loan

สาขาวิชาที่เป็นความต้องการ

ความแตกต่างของ กยศ และกรอ
ความแตกต่างของ กยศ และกรอ

http://images.slideplayer.in.th/8/2048740/slides/slide_5.jpg

ในระดับประเทศ เขามีข้อมูลว่าสาขาวิชาไหนเรียนแล้ว
น่าจะมีตังไปใช้หนี้กองทุนกู้ยืมเพื่อการศึกษา
มีให้เลือกเพียบเลย มีเยอะเป็นหางว่าว จำนวน 36 หน้า
พบเรื่องนี้จากการค้นคำว่า “สาขาวิชาที่เป็นความต้องการ”
สำหรับประกาศปีการศึกษา ๒๕๕๗
http://www.studentloan.or.th/kcfinder/upload/files/20140625151525_6E64BD05-D7F8-950F-EF77-F38A8C55D223.pdf

และพบว่า มีประกาศเรื่องคุณสมบัติ ของผู้ขอทุนกรอ.
ข้อ ๔ วงเล็บ ๒ ระบุว่าต้องเป็นสาขาวิชาที่อยู่ในประกาศแนบท้าย
http://www.studentloan.or.th/kcfinder/upload/files/20140625151009_9A89F51B-6E3D-6219-0D79-4C5871566548.pdf
พบเรื่องนี้จากการค้นคำว่า “สาขาวิชาขาดแคลน กรอ.”

กยศ.จ่อฟ้องนักเรียน 9 หมื่นราย (ข่าว ธ.ค.2550)

studentloan
studentloan

นายธาดา มาร์ติน ผู้จัดการกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) เปิดเผยว่า กยศ.ได้หารือร่วมกับสำนักงานศาลยุติธรรมเพื่อขอให้ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทเด็กนักเรียนนักศึกษาที่กู้ยืมเงินกยศ.ก่อนถูกดำเนินคดี เพราะในปี 2551 นี้ กยศ. อาจต้องดำเนินคดีตามกฎหมายกับเด็กนักเรียนนักศึกษาประมาณ 90,000 ราย เนื่องจากมีหนี้ค้างชำระ กยศ.เกิน 4 งวดขึ้นไป โดยเป็นหนี้ที่กำหนดชำระหนี้ในรุ่นปี 42-46

http://news.sanook.com/economic/economic_228616.php
http://www.decha.com/main/showTopic.php?id=1374
http://www.studentloan.or.th/audit/forum/viewthread.php?forum_id=1&thread_id=4353

ทั้งนี้ กยศ.ได้ขอให้ศาลยุติธรรมทำการไกล่เกลี่ยกับผู้ถูกฟ้อง โดยนัดเจรจากับผู้กู้ยืมที่ยังค้างชำระหนี้ เพื่อให้มาผ่อนชำระหนี้คืน กยศ.ใน 2 กรณี คือทำคำรับรองขอชำระหนี้ที่ค้างชำระและทำสัญญาประนีประนอมยอมความนอกศาล หากไม่ดำเนินการก็จะดำเนินคดีตามกฎหมายต่อไป ซึ่งกยศ.ได้จัดโครงการไกล่เกลี่ยฯ ขึ้น ใน 9 จังหวัด คือ กรุงเทพฯ, เชียงใหม่, ศรีสะเกษ, บุรีรัมย์, ร้อย เอ็ด, ขอนแก่น, สุราษฎร์ธานี, นครศรีธรรมราช และสงขลา ขึ้นในวันที่ 8 ม.ค.-8 มี.ค.51 นี้

