iqa

แกะบันทึกดอกเตอร์มาเป็นบทเรียน ในประเด็นการประชุมกรรมการหลักสูตร

7 ตัวบ่งชี้ระบบ
7 ตัวบ่งชี้ระบบ

ดอกเตอร์ที่เป็นข่าวเขียนบันทึกไว้หลายหน้า อ่านแล้วก็ทำให้ตระหนัก
มีหัวข้อหนึ่งเกี่ยวกับเรื่อง การประชุมกรรมการหลักสูตรมีเรื่องต้องพิจารณา
ซึ่งมีประเด็นที่ท่านห่วง พอสรุปได้ดังนี้
– กำหนดแผนการศึกษาที่เข้าใหม่แต่ละเทอม [3+4]
– จัดตารางสอนของนักศึกษาใหม่ในเทอมแรก [3+4]
– การอนุมัติหัวข้อวิทยานิพนธ์/การค้นคว้าอิสระ [3.2]
– ทบทวนการจัดการเรียนการสอนที่ผ่านมา [5.3]

สำหรับเลขที่ต่อท้ายประเด็นข้างต้น มีความหมายดังนี้
เลข 3+4 สอดรับกับ องค์ประกอบนักศึกษา และอาจารย์
เลข 3.2 สอดรับกับตัวบ่งชี้ การส่งเสริมและพัฒนานักศึกษา
เลข 5.3 สอดรับกับตัวบ่งชี้ การประเมินผู้เรียน รวมถึงกำกับการทำ มคอ.7
แล้วก็ไปอ่านเรื่องที่ รศ.ดร.วีรชัย พุทธวงศ์ เลขาธิการศูนย์ประสานงานบุคลากรในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ (CHES)
ท่านได้วิเคราะห์ว่า “ต้นตอแท้จริงมาจากระบบการบริหารจัดการที่ขาดหลักธรรมาภิบาล”
http://www.posttoday.com/analysis/interview/433596
แล้ว หลักธรรมมาภิบาล มี 10 ข้อ
เป็นตัวบ่งชี้ระดับสถาบัน ตัวบ่งชี้ 5.1 เกณฑ์ที่ 4
เป็นตัวบ่งชี้ระดับคณะ ตัวบ่งชี้ 5.1 เกณฑ์ที่ 4
ซึ่งหลักธรรมาภิบาลอยู่ในคู่มือประกัน หน้า 40 และยากทุกข้อเลย
http://www.thaiall.com/blog/burin/7452/

งานประชุมที่ท่านพูดถึงถ้าไม่ทำก็ไม่ได้คะแนน
การได้คะแนนก็ไม่ใช่เรื่องง่าย ๆ
การให้คะแนนตามเกณฑ์ระบบมี 5 ระดับคะแนน

คะแนน 1 มีระบบ มีกลไก
คะแนน 2 มีการนำระบบกลไกไปสู่การปฏิบัติ/ดำเนินการ มีการประเมินกระบวนการ
คะแนน 3 มีการปรับปรุง/พัฒนา/กระบวนการจากผลการประเมิน
คะแนน 4 มีผลจากการปรับปรุงเห็นชัดเจนเป็นรูปธรรม
คะแนน 5 มีแนวทางปฏิบัติที่ดี โดยมีหลักฐานเชิงประจักษ์ยืนยัน
และกรรมการผู้ตรวจประเมินสามารถให้เหตุผลอธิบายการเป็นแนวปฏิบัติที่ดีได้ชัดเจน

หากจะทำเป็นระบบกันจริง ๆ ก็มีตัวบ่งชี้ระบบ ซึ่ง สกอ. คิดขึ้นมา
ประเด็นที่ต้องมีระบบ ในทั้งหมด 7 ตัวบ่งชี้จาก 13 ตัวบ่งชี้ของหลักสูตร

3.1 การรับนักศึกษา และการเตรียมก่อนเข้าศึกษา
3.2 การควบคุมดูแลให้คำปรึกษา และพัฒนาศักยภาพศตวรรษที่ 21
4.1 ระบบการรับและแต่งตั้งอาจารย์ประจำหลักสูตร
ระบบการบริหารอาจารย์ และระบบการส่งเสริมและพัฒนาอาจารย์
5.1 ระบบควบคุมการออกแบบ และสาระรายวิชาในหลักสูตรให้ทันสมัย
5.2 ระบบผู้สอน กำกับ ติดตาม การบูรณาการพันธกิจ
การควบคุมหัวข้อ อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ และการช่วยเหลือตีพิมพ์
5.3 ระบบการประเมินผลการเรียนรู้ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิฯ
6.1 ระบบการดำเนินงานของภาควิชา/คณะ/สถาบันโดยมีส่วนร่วมของอาจารย์ประจำหลักสูตรเพื่อให้มีสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้

http://www.thaiall.com/iqa/

นั่งคุยกับเพื่อนเรื่อง ร่างคู่มือประกันฯ ฉบับปี 2557 มี 2 version

ร่างคู่มือประกันฯ ฉบับปี 2557 มี 2 version
ร่างคู่มือประกันฯ ฉบับปี 2557 มี 2 version

