July 2016

การเขียนบทความวิจัยอย่างไร จึงจะโดนใจบรรณาธิการ โดย ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.มนัส สุวรรณ

ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.มนัส สุวรรณ
ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.มนัส สุวรรณ

จากการเข้ารับการอบรมที่จังหวัดเชียงใหม่
เรื่อง เขียนบทความวิจัยอย่างไร จึงจะโดนใจบรรณาธิการ
โดย ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.มนัส สุวรรณ มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่
มีเรื่องราวจากเอกสารของท่านวิทยากร มาแบ่งปันดังนี้
http://www.thaiall.com/blog/burin/7703/

นิยามศัพท์

บทความ หมายถึง งานเขียนประเภทร้อยแก้ว ซึ่งผู้เขียนต้องการถ่ายทอดความคิด
และ/หรือ ข้อมูลข่าวสารไปยังผู้อ่านโดยใช้ตัวอักษรเป็นสื่อกลาง
ประเภทของบทความ
– บทความทั่วไป
– บทความกึ่งวิชาการ
– บทความทางวิชาการ
บทความทั่วไป หมายถึง งานเขียนที่มิได้มุ่งเน้นการให้ความรู้
หรือข้อเท็จจริงเชิงวิชาการ แต่มุ่งเน้นที่จะให้ความรู้ทั่วไป ให้ความสนุกสนานเพลิดเพลิน
หรือให้ข้อคิดแก่ผู้อ่าน เช่น บทความแสดงความคิดเห็น บทความเล่าอัตชีวประวัติ
บทความเล่าประสบการณ์การเดินทาง และบทความที่ให้ข้อคิดหรือปรัชญาชีวิต เป็นต้น
บทความกึ่งวิชาการ หมายถึง งานเขียนที่ผู้เขียนประสงค์จะให้ความรู้เชิงวิชาการ
แต่ไม่ลึกซึ้งถึงระดับองค์ความรู้หรือทฤษฎี เช่น บทความที่เป็นบทวิเคราะห์/วิพากษ์
และบทความสนับสนุนหลักการหรือแนวคิด เป็นต้น
บทความทางวิชาการ หมายถึง งานเขียนหรือความเรียงที่ผู้เขียนประสงค์จะสื่อองค์ความรู้
หรือข้อค้นพบใหม่ ๆ ทางวิชาการในสาขาวิชาใดวิชาหนึ่งเป็นการเฉพาะ เช่น บทความวิจัย
บทความเสนอแนวคิด หลักการ และ/หรือแบบจำลอง เป็นต้น

ธรรมชาติของบทความทางวิชาการ
1. นำเสนอความรู้ที่ตั้งอยู่บนฐานวิชาการของสาขาวิชาใดวิชาหนึ่ง
2. ความรู้ที่นำเสนอต้องมีความถูกต้องและเชื่อถือได้ หรืออย่างน้อยที่สุดต้องมีแนวคิดหรือทฤษฎีสนับสนุน
3. เนื้อหาสาระที่นำเสนอต้องผ่านการประมวล หรือการสังเคราะห์ก่อนเรียบเรียงเชิงพรรณนาตามลำดับอย่างเหมาะสม
4. มีการวิเคราะห์ วิจารณ์ (ทั้งในเชิงบวกและเชิงลบ) บนพื้นฐานทักษะความรู้ ความสามารถ และประสบการณ์ของผู้เขียน
5. มีการสรุปและอภิปรายผล รวมตลอดจนให้ข้อเสนอแนะที่จะนำไปสู่การแสวงหาความรู้เพิ่มเติม

การเลือกประเด็นเพื่อเขียนบทความทางวิชาการ
1. เป็นประเด็นที่อยู่ในกรอบความรู้ ความสามารถ และประสบการณ์ของผู้เขียน
2. เป็นประเด็นที่มีความแปลกใหม่ ทันสมัย และอยู่ในความสนใจของคนทั่วไป หรือเป็นประเด็นเก่าที่ควรรู้แต่ถูกทิ้งลืม
3. เป็นประเด็นที่สามารถยืนยันความน่าเชื่อถือได้ด้วยข้อมูลเชิงประจักษ์ (Empirical data) หรือมีแนวคิด ทฤษฎีสนับสนุน
4. เป็นประเด็นที่สามารถสร้างเสริมความรู้ และความแตกฉานทางวิชาการให้กับทั้งผู้เขียน และผู้อ่าน
5. เป็นประเด็นที่สามารถก่อให้เกิดประโยชน์ต่อสังคม/ประเทศชาติ

องค์ประกอบของบทความทางวิชาการ
1. ชื่อบทความ
2. ชื่อผู้เขียน
3. บทคัดย่อ และคำสำคัญ (Abstract และ Keywords)
4. บทนำ/ความนำ
5. เนื้อเรื่อง (สาระสำคัญ/ความรู้ที่ต้องการนำเสนอ)
6. บทสรุปและอภิปรายผล
7. เอกสารอ้างอิง หรือบรรณานุกรม

บทความวิจัย
บทความวิจัย หมายถึง เอกสารความเรียงที่ได้มาจากการประมวลสรุป (Condensation & Digestion)
รายงานการวิจัย หรือวิทยานิพนธ์ของนักศึกษา ระดับบัณฑิตศึกษา
ทั้งนี้บทความวิจัยมีลักษณะเฉพาะที่สำคัญ ดังนี้
– มีความยาวจำกัด จัดทำขึ้นเพื่อนำเสนอต่อที่ประชุมวิชาการหรือลงพิมพ์ในวารสารวิชาการ
– เป็นเอกสารที่มีความทันสมัย และทันต่อเหตุการณ์มากกว่ารายงานการวิจัย
ทั้งนี้เพราะผู้วิจัยสามารถเพิ่มเติมหรือตัดทอนบางส่วนของรายงานการวิจัยเพื่อการเผยแพร่ได้
– มีคุณภาพที่เป็นมาตรฐานมากกว่ารายงานการวิจัยเพราะต้องทำให้อยู่ใน format ที่เป็นที่ยอมรับตามหลักสากล

