believe

ทุกวิถีชีวิต ทุกวิถีโปรแกรม เริ่มต้นจากความเชื่อ

วันนี้ วันไหว้
วิถีชีวิตเราดำเนินโดยมีเข็มทิศ
คือ ความเชื่อ
คิดสิ่งใด ทำสิ่งใด ล้วนมีความเชื่อ
เป็นเครื่องค้ำชู
เชื่อแล้ว ทำแล้ว เป็นสิ่งที่ชอบแล้ว
มีความสุขแล้ว ก็ทำไปเลย
.
วันนี้ วันไหว้
สาย ๆ ก็จะไปไหว้
ที่บ้านต้นตระกูล ที่ผู้ใหญ่เตรียมไว้
ปกติ เตรียมโต๊ะสองบ้าน
แต่มีเหตุทำให้ปรับเหลือโต๊ะเดียว
ด้วยวิถีชีวิตที่เปลี่ยนไป
.
วันนี้ ปีแรก
ได้เลือกปรับวิถีชีวิตกันนิดหน่อย
เช้า ๆ ก็ไปใส่บาตรพระก่อน
กรวดน้ำเสร็จแล้วก็สบายใจ
สุขใจได้ทันที
สายอีกหน่อยค่อยไปไหว้เจ้า
สุขใจ ที่ได้คิดถึง คนบนฟ้า
.
การโปรแกรมก็เช่นกัน
เริ่มจาก ความเชื่อ
มโนภาพ ว่าเราอยากเห็นอะไร
แล้วก็บรรเลงคีย์บอร์ด ตามวิถีโปรแกรม
พิมพ์โค้ดเข้าไป นานสองนาน
ลงมือทำสิ่งที่เป็นความเชื่อ
ลงมือทำ ผ่านไปเนิ่นนาน
จนความเชื่อนั้นเป็นความจริง
ปรากฏให้เราได้เห็นชัดเจนบนจอภาพ
.
ชีวิตนักเรียน นิสิต นักศึกษา ก็เช่นกัน
ถ้าเชื่อว่า
เรียนหนังสือแล้วจะมีความสุข
ก็ต้องมีความเชื่อนั้นไม่เปลี่ยน
แล้วทำไปเรื่อยเรื่อย
นานนับสิบปี
กว่าจะทำความเชื่อ
ว่าเรียนหนังสือแล้ว
นำมาประกอบอาชีพ หาเลี้ยงตนเองได้
แล้วจะมีความสุขในที่สุด
.
แต่ละคนมีความเชื่อแตกต่างกันไป
มีวิถีชีวิตต่างกัน ตามโชคชะตา
ผลลัพธ์ จึงแตกต่างกันไปในแต่ละคน
คงจะดีไม่น้อย
ถ้าความเชื่อของทุกคน เป็น ความจริง
ขอเอาใจช่วยให้ทุกคนสมหวังครับ

https://fb.watch/q5eMK1amRS/?mibextid=Nif5oz

#coding
#programming
#java
#ความเชื่อ
#วันไหว้
#android

ทำบุญ ใส่บาตรให้คนบนฟ้า

ตำนานคดีเครื่องราชฯ 25 ปี เจ้าคุณวัดเทพศิรินทราวาส

ติดคุกเพราะไว้ใจ
ติดคุกเพราะไว้ใจ

ประเด็นน่าสนใจจากบทเรียน เรื่องนี้มีมาก
อาทิ
– การไม่รู้หนังสือแล้วลงนาม หรือไม่ศึกษารายละเอียด
– การไว้วางใจ เพราะเขา หรือพวกเขาน่าไว้ใจ
– คุณธรรม จริยธรรม กับความจริงในสังคม
– แล้วนึกถึงการคลายปม ผ้าเหลืองร้อน “พระมิตซูโอะ” ลือหนีพุทธพาณิชย์
http://www.manager.co.th/Daily/ViewNews.aspx?NewsID=9560000070503

 

