friend

อ่านบทความเรื่องที่ 47 ของ ผศ.ดร.กฤษฎา ตันเปาว์

ชวนอ่านบทความของเพื่อนในสื่อสังคม

คร ๆ ก็บอกเล่าเรื่องราวผ่านสื่อสังคม .. เรามักมีเพื่อนในสื่อสังคม พบว่า มีการแชร์แบ่งปันเรื่องราวที่เพื่อนสนใจ ทั้งแบบเฉพาะตนเอง เฉพาะเพื่อน หรือเป็นสาธารณะ ผมมีเพื่อนสมัยประถมและมัธยม ที่มีเรื่องมาเล่าให้ได้ติดตามเสมอ มีของมาขาย มีของที่ได้ซื้อมา มีที่เที่ยว แล้วหยิบมาเล่าสู่กันฟัง ผมมีเพื่อนสมัยอุดมศึกษา มักเล่ากิจกรรมการกิน การอยู่ การใช้ชีวิต พร้อมภาพประกอบมาให้อ่านกันอย่างเพลินใจ ผมมีหัวหน้าที่แบ่งปัน เกี่ยวกับทฤษฎีการบริหาร การจัดการ การตลาด บุคคลและองค์กร และเรื่องน่าสนใจ ที่เป็น public อยู่มากมายหลายสิบบทความ รวบรวมเป็นฐานข้อมูล และอีบุ๊คให้เข้าถึงได้ง่าย มักชวนนิสิตเข้าไปติดตาม (follow) อยู่เสมอ ถ้าเรามีชีวิตในโลกออนไลน์ ได้ใช้สื่อสังคม อาจมองเห็นช่องทางทำธุรกิจ ช่องทางบันเทิง หรือโอกาสในการสื่อสารใหม่ การรับข้อมูลข่าวสารในเรื่องที่เราชอบ มักเริ่มต้นจากการกด like / share / follow เพราะอาจมีสักวันที่ได้นำหลักการที่ได้จากการอ่าน การฟังเหล่านั้นไปปรับใช้ในชีวิตก็เป็นได้ สรุปว่า ทักษะทางสังคม ก็มีความจำเป็นในการใช้ชีวิตในสังคม

บทความมากมายน่าสนใจ
เช่น ซีรี่บทความของ ผศ.ดร.กฤษฎา ตันเปาว์ เรื่องที่ 41 – 47 มีดังนี้

  1. สมองคิด ปากพูด กายทำ ของคน 8 ลักษณะ ในงาน หรือชีวิตประจำวัน
  2. ใครทำ ใครได้ บุคลิกภาพของเรา และการรับรู้ของคนอื่นในองค์กร
  3. ฟันเฟืองมนุษย์ในองค์กร
  4. แนวคิด Makoto Marketing
  5. ความพอใจคนทำงาน กับ ความพอใจขององค์กร
  6. การปรับภาพลักษณ์ด้วย ชื่อ หรือ ตรา กับการสร้างคุณค่าทางการตลาด
  7. ผู้นำ : คนที่มีภาวะผู้นำกับผู้นำที่ยกระดับองค์กร

http://www.thaiall.com/facebook/

มีโอกาสใช้การวิพากษ์ผลงานวิเคราะห์ด้วยหมวกหกใบแทนการนำเสนอแบบทางเดียว

หมวกหกใบ
หมวกหกใบ

นักศึกษาผู้ใหญ่ต้องกล้า และไม่กลัว
กล้าวิพากษ์อย่างตรงไปตรงมา ไม่กลัวเพื่อนเสียใจ เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้
ใคร ๆ เรียกว่า การคิดเชิงวิพากษ์ (Critical Thinking)
เป็นการติเพื่อก่อ อย่างกัลยาณมิตร