องค์ประกอบของบทความวิจัย
1. ชื่อเรื่อง
2. ชื่อผู้วิจัย
3. บทคัดย่อ/คำสำคัญ (Abstract/keywords)
4. บทนำ/ความนำ
5. วิธีดำเนินการวิจัย
6. ผลการวิจัย
7. อภิปรายผล
8. เอกสารอ้างอิง หรือบรรณานุกรม

ข้อแนะนำในการเขียนบทความวิจัย
1. ชื่อเรื่องสั้น กระทัดรัดได้ความหมาย (อาจระบุมิติและ/หรือลักษณะการวิจัยด้วยก็ได้)
2. บทคัดย่อเขียนให้กระชับแต่ครอบคลุมกระบวนการวิจัย
โดยปกติมีความยาวไม่เกิน 300 คำ(15 บรรทัด) มีการแบ่งย่อหน้าตามความเหมาะสม
3. บทนำ/ความนำ บ่งบอกถึงที่มาและความสำคัญของการวิจัย
(ทำไมจึงเลือกทำวิจัยเรื่องนี้ / ทำแล้วได้ประโยชน์อะไร)
4. วิธีดำเนินการวิจัยประกอบด้วย
– ขอบเขตของการวิจัย (พื้นที่/ประชากร/เนื้อหา/เวลา)
– ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
– ข้อมูล และแหล่งของข้อมูล
– เครื่องมือ และวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล
– วิธีการวิเคราะห์ข้อมูล
5. ผลการวิจัย เขียนสรุปเรียงตามวัตถุประสงค์
6. อภิปรายผล
– อภิปรายเปรียบเทียบกับวรรณกรรมที่ทบทวน
– อภิปรายข้อค้นพบที่มีความพิเศษเฉพาะ
7. เอกสารอ้างอิง หรือบรรณานุกรม
แจงให้ครบตามที่อ้างอิง และเขียนให้ถูกต้องตามหลักวิชาการ

ข้อสังเกตสำหรับการเขียนบทความวิชาการ/บทความวิจัยที่ไม่ผ่านการคัดกรองเพื่อการเผยแพร่
1. ไม่ดำเนินการตามระเบียบหรือข้อกำหนดของวารสาร หรือที่ประชุม/สัมมนาวิชาการ
2. เนื้อหาสาระของบทความไม่สอดคล้องกับสาขาวิชาเฉพาะของวารสารหรือไม่ตรงกับ Theme
ของการประชุม/สัมมนาวิชาการ
3. บทความขาดความเป็นเอกภาพ (แต่ละองค์ประกอบไม่สัมพันธ์เกี่ยวเนื่องกัน)
4. ขาดความชัดเจนในการนำเสนอ/ไม่ครบกระบวนการของการทำวิจัย
5. ไม่ได้ทำการประมวลสรุปเพื่อเขียนเป็นบทความ แต่นำเอาบทสุดท้ายมาปรับเขียน
6. โครงสร้างการเขียนไม่ดี ไม่เป็นไปตามลำดับ ขาดความเป็นเหตุเป็นผล
7. ขาดลีลาการเขียน (Writing style) ที่เป็นวิชาการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำนวนภาษา
การแบ่งประโยค และการแบ่งวรรคตอน
8. สาระที่นำเสนอไม่ลึกซึ้ง และไม่ถูกต้องตามหลักวิชาการ
9. ไม่ประณีต พิถีพิถันในการใช้ภาษา (ไม่คำนึงถึงหลักไวยากรณ์ พิมพ์ผิด สะกดผิด)
10. เป็นเพียงรายงานการศึกษา ขาดการวิเคราะห์ วิจารณ์ และ/หรือการแสดงความคิดเห็นเชิงวิชาการ

ข้อเสนอแนะเพื่อการเผยแพร่บทความ
1. สำรวจวารสารวิชาการ การประชุมสัมมนาวิชาการ ที่บทความที่เขียนสามารถนำไปเผยแพร่ได้
2. ศึกษาและทบทวนระเบียบและข้อกำหนดของวารสาร
ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาสาระ และรูปแบบของบทความ
3. วางแผนการเขียนบทความอย่างเป็นระบบ กำหนดโครงร่างและองค์ประกอบของบทความ
กรอบเวลาที่จะเขียน และเวลาที่จะเผยแพร่
4. การเขียนเป็นเรื่องของทักษะ ควรศึกษาหาความรู้ และเพิ่มพูนทักษะด้วยการฝึกเขียนบ่อย ๆ
และด้วยการอ่านบทความดี ๆ จากวารสารดี ๆ
5. ใช้ภาษาเขียนที่เป็นมาตรฐานทางวิชาการ ถูกต้องตามหลักภาษาศาสตร์
6. ตรวจสอบและตรวจทานสิ่งที่ได้เขียนแล้วในบทความหลาย ๆ ครั้ง
เพื่อตัดทอน และ/หรือเพิ่มเติมสาระให้มีความถูกต้องและเหมาะสม
7. กรณีของบทความวิชาการ ต้องไม่ลืมส่วนที่เป็นบทวิเคราะห์ วิจารณ์ และการแสดงความคิดเห็น
บนพื้นฐานของหลักวิชาการ
8. กรณีของบทความวิจัย ต้อเป็นการเรียบเรียงในลักษณะของการประมวลสรุปจากรายงานการวิจัย
มิใช่การนำเอาบทสุดท้ายมานำเสนอ
9. หลักการเขียนบทความวิจัย ต้องพยายามยึดวัตถุประสงค์เป็นตัวตั้งเสมอ
10. นำเสนอเนื้อหาสาระโดยปราศจากอคติ ตรงไปตรงมา

