education

โรงเรียนลดชั่วโมงเรียนวิชาการ เน้นเสริมการงานอาชีพ เริ่มปีหน้า

เสกโลโซบอกว่า “ได้อย่าง เสียอย่าง”
– โรงเรียนกวดวิชาบอกว่า “ดี ๆ ชอบ ๆ เข้าทางแล้ว”
– ส่วนเด็กต่างอำเภอบอกว่า “เรียนมากปวดหัว ..”
– เด็กในเมืองบอกว่า “สอนน้อยหน่อยก็ดี ที่สอนมาเรียนล่วงหน้าไปหมดแล้ว”
– คุณครูบอกว่า “ดีมาก .. จะได้มีเวลาทำผลงาน”

มีข้อมูลเบื้องต้นว่า .. จำนวนโรงเรียนกวดวิชาในลำปาง
ประเมินด้วยสายตามีเกือบ 30 แล้ว
ถ้าปรับหลักสูตรลดวิชาการในโรงเรียน คาดจะมีผุดใหม่ทะลุ 50 เป็นแน่
http://thaiabc.com/lampangnet/admin/528/

กระทรวงศึกษาธิการ มีนโยบายลดชั่วโมงเรียนวิชาการเกือบครึ่ง
เน้นเสริมการงานอาชีพ โดยเริ่มในปีการศึกษาหน้า

ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.ภานิช ทองโรจน์
ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.ภานิช ทองโรจน์

ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.ภานิช ทองโรจน์ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ กล่าวในการเปิดงานสมัชชาการศึกษา 2556 การศึกษาไทยแบบไหนที่เด็กต้องการ โดยเครือข่ายยุวทัศน์ กรุงเทพมหานครจัดขึ้น ว่า หลักสูตรการศึกษาไทยในปัจจุบันใช้มากว่า 12 ปี (2544) ถือว่าล้าสมัย จึงเตรียมปรับหลักสูตรให้เป็นปัจจุบันมากขึ้นโดยเน้นกระบวนการทางวิชาการ ทั้งของไทยและต่างประเทศ นำมาผนวกกันให้เข้ากับสถานการณ์ปัจจุบันมากที่สุด โดยจะเน้นการเรียนนอกห้องเรียน ลดการเรียนวิชการในห้องเรียนให้น้อยลง เพื่อให้เกิดการพัฒนาการของสมองเด็กในช่วงต่าง ๆ เช่น นักเรียน ป.1 – 2 จะมีการออกแบบหลักสูตรการเรียนเฉพาะ เพราะเป็นช่วงที่เด็กต้องมีทักษะในการเตรียมความพร้อม เพื่อเปิดรับการศึกษาที่สูงขึ้นที่เน้นการพัฒนาการทางด้านร่างกายและจิตใจ สอดแทรกเนื้อหา ดนตรี ศิลปะ กีฬามากขึ้น และที่สำคัญจะเน้นให้รู้เรื่องสิ่งแวดล้อมด้วย จากเดิมใช้เวลาในห้องเรียน 700 ชั่วโมงต่อปี ให้เหลือ 600 ชั่วโมงต่อปี ขณะที่ระดับมัธยมศึกษา จะปรับให้เสริมเรื่องการงาน การอาชีพ เข้าไปด้วย เพราะมีเด็กจำนวนมากไม่เข้าสู่ระบบการศึกษาทั้งต้นและปลาย จึงต้องเสริมหลักสูตรเหล่านี้เข้าไปให้มีความรู้ใหม่ ๆ สามารถคิดได้เองโดยอิงหลักวิชาการ ซึ่งจะปรับลดให้ต่ำกว่า 1,000 ชั่วโมงต่อปี หรือประมาณร้อยละ 60 ต่อ ร้อยละ 40
ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ กล่าวอีกว่า คาดว่าสิ้นเดือนนี้หลักสูตรดังกล่าวจะมีความชัดเจน เพื่อให้สามารถนำไปใช้ทันปีการศึกษาหน้า ขณะที่สถาบันการทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ(สถศ.) จะเข้ามาดูแลเรื่องการวัดผลต่อไป ซึ่งจะมีผลกับโรงเรียนทั่วประเทศ

http://thainews.prd.go.th/centerweb/news/NewsDetail?NT01_NewsID=WNSOC5606150020002

อาชีวะพร้อมเปิดสอน ป.ตรี 24 สาขา

อาชีวะพร้อมเปิดสอน ป.ตรี จัดทำหลักสูตรสายปฏิบัติการ 24 สาขา

          นายชัยพฤกษ์ เสรีรักษ์ เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (เลขาธิการ กอศ.) เปิดเผยว่า สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) ได้จัดทำหลักสูตรปริญญาตรี 24 สาขาวิชา เพื่อใช้ในการเรียนการสอนในสถาบันการอาชีวศึกษา 19 แห่งทั่วประเทศ ซึ่งหลักสูตรดังกล่าวจะครอบคลุมทุกสาขาอาชีพ ได้แก่ หลักสูตรด้านอุตสาหกรรม 5 สาขาวิชา (เทคโนโลยีไฟฟ้า เทคโนโลยีเครื่องกล เทคโนโลยีแม่พิมพ์ เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์ เทคโนโลยียางและพอลิเมอร์) ด้านบริหารธุรกิจ 5 สาขาวิชา (การบัญชี การจัดการ คอมพิวเตอร์ธุรกิจ การจัดการโลจิสติกส์ การตลาด) ด้านศิลปกรรม 4 สาขาวิชา (ออกแบบผลิตภัณฑ์ ช่างทองหลวง คอมพิวเตอร์กราฟฟิก ออกแบบอัญมณี) ด้านคหกรรม 3 สาขาวิชา (เทคโนโลยีอาหารและโภชนาการ เทคโนโลยีออกแบบแฟชั่น การจัดการงานคหกรรม) ด้านเกษตรกรรม 2 สาขาวิชา (เทคโนโลยีการผลิตพืช เทคโนโลยีการผลิตสัตว์) ด้านประมง 2 สาขาวิชา (เทคโนโลยีเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ เทคโนโลยีแปรรูปสัตว์น้ำ) ด้านอุตสาหกรรมท่องเที่ยว 2 สาขาวิชา (การท่องเที่ยว การโรงแรม) และด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ 1 สาขาวิชา (เทคโนโลยีสารสนเทศ)
จุดเด่นของหลักสูตร นั้นเป็นหลักสูตรปริญญาตรีสายปฏิบัติการ ที่มุ่งเน้นให้ผู้เรียนสามารถทำงานในสถานประกอบการ และประกอบอาชีพอิสระเป็นผู้ประกอบการ โดยการพัฒนาหลักสูตรจะนำความต้องการของสถานประกอบการ และความสามารถในการเป็นผู้ประกอบการ มากำหนดเป็นหลักสูตรรายวิชา และที่สำคัญคือมีการจัดการเรียนการสอนร่วมกับสถานประกอบการ และการบ่มเพาะให้เป็นผู้ประกอบการ อย่างไรก็ตาม ในส่วนของอาจารย์ผู้สอนนั้นจะส่งเสริมพัฒนาโดยให้ทุนการศึกษาต่อระดับปริญญาเอก รวมทั้งจะพัฒนาสื่อการเรียนการสอนให้สามารถจัดการสอนในระดับปริญญาตรีควบคู่ กันไปด้วย เลขาธิการ กอศ. กล่าว

หลักสูตรสายปฏิบัติการ 24 สาขา

หลักสูตรด้านอุตสาหกรรม 5 สาขาวิชา

– เทคโนโลยีไฟฟ้า

– เทคโนโลยีเครื่องกล

– เทคโนโลยีแม่พิมพ์

– เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์

– เทคโนโลยียางและพอลิเมอร์

หลักสูตรด้านบริหารธุรกิจ 5 สาขาวิชา

– การบัญชี

– การจัดการ

– คอมพิวเตอร์ธุรกิจ

– การจัดการโลจิสติกส์

– การตลาด

หลักสูตรด้านศิลปกรรม 4 สาขาวิชา

– ออกแบบผลิตภัณฑ์

– ช่างทองหลวง

– คอมพิวเตอร์กราฟฟิก

– ออกแบบอัญมณี

หลักสูตรด้านคหกรรม 3 สาขาวิชา

– เทคโนโลยีอาหารและโภชนาการ

– เทคโนโลยีออกแบบแฟชั่น

– การจัดการงานคหกรรม

หลักสูตรด้านเกษตรกรรม 2 สาขาวิชา

– เทคโนโลยีการผลิตพืช

– เทคโนโลยีการผลิตสัตว์

หลักสูตรด้านประมง 2 สาขาวิชา

– เทคโนโลยีเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ

– เทคโนโลยีแปรรูปสัตว์น้ำ

หลักสูตรด้านอุตสาหกรรมท่องเที่ยว 2 สาขาวิชา

– การท่องเที่ยว

– การโรงแรม

หลักสูตรด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ 1 สาขาวิชา

– เทคโนโลยีสารสนเทศ

          ที่มา: หนังสือพิมพ์บ้านเมือง

! http://www.phontong.ac.th/newseducation/18216.html

อาชีวะศึกษา
อาชีวะศึกษา

สอศ.เปิดหลักสูตรปริญญาตรีสายปฏิบัติการเป็น “ปฐมฤกษ์”
10 มิ.ย.2556 ที่วิทยาลัยเทคนิคกำแพงเพชร        