นายธาดา กล่าวว่า การฟ้องร้องเด็กนักเรียนนักศึกษาครั้งนี้ไม่ได้หมายความว่า กยศ.จะเอาผิดกับผู้กู้ยืมเงินแต่อย่างใด แต่เป็นสัญญาที่กยศ.ต้องดำเนินการ เพราะถือว่าเด็กนักเรียนผิดนัดชำระหนี้เช่นเดียวกับผู้กู้เงินจากสถาบันการเงินทั่วไป เพราะหากไม่กู้ยืม กยศ.ก็จะมีความผิดตามระเบียบเช่นกัน และการเปิดโครงการไกล่เกลี่ยครั้งนี้จะทำให้เด็กนักเรียนนักศึกษามีโอกาสมาติดต่อเพื่อชำระหนี้ที่ค้างอยู่ รวมทั้งช่วยลดปริมาณคดีที่จะฟ้องคดีในศาลและลดภาระค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดีกับผู้กู้ยืมและผู้ค้ำประกัน ที่สำคัญยังช่วยเผยแพร่ความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับ กยศ. และสร้างจิตสำนึกในการชำระหนี้ ตลอดจนขั้นตอนการดำเนินการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทฯ

กยศ.ต้องการให้เด็กนักเรียนนักศึกษาที่กู้ยืมเงินมาร่วมโครงการทุกรายเพราะจะได้ไม่ถูกดำเนินคดี ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย ทั้งค่าไกล่เกลี่ยก่อนฟ้อง ค่าธรรมเนียมศาลหรือค่าทนายความ ที่สำคัญผู้กู้ยืมเงินจะได้รับโอกาสมากขึ้นในการผ่อนผันการชำระหนี้ และเมื่อไกล่ เกลี่ยข้อพิพาทเสร็จแล้วยังทราบผลทันที โดยไม่ต้องเสียเวลามาศาลเพื่อฟังการพิจารณาคดี รวมทั้งยังมีส่วนร่วมในการตัดสินใจหาวิธีชำระหนี้ที่เหมาะสมกับตัวเองอีกด้วย

นอกจากนี้ กยศ.ได้จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการและการอบรมเกี่ยวกับการนำระบบอี-สติวเด้นท์โลน หรือการกู้ยืมเงินผ่านระบบอินเทอร์เน็ต มาใช้ในการกู้ยืมเงินตั้งแต่ปีการศึกษา 2551 เป็นต้นไป โดยจัดขึ้นระหว่างวันที่ 7-31 ม.ค.2551 นี้ เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจให้กับสถานศึกษา นักเรียนนักศึกษาที่จะขอกู้ยืมเงินจาก กยศ.ให้มีความเข้าใจที่ตรงกันและทำให้ได้รับเงินที่กู้ยืมรวดเร็วยิ่งขึ้นด้วย

นายธาดา กล่าวว่า ในปีการศึกษา 50 ต้องยอมรับว่าผู้กู้ยืมเงินจาก กยศ.อาจได้รับเงินล่าช้า เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงนโยบาย แต่กยศ.ได้พยายามหาแนวทางเพื่อให้เด็กนักเรียนนักศึกษาได้รับเงินโดยเร็วที่สุดแล้ว จนล่าสุดธนาคารกรุงไทยได้โอนเงินให้สถานศึกษากว่า 90% แล้ว โดยยืนยันว่าในปีการศึกษาหน้าเป็นต้นไป เมื่อนำระบบอี-สติวเด้นท์โลนเข้ามาใช้แล้วปัญหาทุกอย่างจะหมดไปแน่นอน

ก่อนหน้านีนายธาดา ได้ชี้แจงรายละเอียดเกี่ยวกับเด็กนักเรียนนักศึกษาที่ยังไม่ได้รับเงินกู้จากสถานศึกษา โดยขอให้สำรวจรายชื่อจากสถานศึกษาให้ชัดเจนก่อนว่าได้รับคัดเลือกให้เป็นบุคคลที่ได้รับเงินกู้หรือไม่จากนั้นจึงตรวจสอบไปที่ธนาคารกรุงไทยว่ามีการโอนเงินแล้วหรือไม่ หากมีปัญหาจริง ๆ ก็ขอให้ติดต่อมาที่สำนักงานของ กยศ.ได้

