knowledge

วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ ในศตวรรษที่ 21

essential learning
essential learning

วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ ในศตวรรษที่ 21 โดย
ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช ประธานกรรมการมูลนิธิสถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้เพื่อสังคม
นพ.ประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์ เลขาธิการมูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์

หลังฟังแล้วก็นำมาเล่าสู่กันฟัง
ว่า นอกจากความรู้ในสาระวิชาหลัก มีสิ่งที่ต้องรู้ยังมีอีกมากมาย
แต่ที่ชอบในแนวคิดนี้อย่างมาก คือ การมีทักษะสำคัญ 3 ด้าน
1. ทักษะชีวิตและการทำงาน คือ การปรับตัว รับผิดชอบ และเป็นผู้นำ
2. ทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม คือ มีวิจารณญาณ แก้ปัญหาเป็น และสื่อสารได้
3. ทักษะด้านสารสนเทศ สื่อ และเทคโนโลยี คือ ประเมินสารสนเทศได้ ใช้ไอทีเป็น
ทักษะที่ 3 ต้องชวนดูซีรี่เรื่อง CSI : Cyber ตอบได้ครบ (พึ่งดูมาครับ ยังไม่จบเลย)


ในอดีต
รับความรู้เยอะ ๆ แล้วก็ท่องเยอะ ๆ เคยใช้ได้

แต่ยุคสมัยนี้
มอบความรู้ตรง ๆ ใช้ไม่ได้ผล
เค้าเน้นให้สอนเรื่องสำคัญ (Essential)
แล้วนำความรู้ไปต่อยอดเอง ความรู้จะงอกขึ้นมา (Teach less, Learn more)
เดี๋ยวนี้ต้องเปลี่ยนเป้าหมายจาก “ความรู้ (Knowledge)” ไปสู่ “ทักษะ (Skill)
เปลี่ยนจากครูเป็นหลัก มาเอานักเรียนเป็นหลัก (Child Center)
เรียนด้วยการปฏิบัติจริง เรียก Project Base Learning
เป็นการฝึกให้เด็กทำโครงงาน แล้วครูเป็นโค้ช ช่วยเหลืออยู่ข้าง ๆ
แล้วได้ฝึกนำเสนอ ทำงานเป็นทีม แลกเปลี่ยนเพื่อต่อยอดเป็นความรู้ของตนเอง
ครูต้องเป็นครูฝึก (Coach) ที่ฝึกให้นักเรียนทำงาน และบรรลุ
แล้วนักเรียนเกิดแรงบันดาลใจ (Inspiration)
ครูต้องมีทักษะในการสร้างแรงบันดาลใจ มีพลัง มีไฟ มีชีวิตชีวา ไม่มีกรอบ
การเรียนยุคใหม่ไม่สนใจคำตอบ (Answer) แต่สนใจกระบวนการหาคำตอบ (Process)
โจทย์ข้อหนึ่งมี คำตอบมากมาย การให้เด็กร่วมกันหาคำตอบ (A question has many answers.)
เราจึงสนใจกระบวนการที่เด็กทำงานร่วมกัน (Team work)
นักเรียนทุกคนมีศักยภาพที่จะพัฒนาตนเองไปเรื่อย ๆ (Development)
การบ้านมีเพื่อให้เด็กมีความรู้ (Increase experience by homework)
การบ้านสมัยใหม่ คือ การบ้านทั้งปี เรียนเป็นทีม ปลายปีแสดงละคร (Drama)
สมัยนี้ความรู้มหาศาล จนไม่รู้จะสอนอะไรให้เด็ก
จึงต้องมี PLC (Professional Learning Community)
เพื่อครูรวมตัวกันเรียนรู้การออกแบบการสอนที่เหมาะสมของแต่ละที่ เป็น “ชุดการเรียนรู้ครู
เป็นชุมชนการเรียนรู้ ให้ครูมีทักษะการเรียนรู้ เพื่อให้เด็กมีทักษะที่จำเป็นสำหรับศตวรรณที่ 21
PLC ไม่ใช่ทำครั้งเดียว แต่ต้องทำอย่างต่อเนื่อง จะได้ผลกว่า

เรื่องของ ทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21
อยู่ใน คู่มือการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับอุดมศึกษา พ.ศ.2557
หน้า 69
โดย สกอ. หวังว่าหลักสูตรจะจัดให้มีการสร้างโอกาสการเรียนรู้
ที่ส่งเสริมการพัฒนาศักยภาพนักศึกษา และทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21
ให้ได้มาตรฐานสากล

หลักการเขียนโครงการวิจัยเพื่อชุมชนท้องถิ่น

โครงการการจัดการความรู้ (Knowledge Management)
เรื่อง หลักการเขียนโครงการวิจัยเพื่อชุมชนท้องถิ่น
เพื่อการรับทุนสนับสนุนจากหน่วยงานภายนอก
ณ ห้อง 1203 อาคารบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเนชั่น
วันที่ 25 มกราคม 2556 เวลา 9.00-11.00น