10 มิ.ย.56 สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) เปิดทำการเรียนการสอนหลักสูตรปริญญาตรีสายเทคโนโลยีหรือสายปฏิบัติการ เป็นปฐมฤกษ์ใน 9 สถาบัน 43 วิทยาลัย จำนวน 16 สาขาวิชา พร้อมจัดนิทรรศการโชว์ศักยภาพในงาน “อาชีวะสร้างคน สร้างงาน สร้างชาติ” และเปิดเวทีเสวนาในหัวข้อ“ทิศทางการผลิตและพัฒนากำลังคนสนองความต้องการในการยกระดับการแข่งขันของประเทศ ณ วิทยาลัยเทคนิคกำแพงเพชร ในวันที่ 10 มิถุนายน 2556 โดยมี นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ พร้อมด้วยประธานสภาอุตสาหกรรม ประธานสภาหอการค้าไทย ประธานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ร่วมเป็นเกียรติในพิธีเปิด

นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ กล่าวว่า การที่สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาเปิดสอนหลักสูตรปริญญาตรีสายเทคโนโลยีหรือสายปฏิบัติการนี้ ถือเป็นมิติใหม่ของหลักสูตรอาชีวศึกษาที่สถาบันการอาชีวศึกษาและสถานประกอบการจะจัดการศึกษาร่วมกันอย่างเข้มแข็งและเป็นรูปธรรม ซึ่งนักศึกษาจะได้รับความรู้และประสบการณ์ตรงจากการทำงานจริงในฐานะที่เป็นพนักงานฝึกหัด ซึ่งผู้ปกครองจะมีความเชื่อมั่นว่าลูกหลานจะมีอนาคตที่ดี ส่วนภาคอุตสาหกรรมนั้นก็จะได้คนที่มีคุณสมบัติตรงกับความต้องการอย่างแท้จริง และในวันที่ 10 มิถุนายน 2556 นี้ จะเป็นการเปิดการเรียนการสอนปฐมฤกษ์ทั่วประเทศ  ทั้งนี้ตนเชื่อว่าการที่สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาเปิดสอนหลักสูตรปริญญาตรีสายปฏิบัติการจะช่วยพัฒนากำลังคนที่สอดคล้องกับความต้องการของประเทศได้เป็นอย่างดี

นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ กล่าวว่า ที่ผ่านมาสถาบันการอาชีวศึกษาได้ทำการพัฒนาหลักสูตรตามกรอบมาตรฐานหลักสูตร และกรอบคุณวุฒิวิชาชีพ โดยมีครู ผู้เชี่ยวชาญ สถานประกอบการ ตลอดจนผู้มีประสบการณ์สายวิชาชีพต่าง ๆ เข้ามาร่วมในการดำเนินการ โดยหลักสูตรดังกล่าวมุ่งเน้นการจัดอาชีวศึกษาในระบบทวิภาคี ซึ่งนักศึกษาจะต้องเป็นพนักงานฝึกหัดในสถานประกอบการ ไม่น้อยกว่า 1 ปี เพื่อให้ได้รับความรู้ ทักษะ และประสบการณ์ตรงจากการทำงานจริงในสถานประกอบการ ถือเป็นรูปแบบการจัดอาชีวศึกษาที่เน้นคุณภาพด้านสมรรถนะผู้เรียนเป็นสำคัญ ดังนั้นเชื่อมั่นว่านักศึกษาที่จบมาจะมีคุณภาพและเป็นที่ต้องการของตลาดแรงงานอย่างแน่นอน

ส่วน ดร.ชัยพฤกษ์ เสรีรักษ์ เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (กอศ.) กล่าวเพิ่มเติมว่า ในปีการศึกษา 2556 สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาเปิดสอนหลักสูตรการเรียนการสอนระดับปริญญาตรี สายเทคโนโลยีหรือสายปฏิบัติการ ใน 9 สถาบัน จำนวน 43 วิทยาลัย โดยเปิดสอน 16 สาขาวิชา มีแผนรับนักศึกษา 46 ห้องเรียน ห้องเรียนละ 20 คน รวมทั้งสิ้น 920 คน สำหรับสาขาที่เปิดสอนมีดังนี้ สาขาวิชาช่างทองหลวง สาขาวิชาเทคโนโลยียาง สาขาวิชาการโรงแรม สาขาวิชาการท่องเที่ยว สาขาวิชาเทคโนโลยีแม่พิมพ์ สาขาวิชาเทคโนโลยีการก่อสร้าง สาขาวิชาเทคโนโลยีสถาปัตยกรรม สาขาวิชาเทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์ สาขาวิชาเทคโนโลยียานยนต์ สาขาวิชาเทคโนโลยีไฟฟ้า สาขาวิชาเทคโนโลยีการผลิตพืช สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ สาขาวิชาการจัดการสำนักงาน สาขาวิชาการตลาด สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ และสาขาวิชาการบัญชี

ในโอกาสเดียวกันนี้ได้มีการจัดเสวนาเรื่องทิศทางการผลิตกำลังคนสนองความต้องการในการยกระดับการแข่งขันของประเทศโดย นายอนุสรณ์ แสงนิ่มนวล ประธานกรรมการการอาชีวศึกษา กล่าวว่า ขณะนี้ภาคอุตสาหกรรมของประเทศไทยมีอัตราการขยายตัวค่อนข้างสูง แต่กลับประสบกับภาวะขาดแคลนแรงงานฝีมือในอุตสาหกรรมทุกภาคส่วน โดยเฉพาะอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วน อุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ที่สำคัญในอนาคตอันใกล้นี้ประเทศไทยยังต้องการแรงงานฝีมือในทุก ๆ ด้านเพื่อรองรับการเตรียมความพร้อมเป็นฐานการลงทุนของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนและโครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของรัฐบาลที่จะเกิดขึ้นอีกด้วย ดังนั้นแนวโน้มการขาดแคลนแรงงานฝีมือจึงมีทีท่าว่าจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ

การเปิดสอนหลักสูตรปริญญาตรีสายเทคโนโลยีหรือสายปฏิบัติการนี้จึงเป็นส่วนสำคัญในการเพิ่มทรัพยากรบุคคลที่มีศักยภาพ มีคุณวุฒิที่สูงขึ้น มีความเชี่ยวชาญในการปฏิบัติงานอย่างถ่องแท้ สามารถทำงานได้เต็มที่ในอุตสาหกรรมที่กำลังเข้าสู่ภาวะการแข่งขัน ตรงตามความต้องการของตลาด ซึ่งทางภาคอุตสาหกรรมจะมีการส่งเสริมอย่างเต็มที่โดยการให้ความร่วมมือให้นักศึกษาเข้ามาศึกษากับสถานประกอบการ และหากทำงานได้ดีก็จะรับเข้าทำงานทันทีหลังสำเร็จการศึกษา

ด้าน นายพงษ์เดช ศรีวชิรประดิษฐ์ รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และนายกสภาสถาบันการอาชีวศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 2 กล่าวอีกว่า การเปิดสอนหลักสูตรปริญญาตรีสายเทคโนโลยีหรือปฏิบัติการนี้นอกจากจะช่วยแก้ปัญหาเรื่องความขาดแคลนแรงงานที่มีฝีมือทางด้านอุตสาหกรรม และสร้างความสมดุลระหว่างแรงงานสายปฏิบัติการและสายบริหาร ทำให้ภาคอุตสาหกรรมมีแรงงานตรงตามความต้องการของตลาดครบทั้งสองด้านแล้ว ยังเป็นเส้นทางที่จะช่วยให้ผู้เรียนสายอาชีวะมีความเจริญก้าวหน้าในเส้นทางอาชีพ และยังช่วยสร้างภาพลักษณ์ที่ดีต่อสังคมให้แก่สถาบันอาชีวศึกษาอีกด้วย

นอกจากนี้ ภายในงานยังมีการจัดนิทรรศการ ‘อาชีวะสร้างคน สร้างงาน สร้างชาติ’  ซึ่งแสดงให้เห็นสภาพจริงของการจัดการเรียนการสอนระดับปริญญาตรีสายปฏิบัติการใน 11 สาขาวิชาซึ่งอยู่ภายใต้ความร่วมมือระหว่างสถานประกอบการและสถาบันการอาชีวศึกษา ได้แก่

1. สาขาวิชาช่างทองหลวง
2. เทคโนโลยียาง
3. วิชาการโรงแรม
4. การท่องเที่ยว
5. เทคโนโลยีสถาปัตยกรรม
6. เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์
7. เทคโนโลยียานยนต์
8. เทคโนโลยีไฟฟ้า
9. เทคโนโลยีการผลิตพืช
10.การตลาด
11.คอมพิวเตอร์ธุรกิจ

รวมไปถึงสาขาวิชาใหม่ที่จะมีโครงการเปิดสอนซึ่งแตกต่างจากสถาบันอื่นๆ ได้แก่ สาขาวิชามาตรวิทยา สาขาวิชาเครื่องกลเรือ และสาขาวิชาหุ่นยนต์อีกด้วย