เอกสารประกอบการค้นคว้า
– นงลักษณ์ วิรัชชัย และสุวิมล ว่องวานิช, “การจัดทำรายงานวิชาการ บทความวิจัย และการอ้างอิง”, [ออนไลน์]
– นงลักษณ์ วิรัชชัย, “รูปแบบ และลักษณะของบทความวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสารตามมาตรฐานสากล”, [ออนไลน์]
แหล่งที่มา : https://www.tci-thaijo.org/index.php/suedureasearchjournal/article/viewFile/6938/5981
– รสริน พิมลบรรยวก์, “การเขียนบทความวิจัยเพื่อตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ”, [ออนไลน์]
แหล่งที่มา : http://technology.kku.ac.th/wp-content/ITFilesD/IT009D.pdf
– รัตนะ บัวสนธ์, “การเขียนบทความวิชาการและบทความวิจัย”, [ออนไลน์]
แหล่งที่มา : http://rdi.nsru.ac.th/tip/tip-09.pdf
– วรางคณา จันทร์คง, “เทคนิคและวัตถุประสงค์ในการเขียนบทความวิชาการ”, [ออนไลน์]
แหล่งที่มา : http://www.stou.ac.th/Schools/Shs/booklet/book574/rsearch574.pdf
– บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์
,”แนวปฏิบัติที่ดีเกี่ยวกับการเขียนบทความตีพิมพ์เผยแพร่เพื่อสำเร็จการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา”,[ออนไลน์]
แหล่งที่มา : http://grad.vru.ac.th/pdf_SAR/Good_Practice_article_writ.pdf
– สุวิมล ว่องวาณิช, “เทคนิคการเขียนโครงการวิจัยให้โดนใจกรรมการ”, [ออนไลน์]
แหล่งที่มา : http://www.human.cmu.ac.th/home/research/research/data/technic.pdf

29 ก.ค.59 มีการอบรมโครงการ “อบรมและพัฒนานักวิจัย” ประจำปี 2559
หลักสูตร “การเขียนบทความวิจัยทางวิชาการ
จัดโดย เครือข่ายบริหารการวิจัยภาคเหนือตอนบน
สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.)
ร่วมกับ งานบริหารงานวิจัยและวิเทศสัมพันธ์ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ณ โรงแรมอิมพีเรียล แม่ปิง เชียงใหม่
https://www.facebook.com/groups/thaiebook/658232967660858/
http://unrn.rac.oop.cmu.ac.th

ประเทศไทย 4.0 ก็คาดหวังกับการวิจัยไว้เช่นกัน คลิ๊ปโดย MOC


– บุษบา กนกศิลปธรรม, “การอบรมเชิงเทคนิคในการเขียนบทความวิชาการ สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์”, [ออนไลน์]
แหล่งที่มา :

ประชุมอบรมแบบสัญชัยโมเดล (itinlife563)

สัญชัยโมเดล
สัญชัยโมเดล

ในการประชุมอบรมและพัฒนานักวิจัยที่จังหวัดเชียงใหม่ เกิดคำว่า สัญชัยโมเดล ซึ่งเป็นรูปแบบการจัดประชุมที่ได้รับทุนสนับสนุนการพัฒนาบุคลากรทางการศึกษาในสถาบันเครือข่ายบริหารการวิจัยภาคเหนือตอนบนที่มีความต่อเนื่อง ซึ่งศาสตราจารย์ ดร.สัญชัย จตุรสิทธา เล่าที่มาของโมเดลนี้ว่า เคยจัดประชุมอบรมและเปิดให้จองเข้าอบรมล่วงหน้าและผู้รับการอบรมไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการอบรม จึงมีการจองเข้าอบรมหลายร้อยคน ได้รับการสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการอบรมต่อหัวคนละประมาณห้าร้อยบาทที่ต้องจ่ายให้กับทางโรงแรม เมื่อถึงกำหนดประชุมพบว่ามีการยกเลิกไม่เข้าร่วมนับร้อยคน ทำให้ต้องเป็นผู้รับผิดชอบหาเงินไปจ่ายให้กับโรงแรมในส่วนนี้

ศาสตราจารย์ ดร.สัญชัย จตุรสิทธา
ศาสตราจารย์ ดร.สัญชัย จตุรสิทธา

รูปแบบการจัดอบรมที่ได้รับทุนสนับสนุนจากภาครัฐ แบบสัญชัยโมเดล มีขั้นตอนดังนี้ ประกาศข่าวสารการอบรมให้ตัวแทนเครือข่ายแล้วไปประชาสัมพันธ์ ผู้สนใจเข้าไปลงทะเบียนผ่านเว็บไซต์เพื่อจองที่นั่งเข้าอบรม แล้วชำระเงินมัดจำผ่านธนาคารในเวลาที่กำหนด ส่งสำเนาการโอนเงิน เมื่อหมดเวลาจองที่นั่งก็ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์เข้ารับการอบรมให้ได้ตรวจสอบอีกครั้ง ในวันอบรมจะต้องลงชื่อทั้งภาคเช้า และบ่ายตามเวลาที่กำหนด อยู่ร่วมจนเสร็จสิ้นการอบรมเพื่อรอรับเงินมัดจำคืน หากผิดเงื่อนไขก็จะริบเงินมัดจำเข้าเป็นงบประมาณสำหรับจัดอบรมในครั้งต่อไป ทำให้ผู้ที่คิดจะเข้าเฉพาะช่วงเช้า เฉพาะช่วงบ่าย หรือเข้าไปเซ็นชื่อช่วงเช้าแล้วกลับเข้าไปตอนปิดอบรม หรือส่งตัวแทนเข้ารับการอบรมจะถูกริบเงินมัดจำ โมเดลนี้ต้องการให้การจัดประชุมเกิดประโยชน์ต่อผู้เข้ารับการอบรมสูงสุด ผู้ไม่จริงจังกับการอบรมก็ไม่ควรได้สิทธิ์อบรมฟรีที่จะต้องใช้งบประมาณของแผ่นดินในการจ่ายค่าหัวให้กับทางโรงแรม ที่อาจถือว่าเป็นการทุจริตรูปแบบหนึ่งในการใช้งบประมาณ

ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.มนัส สุวรรณ
ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.มนัส สุวรรณ

ในการอบรมและพัฒนานักวิจัยครั้งนี้มีการบรรยาย 2 เรื่อง คือ เรื่องเขียนบทความวิจัยอย่างไร จึงจะโดนใจบรรณาธิการ โดย ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.มนัส สุวรรณ และ เรื่องเทคนิคการเขียนบทความวิจัยเพื่อตีพิมพ์ในวารสารระดับชาติ โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อรอร ภู่เจริญ ภายหลังการอบรมผู้เขียนได้แลกเปลี่ยนกับ อ.อดิศักดิ์ จำปาทอง พบว่าเนื้อหามีประโยชน์กับผู้สนใจจะมีอาชีพเป็นนักวิชาการในมหาวิทยาลัย หากนำเนื้อหาที่ได้จากการอบรมไปพูดคุยกับเพื่อนอาจารย์ให้เข้าใจการเขียนบทความที่ดี และการตีพิมพ์ในวารสารภาษาอังกฤษ ก็แนวทางที่น่าสนใจในการพัฒนาบุคลากรทางการศึกษา แล้วยังได้โมเดลที่น่าจะนำไปปรับใช้ได้จริง

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อรอร ภู่เจริญ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อรอร ภู่เจริญ

http://unrn.rac.oop.cmu.ac.th

ประสบการณ์ของมนุษย์แปรผันตามอายุ

นักเลงคีย์บอร์ด
นักเลงคีย์บอร์ด

ถ้าอายุน้อย ประสบการณ์ก็จะน้อยไปด้วย
ทางกฎหมายมักนิยามว่า อายุน้อยแล้ว คิดอ่านไม่เป็น ทำอะไรผิดก็ไม่ควรรับโทษเท่าผู้ใหญ่

ถ้าอายุมาก ประสบการณ์มากก็จริง แต่ประสิทธิภาพในการตัดสินใจจะลดลง
เนื่องจากความสามารถทางสมอง ความจำลดลง
บ่อยครั้งที่ผู้สูงอายุมีอาการของโรคความจำเสื่อม
ดังนั้นองค์กรต่าง ๆ จึงกำหนดอายุสูงสุดไว้ที่ 60 ปี
เพราะเชื่อว่าหลังจากนั้นจะทำงานได้ไม่เต็มที่

http://www.thaiall.com/mis/mis02.htm
ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2525
เยาวชน หมายถึง บุคคลที่มีอายุไม่ต่ำกว่า 14 ปีบริบูรณ์ แต่ยังไม่ถึง 18 ปีบริบูรณ์

กฎหมายไทยกำหนดว่า
– เด็กอายุต่ำกว่า 14 ปี (อายุไม่ถึง 7 ปี ไม่ต้องรับโทษตามกฎหมาย)
– เยาวชนอายุ 14 – 20 ปี
http://www.thailocalmeet.com/index.php?topic=22575.0

ตามอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กของสหประชาชาติ ได้จำกัดความว่า
เด็ก คือ มนุษย์ทุกคนที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปี

วัยสูงอายุ หรือ วัยชรา หมายถึง มนุษย์ที่มีอายุอยู่ในช่วงปลายของชีวิต
ในทางสถิติมักถือว่าผู้ที่อยู่ในวัยสูงอายุ คือ บุคคลที่มีอายุ 60-65 ปีขึ้นไป
ประเทศไทยกำหนดไว้ว่าผู้สูงอายุ คือ บุคคลที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป

การเปลี่ยนแปลงทางร่างกาย
– การสูญเสียฟัน
– ผิวหนังเหี่ยวย่นเพิ่มขึ้น
– สีผมเปลี่ยนเป็นสีเทา หรือสีขาว
– ความสามารถในการมองเห็นลดลง
– การรับรู้ทางเสียงลดลง
– ร่างกายเคลื่อนไหวได้น้อยลง และใช้เวลามากขึ้น
– การใช้ความจำน้อยลง
– ความต้องการทางเพศลดลง หรือหมดไป

นายจ้างบางคนบอกว่าเลือกบัณฑิตจากสถาบันที่มีคุณภาพ

15 มหาวิทยาลัยคุณภาพในมุมมองนายจ้าง
15 มหาวิทยาลัยคุณภาพในมุมมองนายจ้าง

เคยฟัง
นักการศึกษา นักปฏิบัติ นักคิด นักพูด เล่าว่า
สถาบันไม่สำคัญ หลักสูตรไม่สำคัญ ปริญญาไม่สำคัญ
เรียนที่ชอบ อย่ายึดติดกับใคร อย่าฟังใคร เชื่อตัวเอง
http://www.dek-d.com/board/view/3664541/

ลองฟัง
อีกเสียงหนึ่งที่น่าเชื่อ น่าฟัง คือ “ผู้ประกอบการหรือผู้จ้างงาน
เค้าไปถามนายจ้างว่ามหาวิทยาลัยไหนผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพที่ดีที่สุด
นี่ไปถามมาทั่วโลกเลย พบว่า มหาวิทยาลัยไทยติดอันดับ 15 แห่ง
http://www.topuniversities.com/university-rankings/asian-university-rankings/2016#sorting=2732657+region=+country=131+faculty=+stars=false+search=

ชีวิตนอกระบบ
http://www.tedxchiangmai.com/th_event2016.php
แต่ถ้ารักงานอิสระ นอกระบบ เป็นนายตนเอง ไม่อยากมีเจ้านาย
บางทีปริญญาก็ไม่สำคัญเหมือนกัน ลองฟัง โจน จันใด ศูนย์พันพรรณ
ลองฟัง Life is easy. Why do we make it so hard? by Jon Jandai
https://www.youtube.com/watch?v=21j_OCNLuYg

