conference

ซีดีปกน้องนุส เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับงานประชุมวิชาการปีนี้

วันนี้งานเข้า .. น้องนุส โทรมาสอบถามว่า จะ print ปก CD สำหรับงานประชุมวิชาการอย่างไร ก็พูดคุยกันว่าที่ผ่านมา คุณเรณู กับคุณปุ๊ เค้าทำเป็นประจำทุกปี หากสอบถามข้อมูลทางเทคนิคว่าจะ Print ปก CD อย่างไร ก็ตอบว่า
เคยเล่าไว้ใน http://www.thaiall.com/blog/burin/6530/

วันนี้ได้ฤกษ์ นำ Blog มาปัดฝุ่น และเขียนเป็นขั้นตอนการทำงานใหม่
เป็นวิธีการใช้ Microsoft word ช่วยในการวางภาพลงไปบนปก CD

น้องนุสปกล่าง
น้องนุสปกล่าง
น้องนุสปกบน
น้องนุสปกบน

มีขั้นตอนดังนี้
1. เปิด word 2010
2. เลือก New , Available Templates
3. ในช่อง Search Office.com for templates
4. พิมพ์ CD พบ “CD or DVD Face lables (2 per page)”
5. เลือก Download ก็จะเปิดแฟ้มขึ้นมาใน Word อัตโนมัติ
6. เก็บแฟ้มนี้ไว้ ตั้งชื่อ blank_2cd.docx
7. เริ่มงานแก้ไข .. คลิ๊ปไปที่ CD ด้านบน
8. เลือก Right click เลือก Format Shape
9. เลือก Fill, Picture or texture fill, File .. แล้วเลือกภาพ
10. ปรับตำแหน่งผ่าน Stretch options
กรณีนี้เปลี่ยน Left 0% เป็น 20% ก็จะได้ตำแหน่ง
ที่ผมว่าดีแล้ว
11. คลิ๊ปไปที่ CD ด้านล่าง ทำเหมือนเดิม
12. เปลี่ยนภาพเป็นสาวชุดแดง
13. ปรับ Stretch options แล้วกรณีนี้เปลี่ยน Right 0% เป็น 30%
ก็จะได้ตำแหน่งที่ผมว่าดี
14. ปรับข้อความ สี ขนาด หรือเพิ่มข้อความให้แล้วเสร็จ
15. หาซื้อกระดาษสติกเกอร์ ขนาดเท่า A4
กระดาษ sticker ซองละ 50 แผ่นราคา 195 บาท (สำหรับ CD 100 แผ่น)
http://www.see-dlabel.com/product/cdstandard.html
16. ทดสอบ Print บนกระดาษธรรมดาจนพอใจ
แล้วจึงใช้กระดาษ Sticker

ซีดีปกน้องนุส
ซีดีปกน้องนุส

เอกสาร Word ที่มีภาพน้องนุสบนปก CD แล้ว
https://web.facebook.com/groups/thaiebook/posts/275774645906694/

เฟซบุ๊ก – /groups/thaiebook/782801461870674/

ยินดียิ่งแล้ว แขกแก้วมาเยือนที่ทำงาน

Lampang 2020
Lampang 2020
ntc 2015 conference
ntc 2015 conference
ntu fut 2016 symposium
ntu fut 2016 symposium

ทุกมหาวิทยาลัยก็จะมีความสัมพันธ์กับมหาวิทยาลัยต่าง ๆ หลายมหาวิทยาลัยจะมีความสัมพันธ์กับมหาวิทยาลัยในต่างประเทศ เช่น มหาวิทยาลัยเนชั่น มีความสัมพันธ์กับ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีฟุคุอิ ได้จัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนทางวิชาการร่วมกันทุกปี โดยเฉพาะการประชุมวิชาการที่จัดมาตั้งแต่ปี 2014 บางปีก็เดินทางไปที่ประเทศญี่ปุ่น และปีนี้ (2016) ก็มีกิจกรรมร่วมกันมากมาย

กิจกรรมดูงานในลำปางมีแผน ดังนี้
3 ธ.ค.59
– ชมกาดกองต้า
4 ธ.ค.59
– ดูการผลิตข้างแต๋น
– ดูงานกลุ่มตีมีดบ้านขามแดง
– ดูงานการผลิตเซรามิค
5 ธ.ค.59
– เยี่ยมศูนย์อนุรักษ์ช้างไทย
– เยี่ยมวัดพระธาตุลำปางหลวง
6 ธ.ค.59
กิจกรรมทางวิชาการในห้อง Auditorium, NTU, Lampang

3 ธันวาคม 2559
3 ธันวาคม 2559
4 ธันวาคม 2559
4 ธันวาคม 2559
5 ธันวาคม 2559
5 ธันวาคม 2559
6 ธันวาคม 2559
6 ธันวาคม 2559

