analysis

ทำเล กับ สังคม มีความคล้ายที่ต้องเลือกให้ถูกที่

#ทำเล คือ สถานที่ ที่ตั้ง พื้นที่
คล้ายกับ #สื่อสังคม ที่เป็นพื้นที่ให้สมาชิกได้มาพบกันและทำกิจกรรมร่วมกัน

เพราะสังคมก็เกิดจากที่แห่งหนึ่ง ซึ่งผู้คนที่มีความสนใจเฉพาะตัว ยินดีเข้าร่วมเป็นสมาชิกและทำกิจกรรมที่เกิดจากข้อตกลงร่วมของสังคมนั้น หากเข้าสังคมแล้วไม่ตอบโจทย์ ไม่เกิดปฏิสัมพันธ์ตามความสนใจที่มากพอ ก็ต้องย้ายไปอยู่ในสังคมที่ตอบโจทย์ได้มากกว่า หรือมีประชากรเป้าหมายอยู่กันหนาแน่นกว่า
เช่น ย้ายจาก hi5 ไป facebook

เหมือนทำเลดี มักถูกกำหนดขึ้นตามความสนใจของประชากรเป้าหมาย ที่ใดผู้คนเดินผ่านมาก มีกำลังซื้อ และตอบโจทย์ได้ก็จะถือว่าเป็นทำเลดี
เช่น ย้ายขายในหมู่บ้าน ไป ขึ้นห้าง

ดังนั้น การเลือกทำเลหรือสื่อสังคม หากใช้ การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมและศักยภาพ หรือ หลักการ 5W1H มาช่วยอธิบายในรายละเอียด หรือ ทำวิจัยตลาด หรือ การวิเคราะห์หาจุดคุ้มทุน ก็เป็นหลักการที่น่าสนใจที่ทำให้มีข้อมูลมาสนับสนุนทางเลือกที่กำลังตัดสินใจเลือกอยู่

อ่านโพสต์ของ Nuttapong พบ 5 ประเด็น
1. ปริมาณผู้คนที่ผ่านไปผ่านมา
2. รายได้ของผู้คนในบริเวณนั้นเป็นอย่างไร
3. ความสะดวกสบาย
4. ราคาค่าเช่าที่เหมาะสม
5. รูปแบบของพื้นที่

https://cheechongruay.smartsme.co.th/content/26297

#socialmedia
#population
#objectives
#site
#advantage
#swot
#resource
#opportunity
https://www.thaiall.com/socialmedia/
.

ความหมายของทำเล

ความรู้เรื่องแผนที่ความคิด

แผนที่ความคิด (Mind Map)
คือ แผนผัง (Diagram) ที่ใช้แสดงแนวความคิดของมนุษย์ที่เชื่อมโยงความคิดต่าง ๆ จากจุดศูนย์กลาง
แล้วแตกแขนงออกไปเหมือนเส้นประสาทในสมองของมนุษย์ที่เชื่อมโยงกัน
โดยที่แผนที่ความคิดถูกสร้างขึ้นมา เพื่อใช้เป็นจุดกำเนิด หรือการเริ่มต้นในการทำงานต่าง ๆ
การเขียนแผนที่ความคิดจะมีโครงสร้างและแนวความคิดแตกต่างกันออกไป
ขึ้นอยู่ว่าจะนำมาเขียนในประเด็นอะไร
อาทิ นักศึกษาใช้เล่าเรื่อง programmer

! http://blog.nation.ac.th/?p=3502

อ้างอิงจาก บทความแผนที่ความคิดของ ดร.อาณัติ รัตนถิรกุล
ที่ http://www.arnut.com/b/node/286
ซึ่ง อ.วิเชพ ใจบุญ ได้แบ่งปันมาในกลุ่มเฟสบุ๊ค

พิทยา กานต์อาสิญจ์ แบ่งปันประสบการณ์เรื่อง Mind Mapping ว่า
Mind Mapping เป็นเครื่องมือที่ใช้ได้ดี และกว้างมากในการเขียนแผนผังความคิดที่ไม่มีขอบเขต
สามารถที่จะเขียนเรื่องราวได้จากหัวข้อเดียว
แล้วขยายเป็นรากแยกออกไปเรื่อย ๆ ไม่มีที่สิ้นสุดที่จะจำกัดความคิดของเราได้
แต่ต้องมีความรู้ด้านนั้น ๆ เพื่อเขียนออกมาเป็นเรื่องราว
ถ้าหากไม่มีความรู้เกี่ยวกับด้านนั้นจริง ๆ ควรไปศึกษาสิ่งที่ต้องการเขียนออกมาก่อน
ไม่งั้นจะไม่สามารถเขียนอะไรออกมาได้เลย ถึงจะชอบเรื่องนั้น ๆ มากก็ตามครับ
บันทึกไว้ หลังจากได้รับการอบรมจาก คุณภัทรา มาน้อย เมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2559