ปีการศึกษา 2556 เปิดสอน 16 สาขาวิชา ได้แก่
1. สาขาวิชาช่างทองหลวง
2. สาขาวิชาเทคโนโลยียาง
3. สาขาวิชาการโรงแรม
4. สาขาวิชาการท่องเที่ยว
5. สาขาวิชาเทคโนโลยีแม่พิมพ์
6. สาขาวิชาเทคโนโลยีการก่อสร้าง
7. สาขาวิชาเทคโนโลยีสถาปัตยกรรม
8. สาขาวิชาเทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์
9. สาขาวิชาเทคโนโลยียานยนต์
10.สาขาวิชาเทคโนโลยีไฟฟ้า
11.สาขาวิชาเทคโนโลยีการผลิตพืช
12.สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ
13.สาขาวิชาการจัดการสำนักงาน
14.สาขาวิชาการตลาด
15.สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ
16.สาขาวิชาการบัญชี

http://www.vec.go.th/portals/0/tabid/103/ArticleId/1390/1390.aspx

อาชีวะสร้างคน สร้างงาน สร้างชาติ

10 มิ.ย.2556 สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา จัดงานอาชีวะสร้างคน สร้างงาน สร้างชาติ เพื่อเปิดปฐมฤกษ์การจัดการเรียนการสอนระดับปริญญาตรีสายเทคโนโลยีหรือสายปฎิบัติการรุ่นที่ 1 ในวันที่ 10 มิถุนายน 2556 ณ หอประชุมใหญ่วิทยาลัยเทคนิคกำแพงเพชร จังหวัดกำแพงเพชร โดยได้รับเกียรติจากท่านนายกรัฐมนตรี นางสาวยิ่งลักษณ์. ชินวัตร. เป็นประธานพิธีเปิดและปาฐกฐาพิเศษ เวลา 13.00 น. ในงานมีสถาบันการอาชีวศึกษามาร่วมจัดนิทรรศการ จำนวน  9 สถาบัน 11 สาขาวิชา ได้แก่ สถาบันการอาชีวศึกษาภาคใต้ 1 สาขาวิชาเทคโนโลยียาง  สถาบันการอาชีวศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 3 สาขาวิชาเทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์ สถาบันการอาชีวศึกษาภาคกลาง 1 สาขาวิชาเทคโนโลยียานยนต์  สถาบันการอาชีวศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 2 สาขาวิชาเทคโนโลยีไฟฟ้า  สถาบันการอาชีวศึกษาภาคเหนือ 1 สาขาวิชาเทคโนโลยีการผลิตพืช สถาบันการอาชีวศึกษาภาคเหนือ 2 สาาวิชาการตลาด สถาบันการอาชีวศึกษากรุงเทพมหานคร สาขาวิชาเทคโนโลยีสถาปัตยกรรม สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ สาขาวิชาช่างทองหลวง นอกจากนี้ ยังมีการเสวนาเรื่อง ทิศทางการผลิตและพัฒนากำลังคนสนองความต้องการในการยกระดับการแข่งขันของประเทศ โดยท่านรองนายกรัฐมนตรี และรัฐมตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ นายพงษ์เทพ เทพกาญจนา,  ท่านพงษ์เดช ศรีวัชรประดิษฐ์ ผู้แทนสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และท่าน. ดร อนุสรณ์ แสงนิ่มนวล. ประธานกรรมการอาชีวศึกษา.
! http://www.vei19.com/index.php?option=com_content&view=article&id=105:2013-06-09-07-51-42&catid=1:latest-news&Itemid=50

“พงศ์เทพ” กดปุ่มเปิดสอนหลักสูตรปริญญาตรี 9 สถาบันอาชีวะ

16 สาขาวิชาที่เปิดสอนป.ตรี ในอาชีวะ
16 สาขาวิชาที่เปิดสอนป.ตรี ในอาชีวะ

10 มิ.ย.2556 ที่วิทยาลัยเทคนิคกำแพงเพชร สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) เปิดการเรียนการสอนหลักสูตรปริญญาตรีสายเทคโนโลยีหรือสายปฏิบัติการ ประจำปีการศึกษา 2556 พร้อมกันครั้งแรก 9 สถาบันการอาชีวศึกษา ใน 43 วิทยาลัย โดยมี นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เป็นประธาน

นายชัยพฤกษ์ เสรีรักษ์ เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (กอศ.) กล่าวว่า สอศ.ได้ทำพิธีเปิดการเรียนการสอนหลักสูตรปริญญาตรีสายเทคโนโลยี หรือสายปฏิบัติการ เป็นครั้งแรกในปีการศึกษา 2556 โดยเปิดสอนทั้งหมด 16 สาขาวิชา ใน 9 สถาบัน 43 วิทยาลัย รับนักศึกษาไว้ทั้งหมด 667 คน

เพื่อตอบสนองความต้องการกำลังคนภายในประเทศ ปัจจุบันกำลังคนภายในประเทศ แบ่งออกเป็น 3 กลุ่มหลัก  ได้แก่ กลุ่มแรก เป็นแรงงานระดับฝีมือ คือผู้จบการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) กลุ่มที่ 2 เป็นแรงงานระดับเทคนิค คือ ผู้จบการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) และประเภทที่ 3 คือ ผู้จบการศึกษาระดับปริญญาตรี ซึ่งในตลาดแรงงานปัจจุบันมีแต่ปริญญาตรีสายวิชาการ แต่ภาคอุตสาหกรรม ต้องการแรงงานปริญญาตรีสายปฏิบัติการ เพราะฉะนั้น จึงเป็นภารกิจที่อาชีวศึกษาต้องผลิตกำลังคนระดับปริญญาตรีสายปฏิบัติการตอบสนองกับตลาดแรงงานภายในประเทศ

อย่างไรก็ตาม การเปิดปริญญาตรีของอาชีวศึกษานั้น สอศ.ได้ให้วิทยาลัยรวมกลุ่มเข้ามาเป็นสถาบันการอาชีวศึกษาเพื่อให้มีการแชร์ทรัพยากรทางวิชาการ ความร่วมมือร่วมกันและให้สถาบันเป็นผู้เปิดรับปริญญาตรี ปัจจุบันวิทยาลัยอาชีวศึกษาที่มีความพร้อม 160 วิทยาลัยได้รวมกันเป็นสถาบันการอาชีวศึกษาทั้งหมด 19 สถาบัน โดยใช้การรวมกลุ่มตามกลุ่มจังหวัด และมีการรวมกลุ่มวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยี เป็นสถาบันการอาชีวเกษตรอีก 4 สถาบัน

ทั้งนี้ สอศ.ไม่ประกันโอกาสการเรียนปริญญาตรีให้กับทุกคน เพราะยังมีข้อจำกัดในการรับอยู่ แต่ประกันว่าทุกหลักสูตรที่เปิดนั้น เป็นหลักสูตรที่มีคุณภาพโดยหลักสูตรปริญญาตรีส่วนใหญ่จะเป็นหลักสูตรเจาะลึกเฉพาะทางและเป็นหลักสูตรอิงสมรรถนะ ซึ่งประกันได้เลยว่าผู้ที่เรียนจบจะมีสมรรถนะเช่นใด เช่น สาขายานยนต์ วิทยาลัยในอยุธยา จะเน้นในเชิงการประกอบรถยนต์

ที่มา : มติชนออนไลน์

! http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1370859129
http://www.dek-d.com/content/education/32151/

คุณภาพการศึกษากับธุรกิจการศึกษา (itinlife398)

education business
education business

มีโอกาสเข้าอบรมเรื่อง CHEQA และมีประเด็นซักถามเรื่องการเผยแพร่เอกสารของสถาบันการศึกษาเพื่อใช้ตอบเกณฑ์คุณภาพการศึกษา เพราะมีสมมติฐานว่าสังคมต้องการดูเอกสารที่ใช้ตอบการมีคุณภาพการศึกษา แต่สถาบันการศึกษาหลายแห่งไม่เปิดเผยเอกสารที่ใช้ตอบว่าตนเองมีคุณภาพอย่างไร จะเปิดเผยเฉพาะช่วงที่ผู้ประเมินเข้าไปตรวจสอบเพียง 3 – 7 วันเท่านั้น ต่อมาเข้าอบรมเรื่องการขอรับความคุ้มครองจากกรมทรัพย์สินทางปัญญา ทำให้เข้าใจว่าปัจจุบันการศึกษาแบ่งเป็นสองขั้วคือคุณภาพการศึกษากับธุรกิจการศึกษา เมื่อมีการแข่งขันย่อมทำให้ผู้บริหารในสถาบันการศึกษาบางแห่งเกรงว่าข้อมูลจะรั่วไหล และสูญเสียความได้เปรียบในการแข่งขัน จึงไม่พร้อมเปิดเผยเอกสารแบบหมดเปลือก

หลังประกาศผล Admission 2556 นายกสมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า มหาวิทยาลัยเอกชนมีที่นั่งเหลือว่างกว่า 90,000 คน ยังเปิดรอรับนักเรียนที่สอบแอดมิชชั่นกลางไม่ได้ สถาบันของเอกชนรับนักศึกษาในระบบนี้ได้เพียงร้อยละ 10 แต่สถาบันของรัฐรับได้ร้อยละ 80 ของเป้าหมาย เพราะนักเรียนที่ผ่านเกณฑ์มักเลือกสถาบันของรัฐ ย่อมทำให้เกิดการแข่งขันในการรับนักศึกษาระหว่างภาครัฐและเอกชนอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ จากข้อมูลในสื่อพบว่าสถาบันการศึกษาของรัฐหลายแห่งยังเปิดรับตรงรอบพิเศษเพิ่มเพราะยังไม่ได้ตามเป้าที่กำหนด แล้วยังมีบางหลักสูตรเปิดภาคพิเศษเพิ่มและมีค่าเรียนสูงกว่าเอกชน