24 – 26 มกราคม 2557
! http://www.nation.ac.th/ntc2014/

13 – 14 ธันวาคม 2557
! http://www.nation.ac.th/ntc2557/

18 ธันวาคม 2558
! http://www.nation.ac.th/ntc2015/

3-6 ธันวาคม 2559
! http://www.nation.ac.th/ntc2016/

6-14 ตุลาคม 2558
โครงการ: Joint Symposium between NATION UNIVERSITY and Fukui University of Technology
! http://www.nation.ac.th/news-detail.php?main=fpdazyrr//243&content=465
! https://www.facebook.com/NationUNews/posts/886858211391265:0

Joint Symposium between NATION UNIVERSITY and Fukui University of Technology
Joint Symposium between NATION UNIVERSITY and Fukui University of Technology

การประชุมทางวิชาการ ม.เนชั่น ร่วม ม.ฟุคุอิ

มหาวิทยาลัยเนชั่น และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีฟุคุอิ ประเทศญี่ปุ่น
มหาวิทยาลัยเนชั่น และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีฟุคุอิ ประเทศญี่ปุ่น

มหาวิทยาลัยเนชั่นเล็งเห็นถึงความสำคัญของการร่วมมือทางวิชาการกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีฟุคุอิ ประเทศญี่ปุ่น ที่มีมาตั้งแต่ปีการศึกษา 2556 ร่วมกันจัดกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง จึงได้จัดประชุมวิชาการร่วม มหาวิทยาลัยเนชั่น และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีฟุคุอิ ประเทศญี่ปุ่นขึ้นในวันที่ 6 ธันวาคม 2559 เวลา 9.00 – 15.30น. ณ ห้องประชุมใหญ่ อาคารคณะบริหารธุรกิจมหาวิทยาลัยเนชั่น มหาวิทยาลัยเนชั่น ลำปาง โดยมีการนำเสนอผลงานทางวิชาการที่น่าสนใจ เช่น
ดาวเทียมเพื่อการเกษตร
โปรแกรมควบคุมหุ่นยนต์
การพัฒนากระดาษกันยุง
รูปแบบการเรียนรู้ตลอดชีวิตของผู้สูงอายุจังหวัดลำปาง
ข้าวก่ำเพื่อพัฒนาเสริมสร้างสุขภาพ
และการใช้สื่อประชาสัมพันธ์เพื่อส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม

! http://www.nation.ac.th/ntc2016

การประชุมครั้งนี้เชิญผู้บริหาร คณาจารย์ เจ้าหน้าที่ และนักศึกษาทุกท่านเข้าร่วมการประชุมวิชาการ โดยพร้อมเพรียงกัน


ประชุมวิชาการ 2015
ประชุมวิชาการ 2015
6 ธันวาคม 2559
6 ธันวาคม 2559
3 ธันวาคม 2559
3 ธันวาคม 2559
5 ธันวาคม 2559
5 ธันวาคม 2559
4 ธันวาคม 2559
4 ธันวาคม 2559

18 ธันวาคม 2015
! http://www.nation.ac.th/ntc2015

13 – 14 ธันวาคม 2014
! http://www.nation.ac.th/ntc2557

24-26 มกราคม 2014
! http://www.nation.ac.th/ntc2014

ประชุมทางวิชาการ
ประชุมทางวิชาการ

ประชุมวิชาการปี 2559 ร่วม Fukui University of Technology

การเขียนบทความวิจัยอย่างไร จึงจะโดนใจบรรณาธิการ โดย ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.มนัส สุวรรณ

ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.มนัส สุวรรณ
ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.มนัส สุวรรณ

จากการเข้ารับการอบรมที่จังหวัดเชียงใหม่
เรื่อง เขียนบทความวิจัยอย่างไร จึงจะโดนใจบรรณาธิการ
โดย ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.มนัส สุวรรณ มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่
มีเรื่องราวจากเอกสารของท่านวิทยากร มาแบ่งปันดังนี้
http://www.thaiall.com/blog/burin/7703/

นิยามศัพท์

บทความ หมายถึง งานเขียนประเภทร้อยแก้ว ซึ่งผู้เขียนต้องการถ่ายทอดความคิด
และ/หรือ ข้อมูลข่าวสารไปยังผู้อ่านโดยใช้ตัวอักษรเป็นสื่อกลาง
ประเภทของบทความ
– บทความทั่วไป
– บทความกึ่งวิชาการ
– บทความทางวิชาการ
บทความทั่วไป หมายถึง งานเขียนที่มิได้มุ่งเน้นการให้ความรู้
หรือข้อเท็จจริงเชิงวิชาการ แต่มุ่งเน้นที่จะให้ความรู้ทั่วไป ให้ความสนุกสนานเพลิดเพลิน
หรือให้ข้อคิดแก่ผู้อ่าน เช่น บทความแสดงความคิดเห็น บทความเล่าอัตชีวประวัติ
บทความเล่าประสบการณ์การเดินทาง และบทความที่ให้ข้อคิดหรือปรัชญาชีวิต เป็นต้น
บทความกึ่งวิชาการ หมายถึง งานเขียนที่ผู้เขียนประสงค์จะให้ความรู้เชิงวิชาการ
แต่ไม่ลึกซึ้งถึงระดับองค์ความรู้หรือทฤษฎี เช่น บทความที่เป็นบทวิเคราะห์/วิพากษ์
และบทความสนับสนุนหลักการหรือแนวคิด เป็นต้น
บทความทางวิชาการ หมายถึง งานเขียนหรือความเรียงที่ผู้เขียนประสงค์จะสื่อองค์ความรู้
หรือข้อค้นพบใหม่ ๆ ทางวิชาการในสาขาวิชาใดวิชาหนึ่งเป็นการเฉพาะ เช่น บทความวิจัย
บทความเสนอแนวคิด หลักการ และ/หรือแบบจำลอง เป็นต้น