13 มิ.ย.2556 มีคดีใหญ่ที่ขึ้นหน้า 1 หนังสือพิมพ์ทุกฉบับ และเป็นคดีร้อนที่ผู้คนกำลังติดตามอย่างใกล้ชิด คือคดีอุ้มฆ่านักธุรกิจชื่อดัง “เอกยุทธ อัญชันบุตร” เจ้าของเว็บไซต์ไทยอินไซเดอร์ ที่ยังคงมีปมค้างคาใจหลายฝ่าย ทั้งญาติผู้เสียชีวิต หรือประชาชนทั่วไป ขณะเดียวกัน ยังเป็นวันปิดตำนานคดีสำคัญที่ถือเป็น “ประวัติศาสตร์” ส่งผลฉาวโฉ่ ในวงการผ้าเหลือง ข้าราชการ นักการเมือง หรือแม้แต่เจ้าหน้าที่ธนาคาร เพราะเป็นวันอ่านคำพิพากษาศาลฎีกา คดีทุจริตเครื่องราชฯ หลังจากต่อสู้กันมายาวนานกว่า 25 ปีด้วย!!

สิ่งที่เกิดขึ้น เป็นสิ่งที่ไม่มีใครเคยคิดว่าจะมีกลุ่มบุคคลที่มีความคิดสามานย์นำ “เครื่องราชอิสริยาภรณ์” ที่ในหลวงจะทรงมอบให้กับผู้ที่ทำคุณประโยชน์ให้ประเทศชาติ มาแสวงหาประโยชน์ใส่ตัวได้ ซึ่งเรื่องราวทั้งหมดถูกเปิดเผยขึ้นครั้งแรก โดย นสพ.มติชน ฉบับวันที่ 30 ธันวาคม 2529 พร้อมพาดหัวว่า “ปลอมอนุโมทนาบัตร อ้างบริจาค 1,400 ล้าน

พร้อมกับเนื้อข่าววันนั้น สรุปใจความได้ว่า สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีตรวจสอบพบว่า มีข้าราชการขอรับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ สำหรับปี 2529 ในส่วนผู้ทำคุณประโยชน์ในทางราชการ จำนวนกว่า 750 ราย ที่ได้บริจาคเงิน สิ่งของ ให้วัดและโรงเรียนต่างๆ โดยมีใบอนุโมนาบัตร ระบุเงินกว่า 1,400 ล้านบาทส่อเค้าว่าไม่ถูกต้อง เพราะจากการสุ่มตรวจทราบว่าไม่ได้รับของบริจาคตามที่ระบุไว้

เมื่อกลายเป็นเรื่อง พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ นายกรัฐมนตรี ในขณะนั้น จึงสั่งการให้ตามติดกรณีนี้ให้ถึงที่สุด จนกระทั่ง มีการจับกุมในหลายระลอก แต่ผู้ที่เกี่ยวข้องที่กระทบความรู้สึกของประชาชนมากที่สุด คือ “พระราชปัญญาโกศล” หรือ “เจ้าคุณอุดม รองเจ้าอาวาสวัดเทพศิรินทราวาส ในขณะนั้น เนื่องจากเป็นเพศบรรพชิต ถูกควบคุมตัว ในขณะห่มผ้าเหลือง จึงกลายเป็นที่สนใจและวิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวาง

หลังจับกุม ได้มีการฝากขังที่ สน.นางเลิ้ง และในเช้าวันที่ 11 ธ.ค. 2530 สื่อทุกสำนักได้ส่งนักข่าวไปติดตามคดี รวมถึง นสพ.สยามรัฐ ซึ่งระบุในหน้า 1 ฉบับวันที่ 12 ธ.ค. 2530 ที่พาดหัวว่า “เจ้าคุณอุดมน้ำตานองลาสึก ไม่อยากติดคุกทั้งผ้าเหลือง” โดยมีใจความตอนหนึ่งว่า

เจ้าหน้าที่กองอำนวยการสอบสวนคดีทุจริตปลอมแปลงเอกสารเพื่อขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ได้นำตัวพระราชปัญญาโกศล หรือ เจ้าคุณอุดม ผู้ต้องหาคนสำคัญมาสอบปากคำ โดยพระราชปัญญาโกศล ให้สัมภาษณ์ด้วยสีหน้าซึมเศร้าว่า ตนได้ตัดสินใจที่จะลาสึกจากพระแน่นอนแล้ว โดยตัดสินใจเมื่อเวลา 09.30 น. วันนี้ (11 ธ.ค.30) เพื่อรักษาสถาบันสงฆ์ซึ่งเป็นส่วนใหญ่เอาไว้ แม้ว่าปัญหาที่เกิดขึ้นจะทำให้ตนขายหน้าชาวบ้านอย่างมากอยู่แล้ว