ความหมายของโอ่งชีวิต

โอ่งชีวิต หรือโอ่งเศรษฐกิจ
คือ เครื่องมือช่วยวิเคราะห์เศรษฐกิจของชุมชน หรือบุคคล
ว่ามีสิ่งใดเป็นรายรับ สิ่งใดเข้ามาเป็นประโยชน์ หรือเข้ามาสนับสนุนชุมชน
และมีสิ่งใดเป็นรายจ่าย สิ่งใดรั่วไหลออกไป หรือเป็นต้นทุนที่ต้องจ่าย
หากรู้ที่มาของรายรับ และที่ไปของรายจ่าย ก็จะเป็นข้อมูลในการจัดการ
ด้วยการเพิ่มรายรับ และลดรายจ่ายต่อไป
อาทิ นักศึกษาใช้โอ่งชีวิตช่วยวิเคราะห์รายรับ รายจ่าย ด้านการศึกษาของตนเอง

! http://blog.nation.ac.th/?p=3505

จิรายุ คำแปงเชื้อ แบ่งปันประสบการณ์เรื่อง โอ่งชีวิต ว่า
โอ่งชีวิต เป็นเครื่องมือในการเรียนรู้การคิดวิเคราะห์
สำหรับโอ่งชีวิตเป็นเครื่องมีที่มีประโยชน์สามารถนำไปใช้กับชุมชนก็ได้ ใช้กับตนเองก็ได้
เพื่อที่เราจะได้รู้รายรับที่เข้ามาและรายจ่ายที่ออกไปและเงินออมของเรา
ในภาพประกอบไปด้วย ก็อกน้ำเปรียบเหมือนรายรับที่เข้ามาของเดือนนั้น
โอ่งเปรียบเหมือนเงินเก็บของเราในเดือนนั้น
และรอยรั่วเปรียบเหมือนรายจ่ายที่ออกไปในเดือนนั้น
สำหรับผมก็อยากจะรู้ว่ารายรับที่ผมได้มาทำไมมันไม่พอใช้ ผมก็ได้มาเยอะนะ(ต่อเดือน)
ผมก็เลยเขียนรายจ่าย ตรงรอยรั่วนั้นลงไป ทำให้ผมได้รู้เลย
ทำไมรายจ่ายของผมถึงไม่พอ เพราะผมไปใช้ในเรื่องไร้สาระนั้นเอง แถมใช้ไปเยอะด้วย
อาทิเช่น แทงบอล เที่ยว กินเหล้า ซื้อรองเท้า ซื้อเสื้อผ้า ฯลฯ
ผมก็เลยตัดการใช้จ่ายบางรายการออกไปและลดการใช้จ่ายบางรายการดู
ผมนี้ตกใจเลย เงินที่ได้มาเหลือเยอะขนาดนี้เลยหรือนี้
ถ้าผมทำอย่างนี้บ่อย ๆ ผมอาจจะมีโอ่งใบเล็ก ๆ ที่รองรอยรั่ว เปรียบเหมือนเงินออมนั้นเอง
บันทึกไว้ หลังจากได้รับการอบรมจาก คุณภัทรา มาน้อย เมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2559

ปัญหาแท้จริงคืออะไร ตอบได้ด้วย why-why analysis

why why analysis
why why analysis

http://www.syque.com/improvement/Why-Why%20Diagram.htm

มีโอกาสประชุมสัมมนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้  เรื่อง “ประสบการณ์ในการทำหน้าที่ประธาน/กรรมการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน” เมื่อวันที่ 29 เม.ย.56 แล้ว 30 ก็เป็น http://www.cheqa.mhesi.go.th/ ซึ่งผลของการนำเสนอในวันที่ 29 มาจากข้อมูลในระบบ cheqa จึงเห็นภาพในวันที่ 30 ว่านำข้อมูลส่วนใดไปวิเคราะห์ และระบบช่วยป้องกันจุดตรวจสอบ (check point) ในอนาคตอย่างไร

เริ่มจาก ศ.เกียรติคุณ ดร.กิตติชัย วัฒนานิกร ฉายภาพรวมว่ามาทำอะไร จะเห็นอะไรในวันนี้ แล้ว ผศ.ประเสริฐ อัครประถมพงศ์ ให้ความรู้เรื่องการวิเคราะห์ว่ามีเครื่องมือชื่อว่า Root cause analysis, why-why analysis และ 5W1H แล้วก็หนุนให้ทำ KM และมีภาพน้ำแข็งที่ลอยกับที่จม หากไม่รู้ก็อาจชน ถ้าน้ำแข็งที่จมอยู่ก็นำมาใช้ไม่ได้ เป็นต้น ผศ.ดร.จินดา งามสุทธิ แจ้งว่า graph เส้นในเอกสารขอเปลี่ยนเป็นแท่งจะเหมาะสมกว่า  ซึ่งผลการศึกษา “ความสามารถด้านการประเมิน (Evaluation capacity)” จากข้อมูลปี 2553 และ 2554 จำแนกเป็น 6 องค์ประกอบ