คุณภาพการศึกษาหมายถึงความพึงพอใจของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย มีหน่วยงานรับผิดชอบพัฒนาเกณฑ์มาตรฐาน และตัวบ่งชี้คุณภาพการศึกษาตามพรบ.การศึกษาแห่งชาติ 2542 หมวด 6 มาตรฐานและการประกันคุณภาพการศึกษา ซึ่งมีผลต่อสถานศึกษาทุกระดับ ในสถาบันการศึกษาของรัฐเริ่มออกนอกระบบ เริ่มคิดแบบธุรกิจ จึงเป็นเหตุให้ต้องเปิดศูนย์นอกที่ตั้งไปแข่งขันกับภาคเอกชน แต่คุณภาพการศึกษากลับไม่เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด แม้เป็นสถาบันของรัฐก็อาจต้องถูกยุบศูนย์นอกที่ตั้งเนื่องจากจำนวนและคุณวุฒิอาจารย์ประจำไม่ถึงเกณฑ์ที่กำหนด เพราะคุณภาพต้องมีความเข้าใจ การลงทุนและอาจไม่คุ้ม ทำให้สถาบันการศึกษาทั้งภาคเอกชน และภาครัฐที่ต้องออกนอกระบบต้องให้ความสำคัญกับธุรกิจการศึกษาเพิ่มขึ้นจนอาจทำให้คุณภาพการศึกษาลดลง

 

http://www.enn.co.th/7173

http://thainame.net/edu/?p=1353

 

 

ชวนคุยเหตุผลการยุบโรงเรียนกับกระทรวง

ชัยอนันต์ สมุทวณิช ชวนคิดเรื่องยุบกระทรวงศึกษาธิการ

ชัยอนันต์ สมุทวณิช กับ sife
ชัยอนันต์ สมุทวณิช กับ sife

มีข่าวว่ากระทรวงศึกษาธิการจะยุบโรงเรียนขนาดเล็กคือ โรงเรียนที่มีนักเรียนประมาณ 60 คน เมื่อข่าวออกมาก็มีผู้ปกครองออกมาคัดค้านมากมาย

เรื่องขนาดของโรงเรียนนี้มีข้อถกเถียงกันอยู่เป็นประจำ บ้างก็ว่าโรงเรียนควรมีนักเรียนประมาณ 850 คน แต่มีโรงเรียนจำนวนหนึ่งที่มีนักเรียน 2,000-5,000 คน โรงเรียนเหล่านี้เป็นที่นิยมของผู้ปกครอง

ในประเทศอังกฤษมีโรงเรียนเด็กประจำ นักเรียนไม่กี่สิบคนเป็นโรงเรียนเตรียมเด็กเข้าโรงเรียนกินนอนที่เรียกว่า Public School ต่อไป เขาคิดว่าโรงเรียนยิ่งมีนักเรียนน้อยก็ยิ่งดี เพราะครูสามารถเอาใจใส่เด็กเป็นรายบุคคลได้

ผมเองเคยอยู่โรงเรียนขนาดเล็กมีเด็กอยู่ 12 คน หนึ่งในนั้นคือ จักรพันธุ์ โปษยกฤต คือโรงเรียนบ้านครูเนี้ยน เวลานั้นยังไม่มีชื่อ ต่อมาเป็นโรงเรียนอักษรเจริญ

กระทรวงศึกษาฯ คิดแต่จะยุบเลิกโรงเรียนขนาดเล็ก แต่ไม่เคยคิดจะลดขนาดตัวเองลงบ้าง กระทรวงศึกษาธิการของไทยเป็นกระทรวงที่ใหญ่ที่สุดในโลก คนในกระทรวงศึกษาฯ ชอบคิดแต่จะหาทางเพิ่มตำแหน่งให้กับตนเอง เดี๋ยวก็รวม เดี๋ยวก็แยก อย่างเช่น สพฐ.ก็อยากแยกประถมกับมัธยม เป็นต้น

เรื่องการศึกษานี้ หากต้องการคุณภาพจริงๆ แล้วก็ต้องไปเน้นที่โรงเรียนเป็นสำคัญ เราเห็นโรงเรียนดีๆ เขามีการเรียนการสอนดีโดยที่กระทรวงศึกษาธิการไม่ต้องเข้าไปเกี่ยวข้อง การจัดการที่เน้นโรงเรียนนี้ โรงเรียนต้องมีความพอเพียง มีงบประมาณและมีความอิสระพอที่จะจัดการตัวเอง มีโรงเรียนสังกัดท้องถิ่นหลายแห่งที่มีการจัดการตนเองที่ดี เช่น ที่เชียงราย และอุดรธานี เป็นต้น

แต่ครูส่วนใหญ่ก็ยังติดยึดอยู่กับการเป็นครูของกระทรวงศึกษาธิการอยู่ นัยว่ามีเกียรติภูมิดีกว่าการเป็นครูของท้องถิ่น เพราะคนเรียกว่า “ครูเทศบาล”

มีการวิจัยทางการศึกษาหลายชั้นสรุปว่า โรงเรียนดีเพราะมีครูใหญ่หรือผู้อำนวยการที่ดี หัวก้าวหน้านำสิ่งใหม่ๆ เข้ามาให้ครูและนักเรียนได้เรียนรู้ตลอดเวลา นอกจากนั้นก็ต้องมีครูที่ดี เรื่องครูที่ดีนี้เป็นเรื่องยากแต่จำเป็นต้องมีการพัฒนาครูอยู่เสมอ

แล้วกระทรวงศึกษาธิการทำอะไรนอกเหนือจากการควบคุม สิ่งแรกก็คือ มีหน้าที่กำหนดหลักสูตร แต่เรื่องนี้ไม่จำเป็นต้องมีกระทรวงก็ได้ เพราะนอกจากหลักสูตรจะทำนานๆ ทีแล้ว ก็ยังสามารถทำในรูปคณะกรรมการก็ได้ เมื่อจบเรื่องแล้วก็สลายตัวไป คณะกรรมการก็สามารถนำผู้มีความรู้ความชำนาญมาทำงานร่วมกันได้

  เรื่องที่สองที่กระทรวงทำก็คือ การดูแลการบริหารงานบุคคล ซึ่งก็สามารถทำในระดับโรงเรียนได้ และเป็นการเหมาะสมกว่าส่วนการโยกย้ายนั้น หากโรงเรียนส่วนใหญ่สังกัดท้องถิ่นแล้ว หากจะมีการย้ายก็เป็นการย้ายภายในจังหวัดเดียวกัน

เรื่องที่ส่วนกลางทำ และอยากทำต่อไปเรื่อยๆ ก็คือ การจัดจ้างจัดซื้อซึ่งเป็นบ่อเกิดของการทุจริต การจัดจ้างจัดซื้อสามารถทำที่โรงเรียน หรือทำเป็นกลุ่มโรงเรียนเพื่อเพิ่มอำนาจการต่อรองได้

มีกิจกรรมอีกอย่างหนึ่งที่ส่วนกลางจัดทำอยู่ คือ การควบคุมคุณภาพ การควบคุมคุณภาพนี้ก็สามารถจะกระจายอำนาจมอบหมายให้เอกชนทำได้ โดยมีคณะกรรมการกลางคอยดูแล เวลานี้ภาคเอกชนก็เข้ามามีส่วนร่วมในระดับหนึ่งแล้ว

งานศึกษานิเทศก์ก็มีความสำคัญ แต่สามารถจัดตั้งเป็นกลุ่มๆ อยู่ตามภูมิภาคได้ ซึ่งจะเป็นการสะดวกกว่า นอกจากนั้นภาคเอกชน เช่น สำนักพิมพ์ก็ยังจัดอบรมสัมมนาครูอยู่บ่อยๆ

สรุปแล้วงานส่วนใหญ่ของกระทรวงศึกษาธิการ สามารถมีการจัดการใหม่ได้ และคนในส่วนกลางก็จะลดลงเหลือไม่กี่ร้อยคน

! http://www.manager.co.th/Daily/ViewNews.aspx?NewsID=9560000059840

! http://www.bangchak.co.th/th/news-detail.aspx?nid=412&AspxAutoDetectCookieSupport=1

มหาลัย มหาหลอก เมื่อป.ตรีเตะฝุ่นทะลุแสน

ดร.วิริยะ ฤาชัยพาณิชย์
ดร.วิริยะ ฤาชัยพาณิชย์

ทะลุแสน! คนไทยจบปริญญาตรีเตะฝุ่นมากที่สุด…เป็นหัวข้อข่าวที่กลายเป็นประเด็นทางสังคม และถูกตั้งคำถามต่อระบบการศึกษา และทวงถามการเรียนรู้ที่แท้จริงของมนุษย์ เพราะที่ผ่านมา การศึกษาไทยมีแนวโน้มจะดําเนินงานในเชิงธุรกิจที่มุ่งแสวงหากําไรมากขึ้น ทำให้มหาวิทยาลัยหลาย ๆ แห่งได้รับกระแสวิพากษ์วิจารณ์ถึงคุณภาพการเรียนการสอน และถูกมองว่าเป็นมหาวิทยาลัยที่มุ่งเน้นเรื่องเงินตรามากกว่าจะเป็นมหาวิทยาลัยแห่งปัญญาอย่างที่ควรจะเป็น

ประเด็นแรก ที่น่าสนใจ
ร่ำเรียนแทบตาย สุดท้ายตกงาน!

