assurance

แกะบันทึกดอกเตอร์มาเป็นบทเรียน ในประเด็นการประชุมกรรมการหลักสูตร

7 ตัวบ่งชี้ระบบ
7 ตัวบ่งชี้ระบบ

ดอกเตอร์ที่เป็นข่าวเขียนบันทึกไว้หลายหน้า อ่านแล้วก็ทำให้ตระหนัก
มีหัวข้อหนึ่งเกี่ยวกับเรื่อง การประชุมกรรมการหลักสูตรมีเรื่องต้องพิจารณา
ซึ่งมีประเด็นที่ท่านห่วง พอสรุปได้ดังนี้
– กำหนดแผนการศึกษาที่เข้าใหม่แต่ละเทอม [3+4]
– จัดตารางสอนของนักศึกษาใหม่ในเทอมแรก [3+4]
– การอนุมัติหัวข้อวิทยานิพนธ์/การค้นคว้าอิสระ [3.2]
– ทบทวนการจัดการเรียนการสอนที่ผ่านมา [5.3]

สำหรับเลขที่ต่อท้ายประเด็นข้างต้น มีความหมายดังนี้
เลข 3+4 สอดรับกับ องค์ประกอบนักศึกษา และอาจารย์
เลข 3.2 สอดรับกับตัวบ่งชี้ การส่งเสริมและพัฒนานักศึกษา
เลข 5.3 สอดรับกับตัวบ่งชี้ การประเมินผู้เรียน รวมถึงกำกับการทำ มคอ.7
แล้วก็ไปอ่านเรื่องที่ รศ.ดร.วีรชัย พุทธวงศ์ เลขาธิการศูนย์ประสานงานบุคลากรในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ (CHES)
ท่านได้วิเคราะห์ว่า “ต้นตอแท้จริงมาจากระบบการบริหารจัดการที่ขาดหลักธรรมาภิบาล”
http://www.posttoday.com/analysis/interview/433596
แล้ว หลักธรรมมาภิบาล มี 10 ข้อ
เป็นตัวบ่งชี้ระดับสถาบัน ตัวบ่งชี้ 5.1 เกณฑ์ที่ 4
เป็นตัวบ่งชี้ระดับคณะ ตัวบ่งชี้ 5.1 เกณฑ์ที่ 4
ซึ่งหลักธรรมาภิบาลอยู่ในคู่มือประกัน หน้า 40 และยากทุกข้อเลย
http://www.thaiall.com/blog/burin/7452/

งานประชุมที่ท่านพูดถึงถ้าไม่ทำก็ไม่ได้คะแนน
การได้คะแนนก็ไม่ใช่เรื่องง่าย ๆ
การให้คะแนนตามเกณฑ์ระบบมี 5 ระดับคะแนน

คะแนน 1 มีระบบ มีกลไก
คะแนน 2 มีการนำระบบกลไกไปสู่การปฏิบัติ/ดำเนินการ มีการประเมินกระบวนการ
คะแนน 3 มีการปรับปรุง/พัฒนา/กระบวนการจากผลการประเมิน
คะแนน 4 มีผลจากการปรับปรุงเห็นชัดเจนเป็นรูปธรรม
คะแนน 5 มีแนวทางปฏิบัติที่ดี โดยมีหลักฐานเชิงประจักษ์ยืนยัน
และกรรมการผู้ตรวจประเมินสามารถให้เหตุผลอธิบายการเป็นแนวปฏิบัติที่ดีได้ชัดเจน

หากจะทำเป็นระบบกันจริง ๆ ก็มีตัวบ่งชี้ระบบ ซึ่ง สกอ. คิดขึ้นมา
ประเด็นที่ต้องมีระบบ ในทั้งหมด 7 ตัวบ่งชี้จาก 13 ตัวบ่งชี้ของหลักสูตร