30 ส.ค.57 มีโอกาสพบนักศึกษาที่เรียนในระดับสูงสุดเป็นชั่วโมงแรก
โดยเรียนปรับพื้นฐานเรื่อง เทคโนโลยีและการศึกษาค้นคว้า
จึงชวนให้พวกเขาเรียนรู้กันและกันผ่านคำถาม Who am i?
และผมก็ได้เรียนรู้ด้วยว่านักศึกษากลุ่มนี้มีความพร้อมด้าน intelligence
เพื่อให้นักศึกษาพูดคุยกัน จึงมีกิจกรรมให้ได้พูดคุยกัน
คือ หมวกหกใบ กับประเด็น “การศึกษาระดับปริญญาเอก”
แล้วเสนอว่าน่าจะใช้ mindmap ในการนำเสนอประเด็น
เมื่องานเสร็จแล้ว ผมได้เปลี่ยนแผน
จากที่จะให้ผู้เขียน diagram ได้ออกมานำเสนอ แล้วเพื่อนฟัง
เป็นการให้เพื่อนร่วมชั้นวิพากษ์ ถึงการสื่อสารผ่านภาพเหล่านั้น
เพราะการวิพากษ์ และถูกวิพากษ์บ่อย ๆ จำเป็นต่อการศึกษาระดับนี้

http://www.thaiall.com/blog/admin/4249/

สรุปความคิดเห็นของนักศึกษา ได้ดังนี้
1. การเปลี่ยนแผนของอาจารย์ ทำให้ diagram ที่ได้ไม่ตรงกับแผนใหม่
2. บาง diagram สื่อสารได้ไม่ชัด ตัวอักษรเล็ก และเข้าใจยาก
3. บางกลุ่มเลือกเปลี่ยนแนวการเขียน mindmap
เพราะข้อมูลต้องนำเสนอเป็น sequencial ที่มีการรวมข้อมูลไปยังหมวกน้ำเงิน
4. บางทีหมวกหกใบ ไม่จำเป็นต้องมีหมวกน้ำเงินเป็นใบสุดท้าย
อาจมีหมวก innovation ที่มีการต่อยอดตามหลักของคำก็ได้
5. ในภาพต้นแบบใช้คำว่า innovation แต่ถ้าใช้คำว่า imagination จะไม่ยึดติดกับคำ
และได้ความหมายกว้างกว่าคำว่า innovation
6. ในทีมมีสมาชิกที่ติดภารกิจ อาจทำให้ผลงานออกมาได้ไม่ดีเท่าที่ควร
7. พื้นที่เขียนน้อยไป เวลาน้อยไป การเขียนในพื้นที่จำกัด อาจสื่อได้ไม่ดีพอ
8. ศาสตร์ทาง Ed.D. น่าจะชำนาญในการนำเสนอแบบนี้ดีกว่า D.P.A.

สรุปว่าทั้งหมดเป็นผลการชวนแลกเปลี่ยนเรียนรู้
เพราะนักศึกษาทุกคนมีคุณวุฒิสูงและผ่านปริญญาสองใบมาหลายคน
หน้าที่การงานก็ระดับสูงทุกคน
จึงพร้อมกับการแลกเปลี่ยนเชิงวิพากษ์ทั้งในฐานะฝ่ายผู้ฟัง และผู้นำเสนอ

https://www.facebook.com/media/set/?set=oa.365817710235720

มีคลิ๊ปที่ชวนนักศึกษาเปิดชม 2 คลิ๊ปคือ Derek และ 212

หัวหน้าเล่าเรื่องของ 212 องศาฟาเรนไฮต์ จึงเล่าให้นักศึกษาฟังว่า
ความแตกต่างของความพยายามที่บรรลุผล
กับความพยายามที่ไม่บรรลุผล ระหว่าง hot กับ biol
น้ำที่ร้อน 211 องศา ก็เป็นเพียงน้ำร้อน แต่น้ำ 212 องศา เป็นน้ำเดือด
http://www.youtube.com/watch?v=WDgKdjf7M4I

หัวหน้าเล่าเรื่องของ Derek Redmond จึงเล่าให้นักศึกษาฟังว่า
เขาเป็นเต็งหนึ่งในการแข่งขันครั้งนี้
นักวิ่งที่เข้าลู่คนสุดท้าย แต่คนทั้งสนามต่างตบมือให้
ในความไม่ยอมแพ้ เพื่อไปให้ถึงเส้นชัย
เป็นหนึ่งใน incridible olympic sotry
เล่าในงานปฐมนิเทศนักศึกษาใหม่ ปีการศึกษา 2557
http://www.youtube.com/watch?v=t2G8KVzTwfw