ตกเป็นตก ไม่ให้โอกาสไปเรียนชั้นต่อไป

ตกเป็นตก ไม่ให้โอกาสไปเรียนชั้นต่อไป
ตกเป็นตก ไม่ให้โอกาสไปเรียนชั้นต่อไป

ตกเป็นตก ไม่ให้โอกาสไปเรียนชั้นต่อไป
ผมไม่เห็นด้วยนะ เพราะเห็นอกเห็นใจเด็ก ๆ

แต่คุณจาตุรนต์ เล็งทบทวนนโยบายตกซ้ำชั้น
“จาตุรนต์” รมว.ศึกษาธิการ เล็งทบทวนนโยบายตกซ้ำชั้น  

 

https://www.facebook.com/photo.php?fbid=10151914363117272&set=a.423083752271.195205.350024507271

วันที่ 18 ก.ย.56 นายจาตุรนต์ ฉายแสง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เปิดเผยว่า มีแนวคิดที่จะให้ทบทวนนโยบายตกซ้ำชั้น เพราะได้ข้อมูลมาว่า ปัจจุบัน นักเรียนทุกคนจะได้เลื่อนชั้นอัตโนมัติ เวลาสอบตกวิชาไหนจะต้องมาซ่อมเสริมกับครู  แต่บางครั้ง หากเป็นเด็กผู้หญิงก็มาช่วยครูจัดดอกไม้ ส่วนเด็กผู้ชายมาช่วยทำความสะอาดห้องเรียนแล้วครูก็ให้ผ่าน หรือบางครั้งก็จะมีผู้ปกครองมานั่งกดดันที่โรงเรียนเพื่อต้องการให้ลูกหลานผ่านการซ่อมเสริม สิ่งนี้ส่งผลกระทบต่อคุณภาพของเด็ก เพราะเมื่อเรียนต่อในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่1 ก็อ่านหนังสือไม่ออกจนส่งผลกระทบต่อคุณภาพการศึกษา ทั้งนี้การจะแก้ไขปัญหาเรื่องนี้จะต้องมาดูว่าจะทำอย่างไรคงไม่ใช่แค่การสั่งให้มีการซ้ำชั้นเหมือนเดิมแล้ว แต่จะต้องมาคิดเงื่อนไขต่างๆ ประกอบกันใหม่
ผมคิดว่าการไม่ให้นักเรียนตกและให้ผ่านกันหมดเป็นผลเสียอย่างมากและต้องมีการแก้ไขแต่ยังบอกไม่ได้ว่าจะทำอย่างไรและต้องมีการทบทวนกัน อย่างเรื่องที่เด็กอ่านไม่ออก เขียนไม่ได้แค่ประเด็นนี้ก็ให้เด็กผ่านไม่ได้แล้ว ควรจะมีเงื่อนไขในการติวเข้มจนกว่าจะผ่านแล้วจึงจะให้เลื่อนไปเรียนชั้นต่อไป ไม่ใช่ปล่อยให้เลื่อนชั้นไปแล้วก็อ่านหนังสือไม่ออก” รมว.ศึกษาธิการกล่าวและว่า ตนคิดว่าควรจะหาวิธีแก้ไขและควรต้องมาดูระบบการซ่อม ระบบการทดสอบวัดผลที่เป็นมาตรฐาน โดยจะขอหารือกับผู้ที่เกี่ยวข้องว่าจะทำกันอย่างไร


สั่ง อ.ก.ค.ศ เชื่อมโยงการแต่งตั้งโยกย้ายครูในพื้นที่กับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน

รมว.ศึกษาธิการ กล่าวตอนหนึ่งในการประชุมมอบนโยบายในการประชุมสัมมนาคณะอนุกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางกาศึกษา (อ.ก.ค.ศ.) เขตพื้นที่การศึกษา ภาคเหนือ  จัดโดยสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา(ก.ค.ศ.)ว่า ที่ผ่านมาการบริหารงานบุคคลของ อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่การศึกษา  ให้ความสำคัญกับการแต่งตั้งโยกย้ายเท่านั้น แต่เป้าหมายสำคัญของการดำเนินการแต่งตั้งโยกย้ายไม่ใช่เพื่อความเป็นธรรมเท่านั้น แต่คือการเชื่อมโยงกาารแต่งตั้งโยกย้ายให้สอดรับกับการเพิ่มผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาและการปฏิรูปการเรียนการสอนให้มากขึ้น อ.ก.ค.ก.ศ.เขตพื้นที่การศึกษาต้องมีฐานข้อมูลผลสัมฤทธิ์ของโรงเรียนในเขตพื้นที่ฯและมีข้อมูลการขาดแคลนครูเพื่อใช้ในการพิจารณาแต่งตั้งโยกย้าย ไม่ใช่พิจารณาเฉพาะความเป็นธรรมและการแก้ปัญหาระบบ
นายจาตุรนต์ กล่าวต่อว่า การแต่งตั้งโยกย้ายบรรจุครูยังต้องดูภาพรวมความขาดแคลนครูด้วย  ปัจจุบันการแต่งตั้งโยกย้ายครูในพื้นที่นั่น อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่ฯ จะพิจารณาไปตามความเห็นและความจำเป็นของแต่ละเขตพื้นที่ ขาดการดูแลในภาพรวมของประเทศ เช่นกรณีครูสอนภาษาฝรั่งเศสที่เหลือ200 กว่าคนทั่วประเทศ หากประเทศไทยมีความต้องการครูในส่วนนี้มากขึ้นก็จะเกิดคำถามว่าจะทำอย่างไร หากปล่อยให้ อ.ก.ค.ศ.เขตฯยังแต่งตั้งตามความพอใจแบบในปัจุบัน ทั้งนี้อยากให้ ก.ค.ศ.ไปคิดวิธีการและหลักเกณฑ์ โดยอาจจะต้องจัดทำข้อมูลความต้องการภาพรวมทั่วประเทศ เช่น หากต้องการให้บรรจุครูไอซีที 2,000 คนก็ให้แจ้งไปยัง อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่ฯให้บรรจุแต่งตั้งครูตามความต้องการ
“จะมอบให้ ก.ค.ศ.ไปจัดทำหลักเกณฑ์ว่าจะประเมินการทำงานของอ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่ฯได้อย่างไร  ซึ่งที่ผ่านมาเราไม่เคยมีการประเมินว่า อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่ฯว่าทำงานดีหรือไม่ดีอย่างไร เมื่อมีหลักเกณฑ์การประเมินแล้วจะทำให้ทราบผลการทำงานของแต่ละอ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่ฯทั่วประเทศ และ อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่ฯเองก็จะต้องรับผิดชอบต่อสังคมและผลประเมินที่ออกมา” รมว.ศึกษาธิการ กล่าว
นายจาตุรนต์ กล่าวต่อว่า ในส่วนของการประเมินวิทยฐานะก็อยากให้เชื่อมโยงกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนด้วย ที่ผ่านมาได้รับข้อมูลว่ามีผู้อำนวยการโรงเรียนหลายแห่งผ่านการประเมินวิทยฐานะที่สูง มีความก้าวหน้าในวิชาชีพแต่ผลสัมฤทธิ์ของโรงเรียนตัวเองกลับต่ำ อ่านไม่ออก เขียนไม่ได้
http://www.manager.co.th/Qol/ViewNews.aspx?NewsID=9560000135946
http://www.thairath.co.th/content/edu/375178
http://www.komchadluek.net/detail/20130918/168503/%E0%B8%88%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B8%B8%E0%B8%A3%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B9%8C%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B9%87%E0%B8%87%E0%B8%97%E0%B8%9A%E0%B8%97%E0%B8%A7%E0%B8%99%E0%B8%99%E0%B9%82%E0%B8%A2%E0%B8%9A%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%95%E0%B8%81%E0%B8%8B%E0%B9%89%E0%B8%B3%E0%B8%8A%E0%B8%B1%E0%B9%89%E0%B8%99.html