30 ก.ย.57 นั่งคุยกับเพื่อน
เรื่องตัวบ่งชี้ทั้ง 3 ระดับในร่างคู่มือประกันฯ ฉบับปี 2557
ซึ่งเป็นฉบับนี้ห้ามใช้อ้างอิงนะครับ แต่ใช้นั่งคุยกัน เพื่อเตรียมความพร้อมได้
เพราะต้องดำเนินการตามเอกสารนี้ตั้งแต่สิงหาคม 2557 แต่เกณฑ์ทางการยังไม่ออก
จะรอให้ออก ก็เชื่อแน่ว่าไม่ทันการ จะไปอ้างกับใครว่าเกณฑ์ออกช้าก็คงไม่ได้
เพราะไม่มีใครฟัง
แล้วพบว่า สกอ. ปรับปรุงคู่มือบางหน้า ซึ่งฉบับเดิมที่ผมมีจะมี 50 หน้า
แต่ฉบับใหม่มี 52 หน้า โดยเพิ่มตัวบ่งชี้ทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
เข้าไปในตัวบ่งชี้ระดับคณะวิชา ทำให้เพิ่มจาก 8 ตัว เป็น 9 ตัว
หา download ฉบับได้จาก
http://www.mua.go.th/users/bhes/
ชื่อลิงค์ ร่างคู่มือการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษาระดับอุดมศึกษา พ.ศ.2557 ฉบับประชาพิจารณ์
แต่ถ้าเป็นรุ่นที่ผม up เข้าไปใน scribd.com
จะเพิ่มเอกสารแนบคือ
หลักเกณฑ์การพิจารณาวารสารทางวิชาการ สำหรับการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ
ที่อยู่ในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 130 ตอนพิเศษ 127 ง หน้า 14 วันที่ 1 ตุลาคม 2556

แบ่งปันบทเรียนที่ได้ร่วมวิพากษ์ คู่มือการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา 2557

ประชุมเพื่อวิพากษ์  (ร่าง) คู่มือการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา
ประชุมเพื่อวิพากษ์
(ร่าง) คู่มือการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา

แบ่งปันสิ่งที่ได้เรียนรู้จากการประชุมเพื่อวิพากษ์
(ร่าง) คู่มือการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา
ระดับอุดมศึกษา พ.ศ.2557
เมื่อวันจันทร์ที่ 26 พฤษภาคม 2557 ณ โรงแรมอิมพีเรียลแม่ปิง จ.เชียงใหม่

จากการนำเสนอร่างคู่มือให้วิพากษ์ แสดงความคิดเห็น ก่อนนำข้อเสนอแนะจาก 9 เครือข่าย
ไปพิจารณาปรับเป็นเล่มสมบูรณ์นั้น เริ่มวิพากษ์โดย รศ.ศรีสมรัก อินทุจันทร์ยง
ชี้แจงตัวบ่งชี้ว่ามีการแบ่งเป็น 3 ระดับการประกันคุณภาพการศึกษา
คือ หลักสูตร คณะวิชา และมหาวิทยาลัย
แล้วแต่ละระดับยังแบ่งออกเป็นเกณฑ์ของระดับการศึกษา
คือ ปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอก
ซึ่งกระผมสนใจส่วนของปริญญาตรีเป็นหลัก
พบว่า
ตัวบ่งชี้ 1.1 – 1.14 เป็นของระดับหลักสูตร
ตัวบ่งชี้ 2.1 – 2.8 เป็นของระดับคณะวิชา
ตัวบ่งชี้ 3.1 – 3.10 เป็นของระดับมหาวิทยาลัย

หลังการชี้แจงมีการแบ่งกลุ่มของหลักสูตร กับ กลุ่มคณะวิชาและสถาบัน
เพื่อรับข้อเสนอแนะจากที่ประชุม เพื่อนำเสนอต่อคณะกรรมการจัดทำคู่มือ เป็นลำดับต่อไป
โดยมี รศ.อุษณีย์ คำประกอบ เป็นผู้นำกลุ่มคณะวิชาและสถาบัน
แล้วกลุ่มหลักสูตรมี ศ.ดร.วัชระ กสิณฤกษ์ และนพ.ณัฐพงษ์ อัครผล (คุณหมอต้น) ร่วมกันดำเนินการ