       
        “มหาลัย มหาหลอก เด็กชายบ้านนอก เด็กหญิงบ้านนารํ่าเรียนรู้ในวิชา แต่จบออกมายังไม่มีงานทํา ไม่มีงานก็ไม่มีเงิน ออกเดินเดินเดินยํ่าสมัครงานสอบเท่าใดยังสอบไม่ผ่าน มันหัวปานกลาง เขาเอาแต่หัวดีๆ มีความรู้สู้เขาไม่ได้ เส้นเล็กเส้นใหญ่ เส้นก๋วยจั๊บไม่มี นามสกุลไม่สง่าราศี เป็นลูกตามี เป็นแค่หลานยายมา อนาคตคงหมดความหมาย

       
        บทเพลง “มหาลัย” ของคาราบาว ที่สะท้อนถึงหัวอกบัณฑิตหลาย ๆ คนในยุคนี้ได้เป็นอย่างดี
       
        ล่าสุด มีข้อมูลที่น่าตกใจจากที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) โดยมีมติรับทราบสรุปผลการสำรวจภาวะการทำงานของประชากร เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.2556 ที่ผ่านมา พบว่า ผู้มีการศึกษาระดับอุดมศึกษา ตกงานมากที่สุดถึง 1.13 แสนคนเลยทีเดียว
       
        ปรากฎการณ์ที่เกิดขึ้น อาจบอกเป็นนัยๆ ว่า ใบปริญญาไม่สามารถเอาไปเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ สมัครงานซึ่งทำได้ง่ายๆ เหมือนสมัยก่อนอีกแล้ว
       
        นอกจากนี้ยังมีเรื่องของกระแสวิจารณ์ของผู้จ้างบัณฑิตถึงการไม่มีความรู้ความสามารถตามมาตรฐานที่ควรจะเป็นเมื่อเข้าไปทํางานจริง ทําให้วันนี้สังคมไทยเริ่มตั้งคําถามเรื่องคุณภาพบัณฑิตของมหาวิทยาลัยว่าสูงขึ้นหรือตกต่ำลงท่ามกลางปริมาณที่เพิ่มขึ้นเป็นจํานวนมากของผู้จบการศึกษา ซึ่งสิ่งที่เกิดขึ้นเหล่านี้ ได้กลายเป็นประเด็นปัญหาของระบบการศึกษาไทยในยุคปัจจุบันไปแล้ว
       
        ดร.วิริยะ ฤาชัยพาณิชย์ กรรมการปฏิรูปหลักสูตรการศึกษาแห่งชาติ ในฐานะนักวิชาการด้านการศึกษา ให้ข้อมูลว่า ทุกวันนี้มีคนจบปริญญาตรีประมาณปีละ 5 แสนกว่าคน (ปี 2554 เป็นยุคปริญญาล้นประเทศ ซึ่งมีมากถึง 6 แสนคนเลยทีเดียว) ปัจจุบันมีบัณฑิตจบใหม่มากมายที่หางานทำไม่ได้ หรือบางคนที่รองานไม่ไหวก็ต้องไปทำงานไม่ตรงวุฒิ หรือต่ำกว่าวุฒิแทน
       
        สำหรับสายที่ผลิตบัณฑิตล้นตลาดมากที่สุด คือ สายศิลป์ เช่น สังคมศาสตร์ นิเทศศาสตร์ รัฐศาสตร์ เป็นต้น รองลงมาเป็นสายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ซึ่งคนที่เก่งจริง ๆ ถึงจะหางานได้ ส่วนสายวิทยาศาสตร์สุขภาพ เป็นสาขาที่จะมีตลาดงานรองรับแน่นอน เช่น แพทย์ เภสัชกร ทันตแพทย์ เทคนิคการแพทย์ พยาบาล เป็นต้น
       
ประเด็นที่สอง ที่น่าสนใจ
แย่ที่มหา’ลัย หรือห่วยที่ตัวบัณฑิต
       
        ปัญหาที่เกิดขึ้น มีหลายความเห็นแตกต่างกันออกไป บ้างก็โทษไปที่มหาวิทยาลัยว่าไม่มีคุณภาพเพียงพอที่จะผลิตบัณฑิตให้จบออกมาอย่างสอดคล้องกับตําแหน่งงานที่มีอยู่ในระบบเศรษฐกิจ หรือตัวเลขว่างงานจำนวนมาก ๆ ในแต่ละปี เป็นเพราะบัณฑิตเองที่ไม่ขวนขวาย และพัฒนาคุณค่าให้ตัวเอง
       
        มาดูกันที่มหาวิทยาลัย หากมองในภาพความเป็นจริง หลาย ๆ แห่งมีการปรับเปลี่ยนตัวเองไปสู่รูปแบบธุรกิจการศึกษามากขึ้น ซึ่งบางแห่งเราคงต้องยอมรับว่า มีการฉวยโอกาสที่จะแสวงหากําไรจนบางครั้งอาจส่งผลต่อคุณภาพทั้งระบบการเรียนการสอน ผู้เรียนและตัวบัณฑิตที่จบการศึกษา
       
        ดร.วิริยะ ชี้ให้เห็นว่า มหาวิทยาลัยจำนวนไม่น้อย แย่ง และแข่งกันรับนักเรียนให้เข้ามาเรียน แต่ไม่ได้พิจารณา และให้ความสำคัญกับรากฐานปรัชญาของความเป็นสถาบันแห่งสติปัญญาของสังคมที่จะผลิตบัณฑิตออกสู่ตลาดงานอย่างมีทักษะ
       
        “บางแห่งผลิตบัณฑิต 2 ล้อ เน้นแค่จำ และวิเคราะห์เป็น แต่ไม่ได้ออกแบบการเรียนการสอนให้เด็กรู้จักวิธีสื่อสาร คิดสร้างสรรค์ ไม่แปลกที่บัณฑิตยุคใหม่หลายคนจะมีคุณสมบัติเป็นบัณฑิตที่เชื่อฟังอย่างยิ่งยวด เป็นหุ่นยนต์ที่ต้องคอยป้อนคำสั่งอย่างเดียว จบออกมาก็แบบซิกแซ็ก หวังว่าใบปริญญาจะช่วยการันตีได้ แต่เข้าไปทำงานแล้วกลับทำไม่ได้ตามคุณค่าที่การันตีในใบปริญญา เมื่อทำไม่ได้ ก็อยู่ไม่ได้ ตรงนี้อันตรายมากๆ” นักวิชาการด้านการศึกษาขยายความ
       
       

ประเด็นที่สาม ที่น่าสนใจ
คุณภาพไม่ถึง ใครเขาจะเอา!

       
        กระนั้น ใช่ว่าจะโทษมหาวิทยาลัยเพียงฝ่ายเดียว เพราะผู้ชี้ชะตาว่าจะตกงานหรือไม่ คือ ตัวผู้เรียนเอง โดยปัญหาใหญ่ ที่นักวิชาการด้านการศึกษาท่านนี้เป็นห่วง ก็คือ บัณฑิตหลายคนยังไม่รู้ว่าตัวเองมีดีอะไร นี่คือตัวการสำคัญว่าทำไมบัณฑิตหลาย ๆ คนตกงาน และไม่มีงานทำ
       
        “เข้าปี 1 ก็หางานทำได้แล้ว แต่ปัญหาคือ หลายคนไม่รู้ว่าตัวเองมีดีอะไร ประมาณว่า รู้ทุกเรื่อง แต่ไม่รู้เรื่องตัวเอง ทางที่ดี ไม่ใช่มัวแต่ เรียน สอบ และ เที่ยวไปวันๆ แต่ต้องรู้จักพัฒนาคุณค่าในตัวเองด้วย” นักวิชาการด้านการศึกษาคนเดียวกันเผย
       
        แต่เหนือสิ่งอื่นใด คนจะตกงานหรือไม่นั้น ไม่ได้ขึ้นอยู่ที่การเลือกสาขาไม่ตรง แต่อยู่ที่ตัวบัณฑิตเองว่า มีคุณสมบัติที่พึงประสงค์ต่อความต้องการในโลกการทำงานเพียงพอแล้วหรือไม่ เช่น ความขยัน ความอดทน ความซื่อสัตย์ ความรับผิดชอบ ความคิดสร้างสรรค์ เป็นต้น
       
       

ประเด็นที่สี่ ที่น่าสนใจ
ทางออก ลดบัณฑิตเตะฝุ่น

       
        สำหรับทางออกของเรื่องนี้ ดร.วิริยะ พยายามพูด และนำเสนอมาตลอดว่า อุดมศึกษาไทยต้องมองตลาดงานในประเทศในภูมิภาค และในโลก แล้วร่วมมือกันพัฒนาหลักสูตรสาขาใหม่ ๆ ให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลง และสอดคล้องกับตลาดงาน ไม่ใช่เดินผิดที่ผิดทาง มุ่งแต่จะแย่งรับนักศึกษา หรือแย่งกันแข่งขัน โดยขาดการมองไปข้างหน้า
       