4 มหาวิทยาลัยมีปัญหาธรรมาภิบาล ก็น่าจะจัดกิจกรรมพัฒนาบุคลากรด้านคุณธรรม จริยธรรม

4 universities
4 universities

เนื่องจากหัวหน้าแชร์เรื่อง 4 มหาวิทยาลัย
ที่เค้าจะใช้ ม.44 เข้าไปแก้ปัญหา น่าสนใจ
They are 4 universities in governance crisis.
1. ม.มหาสารคาม ขัดแย้งอธิการกับสภา ปัญหาสอบทุจริต
2. มรภ.สุรินทร์ สรรหาอธิการ สตง.ชี้มูลความผิด ให้สภาฯ ทบทวน
3. ม.บูรพา สรรหาอธิการ เกิดฟ้องร้องกันไปมา ยังแก้ปัญหาไม่ได้
4. ม.กรุงเทพธนบุรี ขอสอน 200 คน แต่รับจริง 2500 คน
อันที่จริงทั้ง 4 มหาวิทยาลัย มีปัญหาจากผู้บริหาร หรือสภาฯ ขาด คุณธรรมและจริยธรรม
ถ้าจัดกิจกรรมโครงการพัฒนาบุคลากรด้านคิดดี ทำดี อะไรอะไรน่าจะดีขึ้น
+ http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1435228389
+ http://www.matichon.co.th/news/199342
+ http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1464773574
+ http://www.matichon.co.th/news/201277
+ http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1435222892

ซอมบี้คอมพิวเตอร์คืออะไร พบใน TU Star #1/59

zombie in tu star
zombie in tu star

คำว่า zombie in computer science เป็นข้อสอบข้อหนึ่ง
ใน TU star 1/2559
http://www.tustar.tu.ac.th
ที่สอบเมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม 2559 สำหรับนักเรียนที่เลือกสอบ
TU star 01, 02 หรือ 03
วิชา ความเท่าทันโลกสมัยใหม่ (Modern world Literacy) มี 30 ข้อ
ซึ่งวัดความรู้รอบตัว และเท่าทันเหตุการณ์ ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม/วัฒนธรรม
การเมือง เทคโนโลยี และสุขภาพ
เพราะในส่วน “เทคโนโลยี” มีคำถามเรื่อง zombie computer จึงนำมาเล่าสู่กันฟัง
http://thainame.net/edu/?p=4160

ซอมบี้ (Zombie) คือ เครื่องคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตแล้วถูกครอบงำโดยแฮกเกอร์ ซึ่งจะติดไวรัสหรือม้าโทรจันที่สามารถทำงานคุกคามที่เป็นอันตราย ต่อคอมพิวเตอร์อื่นภายใต้การควบคุมระยะไกลได้

In computer science, a zombie is a computer connected to the Internet that has been compromised by a hacker, computer virus or trojan horse and can be used to perform malicious tasks of one sort or another under remote direction.

บอตเน็ต (Botnet = robot network) ของเครื่องซอมบี้ คือ เครือข่ายของซอมบี้ที่มักถูกใช้แพร่กระจายอีเมลสแปม  และทำให้เกิดปัญหาปฏิเสธการให้บริการ (DoS) ผู้เป็นเจ้าของเครื่องที่เป็นซอมบี้ส่วนใหญ่ไม่ได้ตระหนักว่าเครื่องของตนถูกใช้แบบนี้ เพราะเจ้าของมีแนวโน้มว่าไม่รู้ตัว จึงเทียบเคียงได้ว่าคอมพิวเตอร์เหล่านี้เป็นซอมบี้ การร่วมกันโจมตีจากหลายบอตเน็ตก็เหมือนกันร่วมมือกันของฝูงชนในการจู่โจมเป้าหมาย

Botnets of zombie computers are often used to spread e-mail spam and launch denial-of-service attacks. Most owners of zombie computers are unaware that their system is being used in this way. Because the owner tends to be unaware, these computers are metaphorically(เทียบเคียง) compared to zombies. A coordinated DDoS attack by multiple botnet machines also resembles a zombie horde(ฝูง) attack.

https://en.wikipedia.org/wiki/Zombie_%28computer_science%29

ขั้นตอนการเพิ่มคลิ๊กเว็บไซต์ผ่านบริการสแปมเมอร์
(1) Spammer’s web site
เว็บไซต์ที่สแปมเมอร์อยากให้มีคนเข้าไปดูข้อมูล อาจได้รับการว่าจ้าง
(2) Spammer
สแปมเมอร์หรือผู้ไม่ประสงค์ดีสร้างซอฟต์แวร์เฉพาะกิจตามใบสั่ง
(3) Spamware
ส่งสแปมแวร์ที่อาจมีหลายรูปแบบ ทั้งจดหมาย หรือทำให้คนติดเชื้อ
(4) Infected computers
ส่งให้กับเครื่องเหยื่อ หรือกลุ่มเป้าหมายที่ติดเชื้อซอมบี้
(5) Virus or trojan
เหยื่อบางคนรอดถ้าตระหนัก ที่ไม่รอดก็ติดเชื้อซอมบี้
เชื่อที่ติดอาจเป็นไวรัส หรือม้าโทรจัน
แล้วส่งอีเมลจำนวนมากด้วยบัญชีของเหยื่อผ่านรายชื่อเพื่อนในสมุดที่อยู่
(6) Mail servers
เพื่อนของซอมบี้ได้รับจดหมายจำนวนมาก เห็นได้ในเครื่องบริการอีเมล
(7) Users
ผู้ที่ได้รับอีเมบจากซอมบี้เปิดอ่านอีเมล แล้วคลิ๊กตามลิงค์
(8) Web traffic
เว็บไซต์ของลูกค้าที่จ้างสแปมเมอร์มีคนคลิ๊กเข้าไปจำนวนมาก

ข้อสอบข้อนี้เพื่อนชื่อ Toeic Tutor แชร์มาในเฟส
พบว่า เป็นเนื้อหาใน FB Page : GAT Community
สามารถไปติดตามข้อสอบอื่นได้ เพื่อการเรียนรู้ และเตรียมความพร้อม
! https://www.facebook.com/gatconnectmaster/photos/a.1717807878436670.1073741840.1516128351937958/1717816878435770/

ถามศิษย์มาเยอะล่ะ ถามครูบ้างว่า ทำไมครูเค้าออกข้อสอบข้อนี้

คำถามที่ 63 ของ สทศ.
คำถามที่ 63 ของ สทศ.