สำหรับรายละเอียดของตัวบ่งชี้ ปี 2557 นั้น พบว่า

การประเมินในระดับคณะ
ตัวบ่งชี้ 1.1 ถูกเรียกว่า ตัวบ่งชี้มาตรฐาน หากไม่ผ่านเกณฑ์ใดเกณฑ์หนึ่ง ให้ผลประเมินเป็น 0 และไม่ต้องประเมินตัวบ่งชี้พัฒนาอีก 13 ตัวบ่งชี้ ซึ่งตัวบ่งชี้มาตรฐานมีเกณฑ์ระดับปริญญาตรี ดังนี้
1.จำนวนอาจารย์ประจำหลักสูตร ไม่น้อยกว่า 5 คน และเป็นเกิน 1 หลักสูตรไม่ได้
2.คุณสมบัติของอาจารย์ประจำหลักสูตร มีวุฒิระดับปริญญาโท หรือสัมพันธ์กับสาขาวิชาที่เปิดสอน
3.คุณสมบัติของอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร มีวุฒิไม่ต่ำกว่าปริญญาโท หรือตำแหน่ง ผศ.อย่างน้อย 2 คน
4.มีการปรับปรุงหลักสูตรไม่เกินรอบระยะเวลาที่กำหนด
5.การดำเนินงานให้เป็นไปตามตัวบ่งชี้ผลการดำเนินงานเพื่อการประกันคุณภาพหลักสูตรและการเรียนการสอนตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ โดยต้องผ่านตัวบ่งชี้ TQF ข้อ 1 – 5 ทุกตัว

ตัวบ่งชี้ 1.2 ร้อยละของอาจารย์ประจำสังกัดหลักสูตรที่มีคุณวุฒิปริญญาเอก
ตัวบ่งชี้ 1.3 ร้อยละของอาจารย์ประจำสังกัดหลักสูตรที่ดำรงตำแหน่งทางวิชาการ
ตัวบ่งชี้ 1.4 ผลงานวิชาการของอาจารย์ประจำสังกัดหลักสูตร
ตัวบ่งชี้ 1.5 จำนวนบทความของอาจารย์ประจำหลักสูตรปริญญาเอกที่ได้รับการอ้างอิง
ในวารสารระดับชาติหรือนานาชาติต่อจำนวนอาจารย์ประจำหลักสูตร
ตัวบ่งชี้ 1.6 สัดส่วนจำนวนนักศึกษาเต็มเวลาเทียบเท่าต่อจำนวนอาจารย์ประจำสังกัดหลักสูตร
ตัวบ่งชี้ 1.7 กระบวนการจัดการเรียนรู้และการบูรณาการกับงานวิจัย
การบริการวิชาการ การทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม
ตัวบ่งชี้ 1.8 การบริหารหลักสูตร
ตัวบ่งชี้ 1.9 การประเมินผลผู้เรียน
ตัวบ่งชี้ 1.10 การดูแล ช่วยเหลือ และสนับสนุนนักศึกษา
ตัวบ่งชี้ 1.11 คุณภาพของผู้สำเร็จการศึกษาตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ
(ป.ตรี โท เอก) (ประเมินจากผู้ใช้บัณฑิต)
ตัวบ่งชี้ 1.12 ผลงานของผู้สำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาโท ที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่
ตัวบ่งชี้ 1.13 ผลงานของผู้สำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาเอก ที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่
ตัวบ่งชี้ 1.14 ร้อยละของบัณฑิตปริญญาตรีที่ได้งานทำหรือประกอบอาชีพอิสระภายใน 1 ปี

การประเมินในระดับคณะ
ประกอบด้วยผลการดำเนินงานระดับหลักสูตร และเพิ่มเติมตัวบ่งชี้ที่ดำเนินการในระดับคณะ จำนวนรวม 8 ตัวบ่งชี้
+ การผลิตบัณฑิต มี 3 ตัวบ่งชี้
ตัวบ่งชี้ 2.1 ผลการประเมินระดับหลักสูตร
(ค่าเฉลี่ยของระดับคุณภาพของทุกหลักสูตรที่คณะรับผิดชอบ)
ตัวบ่งชี้ 2.2 การบริการนักศึกษา (ถ้ามี)
ตัวบ่งชี้ 2.3 กิจกรรมนักศึกษา (ถ้ามี)
+ การวิจัย มี 3 ตัวบ่งชี้
ตัวบ่งชี้ 2.4 ระบบและกลไกการบริหารและพัฒนางานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ (ถ้ามี)
ตัวบ่งชี้ 2.5 เงินสนับสนุนงานวิจัยและงานสร้างสรรค์ต่อจำนวนอาจารย์ประจำและนักวิจัยประจำ
ตัวบ่งชี้ 2.6 ผลงานวิชาการของอาจารย์ประจำ และนักวิจัยประจำ
+ การบริการวิชาการ มี 1 ตัวบ่งชี้
ตัวบ่งชี้ 2.7 การบริการวิชาการแก่สังคม
+ การบริหารจัดการ มี 1 ตัวบ่งชี้
ตัวบ่งชี้ 2.8 การบริหารของคณะเพื่อการกำกับติดตามผลลัพธ์