        “เปิดรับกันมากมายในสาขาที่เหมือนๆ กันทุกมหาวิทยาลัย พอจบมาแล้วบัณฑิตจะไปทำอะไรกัน แต่ก็ใช่ว่าจะไม่กระเตื้องกันนะ อย่างสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) ก็เริ่มตระหนักแล้ว แต่มหาวิทยาลัยหลายแห่งยังมีอิสระกันอยู่มาก ต่างคนต่างสบาย ไม่เห็นต้องเปลี่ยนแปลงอะไร นี่แหละปัญหา เรียนแบบเดิม ๆ จดกันเข้าไป เน้นแต่การแข่งขัน แข่งกันไปตาย (ในโลกการทำงาน) จบออกมาก็ไม่มีทักษะอื่น ๆ ไว้นำไปใช้ในการทำงาน” นักวิชาการด้านการศึกษาให้ทัศนะ พร้อมกับฝากไปถึงมหาวิทยาลัยไทยหลาย ๆ แห่งว่า
       
        “ส่วนตัวคิดว่า เงินเพื่อการอยู่รอด มันเป็นอดีตไปแล้ว ยุคนี้ มีคุณค่าถึงจะอยู่รอด โดยสร้างคุณค่าให้แก่มหาวิทยาลัย และตัวนักศึกษา เน้นให้ปัญญา ไม่ใช่รับเงินแล้วจบ เมื่อเป็นแบบนี้ ไม่มีใครทิ้งคุณหรอก แต่ถ้ามัวแต่มุ่งปั้มใบปริญญาแจก แจก สักวันสังคมทิ้งคุณแน่ เมื่อเป็นเช่นนี้ อีก 30 ปี คนไทยจะไปใช้แรงงานในพม่าก็อย่ามาว่าก็แล้วกัน”
       
        คล้ายกันกับแนวทางของ รศ.ดร.ยงยุทธ แฉล้มวงษ์ ผู้อำนวยการวิจัยการพัฒนาแรงงาน สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) ที่เคยออกมาเผยถึงแนวทางแก้ปัญหาบัณฑิตปริญญาตรีตกงานกว่า 1 แสนคนต่อปีว่า ระบบอุดมศึกษาไทยในปัจจุบันใช้เวลาเรียน 4 ปี ทั้งนี้ ช่วงที่เรียนชั้นปีที่ 1-2 มหาวิทยาลัยต่างๆ จะต้องจัดการศึกษาโดยเน้นพัฒนาความรู้ความสามารถของนักศึกษาเพื่อเตรียมตัวเข้าสู่ตลาดแรงงาน เช่น ความรู้และทักษะอาชีพในสาขาวิชาที่เรียน ทักษะภาษาอังกฤษและภาษาอาเซียน หลังจากนั้นเมื่อเรียนชั้นปีที่ 3 จะต้องสำรวจว่าถึงความต้องการของนักศึกษาแต่ละคนแต่ละสาขาภายในมหาวิทยาลัยว่า เมื่อเรียนจบแล้วต้องการจะไปประกอบอาชีพอะไรบ้าง
       
        เมื่อได้ข้อมูลข้างต้นแล้วทางมหาวิทยาลัยก็ประสานไปยังสถานประกอบการด้านต่างๆเพื่อหาข้อมูลว่าสถานประกอบการต้องการบัณฑิตที่มีความรู้และทักษะอาชีพอย่างไรบ้างแล้วเติมเต็มความรู้ในการประกอบอาชีพดังกล่าวให้แก่นักศึกษาเมื่อเข้าสู่ชั้นปีที่ 4 เพื่อจะได้มีความรู้ความสามารถรอบด้านและสอดคล้องกับความต้องการของสถานประกอบการ เพื่อที่เมื่อเรียนจบแล้ว จะสามารถทำงานได้ทันที สถานประกอบการไม่ต้องเสียเวลาไปฝึกงานให้เพิ่มเติม
       
        “การแก้ปัญหาระยะยาว รัฐบาล ศธ.และสถาบันอุดมศึกษาต่างๆ ควรร่วมมือกับภาคธุรกิจ สถานประกอบการต่างๆปรับแผนการผลิตบัณฑิตจากปัจจุบันสัดส่วนการผลิตบัณฑิตสายศิลปศาสตร์และสังคมศาสตร์อยู่ที่ 70% และสายวิทยาศาสตร์อยู่ที่ 30% เปลี่ยนเป็น ผลิตบัณฑิตสายศิลปศาสตร์และสังคมศาสตร์ สายวิทยาศาสตร์ให้อยู่ที่สายละ 50% โดยเพิ่มสัดส่วนการผลิตบัณฑิตสาขาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและการวิจัยให้มากขึ้น รวมทั้งเร่งพัฒนาทักษะการประกอบอาชีพและภาษาต่างประเทศและภาษาอาเซียนให้แก่บัณฑิตปริญญาตรีและแรงงานไทยในทุกสาขาด้วย”
       
        ถึงตอนนี้ ไม่เพียงแต่มหาวิทยาลัยไทยที่จะต้องกลับมาตระหนักเพื่อทบทวนการทำหน้าที่ผลิตบัณฑิตอย่างจริงจังมากกว่าจะไปมุ่งแสวงหากําไรอย่างเดียวเหมือนที่บางแห่งคิดผลิตหลักสูตร “เรียนง่ายจบเร็ว” ตัวผู้เรียนที่กำลังจะออกไปสู่โลกของการทำงานเองก็ต้องปรับตัวด้วยเหมือนกัน
       
        …เพราะถ้าคิดเพียงอยากได้ใบปริญญาแต่จบออกไปอย่างคนที่ไม่มี “ปัญญา” เตรียมสะกดคำว่า “ตกงาน” รอไว้ได้เลย
       
ข่าวโดย ASTV ผู้จัดการ Live

http://www.manager.co.th/Daily/ViewNews.aspx?NewsID=9560000058957

สถาบันอุดมศึกษาเอกชนยังมีที่ว่าง

ดร. บัญชา  เกิดมณี
ดร. บัญชา เกิดมณี

14 พฤษภาคม 2556 ดร.บัญชา เกิดมณี นายกสมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย (สสอท.) เปิดเผยว่า ขณะนี้สถาบันอุดมศึกษาเอกชน สังกัด สสอท. จำนวน 61 แห่ง ยังมีที่นั่งเหลือ 92,100 คน เพื่อรองรับนักเรียนในปีการศึกษา 2556 ดังนั้นนักเรียนที่พลาดหวังจากการคัดเลือกในระบบกลางการรับนิสิตนักศึกษา หรือแอดมิชชั่นกลาง และยังไม่มีที่เรียน สามารถตัดสินใจเลือกเข้าเรียนในสถาบันอุดมศึกษาเอกชนได้ เนื่องจากการเรียนการสอน เครื่องมือและอุปกรณ์ต่าง ๆ มีความพร้อม และมีคุณภาพไม่ต่างจากสถาบันอุดมศึกษาของรัฐด้วย

 

 

รวมข่าว admission
http://www.tlcthai.com/education/category/admission/admission-news

สำหรับที่นั่งที่เหลือในแต่ละสถาบันมีดังนี้

1 ม.รังสิต 7,156 คน
2 ม.กรุงเทพ 7,005 คน
3 ม.ศรีปทุม 5,159 คน
4 ม.หอการค้าไทย 5,092 คน
5 ม.ธุรกิจบัณฑิตย์ 4,964 คน
6 ม.เกษมบัณฑิต 4,159 คน
7 ม.รัตนบัณฑิต 3,816 คน
8 ม.เซาธ์อีสบางกอก 3,672 คน
9 ม.เอเชียอาคเนย์ 3,635 คน
10 ม.หัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ 3,373 คน
11 ม.สยาม 3,101 คน
12 ม.อัสสัมชัญ 2,789 คน
13 ว.ราชพฤกษ์ 2,025 คน
14 ม.เทคโนโลยีมหานคร 1,925 คน
15 ส.การจัดการปัญญาภิวัฒน์ 1,869 คน
16 ม.หาดใหญ่ 1,776 คน
17 ม.ปทุมธานี 1,683 คน
18 ม.ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 1,626 คน
19 ว.เฉลิมกาญจนา 1,611 คน
20 ม.นอร์ทกรุงเทพ 1,549 คน
21 ม.พายัพ 1,485 คน
22 ว.สันตพล 1,400 คน
23 ม.ธนบุรี 1,297 คน
24 ม.อิสลามยะลา 1,269 คน
25 ม.การจัดการและเทคโนโลยีอิสเทิร์น 1,177 คน
26 ม.อีสเทิร์นเอเชีย 1,109 คน
27 ว.กรุงเทพสุวรรณภูมิ 1,109 คน
28 ม.วงษ์ชวลิตกุล 1,008 คน
29 ส.เทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น 980 คน
30 ว.เทคโนโลยีสยาม 945 คน
31 ว.ดุสิตธานี 765 คน
32 ว.บัณฑิตเอเชีย 753 คน
33 ส.รัชต์ภาคย์ 745 คน
34 ม.กรุงเทพธนบุรี 734 คน
35 ม.เวสเทิร์น 719 คน
36 ว.เฉลิมกาญจนาระยอง 671 คน
37 ม.คริสเตียน 662 คน
38 ม.ราชธานี 657 คน
39 ม.ฟาร์อีสเทอร์น 570 คน
40 ม.นอร์ท-เชียงใหม่ 542 คน
41 ม.เจ้าพระยา 504 คน
42 ม.นานาชาติแสตมฟอร์ด 495 คน
43 ว.เทคโนโลยีภาคใต้ 464 คน
44 ม.เกริก 423 คน
45 ม.ตาปี 414 คน
46 ว.อินเตอร์เทค ลำปาง 410 คน
47 ว.นครราชสีมา 382 คน
48 ว.นานาชาติเซนต์เทเรซา 298 คน
49 ม.เนชั่น 276 คน
50 ว.ทองสุข 267 คน
51 ม.พิษณุโลก 260 คน
52 ว.เชียงราย 249 คน
53 ม.นานาชาติเอเชีย-แปซิฟิก 217 คน
54 ว.เซนต์หลุยส์ 212 คน
55 ม.ชินวัตร 150 คน
56 ม.เซนต์จอห์น 116 คน
57 ม.ภาคกลาง 100 คน
58 ว.ลุ่มน้ำปิง 90 คน
59 ว.แสงธรรม 82 คน
60 ม.เว็บสเตอร์ 75 คน
61 ว.พุทธศาสนานานาชาติ 34 คน
รวม 92,100 คน