3.1 การรับนักศึกษา และการเตรียมก่อนเข้าศึกษา
3.2 การควบคุมดูแลให้คำปรึกษา และพัฒนาศักยภาพศตวรรษที่ 21
4.1 ระบบการรับและแต่งตั้งอาจารย์ประจำหลักสูตร
ระบบการบริหารอาจารย์ และระบบการส่งเสริมและพัฒนาอาจารย์
5.1 ระบบควบคุมการออกแบบ และสาระรายวิชาในหลักสูตรให้ทันสมัย
5.2 ระบบผู้สอน กำกับ ติดตาม การบูรณาการพันธกิจ
การควบคุมหัวข้อ อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ และการช่วยเหลือตีพิมพ์
5.3 ระบบการประเมินผลการเรียนรู้ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิฯ
6.1 ระบบการดำเนินงานของภาควิชา/คณะ/สถาบันโดยมีส่วนร่วมของอาจารย์ประจำหลักสูตรเพื่อให้มีสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้

http://www.thaiall.com/iqa/

ร่าง คู่มือการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน มี 3 ระดับ

เล่าสู่กันฟัง
พบว่า สำนักมาตรฐานและคุณภาพอุดมศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา จัดประชาพิจารณ์ 9 ครั้ง ระหว่าง 6 พ.ค. – 2 มิ.ย.57 เอกสารที่ใช้คือ ร่าง คู่มือการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา ระดับอุดมศึกษา พ.ศ.2557 รอบ พ.ศ. 2558 – 2562