การประเมินในระดับสถาบัน
ประกอบด้วยผลการดำเนินงานระดับหลักสูตร ระดับคณะ และเพิ่มเติมตัวบ่งชี้ที่ดำเนินการในระดับสถาบัน จำนวนรวม 10 ตัวบ่งชี้
+ การผลิตบัณฑิต มี 3 ตัวบ่งชี้
3.1 ผลการประเมินระดับหลักสูตร
(ค่าเฉลี่ยของระดับคุณภาพของทุกหลักสูตรที่คณะรับผิดชอบ)
3.2 การบริการนักศึกษา
3.2 กิจกรรมนักศึกษา
+ การวิจัย มี 3 ตัวบ่งชี้
3.4 ระบบและกลไกการบริหารและพัฒนางานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์
3.5 เงินสนับสนุนงานวิจัยและงานสร้างสรรค์ต่อจำนวนอาจารย์ประจำและนักวิจัยประจำ
3.6 ผลงานวิชาการของอาจารย์ประจำและนักวิจัยประจำ
+ การบริการวิชาการ มี 1 ตัวบ่งชี้
3.7 การบริการวิชาการแก่สังคมเพื่อสร้างความเข้มแข็งแก่ชุมชนและสังคม
+ การทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม มี 1 ตัวบ่งชี้
3.8 ระบบและกลไกการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม
+ การบริหารจัดการ มี 2 ตัวบ่งชี้
3.9 การบริหารของสถาบันเพื่อการกำกับติดตามผลลัพธ์ตามพันธกิจและกลุ่มสถาบัน
3.10 ผลการบริหารงานของคณะ
(คะแนนเฉลี่ยของผลการประเมินระดับคุณทุกคณะ)
http://thainame.net/edu/?p=3754
http://www.scribd.com/doc/221987061/

สำหรับตัวบ่งชี้ผลการดำเนินงานตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา ที่อ้างอิงในเกณฑ์ที่ 12 ของตัวบ่งชี้ 1.1 ว่าต้องผ่าน 1 – 5 ตัวบ่งชี้แรกนั้น มีตัวบ่งชี้ดังนี้
1.อาจารย์ประจำหลักสูตรอย่างน้อยร้อยละ 80 มีส่วนร่วมในการประชุมเพื่อวางแผน ติดตาม และทบทวนการดำเนินงานหลักสูตร
2.มีรายละเอียดของหลักสูตร ตามแบบ มคอ.2 ที่สอดคล้องกับกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ หรือมาตรฐานคุณวุฒิสาขา/สาขาวิชา (ถ้ามี)
3.มีรายละเอียดของรายวิชา และรายละเอียดของประสบการณ์ภาคสนาม (ถ้ามี) ตามแบบ มคอ.3 และ มคอ.4 อย่างน้อยก่อนการเปิดสอนในแต่ละภาคการศึกษาให้ครบทุกรายวิชา
4.การจัดทำรายงานผลการดำเนินการของรายวิชา และรายงานผลการดำเนินการของประสบการณ์ภาคสนาม (ถ้ามี) ตามแบบ มคอ.5 และ มคอ.6 ภายใน 30 วัน หลังสิ้นสุดภาคการศึกษาที่เปิดสอนให้ครบทุกรายวิชา
5.จัดทำรายงานผลการดำเนินการของหลักสูตร ตามแบบ มคอ.7 ภายใน 60 วัน หลังสิ้นสุดปีการศึกษา

ซึ่งเกณฑ์ทั้ง 5 ข้อจากทั้งหมด 12 ข้อนี้ อยู่ในคู่มือการประกันคุณภาพการศึกษา ของสกอ.
http://www.arc.cmu.ac.th/newmis/qa/manual/intro_manual_2553.pdf หน้า 160

การประชุมครั้งนี้มีบุคลากรของมหาวิทยาลัยเข้าร่วมทั้งสิ้น 11 คน คือ 
1. คุณภูษณิศา              เนตรรัศมี
2. อ.อัศนีย์                  ณ น่าน
3. อ.ศรีเพชร                สร้อยชื่อ
4. อ.อาภาพร                ยกโต
5. อ.ฉัตรชัย                  หมื่นก้อนแก้ว
6. อ.คนึงนิจ                  ติกะมาตรย์
7. อ.ศศิวิมล                  แรงสิงห์
8. อ.เกศริน                   อินเพลา
9. ผศ.บุรินทร์              รุจจนพันธุ์
10. อ.ปฏิญญา          ธรรมเมือง
11. อ.ดร.วันชาติ      นภาศรี