กลยุทธ์สิงคโปร์สร้างห้องสมุดเป็นบ้านหลังที่ 3

ชวนคิด ชวนมอง .. กันคนละมุม ..
ที่สิงคโปร์จะให้ห้องสมุดเป็นบ้านหลังที่สาม
ผมว่ากลยุทธ์นี้ไม่ work สำหรับคนไทย
.. เพราะปัจจุบันคนไทยส่วนหนึ่งและจะเป็นส่วนใหญ่ในไม่ช้า
ได้ยึด facebook เป็นบ้านหลังที่สามไปเรียบร้อยแล้ว

 

 

ภาพประกอบจาก Zongkiat Pavadee
https://www.facebook.com/photo.php?fbid=616988631658868&set=a.261783827179352.72887.100000432096291

singapore
singapore

กลยุทธ์สิงคโปร์สร้างห้องสมุดเป็นบ้านหลังที่ 3
การพัฒนาคน สิ่งสำคัญคือการให้ความรู้ ซึ่งสิงคโปร์ถือเป็นต้นแบบแห่งการเรียนรู้ ที่ใช้การอ่านเป็นเครื่องมือ โดยเน้นกลยุทธ์ปลูกฝังนิสัยรักการอ่านตั้งแต่วัยเด็กจนถึงชรา สร้างห้องสมุดให้สามารถเข้าถึงได้ง่ายและกลายเป็นบ้านหลังที่ 3  รวมทั้งโครงการอ่านหนังสือที่เหมาะกับวัยต่างๆ
การเข้าใช้บริการห้องสมุดของชาวสิงคโปร์ที่เพิ่มขึ้นทุกปี โดยประชากรในประเทศมี 5 ล้านคน และเกือบครึ่งนึงของจำนวนประชาชน พวกเขาเป็นสมาชิกห้องสมุด โดยในปี 2546 มีผู้เข้าใช้จำนวน 31.2 ล้านครั้ง และในปี 2554  เพิ่มเป็น 37.5 ล้านครั้ง   ส่วนสถิติการยืม ในปี 2546 มีจำนวน 27.5 ล้านครั้ง ก็เป็น 36.6 ล้านครั้ง ในปี 2554  ขณะที่การยืมต่อหัวอยู่ในระดับคงที่ระหว่าง 5.7 และ 7.1 
การเปลี่ยนแปลงนี้ มาจากรัฐบาลสิงคโปร์ได้จัดตั้งคณะกรรมการห้องสมุดแห่งชาติ หรือ NLB ขึ้น เพื่อกำกับดูแลห้องสมุดแห่งชาติ ในการพัฒนาระบบโครงสร้างตั้งแต่ปี 2538 โดยใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยี ในการให้บริการห้องสมุดที่เชื่อมโยงทั่วโลก เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ตลอดชีวิต และมีเครือข่ายห้องสมุดประชาชนทั้ง 25 แห่งทั่วประเทศเป็นผู้ให้บริการ  โดยห้องสมุดเหล่านี้  สร้างขึ้นในหลายสถานที่ เช่นห้างสรรพสินค้า ตามแคว้นต่างๆ และเป็นห้องสมุดเฉพาะกลุ่ม เช่น ห้องสมุดด้านศิลปะการแสดง เพื่อรองรับการใช้บริการของคนทุกเพศ ทุกวัย

http://newspapers.nl.sg/Digitised/Page/today20030306-1.1.3.aspx

http://newspapers.nl.sg/Digitised/Page/today20030306-1.1.3.aspx
http://newspapers.nl.sg/Digitised/Page/today20030306-1.1.3.aspx

NLB ได้ปูพื้นฐานนิสัยรักการอ่านตั้งแต่เยาวชนจนถึงคนชรา ผ่านโครงการต่าง ๆ มากมาย เช่น Mystery Brown Bag Service  โดยให้บรรณารักษ์และอาสาสมัครจัดหนังสือตามธีมบรรจุกระเป๋า เพื่อให้บริการสำหรับผู้มีเวลาน้อย แต่ต้องการอ่านหนังสือ การมีรถบัสห้องสมุดเคลื่อนที่ เพื่อให้บริการแก่ผู้ที่ไม่สามารถเดินทางมายังห้องสมุดได้ หรือกิจกรรม Book Exchange เพื่อส่งเสริมให้มีการแลกเปลี่ยนหนังสือใช้แล้วและแบ่งปันการรักการอ่านระหว่างกัน
เสถียรภาพทางการเมือง ก็เป็นส่วนหนึ่ง ที่ทำให้นโยบายด้านการอ่านของสิงคโปร์ประสบความสำเร็จ เพราะมีการลงทุนทางกายภาพ และการทำงานเชิงรุกอย่างต่อเนื่อง

ด้านรองเลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ หนึ่งในผู้ไปดูงานของสิงคโปร์  บอกว่า ประเทศไทยมีนโยบายการสร้างห้องสมุดชุมชนและในเมืองให้มากขึ้น ในช่วงปี 2557 ถึง 2558  โดยเห็นว่า นอกจากจะพัฒนาห้องสมุดแล้ว ยังต้องพัฒนาศักยภาพของบรรณารักษ์ด้วย

อาคารห้องสมุดแห่งชาติแห่งนี้ ถือเป็นสัญลักษณ์ความรู้ประจำชาติ โดยสิงคโปร์เป็นประเทศที่ขาดแคลนทรัพยากรธรรมชาติ จึงจะต้องผลิตคนที่มีคุณภาพเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ เพื่อให้ความรู้ที่ได้ ก่อให้เกิดจินตนาการ และความเป็นไปได้ นั่นคือเป้าหมายของ NLB  ที่จะสร้างสังคมที่มีคนน้อย ให้พัฒนาประเทศได้อย่างยั่งยืน

by wipa
http://news.voicetv.co.th/global/75568.html