อย่างไรก็ตาม ก่อนที่ตนจะสึกได้ขอร้องตำรวจ 3 ข้อ
1. ขอลาพระสงฆ์ชั้นผู้ใหญ่วันเทพศิรินทร์ฯ เสียก่อน
2. ขอกราบไหว้พระประธาน
3. ให้จัดเสื้อผ้าให้ด้วย

พระราชปัญญาโกศล กล่าวขณะใบหน้านองน้ำตา ว่า ความจริงสิ่งที่ทำลงไปด้วยความบริสุทธิ์ใจมาโดยตลอด แต่กลับได้รับสิ่งที่ตรงกันข้าม เรื่องราวทั้งหมดเกิดจากคนใกล้ชิดทำให้เสียหาย “อาตมาเป็นคนไม่รู้หนังสือ ใครเอาอะไรมาให้เซ็นก็เซ็น โดยที่บางครั้งไม่มีการตรวจสอบรายละเอียดก่อน ซึ่งก็นึกไม่ถึงว่าคนใกล้ชิดจะทำได้อย่างนั้น

ทั้งนี้ ตำรวจได้นำใบอนุโมนาบัตร ซึ่งมีลายเซ็นแล้ว พบว่ามีการแก้ไขตัวเลข 500 บาท เป็น 50,000 หรือ 500,000 บ้าง นอกจากนี้ยังตรวจพบว่ามีการซื้อบ้านให้กับผู้เกี่ยวข้อง ซึ่งทางพระราชปัญญาโกศล ระบุว่า มีการร้องขอให้ช่วยเหลือ อย่างไรก็ตาม ในช่วง 11.00 น. วันเดียวกัน ทางตำรวจได้พาเจ้าคุณอุดม ไปที่วัดเทพศิรินทร์ฯ เพื่อทำการสึก พร้อมกับกล่าวตอนหนึ่งว่า “บางครั้งก็ต้องพูดความจริง หากพูดไม่จริงก็จะเป็นบาป และพูดอะไรก็จะไม่เป็นบาป

หลังการสอบสวน จับกุม และเปิดโปงสิ่งผิดปกติ ที่มีเรื่องเงินมาเกี่ยวข้องนับหมื่นล้านบาท และสืบพยานกว่าร้อยปาก มาราธอน 17 ปี วันที่ 27 เม.ย.2548 ศาลชั้นต้นได้พิพากษา จำเลย 5 คน จาก 16 คน มีความผิดรวม 152 กระทง จำคุกคนละพันกว่าปี หนักสุดเกือบ 3,000 ปี แต่ให้จำคุก 50 ปี โดยมีการยกฟ้อง 3 คน

ต่อมาในปี 2553 ศาลอุทธรณ์ มีคำพิพากษาแก้โทษให้จำคุก นายอรุณ เพชรรัตน์ จำเลยที่ 4 อดีตลูกศิษย์ที่ใกล้ชิด เป็นเวลา 2,234 ปี จากเดิมที่ศาลชั้นต้นพิพากาษาจำคุก 1,130 ปี นายมนตรี จำนง จำเลยที่ 5 อดีตครู จำคุก 2,180 ปี จากเดิม 1,170 ปี จำคุก นายอารี ศาสตรสาระ อดีตข้าราชการพลเรือนช่วยงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ จำเลยที่ 9 เป็น เวลา 1,470 ปี จากเดิม 2,660 ปี นอกจากนี้ พิพากษายืนตามศาลชั้นต้นให้จำคุก น.ส.พัทยา พิมพ์สอาด จำเลยที่ 8 อดีตพนักงานธนาคารกรุงเทพ 1,920 ปี และจำเลยที่ 11 นายเมธี บริสุทธิ์ อดีตข้าราชการพลเรือนประจำสำนักงานเลขาธิการสำนักนายกรัฐมนตรี จำคุก 1,148 ปี ปัจจุบันได้เสียชีวิต แล้ว ตามกระทงลงโทษ นอกจากนี้ ศาลอุทธรณ์ยืนให้ยกฟ้อง นายพิภพ บุญดิเรก อดีตข้าราชการพลเรือนช่วยงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ จำเลยที่ 10 , นางชมัยภร แสงกระจ่าง อดีตข้าราชการพลเรือนประจำสำนักงาน เลขาธิการสำนักนายกรัฐมนตรี จำที่ 14 และนายวิโรจน์ ชาทอง อดีตศึกษานิเทศฯ 6 กรมสามัญศึกษา