ธรรมชาติของบทความทางวิชาการ
1. นำเสนอความรู้ที่ตั้งอยู่บนฐานวิชาการของสาขาวิชาใดวิชาหนึ่ง
2. ความรู้ที่นำเสนอต้องมีความถูกต้องและเชื่อถือได้ หรืออย่างน้อยที่สุดต้องมีแนวคิดหรือทฤษฎีสนับสนุน
3. เนื้อหาสาระที่นำเสนอต้องผ่านการประมวล หรือการสังเคราะห์ก่อนเรียบเรียงเชิงพรรณนาตามลำดับอย่างเหมาะสม
4. มีการวิเคราะห์ วิจารณ์ (ทั้งในเชิงบวกและเชิงลบ) บนพื้นฐานทักษะความรู้ ความสามารถ และประสบการณ์ของผู้เขียน
5. มีการสรุปและอภิปรายผล รวมตลอดจนให้ข้อเสนอแนะที่จะนำไปสู่การแสวงหาความรู้เพิ่มเติม

การเลือกประเด็นเพื่อเขียนบทความทางวิชาการ
1. เป็นประเด็นที่อยู่ในกรอบความรู้ ความสามารถ และประสบการณ์ของผู้เขียน
2. เป็นประเด็นที่มีความแปลกใหม่ ทันสมัย และอยู่ในความสนใจของคนทั่วไป หรือเป็นประเด็นเก่าที่ควรรู้แต่ถูกทิ้งลืม
3. เป็นประเด็นที่สามารถยืนยันความน่าเชื่อถือได้ด้วยข้อมูลเชิงประจักษ์ (Empirical data) หรือมีแนวคิด ทฤษฎีสนับสนุน
4. เป็นประเด็นที่สามารถสร้างเสริมความรู้ และความแตกฉานทางวิชาการให้กับทั้งผู้เขียน และผู้อ่าน
5. เป็นประเด็นที่สามารถก่อให้เกิดประโยชน์ต่อสังคม/ประเทศชาติ

องค์ประกอบของบทความทางวิชาการ
1. ชื่อบทความ
2. ชื่อผู้เขียน
3. บทคัดย่อ และคำสำคัญ (Abstract และ Keywords)
4. บทนำ/ความนำ
5. เนื้อเรื่อง (สาระสำคัญ/ความรู้ที่ต้องการนำเสนอ)
6. บทสรุปและอภิปรายผล
7. เอกสารอ้างอิง หรือบรรณานุกรม

บทความวิจัย
บทความวิจัย หมายถึง เอกสารความเรียงที่ได้มาจากการประมวลสรุป (Condensation & Digestion)
รายงานการวิจัย หรือวิทยานิพนธ์ของนักศึกษา ระดับบัณฑิตศึกษา
ทั้งนี้บทความวิจัยมีลักษณะเฉพาะที่สำคัญ ดังนี้
– มีความยาวจำกัด จัดทำขึ้นเพื่อนำเสนอต่อที่ประชุมวิชาการหรือลงพิมพ์ในวารสารวิชาการ
– เป็นเอกสารที่มีความทันสมัย และทันต่อเหตุการณ์มากกว่ารายงานการวิจัย
ทั้งนี้เพราะผู้วิจัยสามารถเพิ่มเติมหรือตัดทอนบางส่วนของรายงานการวิจัยเพื่อการเผยแพร่ได้
– มีคุณภาพที่เป็นมาตรฐานมากกว่ารายงานการวิจัยเพราะต้องทำให้อยู่ใน format ที่เป็นที่ยอมรับตามหลักสากล

องค์ประกอบของบทความวิจัย
1. ชื่อเรื่อง
2. ชื่อผู้วิจัย
3. บทคัดย่อ/คำสำคัญ (Abstract/keywords)
4. บทนำ/ความนำ
5. วิธีดำเนินการวิจัย
6. ผลการวิจัย
7. อภิปรายผล
8. เอกสารอ้างอิง หรือบรรณานุกรม