 

–เดลินิวส์ ฉบับวันที่ 15 พ.ค. 2556 (กรอบบ่าย)–

http://manager.co.th/Qol/ViewNews.aspx?NewsID=9560000057831

http://www.facebook.com/download/379363635513471/request_student_of_university.xlsx

ข้อมูลจาก  http://www.moe.go.th/moe/th/news/detail.php?NewsID=32688&Key=hotnews

 

จำนวนผู้สมัคร
จำนวนผู้สมัคร

ตารางแสดงจำนวนผู้สมัครและผ่านการคัดเลือก
ในระบบ Admissions กลาง ประจำปีการศึกษา 2555
จาก 90 สถาบันแยกคณะเกือบ 4000 คณะ รายงานหนา 188 หน้า
http://www.cuas.or.th/document/55C_stat_sumapply.pdf

max min score and count
max min score and count

ตารางแสดงสถิติจำนวนผู้สมัคร จำนวนรับ จำนวนผู้ผ่าน และคะแนนสูงสุด-ต่ำสุด
ในระบบ Admissions กลาง ประจำปีการศึกษา 2555 รายงานหนา 133 หน้า

http://www.cuas.or.th/document/55D_stat_rpass_web.pdf

 

grouping
grouping

8 พ.ค.56 ศ.ดร.สมคิด เลิศไพฑูรย์ เปิดเผยว่า เปิดรับจำนวน 140,828 ที่นั่ง มีผู้สมัคร 122,169 คน แล้วผ่านการคัดเลือกมีสิทธิ์เข้าสอบสัมภาษณ์และตรวจร่างกาย 82,102 คน พลาดหวัง 40,067 คน

จำแนกเป็นมหาวิทยาลัย
1. สถาบันของรัฐ รับได้ 76,778 ที่นั่ง มีผู้ผ่าน 64,248 คน รับได้ร้อยละ 83.68
2. มหาวิทยาลัยราชภัฏ/ราชมงคล รับได้ 25,321 ที่นั่ง มีผู้ผ่าน 13,913 คน รับได้ร้อยละ 54.95
3. สถาบันอุดมศึกษาเอกชน รับได้ 38,573 ที่นั่ง แต่มีผู้ผ่าน 3,785 คน รับได้ร้อยละ 9.81

สาขาวิชายอดนิยม
1. คณะพยาบาลศาสตร์ วิทยาลัยพยาบาลตำรวจ ผู้สมัคร 2,850 คน รับได้ 56 ที่นั่ง (1:51)
2. คณะวิทยาศาสตร์ วิชาวิทยาศาสตร์ หาดใหญ่ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ผู้สมัคร 1,906 คน รับได้ 160 ที่นั่ง (1:12)
3. คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้สมัคร 1,813 คน รับได้ 150 ที่นั่ง (1:12)

http://news.mthai.com/general-news/164682.html

 

สร้างทางตัน หรือทางออก (itinlife395)

end road
end road

ในด้านเทคโนโลยีสารสนเทศมีเรื่องของทางเลือก (Decision) ที่คนเขียนโปรแกรมทุกคนต้องใช้คำสั่ง if สำหรับการเขียนโปรแกรมยุคใหม่ก็อาจเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝันที่ไม่ใช่เงื่อนไขปกติ จะมีบริการตรวจสอบความผิดพลาดที่เป็นข้อยกเว้น (Exception) แล้วดำเนินการแบบพิเศษกับเหตุการณ์เหล่านั้น ซึ่งการเขียนโปรแกรมก็จะต้องเขียนตามนโยบาย หรือความต้องการของผู้ใช้ อาทิ เขียนโปรแกรมตัดเกรด คุณครูก็ต้องกำหนดว่าจะตัดเกรดแบบอิงเกณฑ์ หรืออิงกลุ่ม ถ้าอิงเกณฑ์จะให้ A มีคะแนนเท่าใด หรืออิงกลุ่มจะใช้ค่าเบียงเบนมาตรฐานเท่าใด

http://www.oknation.net/blog/zumon/2011/07/05/entry-1

ในทางคอมพิวเตอร์มีทางออก และมีแนวทางแก้ไขเสมอ มีเหตุและมีผลทุกครั้ง ไม่มีหลักไสยศาสตร์เข้ามาเกี่ยวข้อง ในอดีตตัวแปรภาษายังไม่ดีนัก เวลากำหนดให้โปรแกรมทำซ้ำตลอดกาลก็จะทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ค้างไม่ตอบสนองใด แล้วผู้ใช้ก็ต้องปิดเครื่องแล้วเปิดใหม่ เมื่อรู้ก็เข้าไปแก้ไขได้ไม่ปล่อยให้ปัญหาเกิดซ้ำแล้วซ้ำอีก ต่างกับปัญหาในชีวิตจริงที่ไม่สมเหตุสมผล อาทิ ในบางกิจกรรมบอกว่าเรามีเมตตาไปทำบุญปล่อยนกปล่อยปลา จากนั้นไปทานอาหารร่วมกันบนโต๊ะอาหารก็มีปลาเผาไก่ย่างส้มตำ ซึ่งปลาก็ได้มาจากแม่น้ำหน้าวัดนั่นเอง หรือดื่มสุราทำให้เสียสุขภาพ แต่ก็เหมือนดื่มเพื่อสุขภาพ เพราะดื่มกันบ่อยแล้วแบ่งปันผ่านเฟสบุ๊คมาให้ดูอย่างมีความสุข

ปัจจุบันเราพูดว่าปฏิเสธรถไฟความเร็วสูง ปฏิเสธเสื้อผ้ายี่ห้อ ปฏิเสธฟุตบอลนอก ปฏิเสธอาหารต่างชาติ ปฏิเสธยักค้าปลีก เพราะชาตินิยมสูง แต่พบว่าสถิติอุปโภคบริโภคไม่เป็นเช่นนั้น หากนึกไปถึงการปฏิเสธผู้นำ ถ้าคนกลุ่มเล็กกลุ่มหนึ่งเชื่อว่าผู้นำไม่ดี ไม่ชอบผลการเลือกตั้ง แล้วขอให้เลือกตั้งใหม่หลังรู้ผลเลือกตั้ง สังคมนั้นก็คงมีชีวิตอยู่ในทางตัน เพราะในชีวิตจริงไม่มีสังคมขนาดใหญ่สังคมใดยอมรับผู้นำที่ถูกเลือกตั้งร้อยละร้อย คงเพราะสามัญสำนึกของผู้คนรู้ว่าสังคมต้องมีผู้นำ แม้ไม่ถูกใจบ้างแต่เรือจะขาดกัปตันไม่ได้ ก็ต้องปล่อยให้บริหารไปวาระหนึ่ง แล้วค่อยมาพิจารณากันใหม่ ในทางคอมพิวเตอร์ก็เช่นกันเทคโนโลยีใดก็ต้องเข้าสู่กระบวนการทดลองใช้ แล้วประเมินผล  หากผลประเมินไม่น่าพอใจก็ต้องเปลี่ยนใหม่ ถ้าดีก็บอกต่อ แต่อย่างน้อยก็ได้ประโยชน์จากเทคโนโลยีนั้นไประยะหนึ่ง เมื่อมีของใหม่มาให้เลือกก็ค่อยพิจารณาทางเลือกนั้นอีกครั้ง

 

 

ระบบการศึกษาของเรา

ระบบการศึกษาของเรา (Our Education System)

our education system
our education system

ด้วยเกณฑ์คัดเลือกที่ยุติธรรม
ทุกคนได้ข้อสอบชุดเดียวกัน
ถ้าใครปีนต้นไม้ได้
ก็จะได้ไปต่อ

For a fair selection
everybody has to take the same exam:
please climb that tree

ระบบการศึกษาของเรา
“ทุกคนเป็นอัจฉริยะในตนเอง
แต่ถ้าคุณตัดสินว่าปลาสามารถปีนต้นไม้ได้
ปลาก็มีชีวิตทั้งชีวิตของมัน เชื่อว่ามันน่ะโง่”
Our education System
“Everybody is a genius.
But if your judge a fish by its ability to climb a tree,
it will live its whole lifebelieving that it is stupid.”
??? Albert Einstein
(It’s disputed whether Einstein said this or not. I like it regardless.) http://www.princeton.edu/aos/people/graduate_students/hill/quotes/

Fake Quote .. ประโยคที่ Einstein ไม่ได้กล่าวไว้ http://skepticaesoterica.com/category/history/ (fake quote)
The first appearance of this quote is from The Rhythm of Life: Living Every Day with Passion and Purpose (2004) by Matthew Kelly, p. 80, however there is no evidence of it being printed prior, and no evidence Einstein said it.

