสิงห์นอก แจกข้อสอบเอกคอมพิวเตอร์

computer examination
computer examination

วันนี้ได้รับ link PDF ข้อสอบ 3 ชุด ๆ ละ 100 ข้อ
จาก อ.ธรรมรัตน์ คําสิงห์นอก ตามที่ท่านเคยแจ้งไว้ว่า
“เมื่อแชร์แล้ว แจ้งอีเมลไว้ในช่อง comment ด้านล่าง”
แล้วผมก็ post e-mail ไว้ใน comment
วันนี้ 31 มกราคม 2559 ท่านก็ส่งลิงค์ให้ download PDF
มาให้ download โดยง่าย ขอบคุณครับ
+ https://www.facebook.com/photo.php?fbid=1231494380200801&set=a.602048833145362.151862.100000207524617
+ http://118.174.137.36/krurin/New%20directory/%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%A7%E0%B8%84%E0%B8%B4%E0%B8%A1/
+ http://loadfree.mobi/movie-download/59Qxf12JkLM/1150
+ https://www.youtube.com/watch?v=59Qxf12JkLM

สรุปว่าท่านใดสนใจข้อสอบ
ติดต่อท่านได้ทาง fan page ข้างล่างนี้
+ https://www.facebook.com/ClipTueCom/

ขั้นตอนการใช้ Storage ของ Google
– แฟ้ม PDF ท่านแชร์ผ่าน Google Drive
– แล้วแชร์ลิงค์มาให้ทางอีเมล
– เปิดตามลิงค์ด้วยอีกอีเมลหนึ่ง ติด permission
– ถ้าเปิดโดยอีเมลที่อาจารย์ส่งให้ถึงจะ download ได้

ความเห็นชาวพุทธ

ความเห็นชาวพุทธ
ในเดือนมกราคม มีข่าวในทางพระพุทธศาสนาหลายประเด็น
สถาบันวิจัย มหาวิทยาลัยเนชั่น จึงได้ทำการสำรวจความคิดเห็น
ของพุทธศาสนิกชน จำนวน 1016 คน ที่เข้าร่วมงานพิธีมงคลวัฒนยุ
พระธรรมมงคลญาณ หลวงพ่อวิริยังค์ สิรินธโร ณ วัดธรรมมงคล
ในระหว่างวันที่ 8 – 10 มกราคม 2559 ปรากฎผลสำรวจดังนี้
1. บทบาทของวัดต่อสังคม
อันดับ 1 เป็นแบบอย่างที่ดีในสังคม ไม่ประพฤติตนเสื่อมเสีย 35%
อันดับ 2 เผยแพร่และสั่งสอนให้ประชาชนปฏิบัติตนอยู่ในศีลธรรม 31.3%
อันดับ 3 ช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาสและสังคม 16.4%
อันดับ 4 ไม่บิดเบือนหลักคำสอน 8.1%
อันดับ 5 เป็นศูนย์กลางการเรียนรู้/การศึกษา 5.7%
2. การสนับสนุนพระพุทธศาสนาจากภาครัฐ
อันดับ 1 สนับสนุนให้พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ  28.6%
อันดับ 2 ปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดี 21.7%
อันดับ 3 สนับสนุนงบประมาณเพื่อพัฒนาวัดในชนบท  16.5%
อันดับ 4 สนับสนุนกิจกรรมให้เยาวชนปฏิบัติตามหลักธรรมในพระพุทธศาสนา 9.3%
อันดับ 5 จัดระบบคัดกรองและควบคุมพฤติกรรมของพระสงฆ์ 8.4%
3. บุญหรือการปฏิบัติธรรมที่เป็นประโยชน์สูงสุด
อันดับ 1 การเจริญภาวนา (ปฏิบัติสมาธิ) 53.3%
อันดับ 2 การรักษาศีลหรือประพฤติดี 21.7%
อันดับ 3 การให้ปันสิ่งของ (การบริจาค) 14.0%
อันดับ 4 การประพฤติอ่อนน้อม 6.3%
อันดับ 5 การบอกบุญและอนุโมทนาบุญ 2.3%
https://www.facebook.com/photo.php?fbid=10208172992743509&set=a.10206803178058998.1073741830.1262180885