ข้อแนะนำในการเขียนบทความวิจัย
1. ชื่อเรื่องสั้น กระทัดรัดได้ความหมาย (อาจระบุมิติและ/หรือลักษณะการวิจัยด้วยก็ได้)
2. บทคัดย่อเขียนให้กระชับแต่ครอบคลุมกระบวนการวิจัย
โดยปกติมีความยาวไม่เกิน 300 คำ(15 บรรทัด) มีการแบ่งย่อหน้าตามความเหมาะสม
3. บทนำ/ความนำ บ่งบอกถึงที่มาและความสำคัญของการวิจัย
(ทำไมจึงเลือกทำวิจัยเรื่องนี้ / ทำแล้วได้ประโยชน์อะไร)
4. วิธีดำเนินการวิจัยประกอบด้วย
– ขอบเขตของการวิจัย (พื้นที่/ประชากร/เนื้อหา/เวลา)
– ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
– ข้อมูล และแหล่งของข้อมูล
– เครื่องมือ และวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล
– วิธีการวิเคราะห์ข้อมูล
5. ผลการวิจัย เขียนสรุปเรียงตามวัตถุประสงค์
6. อภิปรายผล
– อภิปรายเปรียบเทียบกับวรรณกรรมที่ทบทวน
– อภิปรายข้อค้นพบที่มีความพิเศษเฉพาะ
7. เอกสารอ้างอิง หรือบรรณานุกรม
แจงให้ครบตามที่อ้างอิง และเขียนให้ถูกต้องตามหลักวิชาการ

ข้อสังเกตสำหรับการเขียนบทความวิชาการ/บทความวิจัยที่ไม่ผ่านการคัดกรองเพื่อการเผยแพร่
1. ไม่ดำเนินการตามระเบียบหรือข้อกำหนดของวารสาร หรือที่ประชุม/สัมมนาวิชาการ
2. เนื้อหาสาระของบทความไม่สอดคล้องกับสาขาวิชาเฉพาะของวารสารหรือไม่ตรงกับ Theme
ของการประชุม/สัมมนาวิชาการ
3. บทความขาดความเป็นเอกภาพ (แต่ละองค์ประกอบไม่สัมพันธ์เกี่ยวเนื่องกัน)
4. ขาดความชัดเจนในการนำเสนอ/ไม่ครบกระบวนการของการทำวิจัย
5. ไม่ได้ทำการประมวลสรุปเพื่อเขียนเป็นบทความ แต่นำเอาบทสุดท้ายมาปรับเขียน
6. โครงสร้างการเขียนไม่ดี ไม่เป็นไปตามลำดับ ขาดความเป็นเหตุเป็นผล
7. ขาดลีลาการเขียน (Writing style) ที่เป็นวิชาการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำนวนภาษา
การแบ่งประโยค และการแบ่งวรรคตอน
8. สาระที่นำเสนอไม่ลึกซึ้ง และไม่ถูกต้องตามหลักวิชาการ
9. ไม่ประณีต พิถีพิถันในการใช้ภาษา (ไม่คำนึงถึงหลักไวยากรณ์ พิมพ์ผิด สะกดผิด)
10. เป็นเพียงรายงานการศึกษา ขาดการวิเคราะห์ วิจารณ์ และ/หรือการแสดงความคิดเห็นเชิงวิชาการ

ข้อเสนอแนะเพื่อการเผยแพร่บทความ
1. สำรวจวารสารวิชาการ การประชุมสัมมนาวิชาการ ที่บทความที่เขียนสามารถนำไปเผยแพร่ได้
2. ศึกษาและทบทวนระเบียบและข้อกำหนดของวารสาร
ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาสาระ และรูปแบบของบทความ
3. วางแผนการเขียนบทความอย่างเป็นระบบ กำหนดโครงร่างและองค์ประกอบของบทความ
กรอบเวลาที่จะเขียน และเวลาที่จะเผยแพร่
4. การเขียนเป็นเรื่องของทักษะ ควรศึกษาหาความรู้ และเพิ่มพูนทักษะด้วยการฝึกเขียนบ่อย ๆ
และด้วยการอ่านบทความดี ๆ จากวารสารดี ๆ
5. ใช้ภาษาเขียนที่เป็นมาตรฐานทางวิชาการ ถูกต้องตามหลักภาษาศาสตร์
6. ตรวจสอบและตรวจทานสิ่งที่ได้เขียนแล้วในบทความหลาย ๆ ครั้ง
เพื่อตัดทอน และ/หรือเพิ่มเติมสาระให้มีความถูกต้องและเหมาะสม
7. กรณีของบทความวิชาการ ต้องไม่ลืมส่วนที่เป็นบทวิเคราะห์ วิจารณ์ และการแสดงความคิดเห็น
บนพื้นฐานของหลักวิชาการ
8. กรณีของบทความวิจัย ต้อเป็นการเรียบเรียงในลักษณะของการประมวลสรุปจากรายงานการวิจัย
มิใช่การนำเอาบทสุดท้ายมานำเสนอ
9. หลักการเขียนบทความวิจัย ต้องพยายามยึดวัตถุประสงค์เป็นตัวตั้งเสมอ
10. นำเสนอเนื้อหาสาระโดยปราศจากอคติ ตรงไปตรงมา