[เหตุ]
พบโพสต์ของ อ.วิริยะ แชร์ข้อสอบ สทศ.ข้อ 63
ประเด็นต้นเรื่องตามลิงค์ ผมไม่ขอพูดถึง
แต่ที่สนใจ และเกิดคำถามเกิดขึ้นในใจผมเอง
ว่า “ครูคิดว่า ข้อสอบแบบนี้ต้องการอะไรจากเด็ก”
ถามสั้น แต่พาดพิงไปถึงวัตถุประสงค์ กระบวนการ และสิ่งที่คาดหวัง
https://www.facebook.com/ajWiriya/photos/a.109418075746852.10885.109357035752956/1146402255381757/

[ก่อนหน้านี้]
มีบทสนทนา “นิทานศิษย์คอม

ศิษย์ .. ทำไมต้องให้เขียนศัพท์
ครู .. ถามทำไมล่ะ
ศิษย์ .. ไม่อยากเขียนครับ ไม่เห็นประโยชน์
ครู .. เรียนอังกฤษ เรียนคอม เรียนไอที ก็ต้องรู้ศัพท์คอม สิครับ
มีหนังสือ “คู่มือ Cyber Security สำหรับประชาชน
ใคร ๆ เค้าก็อ่านกัน มีศัพท์ท้ายเล่ม บทที่ 9 หน้า 206
มี 28 คำ ไปอ่านนะ น่าสนใจ ดาวน์โหลดได้ด้วย
http://www.ebooksdownloadfree.net/2015/09/cyber-security.html
สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.)
เค้าทำแจกทั่วประเทศ เป็นรูปเล่มที่ผมก็มีนะ ได้รับแจกมา
ศิษย์ .. –!
ครู .. ไปอ่านเถอะ ไม่รู้ศัพท์ แล้วจะคุยกันรู้เรื่องเหรอ
นี่ขนาดข้อสอบ TU Star ความรู้ ม.4 ม.5 เค้ายังถามเลยว่า “Zombie” คอมพิวเตอร์คืออะไร
ศิษย์ .. รู้สิ

zombie คือ การเข้าควบคุมเหยื่อระยะไกล
zombie คือ การเข้าควบคุมเหยื่อระยะไกล

+ http://www.thaiall.com/blog/burin/7206/
+ https://www.facebook.com/gatconnectmaster/photos/a.1717807878436670.1073741840.1516128351937958/1717816878435770/
[สรุป]
ทุกปัญหามักมาจากการคิดต่าง (think different)
การคิดต่างมักต่างกันที่ วิสัยทัศน์ กลยุทธ์ เป้าหมาย วัตถุประสงค์ กระบวนการ ผลที่คาดหวัง

– วิสัยทัศน์ = เราจะเป็นที่หนึ่งในอาเซียน
– กลยุทธ์ = พัฒนานักเรียน และครู
– เป้าหมาย = ระบบการศึกษาไทยจะเป็นที่หนึ่งในอาเซียน
– วัตถุประสงค์ = เพื่อยกระดับการศึกษาของเด็กนักเรียน
– กระบวนการ = ปรับหลักสูตรให้สอดรับกับ PIZA สำหรับปีแรก
– ตัวบ่งชี้ (KPI) = คะแนนเฉลี่ยเด็กสูงขึ้นกว่าปีที่ผ่านมา สำหรับปีแรก

? การศึกษาไทยเป็นแบบนี้รึเปล่า คือ มองเป็นเส้นเดียวกัน คิดและทำเป็นระบบที่มีกลไกเดียวกัน

[ปัญหาการศึกษาไทย]
อ.วิริยะ บรรยายในแนวที่ว่า
“หวังอย่างหนึ่ง ทำอย่างหนึ่ง แล้วจะได้ผลเป็นอย่างที่หวังได้อย่างไร”
นี่คือปัญหาของระบบ objective -> process -> kpi
อย่างกรณี “ศิษย์คอม”
นั่นก็เป็นปัญหาที่ครู กับศิษย์ เห็นกระบวนการแตกต่างกัน
ที่ อ.วิริยะ พูดถึง “เด็กเรียนอย่างมีความสุข”
ก็ยังเป็นประเด็นที่น่าสนใจ และน่าติดตามอยู่เสมอ

[ข้อสอบเท่าทันโลก]
พบข้อสอบ TU Star ข้อหนึ่ง
พบว่าเด็กสมัยนี้หลายคนไม่ได้อ่านข่าวสารบ้านเมือง
คำถามถามครู
คือ “ครูคิดว่านักเรียนมัธยมปลาย ต้องติดตามข่าวสารในสื่อรึเปล่า
ข้อสอบถามว่า
โครงการ [ปลูกเลย] ที่โจอี้บอยไปเป็นจิตอาสาปลูกต้นไม้ เกิดขึ้นที่ไหน
คำตอบคือ “น่าน
https://www.facebook.com/gatconnectmaster/photos/a.1717807878436670.1073741840.1516128351937958/1717808038436654/

[TU Star]
TU Star ปีแรก รอบแรก 1/59
Menu: Star 00
มีข้อสอบมาแบ่งปัน ดูแนวข้อสอบได้ที่
https://www.facebook.com/gatconnectmaster/photos/?tab=album&album_id=1717807878436670

[O-NET]
ข้อสอบ O-NET ป.3 และ ป.6
สทศ.เปิดให้ download
http://www.niets.or.th/examdownload/