ทั้งนี้ที่ผ่านมาธนาคารกรุงไทย ได้โอนเงินให้จนเกือบครบตามสัญญาที่สถานศึกษาส่งมาให้แล้ว แต่ก็พบว่ายังมีบางส่วนที่ยังไม่ได้รับเงินกู้จาก กยศ.เพราะมีปัญหาเรื่องการขอโควตาเกินงบประมาณที่ กยศ.จัดให้ ซึ่งเรื่องนี้ต้องตรวจสอบรายละเอียดให้ชัดเจนอีกครั้งหนึ่งก่อน.

ข้อมูลตามมาตรฐานข้อมูลอุดมศึกษา

ข้อมูลตามมาตรฐานข้อมูลอุดมศึกษา
ข้อมูลตามมาตรฐานข้อมูลอุดมศึกษา

ประเทศไทยได้จัดทำข้อมูลให้เป็นมาตรฐานมาหลายปีแล้ว แบ่งเป็น 3 ส่วนคือ ข้อมูลด้านนักศึกษา ข้อมูลด้านบุคลากร และข้อมูลด้านหลักสูตร ซึ่งสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษาทุกแห่งต้องส่ง .. ในเวลาต่อมาก็เพิ่มข้อมูลการมีงานทำของบัณฑิต และการเงินอุดมศึกษาของสถาบันอุดมศึกษา  และปีนี้จะนำไปใช้ร่วมกับข้อมูลกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.)

 

 

 

สกอ. จึงจัดประชุมชี้แจง
เรื่อง “การจัดทำข้อมูลตามมาตรฐานข้อมูลอุดมศึกษา ปีการศึกษา ๒๕๕๖
วันพฤหัสบดีที่ 30 พฤษภาคม 2556 เวลา 9.30 – 15.00น. ณ ห้องคอนแวนชั่น A-B ชั้น 1
โรงแรมแอมบาสเดอร์ กรุงเทพฯ

สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา
สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา

เมื่อสกอ. ได้ข้อมูล ก็จะนำไปเผยแพร่สู่สาธารณะ
โดยข้อมูลต้องมีการแปลงให้อยู่ในรูปแบบที่เขากำหนดก่อน
ที่เผยแพร่คือ http://www.info.mua.go.th/information/

ตารางมาตรฐานต่าง ๆ ที่
http://interapp.mua.go.th/NewreferenceTable/

คดีกองทุนเงินกู้ยืมเพื่อการศึกษา

กองทุนเงินกู้ยืมเพื่อการศึกษา
กองทุนเงินกู้ยืมเพื่อการศึกษา

http://www.facebook.com/media/set/?set=a.453918268018597.1073741862.228245437252549

พบข่าว และภาพใน page ของมหาวิทยาลัย เป็นการประชาสัมพันธ์ว่า
นายมาโนช รัตนนาคะ ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลจังหวัดลำปาง เป็นประธานในพิธีเปิดโครงการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทก่อนฟ้องคดีกองทุนเงินกู้ยืมเพื่อการศึกษา ร่วมกับ กองทุนให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา ประจำปีงบประมาณ 2556 เพื่อให้คู่พิพาทได้มีโอกาสเข้ามามีส่วนร่วมในการเจรจาไกล่เกลี่ย และตัดสินใจระงับข้อพิพาทด้วยตนเองก่อนนำคดีเข้าศาล เพื่อลดปริมาณคดีที่จะเข้าสู่กระบวนการพิจารณาของศาล และลดค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดีของคู่พิพาททุกฝ่าย อันเป็นการสร้างความพึงพอใจแก่ลูกหนี้กองทุนให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาและสร้างความสมานฉันท์ให้เกิดขึ้นในสังคม ตลอดจนเป็นการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ระบบการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทให้เป็นที่รู้จักแพร่หลายในหมู่ประชาชนมากยิ่งขึ้น โดยในปีนี้มีจำนวนทั้งสิ้น 2,490 ราย วงเงินกว่าสามร้อยล้านบาท ณ ศาลแขวงลำปาง ในระหว่างวันที่ 25-27 เมษายน 2556
http://www.thairath.co.th/content/edu/339784
http://th.a2-news.com/News/id/123914.0