เอกสารประกอบการค้นคว้า
– นงลักษณ์ วิรัชชัย และสุวิมล ว่องวานิช, “การจัดทำรายงานวิชาการ บทความวิจัย และการอ้างอิง”, [ออนไลน์]
– นงลักษณ์ วิรัชชัย, “รูปแบบ และลักษณะของบทความวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสารตามมาตรฐานสากล”, [ออนไลน์]
แหล่งที่มา : https://www.tci-thaijo.org/index.php/suedureasearchjournal/article/viewFile/6938/5981
– รสริน พิมลบรรยวก์, “การเขียนบทความวิจัยเพื่อตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ”, [ออนไลน์]
แหล่งที่มา : http://technology.kku.ac.th/wp-content/ITFilesD/IT009D.pdf
– รัตนะ บัวสนธ์, “การเขียนบทความวิชาการและบทความวิจัย”, [ออนไลน์]
แหล่งที่มา : http://rdi.nsru.ac.th/tip/tip-09.pdf
– วรางคณา จันทร์คง, “เทคนิคและวัตถุประสงค์ในการเขียนบทความวิชาการ”, [ออนไลน์]
แหล่งที่มา : http://www.stou.ac.th/Schools/Shs/booklet/book574/rsearch574.pdf
– บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์
,”แนวปฏิบัติที่ดีเกี่ยวกับการเขียนบทความตีพิมพ์เผยแพร่เพื่อสำเร็จการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา”,[ออนไลน์]
แหล่งที่มา : http://grad.vru.ac.th/pdf_SAR/Good_Practice_article_writ.pdf
– สุวิมล ว่องวาณิช, “เทคนิคการเขียนโครงการวิจัยให้โดนใจกรรมการ”, [ออนไลน์]
แหล่งที่มา : http://www.human.cmu.ac.th/home/research/research/data/technic.pdf

29 ก.ค.59 มีการอบรมโครงการ “อบรมและพัฒนานักวิจัย” ประจำปี 2559
หลักสูตร “การเขียนบทความวิจัยทางวิชาการ
จัดโดย เครือข่ายบริหารการวิจัยภาคเหนือตอนบน
สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.)
ร่วมกับ งานบริหารงานวิจัยและวิเทศสัมพันธ์ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ณ โรงแรมอิมพีเรียล แม่ปิง เชียงใหม่
https://www.facebook.com/groups/thaiebook/658232967660858/
http://unrn.rac.oop.cmu.ac.th

ประเทศไทย 4.0 ก็คาดหวังกับการวิจัยไว้เช่นกัน คลิ๊ปโดย MOC


– บุษบา กนกศิลปธรรม, “การอบรมเชิงเทคนิคในการเขียนบทความวิชาการ สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์”, [ออนไลน์]
แหล่งที่มา :

ประชุมอบรมแบบสัญชัยโมเดล (itinlife563)

สัญชัยโมเดล
สัญชัยโมเดล

ในการประชุมอบรมและพัฒนานักวิจัยที่จังหวัดเชียงใหม่ เกิดคำว่า สัญชัยโมเดล ซึ่งเป็นรูปแบบการจัดประชุมที่ได้รับทุนสนับสนุนการพัฒนาบุคลากรทางการศึกษาในสถาบันเครือข่ายบริหารการวิจัยภาคเหนือตอนบนที่มีความต่อเนื่อง ซึ่งศาสตราจารย์ ดร.สัญชัย จตุรสิทธา เล่าที่มาของโมเดลนี้ว่า เคยจัดประชุมอบรมและเปิดให้จองเข้าอบรมล่วงหน้าและผู้รับการอบรมไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการอบรม จึงมีการจองเข้าอบรมหลายร้อยคน ได้รับการสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการอบรมต่อหัวคนละประมาณห้าร้อยบาทที่ต้องจ่ายให้กับทางโรงแรม เมื่อถึงกำหนดประชุมพบว่ามีการยกเลิกไม่เข้าร่วมนับร้อยคน ทำให้ต้องเป็นผู้รับผิดชอบหาเงินไปจ่ายให้กับโรงแรมในส่วนนี้

ศาสตราจารย์ ดร.สัญชัย จตุรสิทธา
ศาสตราจารย์ ดร.สัญชัย จตุรสิทธา

รูปแบบการจัดอบรมที่ได้รับทุนสนับสนุนจากภาครัฐ แบบสัญชัยโมเดล มีขั้นตอนดังนี้ ประกาศข่าวสารการอบรมให้ตัวแทนเครือข่ายแล้วไปประชาสัมพันธ์ ผู้สนใจเข้าไปลงทะเบียนผ่านเว็บไซต์เพื่อจองที่นั่งเข้าอบรม แล้วชำระเงินมัดจำผ่านธนาคารในเวลาที่กำหนด ส่งสำเนาการโอนเงิน เมื่อหมดเวลาจองที่นั่งก็ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์เข้ารับการอบรมให้ได้ตรวจสอบอีกครั้ง ในวันอบรมจะต้องลงชื่อทั้งภาคเช้า และบ่ายตามเวลาที่กำหนด อยู่ร่วมจนเสร็จสิ้นการอบรมเพื่อรอรับเงินมัดจำคืน หากผิดเงื่อนไขก็จะริบเงินมัดจำเข้าเป็นงบประมาณสำหรับจัดอบรมในครั้งต่อไป ทำให้ผู้ที่คิดจะเข้าเฉพาะช่วงเช้า เฉพาะช่วงบ่าย หรือเข้าไปเซ็นชื่อช่วงเช้าแล้วกลับเข้าไปตอนปิดอบรม หรือส่งตัวแทนเข้ารับการอบรมจะถูกริบเงินมัดจำ โมเดลนี้ต้องการให้การจัดประชุมเกิดประโยชน์ต่อผู้เข้ารับการอบรมสูงสุด ผู้ไม่จริงจังกับการอบรมก็ไม่ควรได้สิทธิ์อบรมฟรีที่จะต้องใช้งบประมาณของแผ่นดินในการจ่ายค่าหัวให้กับทางโรงแรม ที่อาจถือว่าเป็นการทุจริตรูปแบบหนึ่งในการใช้งบประมาณ

ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.มนัส สุวรรณ
ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.มนัส สุวรรณ

ในการอบรมและพัฒนานักวิจัยครั้งนี้มีการบรรยาย 2 เรื่อง คือ เรื่องเขียนบทความวิจัยอย่างไร จึงจะโดนใจบรรณาธิการ โดย ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.มนัส สุวรรณ และ เรื่องเทคนิคการเขียนบทความวิจัยเพื่อตีพิมพ์ในวารสารระดับชาติ โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อรอร ภู่เจริญ ภายหลังการอบรมผู้เขียนได้แลกเปลี่ยนกับ อ.อดิศักดิ์ จำปาทอง พบว่าเนื้อหามีประโยชน์กับผู้สนใจจะมีอาชีพเป็นนักวิชาการในมหาวิทยาลัย หากนำเนื้อหาที่ได้จากการอบรมไปพูดคุยกับเพื่อนอาจารย์ให้เข้าใจการเขียนบทความที่ดี และการตีพิมพ์ในวารสารภาษาอังกฤษ ก็แนวทางที่น่าสนใจในการพัฒนาบุคลากรทางการศึกษา แล้วยังได้โมเดลที่น่าจะนำไปปรับใช้ได้จริง

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อรอร ภู่เจริญ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อรอร ภู่เจริญ

http://unrn.rac.oop.cmu.ac.th

อ.ปริญญา หอมเอนก มอบหนังสือที่ร่วมกิจกรรมเครื่อข่ายสังคม ในงาน KDS2015

อ.ปริญญา หอมเอนก (Prinya Hom-anek)
เป็นวิทยากรในการประชุมวิชาการระดับชาติ
สังคมความรู้ และดิจิตอล” ครั้งที่ 1 เมื่อ 25 ธันวาคม 2558
1st National conference on knowledge and digital society
หรือ KDS2015 ครั้งที่ 1
https://www.facebook.com/media/set/?set=a.1177208462293283.1073741981.506818005999002

จัดโดย วิทยาลัยศิลปะ สื่อและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ร่วมกับ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร และคณะดิจิทัลมีเดีย มหาวิทยาลัยศรีปทุม

1st National conference on knowledge and digital society
1st National conference on knowledge and digital society

ท่านบรรยายเรื่องต่าง ๆ ได้สนุกมาก
ผมบันทึกได้ 2 หน้าเลย มีอะไรน่าสนใจเยอะไปหมด
ท่านมีกิจกรรมแจกหนังสือด้วย ให้แท็ก twitter
ผมก็ใส่ “ปริญญาหอมเอนก” เข้าไปที่บัญชี /nationretweet
แล้วท่านก็ทักว่าภาพ profile ไม่ใช่ภาพของผม แต่ไม่ถามต่อ
สรุปว่า ท่านให้หนังสือ “อมฤตพจนา” เป็น พุทธศาสนสุภาษิต
ฉบับ 3 ภาษา คือ ภาษาอังกฤษ ภาษาไทย และภาษาบาลี
โดย พระอาจารย์พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตโต)
และ ศ. ดร.สมศีล ฌานวังศะ ท่านแจกหนังสือฟรีที่ ACIS
เปิดดูข้างใน พบว่า ปริญญา หอมเอนก (สุทัศน์ ณ อยุธยา) และครอบครัว จัดพิมพ์

สูจิบัตร kds 2015
สูจิบัตร kds 2015

ปล. ก่อนหน้านี้ ผมเคยได้รับแจกหนังสือของท่าน ในงาน TISA Pro-Talk ครั้งที่ 1/2554
http://www.thaiall.com/blog/burin/3081/

การประชุมวิชาการระดับชาติ 2558 การศึกษาเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นอย่างยั่งยืน

ปีการศึกษา 2558 มีการประชุมวิชาการระดับชาติ (Nation University Conference)
ในวันที่ 18 ธันวาคม 2558 http://www.nation.ac.th/ntc2015/
Education for local sustainable development