อัพพลังความรู้ สู่ความก้าวหน้าธุรกิจแฟรนไชส์

อัพพลังความรู้ สู่ความก้าวหน้าธุรกิจแฟรนไชส์ Thailand Franchise Standard 2016
อัพพลังความรู้ สู่ความก้าวหน้าธุรกิจแฟรนไชส์
Thailand Franchise Standard 2016

Thailand Franchise Standard 2016
อัพพลังความรู้ สู่ความก้าวหน้าธุรกิจแฟรนไชส์
มาร่วมอัพพลังความรู้ และก้าวหน้าไปด้วยกัน
ในโครงการพัฒนาศักยภาพการบริหารจัดการธุรกิจแฟรนไชส์
(Thailand Franchise Standard)
พร้อมร่วมสัมมนา Thailand Franchise Standard
ในวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2559 เวลา 9.00น.-16.00น.
ณ ศูนย์ฝึกอบรมพัฒนาธุรกิจการค้า ชั้น 6 กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์
งานนี้มีแต่กำไร

กำไรต่อที่ 1 – รับโอกาสตรวจเช็คศักยภาพธุรกิจโดยกูรุด้านการพัฒนาธุรกิจ
จากจุฬาลวกรณ์มหาวิทยาลัย และมหาวิทยาลัยเนชั่น
กำไรต่อที่ 2 – รับคำปรึกษา แนะนำการพัฒนาธุรกิจ ถึงสถานประกอบการโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย
กำไรต่อที่ 3 – เพิ่มโอกาสการสร้างเครือข่าย ได้ร่วมแชร์ความรู้และประสบการณ์ธุรกิจ
กำไรต่อที่ 4 – เสริมทัพความเชื่อถือ ด้วยการประเมินรับรองมาตรฐานคุณภาพการบริหารจัดการ โดยกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
กำไรต่อที่ 5 – คุณอาจได้รับการคัดเลือกให้เผยแพร่ธุรกิจผ่านสื่อในเครือเนชั่นที่มีผู้อ่าน มากกว่า 100,000 ราย โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย

ผู้ปรกอบการธุรกิจแฟรนไชส์ สามารถสมัครเข้าร่วมโครงการ หรือสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม
ได้ที่ ที่ปรึกษาโครงการ Thailand Franchise Standard มหาวิทยาลัยเนชั่น
ศูนย์เนชั่นบางนา ชั้น 9 เลขที่ 1854 ถนนบางนา-ตราด (กม.45) แขวงบางนา เขตบางนา กรุงเทพฯ 10250
โทรศัพท์ 023383861, 0813584756 โทรสาร 023383871 หรือ franchise@nation.ac.th
กองส่งเสริมธุรกิจแฟรนไชส์ กองส่วเสริมและพัฒนาธุรกิจ
คุณทิพย์ณัฐนันต์ โทรศัพท์ 025475953 โทรสาร 025745952

ผลสำรวจพบว่าร้อยละการอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ของเด็กไทยดีขึ้นมาก

สำหรับผมคิดว่าการสำรวจ 2 ครั้งเปรียบเทียบกัน
พบว่าร้อยละของการอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้
ลดลงอย่างชัดเจนมาก
คาดว่าวิธีการมีประสิทธิภาพ น่าจะเป็น Good Practice ได้เลย
แต่เห็นว่าครั้งที่ 1 สำรวจ มิ.ย.58 และครั้งที่ 2 สำรวจ ก.ค.58
ซึ่งทำให้รู้สึกว่าการระยะห่างน้อยไปนะครับ

http://manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9590000000019

เมื่อ 1 ม.ค.59 พบบทความเชิงข่าว
เรื่อง “อ่านไม่ออก เขียนไม่ได้ ซ้ำร้าย “อ่านน้อย” จับประเด็นไม่ได้ วิกฤตใหญ่ที่ไทยต้องแก้
โดยก่อนหน้านี้ กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ประกาศให้ปี 2558
เป็น ปีแห่งการปลอดนักเรียนอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ ช่วงระยะเวลา 1 ปีที่ผ่านมา
อาจเรียกได้ว่าการแก้ปัญหานี้อาจยังไม่ประสบความสำเร็จเท่าไรนัก
เพราะเมื่อดูจากผลสำรวจของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.)
เมื่อช่วง ส.ค. 2558 แม้จำนวนเด็กอ่านไม่ออก เขียนไม่ได้จะลดลง แต่ก็ยังทำไม่ได้ 100%