[gat]
ข้อสอบ GAT
สทศ.เปิดให้ download แล้วมีการนำมาเผยแพร่ต่อมากมาย
http://forum.02dual.com/index.php?topic=1471.0
http://www.trueplookpanya.com/knowledge/detail/30447-042944

TU Star คือ เกตเวย์เข้าธรรมศาสตร์

tu star 8 menu
tu star 8 menu

เมื่อ 3 ก.ค.59 มีข่าวจราจรจาก สวพ. FM 91
ว่าถนนพหลโยธิน ขาออก
มีสอบทียูสตาร์ (TU Star) ที่ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ รังสิต
มีผู้เข้าสอบจากทั่วประเทศ 20,600 คน
https://www.facebook.com/trafficradiofm91/photos/a.172109969466208.46607.172059279471277/1279022045441656/
แล้วค้นจาก google ด้วย “ธรรมศาสตร์รังสิต รถติด”
พบข่าวนี้ในลำดับที่ 5

TU Star คืออะไร
TU STAR (Thammasat University Standardized Test of Aptitude Requirement)
คือ การสอบคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาผ่านโครงการรับตรงรูปแบบใหม่
ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ปีการศึกษา 2560
โดยใช้ข้อสอบกลาง จะเปิดให้สอบ 8 ครั้งต่อปี
การสอบ TU star มีให้เลือก 8 เมนู
และสามารถสอบได้มากกว่า 1 ครั้ง คะแนนที่ได้สามารถเก็บไว้ได้ 2 ปี
ค่าสอบแต่ละเมนูต่างกัน

TU star 01 ค่าสอบ 450 บาท
TU star 02 ค่าสอบ 450 บาท
TU star 03 ค่าสอบ 400 บาท
TU star 04 ค่าสอบ 450 บาท
TU star 05 ค่าสอบ 150 บาท
TU star 06 ค่าสอบ 150 บาท
TU star 07 ค่าสอบ 150 บาท
TU star 08 ค่าสอบ 150 บาท

http://www.smartmathpro.com/2016/03/tu-star.html

การสอบตรง TU-STAR เปิดรับสอบเข้า 14 คณะ ดังนี้
1.คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี
2.คณะรัฐศาสตร์
3.คณะสังคมสงเคราะห์
4.คณะเศรษฐศาสตร์
5.คณะศิลปศาสตร์
6.คณะวิทยาการเรียนรู้และศึกษาศาสตร์
7.วิทยาลัยสหวิทยาการ
8.คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
9.คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
10.สถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร (SIIT)
11.คณะแพทยศาสตร์
12.คณะสหเวชศาสตร์
13.คณะพยาบาลศาสตร์
14.คณะสาธารณสุขศาสตร์

จากข่าวนี้ทำให้ทราบว่า
เด็กที่จะสมัครผ่าน admission เข้ามหาวิทยาลัย
ปี 2559 มีประมาณ 104,265 แสน ข้อมูลเมื่อวันที่ 21 พ.ค.59 เวลา 13.00 น.
โดยมีที่นั่งที่รองรับได้คือ 123,179 คน ซึ่งสมัครกันไม่เต็มเป้าที่จะรับ
http://www.admissionpremium.com/news/1029
มาสอบ TU Star ครั้งแรกนี้สองหมื่น หรือ 20% ของทั้งประเทศ

การสอบแบบอื่นของธรรมศาสตร์
http://smart.bus.tu.ac.th/
http://litu.tu.ac.th/2012/index.php/th/tu-get

ทำให้จำนวนเด็กเข้าสอบมากกว่าทุกปี
และปีนี้มีโอกาสให้เด็ก ๆ ทั้งหมด 8 ครั้ง
รอบการสอบ สนามสอบ ช่วงวันที่รับสมัคร วันที่สอบ
1/2559 ม.ธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต 6/6/2559 – 12/6/2559 3/7/2559
2/2559 ม.ธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต 11/7/2559 – 17/7/2559 7/8/2559
3/2559 ม.ธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต จังหวัดขอนแก่น 22/8/2559 – 28/8/2559 18/9/2559
4/2559 ม.ธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต จังหวัดสุราษฎร์ธานี 12/9/2559 – 18/9/2559 9/10/2559
5/2559 ม.ธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต จังหวัดเชียงใหม่ 24/10/2559 – 30/10/2559 20/11/2559
6/2559 ม.ธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต 21/11/2559 – 27/11/2559 18/12/2559
1/2560 ม.ธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต 19/12/2559 – 25/12/2559 15/1/2560
2/2560 ม.ธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต 9/1/2560 – 15/1/2560 5/2/2560
official site http://www.tustar.tu.ac.th/

การรับตรง กับ admission มีวิธีสอบ
และการคำนวณคะแนนไม่เหมือนกัน
การสอบ TU Star เป็นการสอบเก็บคะแนนหลายครั้ง
แล้วเลือกนำคะแนนที่ดีที่สุดในแต่ละวิชา
ไปยื่นรับตรงกับธรรมศาสตร์ได้ แต่ยืนที่อื่นไม่ได้
ข้อมูล admission จากการจัดสอบ o-net, gat และ pat
ที่ https://www.opendurian.com/news/admission/

อีกข้อมูลที่น่าสนใจคือจัดอันดับ 10 คณะที่ยอดผู้สมัครรับตรงสูงสุด
1. คณะนิติศาสตร์
2. คณะเศรษฐศาสตร์
3. คณะสหเวชศาสตร์ สาขาวิชาเทคนิคการแพทย์
4. คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์
5. คณะรัฐศาสตร์ สาขาวิชาการระหว่างประเทศ
6. คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี ประเภทวิชาการบัญชี (4 ปี)
7. คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี ประเภทวิชาการบริหารธุรกิจ (4 ปี)
8. คณะพยาบาลศาสตร์ พยายาลศาสตร์ (ผู้ขอรับทุน)
9. คณะพยาบาลศาสตร์ พยายาลศาสตร์ (ผู้ไม่ขอรับทุน)
10. คณะศิลปศาสตร์ สาขาวิชาภาษาไทย
ข้อมูลจาก https://www.opendurian.com/news/admission/