ระหว่างนั่งฟังเสวนาโดยผู้ทรงคุณวุฒิพูดคุยภายใต้กรอบ (Theme)
“การศึกษาเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นอย่างยั่งยืน
รศ.ดร.สมเกียรติ สายธนู อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง
ดร.พรสันต์ เลิศวิทยาวิวัฒน์  ผู้อำนวยการ โรงเรียนลำปางเทคโนโลยี (แลมป์-เทค)
นายเกรียงเดช สุทธภักติ รักษาการ นายกอบจ.ลำปาง
ดร.ทันกวินท์ รัฐวัฒก์อังกูร วิทยากร
มีประเด็นมากมายที่พรั่งพรูออกมาจากผู้ทรงฯ ขอหยิบมาแบ่งปันเพียงส่วนหนึ่ง
– พูดถึงอุปสรรคในการพัฒนาประเทศเรื่องการซื้อเสียง
เล่าเป็นนิทาน ว่า อดีตผู้ว่าทำอ่างเก็บน้ำให้ชาวบ้าน
แล้วลงเลือกตั้ง สว. แต่คนแถวอ่างเลือกท่านเพียง 17 ใน 1000 คน
กลับไปถามก็ได้คำตอบว่า คู่แข่งแจกบัตรเติมเงิน
ก็คงต้องเลิกเล่นการเมืองไป เพราะไม่มีตังไปซื้อเสียง
– ผู้ทรงฯ เคยไปถามเด็กในโรงเรียนว่าอยากได้อะไร
เด็กบอกอยากได้ tablet เป็นความนิยมทางวัตถุ
– ผู้ทรงฯ อีกท่านมองต่างมุมว่า สมัยนี้ใคร ๆ ก็ต้องใช้เทคโนโลยี
ปัจจุบันเราปฏิเสธวัตถุไม่ได้ วัตถุไม่ใช่ปัญหา
แต่ปัญหาอยู่ที่การประยุกต์ใช้
ความต้องการมีวัตถุเทคโนโลยีไว้ใช้ คงไม่ใช่เรื่องผิด
– สิงค์โปร์สนใจเรื่อง community learning คือการเรียนรู้ชุมชน
– ออสเตรเลีย สอนเด็กคิด ให้นำเสนอหน้าชั้นทุกสัปดาห์
– ที่ ม.สงขลา เคยถามว่ามี 100 บาท ใช้ทำอะไรบ้าง
พบว่าใช้เพื่อการศึกษาจริง ๆ เพียง 10 บาท
– จะให้มีนวัตกรรมทางการศึกษา ต้องเบรคกรอบหลักสูตร
จะเรียกว่านวัตกรรมก็จะต้องมีคนนำไปใช้ ต้องคิดนอกกรอบเยอะ
รายงานของนักศึกษาในปัจจุบัน เป็นสิ่งที่นักศึกษาต้องการ ไม่ตอบโจทย์สังคม
เป็นความต้องการของเรา ไม่ใช่ความต้องการของสังคม

ซึ่งพี่วุธ ถ่ายภาพไว้ถึง 78 ภาพที่
https://www.facebook.com/media/set/?set=oa.1055561207843082