โดยกิจกรรมที่ดำเนินการคือ
– การจัดการเรียนการสอนที่ สพฐ.ได้พัฒนาให้แก่โรงเรียน
– การจัดสอนเสริมให้แก่นักเรียนที่จำเป็นต้องได้รับการพัฒนาเป็นรายบุคคล
– การเรียนการสอนแบบแจกลูกสะกดคำ
– อาศัยโรงเรียนต้นแบบที่ประสบความสำเร็จในการแก้ปัญหาการอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้
แม้จะประสบความสำเร็จระดับหนึ่ง แต่ถือว่ายังไม่ทั้งหมด

โดยผลสำรวจนักเรียนชั้น ป.1
ครั้งที่ 1 เดือน มิ.ย. 2558
พบว่า มีนักเรียนอ่านไม่ออกร้อยละ 11.5 เขียนไม่ได้ร้อยละ 8.7
ครั้งที่ 2 เดือน ก.ค. 2558
พบว่า นักเรียนอ่านไม่ออกลดลงเหลือร้อยละ 5.6 และ เขียนไม่ได้เหลือร้อยละ 5.0

โดยผลสำรวจนักเรียนชั้น ป.2
ครั้งที่ 1 อ่านไม่ออก ร้อยละ 8.2 เขียนไม่ได้ร้อยละ 11.2
ครั้งที่ 2 เหลืออ่านไม่ออกร้อยละ 5.0 เขียนไม่ได้ร้อยละ 7.0

โดยผลสำรวจนักเรียนชั้น ป.3
ครั้งที่ 1 อ่านไม่ออกร้อยละ 5.0 เขียนไม่ได้ร้อยละ 7.6
ครั้งที่ 2 เหลืออ่านไม่ออกร้อยละ 2.8 เขียนไม่ได้ร้อยละ 5.3

โดยผลสำรวจนักเรียนชั้น ป.4
ครั้งที่ 1 อ่านไม่คล่องร้อยละ 4.4 เขียนไม่คล่องร้อยละ 11.3
ครั้งที่ 2 เหลืออ่านไม่คล่องร้อยละ 2.5 เขียนไม่คล่องร้อยละ 8.1

โดยผลสำรวจนักเรียนชั้น ป.5
ครั้งที่ 1 อ่านไม่คล่องร้อยละ 3.5 เขียนไม่คล่องร้อยละ 9.7
ครั้งที่ 2 เหลืออ่านไม่คล่องร้อยละ 1.9 เขียนไม่คล่องร้อยละ 6.6

โดยผลสำรวจนักเรียนชั้น ป.6
ครั้งที่ 1 อ่านไม่คล่องร้อยละ 2.6 เขียนไม่คล่องร้อยละ 7.0
ครั้งที่ 2 อ่านไม่คล่องร้อยละ 1.4 และเขียนไม่คล่องร้อยละ 4.7

เด็กที่ยังมีปัญหาอ่านไม่ออก เขียนไม่ได้ ยังคงมีอยู่
โดยเฉพาะเด็กกลุ่มชาติพันธุ์ เด็กชายขอบที่อยู่ตามโรงเรียนห่างไกล
และไม่ได้ใช้ภาษาไทยในชีวิตประจำวัน
ขณะที่ครูตามพื้นที่ห่างไกลก็ยังคงขาดแคลนด้วยเช่นกัน
ครู 1 คนอาจต้องสอนหลายวิชา และไม่ได้มีความชำนาญในวิชาที่สอน


การสำรวจมีหลายแบบ ส่วนใหญ่ที่เห็นจะสำรวจครั้งเดียว
เช่น สำรวจที่สุดแห่งปี เมื่อสิ้นสุดในแต่ละปี
แต่เรื่องการอ่านจากข้อมูลของ สพฐ. จะสำรวจ 2 ครั้งเทียบผลกัน
เป็นกิจกรรมที่น่าสนใจครับ

http://www.thaiall.com/blogacla/burin/5007/