ความหมายของ Body Scan

ตรวจเช็คร่างกาย (Body Scan)
คือ เครื่องมือวิเคราะห์ที่สามารถประยุกต์ใช้กับประเด็นต่าง ๆ
โดยเปรียบเทียบประเด็นที่สนใจก็เหมือนกับร่างกายมนุษย์
สามารถแบ่งหมวดหมู่ให้สอดคล้องกับร่ายกาย
อาจแบ่งเป็น 2 ซีกให้ซีกซ้ายเป็นปัญหา และซีกขวาเป็นแนวทางแก้ไข
หรือแบ่งเป็นหัว มือ หัวใจ ร่างกาย และเท้า
ว่าแต่ละส่วนเชื่อมโยงกับประเด็นที่สนใจอย่างไร
อาทิ ให้น.ศ.มองสถานศึกษาเป็นร่างกาย แล้วฝึกวิเคราะห์

! http://blog.nation.ac.th/?p=3495

นรภัทร นรศักดิ์ แบ่งปันประสบการณ์เรื่อง Body Scan ว่า
Body Scan หรือเราเรียกว่า ตุ๊กตาชุมชน คือ เครื่องมือวิเคราะห์ปัญหาของคนกลุ่มหนึ่ง
ซึ่งเราใช้ในการวิเคราะห์ปัญหาที่เกิดขึ้นในกลุ่มคน
ได้จากการวาดรูปตุ๊กตาขึ้นมาและนำส่วนบางส่วนในร่างกายมาเปรียบเทียบ
เช่น
1. หัว คือ สมองคน ความคิดของคน หรือ ความเชื่อ
2. มือ คือ การบริโภค ความสะอาด
3. ร่างกาย คือ ด้านสุขภาพของร่างกาย เช่น โรคภัยไข้เจ็บ เป็นต้น
4. หัวใจ คือ ด้านจิตใจอารมณ์ ความอ่อนไหว เป็นต้น
5. เท้า คือ เหมือนการเดิน เราก็ต้องเดินต่อไปข้างหน้า การมีเป้าหมายเป็นของตัวเอง
ทั้งหมดนี้คือ ส่วนในร่างกายของตุ๊กตาชุมชน
เราจะแบ่งครึ่งคือจะมีเส้นแบ่งตรงกลางผ่าตัวของตุ๊กตาชุมชนตั้งแต่หัวจนถึงเท้า
ฝั่งซ้าย เราจะวิเคราะห์เชิง ปัญหาคนในกลุ่ม ในแต่ละส่วนของร่างกายตุ๊กตาชุมชน
ฝั่งขวา เราจะวิเคราะห์เชิง วิธีแก้ไข้ปัญหาในแต่ละส่วนของร่างกายตุ๊กตาชุมชน
เราสามารถนำตุ๊กตาชุมชน ไปปรับใช้ได้หลายระดับ
เช่น คนในครอบครัว กลุ่มเด็กนักเรียน กลุ่มนักศึกษาในมหาลัย
กลุ่มเพื่อนในที่ทำงาน เราสามารถประยุกต์ใช้ได้หลายกลุ่มชน