ข้อมูลเชิงข่าวโดยพี่นิเวศน์
https://www.facebook.com/groups/nationu/permalink/1055411401191396/
มหาวิทยาลัยเนชั่น ประชุมวิชาการระดับชาติ ปีการศึกษา 2558 อุดมศึกษาไทยกับการพัฒนาประเทศ” ภายใต้กรอบ (Theme) เพื่อการพัฒนาท้องถิ่นอย่างยั่งยืน ให้เป็นเวทีประชุมวิชาการเผยแพร่องค์ความรู้งานวิจัย งานวิชาการของอาจารย์ นักศึกษามหาวิทยาลัยเนชั่น และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพื่อพัฒนาอุดมศึกษาไทยโดยบูรณาการกิจกรรมวิชาการ ทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมของนักเรียน นักศึกษาเข้าไว้ด้วยกับสถาบันอุดมศึกษาทั่วประเทศ เพื่อเป็นแนวทางในการเสริมสร้างฐานกำลังของการพัฒนาอุดมศึกษาไทยให้ก้าวสู่ความเป็นสากล
เมื่อวันที่ 18 ธันวาคม 2558 ณ ห้องประชุมใหญ่ อาคารคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเนชั่น ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พงษ์อินทร์ รักอริยะธรรม อธิการบดีมหาวิทยาลัยเนชั่น เป็นประธานในพิธีเปิด การประชุมวิชาการระดับชาติ ปีการศึกษา 2558 อุดมศึกษาไทยกับการพัฒนาประเทศ” ภายใต้กรอบ (Theme) โดยมี ดร.ทันกวินท์ รัฐวัฒก์อังกูร ผู้อำนวยการสถาบันวิจัย เป็นผู้กล่าวรายงาน มหาวิทยาลัยเนชั่นในฐานะสถาบันอุดมศึกษาเอกชน ตระหนักถึงพันธกิจสำคัญของความเป็นสถาบันอุดมศึกษาของชาติกับบทบาทการผลิตบัณฑิตคุณภาพอันพึงประสงค์ การสร้างผลงานวิจัยที่เกิดจากความรู้ ความสามารถของนักศึกษา คณาจารย์ ด้วยการนำองค์ความรู้ถ่ายทอดการปฏิบัติสู่สังคม ชุมชนในลักษณะการบริการวิชาการ การทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น เพื่อนำไปสู่การเสริมสร้างความเข้มแข็งในการพัฒนาการอุดมศึกษาไทยให้มีสัมฤทธิผลในการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืนต่อไป
การประชุมในครั้งนี้ได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีโดยมีคณาจารย์และนักศึกษาที่จำนำเสนอผลงานทางวิชาการในการประชุมครั้งนี้ จำนวน 76 ผลงาน จากหลากหลายสถาบัน แบ่งเป็นการนำเสนอด้วยวาจาที่มีบทความฉบับสมบูรณ์ จำนวน 47 บทความ และนำเสนอในรูปแบบโปสเตอร์ จำนวน 29 บทความ โดยบทความดังกล่าวได้รับการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิจากสถาบันต่างๆ อาทิจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยบูรพา มหาวิทยาลัยรังสิต และมหาวิทยาลัยเอเซียอาคเนย์เป็นต้น
จากนั้นได้มีการเสวนาหัวข้อ การศึกษาเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นอย่างยั่งยืน” โดยมีรองศาสตราจารย์ ดร.สมเกียรติ สายธนู อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง ดร.พรสันต์ เลิศวิทยาวิวัฒน์ อุปนายกสมาคมอาชีวเอกชนแห่งประเทศไทย นายเกรียงเดช สุทธภักติ รองนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด รักษาการแทนนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดลำปาง ผู้ดำเนินรายการโดย อ.ดร.สุจิรา หาผล ห้องเรียน AUDI อาคารคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเนชั่น
(ภาคเช้า)ได้มีการนำเสนอผลงานวิชาการ กลุ่มที่ 1 (อาจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิภายใน ได้แก่ ดร.สุจิรา หาผล, ดร.สุดา เนตรสว่าง, ดร.ทันกวินท์ รัฐวัฒก์อังกูร, พลตรี ดร.วัลลภ มณีเชษฐา, ดร.ตะวันฉาย มิตรประชา) การนำเสนอผลงานวิชาการ กลุ่มที่ 2 (MPA.) (อาจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิภายใน ได้แก่ ว่าที่ รต. ดร.ธนภณ ภู่มาลา, ดร.จุมพล ไชยวงศ์) การนำเสนอผลงานวิชาการ กลุ่มที่ 3 (M.Ed.) (อาจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิภายใน ได้แก่ ดร.กาญจนา ภาสุรพันธ์, ผศ.ดร.ศิริพร เสริตานนท์, ดร.จุรีย์ สร้อยเพชร) ห้องเรียน AUDI นำเสนอ Oral = 4 คน ห้องเรียน 1203 นำเสนอ Oral = 4 คน ห้องเรียน 1205
(ภาคบ่าย)ได้มีการนำเสนอผลงานวิชาการ กลุ่มที่ 1 (อาจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิภายใน ได้แก่ ดร.สุจิรา หาผล, ดร.สุดา เนตรสว่าง, ดร.ทันกวินท์ รัฐวัฒก์อังกูร, พลตรี ดร.วัลลภ มณีเชษฐา, ดร.ตะวันฉาย มิตรประชา) การนำเสนอผลงานวิชาการ กลุ่มที่ 2 (M.PA.) (อาจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิภายใน ได้แก่ ว่าที่ รต. ดร.ธนภณ ภู่มาลา, ดร.จุมพล ไชยวงศ์) การนำเสนอผลงานวิชาการ กลุ่มที่ 3 (M.Ed.) (อาจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิภายใน ได้แก่ ดร.กาญจนา ภาสุรพันธ์, ผศ.ดร.ศิริพร เสริตานนท์, ดร.จุรีย์ สร้อยเพชร) ห้องเรียน AUDI นำเสนอโปสเตอร์ 29 คน ห้องเรียน 1203 นำเสนอ Oral = 17 คน ห้องเรียน 1205 นำเสนอ Oral = 19 คน และการมอบเกียรติบัตร ในการประชุมวิชาการระดับชาติ ปีการศึกษา 2558 อุดมศึกษาไทยกับการพัฒนาประเทศ” ภายใต้กรอบ (Theme) ในครั้งนี้

Nation University Conference ปี 2557 มี 2 ครั้ง
คือ 24 – 26 มกราคม 2557 และ 13 – 14 ธันวาคม 2557
https://www.facebook.com/media/set/?set=a.964692886878176.1073741937.506818005999002

การประชุมวิชาการระดับชาติ (Nation University Conference)
การประชุมวิชาการระดับชาติ (Nation University Conference)

ปีการศึกษา 2558 มี Nation University Conference
ในวันที่ 18 ธันวาคม 2558
ซึ่งพี่นิเวศน์ ถ่ายภาพไว้ถึง 40 กว่าภาพที่
https://www.facebook.com/media/set/?set=oa.1055411404524729

การประชุมวิชาการระดับชาติ (Nation University Conference)
การประชุมวิชาการระดับชาติ (Nation University Conference)