! http://www.mua.go.th/users/bhes/bhes2/qa%20exc56/qa%20exc2556.html
! http://photopeach.com/album/xw38dn?ref=more

ความสามารถด้านการประเมิน มี 6 องค์ประกอบ ดังนี้

1. การรวบรวม ตรวจสอบ บันทึกข้อมูลครบถ้วนในระบบ CHE
1.1 บทสรุปสำหรับผู้บริหาร
1.2 รายนามคณะผู้ประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน
1.3 สรุปข้อมูลพื้นฐานของสถาบัน
1.4 การวางแผนและการประเมิน (ก่อน ระหว่าง และหลังการตรวจเยี่ยม)
1.5 วิธีการตรวจสอบและความน่าเชื่อถือของข้อมูล

2. การให้ข้อสรุปเชิงประเมิน (Evaluative conclusion) ตามองค์ประกอบ/มาตรฐาน
เป็นการตรวจสอบความครบถ้วนของการลงข้อสรุป การแปลผล ตาม ป.2 – ป.5
2.1 จุดแข็ง/จุดอ่อน แนวทางเสริมจุดแข็ง/จุดที่ควรพัฒนา
2.2 ข้อเสนอแนะในการปรับปรุงพัฒนา
2.3 ข้อสรุปตามองค์ประกอบคุณภาพ
2.4 ข้อสรุปตามมาตรฐานการอุดมศึกษา
2.5 ข้อสรุปตามมุมมองด้านการบริหารจัดการ

3. การตรวจสอบยืนยันความถูกต้องของข้อมูล CDS
3.1 การยืนยันข้อมูลตัวบ่งชี้ สมศ. และสำนักงาน ก.พ.ร.
3.2 การตรวจสอบการเขียนผลประเมินที่สอดคล้องกับ CDS
3.3 ความสามารถในการตรวจสอบข้อมูลที่ไม่สมเหตุสมผล
3.4 การเขียนสรุปผลประเมินสอดคล้องกับตัวเลข ตาราง ป.2- ป.5

4. การให้ข้อเสนอแนะที่สอดคล้องกับจุดแข็งจุดอ่อน (SWR) ตามบริบทของสถาบัน
ความสมเหตุสมผลของการให้ข้อเสนอแนะ
ถ้าองค์ 7 ตกประเมิน แล้วจะบอกว่า ผู้บริหารมีวิสัยทัศน์ และบุคลากรทุกระดับมีความรู้ความตั้งใจในการทำงานไม่ได้

5. การตรวจสอบร่องรอยหลักฐานประกอบผลประเมิน
มีหลักฐานจริง จึงจะให้คะแนนตามเกณฑ์ได้

6. การจัดทำบทสรุปผู้บริหารตามหลักเกณฑ์ที่ สกอ.กำหนด
6.1 ชื่อหน่วยงาน จุดประสงค์การก่อตั้ง และกลุ่มสถาบันอุดมศึกษาการปฏิบัติตามพันธกิจพร้อมพัฒนาการ
6.2 ผลการประเมินในภาพรวมตามองค์ประกอบคุณภาพ
6.3 ผลการประเมินในภาพรวมตามมาตรฐานการอุดมศึกษา
6.4 ผลการประเมินในภาพรวมตามมุมมองด้านการบริหารจัดการ
6.5 ผลการประเมินในภาพรวมตามมาตรฐานสถาบันอุดมศึกษา
6.6 จุดเด่น/แนวทางเสริม
6.7 จุดที่ควรพัฒนา/แนวทางแก้ไข
6.8 ข้อเสนอแนะเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาทั้งระยะสั้นและระยะยาว

กรณีศึกษา 15 กรณีให้ชวนแลกเปลี่ยน
! http://www.eit.or.th/dmdocuments/plan/why_why_analysis_3.pdf

หลักสูตรฝึกอบรม why-why analysis เพื่อค้นหาสาเหตุที่แท้จริงของปัญหาด้วยเทคนิคการตั้งคำถาม ซึ่งเป็นเทคนิคที่สามารถค้นหาต้นตอของปัญหาไปพร้อมๆ กับแนวทางแก้ไขและป้องกันปัญหาที่เกิดขึ้น
! http://www.thaicostreduction.com/DocFile/Seminar/031%20why%20why%20analysis.doc

กระเป๋าโลกร้อน
กระเป๋าโลกร้อน

http://www.facebook.com/photo.php?fbid=10151542200633895&set=a.450805098894.247019.814248894