ต่อมาโจทก์และจำเลยที่ 8-9 ฎีกา วันที่ 13 มิ.ย.2556 ศาลอ่านคำพิพากษาศาลฎีกา 2  จำเลยดังกล่าว คือ น.ส.พัทยา พิมพ์สอาด  อดีตพนักงานธนาคารกรุงเทพฯ จำเลยที่ 8  นายอารี ศาสตรสาระ อดีตข้าราชการพลเรือน ช่วยงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ จำเลยที่ 9

โดยจำเลยที่ 8 น.ส.พัทยา มีประเด็นที่ต้องวินิจฉัยคือ ร่วมสนับสนุนจำเลย ที่ 1 (เจ้าคุณอุดม) ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานกระทำผิด ใช้อำนาจในตำแหน่งโดยมิชอบ เพื่อให้บุคคลใดมอบให้ หรือหามาให้ ซึ่งทรัพย์สินหรือประโยชน์แก่ตนเอง ซึ่งที่ชั้นพิจารณาได้ความจากพระเถระชั้นผู้ใหญ่ว่า เจ้าคุณอุดม เป็นรองเจ้าอาวาสได้มอบหมายหน้าที่ให้ดูแลในส่วนของเมรุและสุสานหลวงไม่ได้ดูแลในส่วนของการยื่นคำขอเครื่องราชฯ จึงยังฟังไม่ได้ว่าไปร่วมสนับสนุนไปร่วมกระทำผิดดังกล่าว

ส่วน นายอารี จำเลยที่ 9 คดีนี้โจทก์ระบุพยานบุคคลไว้ 508 ปาก แต่สามารถนำพยานเข้าสืบได้ เพียงบางส่วน ซึ่งกลุ่มพยานในนั้น 17 คน แม้จะให้การถึง แต่ก็ไม่ยืนยันได้ว่าเห็นเรียกรับเงิน ส่วนพยานที่อ้างว่ารู้เห็นส่งมอบเช็คเงินสด ก็เป็นผู้ร่วมกระทำผิดที่เจ้าพนักงานได้ร่วมกันไว้เป็นพยานซึ่งมีน้ำหนักรับฟังได้น้อย พยานหลักฐานโจทก์นำสืบยังมีความสงสัยตามสมควร จึงยกประโยชน์แห่งความสงสัยให้ศาลชั้นต้นพิพากษาจำคุกทั้งสอง สูงสุดตามกฎหมายเป็นเวลา 50  ปี ศาลฎีกาไม่เห็นพ้องด้วย พิพากษายกฟ้อง

คำตัดสินดังกล่าว ถือเป็นการสิ้นสุดคดีสุดอื้อฉาว ที่มีการสืบพยาน และใช้เวลาในชั้นศาลมาราธอนกว่า 25 ปี มีการเปลี่ยนพนักงานอัยการหลายคน จำเลยในคดีนี้เสียชีวิตไปแล้ว 9  คน ผู้พิพากษาเสียชีวิต 1 คน และทนายความเสียชีวิต 4 คน.

จาก ไทยรัฐออนไลน์ โดย พลิกแฟ้มอาชญากรรม  15 มิถุนายน 2556, 05:30 น.
tags:
พลิกแฟ้มอาชญากรรม คดีเครื่องราชอิสริยาภรณ์ พระราชปัญญาโกศล เจ้าคุณอุดม ปลอมแปลง รองเจ้าอาวาสวัดเทพศิรินทราวาส อนุโมธนาบัตร เงินบริจาค หมื่นล้าน พันสี่ร้อยล้าน
ขยายตัวอักษร

http://www.thairath.co.th/content/region/351246