ยอดรับตามระเบียบการ Admission 2559
มีจำนวนสถาบันที่เข้าร่วม 88 สถาบัน
คณะ สาขาร่วมกันกว่า 754 คณะ/สาขา 4,191 รหัส
รวมที่นั่งในระบบ Admission จำนวน 123,179 ที่นั่ง
1. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จำนวน 1,834 คน
2. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จำนวน 9,106 คน
3. มหาวิทยาลัยขอนแก่น จำนวน 2,168 คน
4. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จำนวน 2,478 คน
5. มหาวิทยาลัยทักษิณ จำนวน 1,628 คน
6. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี จำนวน 873 คน
7. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ จำนวน 2,820 คน
8. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี จำนวน 525 คน
9. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จำนวน 4,024 คน
10. มหาวิทยาลัยนครพนม จำนวน 293 คน
11. มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ จำนวน 205 คน
12. มหาวิทยาลัยนเรศวร จำนวน 3,570 คน
13. มหาวิทยาลัยบูรพา จำนวน 4,657 คน
14. มหาวิทยาลัยพะเยา จำนวน 2,460 คน
15. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม จำนวน 2,567 คน
16. มหาวิทยาลัยมหิดล จำนวน 1,499 คน
17. มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จำนวน 3,400 คน
18. มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง จำนวน 2,145 คน
19. มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ จำนวน 1,525 คน
20. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ จำนวน 1,956 คน
21. มหาวิทยาลัยศิลปากร จำนวน 3,163 คน
22. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จำนวน 3,289 คน
23. มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี จำนวน 1,460 คน
24. สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง จำนวน 1,665 คน
25. สถาบันเทคโนโลยีปทุมวัน จำนวน 200 คน
26. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ จำนวน 825 คน
27. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก จำนวน 1,240 คน
28. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี จำนวน 1,425 คน
29. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร จำนวน 410 คน
30. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ จำนวน 455 คน
31. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา จำนวน 1,005 คน
32. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย จำนวน 280 คน
33. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ จำนวน 740 คน
34. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน จำนวน 615 คน
35. มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี จำนวน 210 คน
36. มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม จำนวน 280 คน
37. มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี จำนวน 1,340 คน
38. มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ จำนวน 580 คน
39. มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา จำนวน 2,391 คน
40. มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี จำนวน 1,080 คน
41. มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา จำนวน 785 คน
42. มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม จำนวน 825 คน
43. มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม จำนวน 1,025 คน
44. มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ จำนวน 75 คน
45. มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ จำนวน 1,740 คน
46. มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา จำนวน 1,954 คน
47. มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต จำนวน 1,555 คน
48. คณะพยาบาลศาสตร์เกื้อการุณย์ มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช จำนวน 35 คน
49. วิทยาลัยพยาบาลตํารวจ จำนวน 60 คน
50. วิทยาลัยพยาบาลสภากาชาดไทย จำนวน 60 คน
51. สถาบันการพลศึกษา จำนวน 299 คน
52. มหาวิทยาลัยกรุงเทพ จำนวน 1,610 คน
53. มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี จำนวน 1,020 คน
54. มหาวิทยาลัยเกริก จำนวน 1,715 คน
55. มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต จำนวน 2,290 คน
56. มหาวิทยาลัยคริสเตียน จำนวน 810 คน
57. มหาวิทยาลัยเจ้าพระยา จำนวน 400 คน
58. มหาวิทยาลัยชินวัตร จำนวน 340 คน
59. มหาวิทยาลัยเซนต์จอห์น จำนวน 240 คน
60. มหาวิทยาลัยตาปี จำนวน 275 คน
61. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร จำนวน 250 คน
62. มหาวิทยาลัยธนบุรี จำนวน 580 คน
63. มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ จำนวน 945 คน
64. มหาวิทยาลัยเนชั่น จำนวน 530 คน
65. มหาวิทยาลัยนอร์ท-เชียงใหม่ จำนวน 2,880 คน
66. มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมป์ฟอร์ด จำนวน 810 คน
67. มหาวิทยาลัยนานาชาติเอเชียแปซิฟิก จำนวน 100 คน
68. มหาวิทยาลัยพายัพ จำนวน 3,590 คน
69. มหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น จำนวน 1,110 คน
70. มหาวิทยาลัยภาคกลาง จำนวน 880 คน
71. มหาวิทยาลัยรังสิต จำนวน 4,210 คน
72. มหาวิทยาลัยราชธานี จำนวน 1,350 คน
73. มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล จำนวน 550 คน
74. มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น จำนวน 870 คน
75. มหาวิทยาลัยศรีปทุม จำนวน 2,565 คน
76. มหาวิทยาลัยสยาม จำนวน 1,090 คน
77. มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย จำนวน 3,125 คน
78. มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ จำนวน 2,275 คน
79. มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ จำนวน 1,100 คน
80. มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย จำนวน 665 คน
81.สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ จำนวน 445 คน
82.วิทยาลัยเชียงราย จำนวน 340 คน
83. วิทยาลัยเซนต์หลุยส์ จำนวน 120 คน
84. วิทยาลัยเซาส์อีสบางกอก จำนวน 400 คน
85. วิทยาลัยเทคโนโลยีภาคใต้ จำนวน 180 คน
86. วิทยาลัยดุสิตธานี จำนวน 220 คน
87. วิทยาลัยนครราชสีมา จำนวน 890 คน
88. วิทยาลัยสันตพล จำนวน 1,330 คน
http://www.admissionpremium.com/news/906