แต่ภาพนี้ไม่ได้บอกว่า
ทุกตัวอยากอยู่เหนือเส้นมาตรฐาน
คือ ไม่ไปอยู่บนโต๊ะอาหารของใคร

ความตั้งใจของภาพนี้ คือ การจัดการศึกษา และใช้เกณฑ์การวัดผลที่เหมาะกับแต่ละบุคคลเพื่อให้ทุกคนถูกพัฒนาไปอยู่เหนือเส้นมาตรฐาน .. ได้ไปต่อทุกคน ไม่มีใครถูกทิ้งไว้ข้างหลัง

http://malenenielsen1984.wordpress.com/2013/04/05/our-education-system/

http://www.empowernetwork.com/yvettewilkinson2/blog/did-you-know-that-self-education-is-just-as-important-as-formal-education/

http://www.lolbrary.com/post/19912/our-education-system/

quoteinvestigator.com มีประเด็นเห็นต่าง หรือให้รายละเอียดเพิ่มเติม

ปลาตีน
ปลาตีน

http://quoteinvestigator.com/2013/04/06/fish-climb/

คดีกองทุนเงินกู้ยืมเพื่อการศึกษา

กองทุนเงินกู้ยืมเพื่อการศึกษา
กองทุนเงินกู้ยืมเพื่อการศึกษา

http://www.facebook.com/media/set/?set=a.453918268018597.1073741862.228245437252549

พบข่าว และภาพใน page ของมหาวิทยาลัย เป็นการประชาสัมพันธ์ว่า
นายมาโนช รัตนนาคะ ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลจังหวัดลำปาง เป็นประธานในพิธีเปิดโครงการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทก่อนฟ้องคดีกองทุนเงินกู้ยืมเพื่อการศึกษา ร่วมกับ กองทุนให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา ประจำปีงบประมาณ 2556 เพื่อให้คู่พิพาทได้มีโอกาสเข้ามามีส่วนร่วมในการเจรจาไกล่เกลี่ย และตัดสินใจระงับข้อพิพาทด้วยตนเองก่อนนำคดีเข้าศาล เพื่อลดปริมาณคดีที่จะเข้าสู่กระบวนการพิจารณาของศาล และลดค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดีของคู่พิพาททุกฝ่าย อันเป็นการสร้างความพึงพอใจแก่ลูกหนี้กองทุนให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาและสร้างความสมานฉันท์ให้เกิดขึ้นในสังคม ตลอดจนเป็นการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ระบบการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทให้เป็นที่รู้จักแพร่หลายในหมู่ประชาชนมากยิ่งขึ้น โดยในปีนี้มีจำนวนทั้งสิ้น 2,490 ราย วงเงินกว่าสามร้อยล้านบาท ณ ศาลแขวงลำปาง ในระหว่างวันที่ 25-27 เมษายน 2556
http://www.thairath.co.th/content/edu/339784
http://th.a2-news.com/News/id/123914.0

วันเสาร์ที่ 27 เมษายน พ.ศ.2556

กยศ.แจ้งผู้กู้ค้างชำระเกิน5งวด ไกล่เกลี่ยก่อนฟ้องคดีปี56

ผจก.กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) แจ้งผู้กู้ยืมเพื่อการศึกษา รุ่นปี 2542-2551 ที่ค้างชำระเกิน 5 งวด ไปไกล่เกลี่ยข้อพิพาทเงินกู้ยืมเพื่อการศึกษา ก่อนฟ้องคดีประจำปี 2556…

นักศึกษา
นักศึกษา

เมื่อวันที่ 19 เม.ย. 2556 น.ส.มุจลินท์ กำชัย รองผู้จัดการรักษาการแทน ผจก.กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา ได้เปิดเผยว่า ด้วยกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา ร่วมกับสำนักระงับข้อพิพาทสำนักงานศาลยุติธรรม ได้จัดโครงการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทเงินกู้ยืมเพื่อการศึกษาก่อนฟ้องร้องดำเนินคดีกับผู้กู้ยืมที่ถึงกำหนดชำระหนี้ รุ่นปี 2542-2551 ที่มีหนี้ค้างชำระเกิน 5 งวดขึ้นไป โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้กู้ยืมและผู้ค้ำประกันที่จะถูกบอก เลิกสัญญามาติดต่อชำระหนี้ที่ค้างชำระ หรือมาติดต่อขอผ่อนชำระหนี้ในโครงการฯ โดยมีกำหนดจัดขึ้นที่ศาลจังหวัดนครราชสีมา ในระหว่างวันที่ 18–21 เม.ย. 2556

ส่วนผู้ที่อยู่จังหวัดอื่นๆ สามารถติดต่อได้ที่ศาลจังหวัดอื่นๆ ทั่วประเทศ โดยยังมีเวลาให้ผู้กู้ยืมที่ต้องชำระ 5 งวดขึ้นไป ไปเข้าร่วมโครงการไกล่เกลี่ยได้ ดังนี้ ศาลจังหวัดนครราชสีมา ระหว่างวันที่ 18–21 เม.ย. 2556 มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี ระหว่างวันที่ 23–25 เม.ย. 2556 ศาลแขวงลำปาง ระหว่างวันที่ 25–27 เม.ย. 2556 ศาลแขวงขอนแก่น ระหว่างวันที่ 27 เม.ย.–1 พ.ค. 2556 และศาลแพ่ง ถนนรัชดาภิเษก ระหว่างวันที่ 7–12 พ.ค. 2556

ทั้งนี้ ผู้ที่จะเข้าโครงการไกล่เกลี่ย จะต้องไปเข้าร่วมด้วยตนเอง พร้อมนำเอกสารที่สำคัญไปด้วย อาทิ สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน ของผู้กู้และผู้ค้ำประกัน สำเนาเปลี่ยนชื่อ (ถ้ามี) สำเนาใบทะเบียนสมรส ของผู้กู้และผู้ค้ำประกัน (ถ้ามี) และเอกสารอื่นๆ ผู้ที่จะเข้าโครงการไกล่เกลี่ย สามารถดูรายละเอียดได้ที่ ศูนย์สายใจ กยศ. โทร.02-61004888 หรือทาง http://www.studentloan.or.th/index.php

ครูก็อยากสอน นักเรียนก็อยากเรียน แต่ไม่ได้มาพบกัน

เมื่อครูกับนักเรียน (ไม่)ได้พบกัน
เมื่อครูกับนักเรียน (ไม่)ได้พบกัน

ครูก็อยากสอน นักเรียนก็อยากเรียน แต่ไม่ได้มาพบกัน
แต่จาก 3 ข่าวข้างล่างนี้

พอสรุปได้ว่า ปีนี้จะเปิดรับครู 731 อัตรา
แต่ปีนี้ครูจะเกษียณ 10,932 คน
แต่ประเด็นที่น่าสนใจ คือ มหาวิทยาลัยผลิตครู 29,000 คนต่อปี

.. รู้สึกว่าตัวเลขดูน่าจับตามนะครับ
.. รู้สึกอีกว่า ถ้าจับหลาย ๆ คนมาคุยกัน คงได้คำตอบ เสียแต่ว่าไม่คุย
http://cinema.theiapolis.com/movie-2SYC/bad-teacher/gallery/bad-teacher-ver2-xl-poster-1059117.html
http://news.mthai.com/world-news/215185.html

ข่าว .. แรก
นายชินภัทร ภูมิรัตน เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) เปิดเผย
สพฐ.เปิดสอบครูผู้ช่วยปี 2556 จำนวน 731 อัตรา
http://www.moe.go.th/moe/th/news/detail.php?NewsID=32513&Key=hotnews

ข่าว .. ที่สอง
จากสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
ว่า วิกฤตครูจ่อเกษียณเกือบแสนคน ช่วงปี 56-60 “ก.ค.ศ.” แนะผลิตรองรับ
ปี 2556 – 2560 เกณียณรวม 97,254 คน มีรายละเอียดว่า
ปี 2556 จำนวน 10,932 คน
ปี 2557 จำนวน 15,541 คน
ปี 2558 จำนวน 20,661 คน
ปี 2559 จำนวน 24,689 คน
ปี 2560 จำนวน 25,431 คน
http://www.moe.go.th/moe/th/news/detail.php?NewsID=32487&Key=hotnews

ข่าว .. ที่สาม
นายสุรวาท ทองบุ คณบดีคณะครุศาสตร์ ม.มหาสารคาม
บอกว่า เด็กเกิดน้อยลง แต่ผลิตครูกันตรึม
คณะครุศาสตร์/ศึกษาศาตร์ของสถาบันอุดมศึกษาทั้ง 17 แห่ง
ผลิตครูรวมทั้งหมดประมาณ 29,000 คนต่อปี
http://www.moe.go.th/moe/th/news/detail.php?NewsID=32211&Key=hotnews