วสันต์ ศรีโชติ แบ่งปันประสบการณ์เรื่อง Body Scan ว่า
Body Scan เป็นเครื่องมือทางการคิดวิเคราะห์รูปแบบหนึ่ง
โดย เชื่อมโยง ลักษณะ สรีระร่างกาย
แบ่ง หมวดหมู่ตามการใช้งานให้สอดคล้อง กับ พฤติกรรม
ซึ่งแบ่ง กระบวนการ วิเคราะห์ เป็น 2 แบบ คือ สภาพปัญหา และ การแก้ไข
สรีระที่แบ่งนั้น ประกอบไปด้วย 5 ปัจจัย คือ หัว มือ หัวใจ ร่างกาย เท้า เป็นต้น
องค์ประกอบ ของปัญหาที่กล่าวมานั้น ยกตัวอย่างได้ คือ ตุ๊กตา มหาวิทยาลัยเนชั่น
ซึ่งจะทำการยก ปมปัญหา ที่เกี่ยวกับ นักศึกษา ในมหาวิทยาลัยเนชั่น มีแบบแผนดังนี้
1.ส่วนหัว (Head) สภาพปัญหา ความเชื่อ ทัศนคติ
ผมยกหัวข้อการช่วยเหลือและพึ่งพาตัวเอง เพราะการมาเรียนหนังสือ
มักจะมาเรียนตามเพื่อน หากเพื่อนไม่เรียนเราก้อไม่ไป อย่างนี้เป็นต้น
การแก้ไข ผมใช้หัวข้อ ธรรมะ เข้ามามีบทบาทกับ วิถีชีวิตของตน
หัวข้อคือ อฺตตาหิ อฺตตโน นาโถ ตนแลเป็นที่พึ่งแห่งตน
ควรช่วยเหลือตนเอง ก่อน จะขอความช่วยเหลือกับผู้อื่น
2. ส่วนมือ (Hand) การบริโภค นักศึกษาจะใช้ภาชนะที่ไม่สะอาดเป็นส่วนใหญ่
สังเกตจากสภาพแวดล้อม ที่ไม่เอื้อต่อการบริโภค และไม่รอบคอบในการทำความสะอาด
ภาชนะก่อนรับประทานอาหาร นำมาซึ่งพาหะ และโรคภัยไข้เจ็บ
การแก้ไขปัญหา ทำความสะอาดด้วยเครื่องมือที่เหมาะสม
เช่น สก๊อตไบท์ ที่บีบจนแห้งหลังการใช้งาน น้ำยาล้างจาน และเมื่อทำความสะอาดเสร็จแล้ว
ควรเช็ด กับผ้าสะอาดให้แห้ง และเก็บไว้ในสถานที่ ที่ถ่ายเท
การใช้ช้อนส้อมของร้านอาหาร จะมีน้ำร้อน ให้เรานำช้อนส้อมไปลวกก่อนใช้งาน เป็นต้น
3.ส่วนหัวใจ (Heart) อารมณ์ สุขภาพจิต จิตใจ อ่อนไหว รู้สึกท้อ
ต่อการเรียน กดดัน ขาดกำลังใจ อยากมีคนรัก
การแก้ไขปัญหา สร้างกำลังใจจากคนรอบข้าง จากครอบ ครัว จากพ่อแม่
นอกเหนือ จากเวลาเรียน ทำกิจกรรมผ่อนคลาย ออกกำลังกาย ดูหนัง ฟังเพลง
คนรัก ควรมีในแบบที่วางตัวเหมาะสม เป็นเพื่อนใจที่ดีต่อกัน
ผลักดัน ให้สำเร็จ ต่อความมุ่งหมาย เป็นต้น
4. ส่วนร่างกาย (Body) สุขภาพ ด้านร่างกาย และ ด้านต่าง ๆ
การรับประทานอาหารไม่เป็นเวลา ความอ่อนแอของร่างกาย ความเกียจคร้านต่อการออกกำลังกาย
สภาพอากาศ เดี๋ยวร้อน เดี๋ยวหนาว การปรับสภาพร่างกาย
การแก้ไขปัญหา รับประทานหาร ที่เป็นประโยชน์ ต่อร่างกาย
เช่น ผัก นม ผลไม้ เป็นต้น การออกกำลังอย่างสม่ำเสมอ การเตรียมพร้อมต่อโรคภัยไข้เจ็บ
ควรซื้อยา มาเผื่อไว้ที่ห้อง เช่น พารา ลดไข้ ยาลดน้ำมูก ยาแก้ปวดท้อง
หากไม่สบาย กินดัก ก่อนจะ ไม่ทันการ เพราะ ผลเสียที่ตามมา มีหลายอย่างนัก
5. ส่วนเท้า (Foot) จุดมุ่งหมาย การเดินไปข้างหน้า
จุดหมายที่ไม่แน่นอน อนาคตที่ไม่ชัดเจน สิ่งที่เรียนไม่สอดคล้องกับ อาชีพที่เลือกในอนาคต สับสนตนเอง
การแก้ไข กำหนดชีวิต และเป้าหมายของตนให้ชัดเจน
โดยเลือก จากสิ่งที่ชอบ เลือกและรักที่จะเรียน อย่างมีความสุข
เมื่อเป้าหมายมีแนวโน้มไปทางที่เรามุ่งหวังตั้งใจ
อะไรหลาย ๆ อย่างจะยิ่งชัดเจนและเด่นชัดขึ้น
บันทึกไว้ หลังจากได้รับการอบรมจาก คุณภัทรา มาน้อย เมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2559