ดร.สุจิรา หาผล
กล่าวเปิดงาน ชี้แจงที่มาที่ไป กระบวนการ และวิธีการในการจัดการความรู้ครั้งนี้

อ.วราภรณ์ เรืองยศ
เป็นวิทยากรบรรยายให้ความรู้ตาม Powerpoint
ในหัวข้อ “หลักการเขียนโครงร่างงานวิจัย”
ซึ่งส่วนประกอบของโครงร่างงานวิจัย ประกอบด้วย
1. ชื่อเรื่อง
2. บทคัดย่อ
3. ความสำคัญและที่มาของปัญหาวิจัย
4. วัตถุประสงค์
5. แนวคิด ทฤษฎี และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
6. กรอบแนวคิดการวิจัย
7. คำนิยามศัพท์เฉพาะ
8. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
9. สมมติฐาน
10. ขอบเขตการวิจัย
11. ระเบียบวิธีวิจัย
12. ข้อตกลงเบื้องต้น
13. เอกสารอ้างอิง

เปิดเวทีแลกเปลี่ยนเรื่อง “ชื่อเรื่อง”
อ.วราภรณ์ เล่าว่า มีประกาศทุนวิจัย 2 เรื่องมานำเสนอ
– ศูนย์ประสานการศึกษานโยบายที่ดิน ปี 2556
– การแก้ไขปัญหาและผลกระทบที่เกิดขึ้นเพื่อคุ้มครองสิทธิของชุมชนตามรัฐธรรมนูญ มาตรา ๖๗ วรรคสอง

อ.วราภรณ์ เรืองยศ
– เปรียบเทียบเรื่องทุนสร้างบ้าน กับทุนวิจัย ที่ต้องสมเหตุ สมผล
– เล่าเรื่องทุนวิจัยเกี่ยวกับการท่องเที่ยว ที่ขอไป 10 กว่าล้าน แต่ถูกตัดเหลือ 3 ล้านเศษ

อ.วิเชพ ใจบุญ
เล่าว่าชื่อที่เคยตั้งมามีกระบวนการอย่างไร
การใช้ต้นไม้ชุมชนในการเก็บข้อมูล
ต้องลงไปคลุกคลีกับชาวบ้าน ทั้งแจ้ห่ม แม่ทะ และนิคมพัฒนา

อ.ดร.สุจิรา หาผล
บอกว่ากว่าจะได้หัวข้อมา ต้องใช้เวลามาก
หัวข้อต้องตรงกับผู้ให้ทุน และความต้องการของชุมชน

อ.ดร.อติชาต หาญชาญชัย
การเขียนบทนำ และวรรณกรรม
ต้องให้ความสำคัญกับที่มาที่ไป
แนวคิด ทฤษฎี และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้งานวิจัยมีความน่าเชื่อถือ และตั้งอยู่บนหลักการที่เกี่ยวข้อง
ต้องค้นมาก ต้องอ่านมาก และอ้างอิงให้ตรง

อ.ปวินท์รัตน์ แซ่ตั้ง
http://www.prawinrat.com/
ได้ทุนจากเครือข่ายภาคเหนือตอนบน
เกี่ยวกับผ้าทอน้ำแร่ เมืองปาน
แลกเปลี่ยนว่างานวิจัยต้องใช้เวลา ทำให้ครบทุกเรื่องที่สามารถทำได้
ต้องลงมือจริง ทุ่มเท และทำให้ครบวงจร
มีทั้งภาพ คลิ๊ป เว็บไซต์ ที่เกิดในพื้นที่จริง ได้ผลงาน และนำไปขายได้จริง

อ.ดร.สุจิรา  หาผล
เล่าว่าการศึกษาตำนาน เรื่องเล่าของอำเภอต่าง ๆ มีกระบวนการมากมาย
ทั้งเชิงคุณภาพ วิพากษ์โดยนักวิชาการ ใช้แบบสำรวจ และวิพากษ์ผลโดยชุมชน
การเลือกคน เลือกปราชญ์ชาวบ้านเป็นเรื่องสำคัญ และต้องเขียนเรื่องของแต่ละอำเภอถึง 13 เล่ม
หลังได้รับทุนก็จะมีการติดตามจากผู้ให้ทุน และมีข้อเสนอแนะที่ทำให้แผนอาจต้องถูกปรับเปลี่ยน

อ.โอปอล์ รังสิมันตุชาติ
เล่าว่าการขอทุนวิจัยสำหรับงานวิจัยระดับปริญญาโท
มีแหล่งทุนสนับสนุนจาก สกว.อย่างต่อเนื่อง ซึ่งตนได้รับจากเชียงใหม่
และมีกระบวนการคล้ายกับทุนวิจัยทั่วไป

! http://blog.nation.ac.th/?p=2438