1. ระดับการประเมินจะลึกขึ้น
แบ่งเป็น 3 ระดับคือ ระดับหลักสูตร ระดับคณะวิชา และระดับสถานศึกษา
ซึ่งเดิมมีเพียง 2 ระดับคือ ระดับคณะวิชา และระดับสถานศึกษา
+ ระดับหลักสูตรมี 14 ตัวบ่งชี้ คือ 1.1 – 1.14
+ ระดับคณะมี 8 ตัวบ่งชี้ คือ 2.1 – 2.8
+ ระดับสถาบันมี 10 ตัวบ่งชี้ คือ 3.1 – 3.10
รวม 32 ตัวบ่งชี้
2. การประเมินในระดับหลักสูตร
ประกอบด้วยตัวบ่งชี้มาตรฐาน และตัวบ่งชี้พัฒนา
ตัวบ่งชี้มาตรฐาน 1.1 มี 12 เกณฑ์
เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรและเกณฑ์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง
แบ่งเป็นตรีใช้ 5 เกณฑ์ โทและเอกใช้ 12 เกณฑ์
ตัวบ่งชี้พัฒนา 1.2 – 1.14 มี 13 ตัวบ่งชี้
แบ่งเป็นตรีใช้ 10 ตัว โทใช้ 8 ตัว และเอกใช้ 9 ตัว
ตัวบ่งชี้ 1.2 ร้อยละของอาจารย์ประจำสังกัดหลักสูตรที่มีคุณวุฒิปริญญาเอก
ตัวบ่งชี้ 1.3 ร้อยละของอาจารย์ประจำสังกัดหลักสูตรที่ดำรงตำแหน่งทางวิชาการ
ตัวบ่งชี้ 1.4 ผลงานวิชาการของอาจารย์ประจำสังกัดหลักสูตร
ตัวบ่งชี้ 1.5 จำนวนบทความของอาจารย์ประจำหลักสูตรปริญญาเอกที่ได้รับการอ้างอิง
ในวารสารระดับชาติหรือนานาชาติต่อจำนวนอาจารย์ประจำหลักสูตร
ตัวบ่งชี้ 1.6 สัดส่วนจำนวนนักศึกษาเต็มเวลาเทียบเท่าต่อจำนวนอาจารย์ประจำสังกัดหลักสูตร
ตัวบ่งชี้ 1.7 กระบวนการจัดการเรียนรู้และการบูรณาการกับงานวิจัย
การบริการวิชาการ การทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม
ตัวบ่งชี้ 1.8 การบริหารหลักสูตร
ตัวบ่งชี้ 1.9 การประเมินผลผู้เรียน
ตัวบ่งชี้ 1.10 การดูแล ช่วยเหลือ และสนับสนุนนักศึกษา
ตัวบ่งชี้ 1.11 คุณภาพของผู้สำเร็จการศึกษาตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ
(ป.ตรี โท เอก) (ประเมินจากผู้ใช้บัณฑิต)
ตัวบ่งชี้ 1.12 ผลงานของผู้สำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาโท ที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่
ตัวบ่งชี้ 1.13 ผลงานของผู้สำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาเอก ที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่
ตัวบ่งชี้ 1.14 ร้อยละของบัณฑิตปริญญาตรีที่ได้งานทำหรือประกอบอาชีพอิสระภายใน 1 ปี
3. การประเมินในระดับคณะ
ประกอบด้วยผลการดำเนินงานระดับหลักสูตร และเพิ่มเติมตัวบ่งชี้ที่ดำเนินการในระดับคณะ จำนวนรวม 8 ตัวบ่งชี้
+ การผลิตบัณฑิต มี 3 ตัวบ่งชี้
ตัวบ่งชี้ 2.1 ผลการประเมินระดับหลักสูตร
(ค่าเฉลี่ยของระดับคุณภาพของทุกหลักสูตรที่คณะรับผิดชอบ)
ตัวบ่งชี้ 2.2 การบริการนักศึกษา (ถ้ามี)
ตัวบ่งชี้ 2.3 กิจกรรมนักศึกษา (ถ้ามี)
+ การวิจัย มี 3 ตัวบ่งชี้
ตัวบ่งชี้ 2.4 ระบบและกลไกการบริหารและพัฒนางานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ (ถ้ามี)
ตัวบ่งชี้ 2.5 เงินสนับสนุนงานวิจัยและงานสร้างสรรค์ต่อจำนวนอาจารย์ประจำและนักวิจัยประจำ
ตัวบ่งชี้ 2.6 ผลงานวิชาการของอาจารย์ประจำ และนักวิจัยประจำ
+ การบริการวิชาการ มี 1 ตัวบ่งชี้
ตัวบ่งชี้ 2.7 การบริการวิชาการแก่สังคม
+ การบริหารจัดการ มี 1 ตัวบ่งชี้
ตัวบ่งชี้ 2.8 การบริหารของคณะเพื่อการกำกับติดตามผลลัพธ์
ตามพันธกิจและกลุ่มสถาบัน
4. การประเมินในระดับสถาบัน
ประกอบด้วยผลการดำเนินงานระดับหลักสูตร ระดับคณะ และเพิ่มเติมตัวบ่งชี้ที่ดำเนินการในระดับสถาบัน จำนวนรวม 10 ตัวบ่งชี้
+ การผลิตบัณฑิต มี 3 ตัวบ่งชี้
3.1 ผลการประเมินระดับหลักสูตร
(ค่าเฉลี่ยของระดับคุณภาพของทุกหลักสูตรที่คณะรับผิดชอบ)
3.2 การบริการนักศึกษา
3.2 กิจกรรมนักศึกษา
+ การวิจัย มี 3 ตัวบ่งชี้
3.4 ระบบและกลไกการบริหารและพัฒนางานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์
3.5 เงินสนับสนุนงานวิจัยและงานสร้างสรรค์ต่อจำนวนอาจารย์ประจำและนักวิจัยประจำ
3.6 ผลงานวิชาการของอาจารย์ประจำและนักวิจัยประจำ
+ การบริการวิชาการ มี 1 ตัวบ่งชี้
3.7 การบริการวิชาการแก่สังคมเพื่อสร้างความเข้มแข็งแก่ชุมชนและสังคม
+ การทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม มี 1 ตัวบ่งชี้
3.8 ระบบและกลไกการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม
+ การบริหารจัดการ มี 2 ตัวบ่งชี้
3.9 การบริหารของสถาบันเพื่อการกำกับติดตามผลลัพธ์ตามพันธกิจและกลุ่มสถาบัน
3.10 ผลการบริหารงานของคณะ
(คะแนนเฉลี่ยของผลการประเมินระดับคุณทุกคณะ)

แฟ้มจาก มหาวิทยาลัยนเรศวร
http://www.qad.nu.ac.th/backoffice/php_form/uploads/files/Draft%20criteria%20for%20IQA2557.pdf

หรือ http://www.scribd.com/doc/221987061/