วันเสาร์ที่ 27 เมษายน พ.ศ.2556

กยศ.แจ้งผู้กู้ค้างชำระเกิน5งวด ไกล่เกลี่ยก่อนฟ้องคดีปี56

ผจก.กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) แจ้งผู้กู้ยืมเพื่อการศึกษา รุ่นปี 2542-2551 ที่ค้างชำระเกิน 5 งวด ไปไกล่เกลี่ยข้อพิพาทเงินกู้ยืมเพื่อการศึกษา ก่อนฟ้องคดีประจำปี 2556…

นักศึกษา
นักศึกษา

เมื่อวันที่ 19 เม.ย. 2556 น.ส.มุจลินท์ กำชัย รองผู้จัดการรักษาการแทน ผจก.กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา ได้เปิดเผยว่า ด้วยกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา ร่วมกับสำนักระงับข้อพิพาทสำนักงานศาลยุติธรรม ได้จัดโครงการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทเงินกู้ยืมเพื่อการศึกษาก่อนฟ้องร้องดำเนินคดีกับผู้กู้ยืมที่ถึงกำหนดชำระหนี้ รุ่นปี 2542-2551 ที่มีหนี้ค้างชำระเกิน 5 งวดขึ้นไป โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้กู้ยืมและผู้ค้ำประกันที่จะถูกบอก เลิกสัญญามาติดต่อชำระหนี้ที่ค้างชำระ หรือมาติดต่อขอผ่อนชำระหนี้ในโครงการฯ โดยมีกำหนดจัดขึ้นที่ศาลจังหวัดนครราชสีมา ในระหว่างวันที่ 18–21 เม.ย. 2556

ส่วนผู้ที่อยู่จังหวัดอื่นๆ สามารถติดต่อได้ที่ศาลจังหวัดอื่นๆ ทั่วประเทศ โดยยังมีเวลาให้ผู้กู้ยืมที่ต้องชำระ 5 งวดขึ้นไป ไปเข้าร่วมโครงการไกล่เกลี่ยได้ ดังนี้ ศาลจังหวัดนครราชสีมา ระหว่างวันที่ 18–21 เม.ย. 2556 มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี ระหว่างวันที่ 23–25 เม.ย. 2556 ศาลแขวงลำปาง ระหว่างวันที่ 25–27 เม.ย. 2556 ศาลแขวงขอนแก่น ระหว่างวันที่ 27 เม.ย.–1 พ.ค. 2556 และศาลแพ่ง ถนนรัชดาภิเษก ระหว่างวันที่ 7–12 พ.ค. 2556

ทั้งนี้ ผู้ที่จะเข้าโครงการไกล่เกลี่ย จะต้องไปเข้าร่วมด้วยตนเอง พร้อมนำเอกสารที่สำคัญไปด้วย อาทิ สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน ของผู้กู้และผู้ค้ำประกัน สำเนาเปลี่ยนชื่อ (ถ้ามี) สำเนาใบทะเบียนสมรส ของผู้กู้และผู้ค้ำประกัน (ถ้ามี) และเอกสารอื่นๆ ผู้ที่จะเข้าโครงการไกล่เกลี่ย สามารถดูรายละเอียดได้ที่ ศูนย์สายใจ กยศ. โทร.02-61004888 หรือทาง http://www.studentloan.or.th/index.php

กยศ.อึ้งจำนวนผู้ขอกู้เรียนเกินเป้า 1 แสนราย

8 กรกฎาคม 2551
หลังจากที่กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) ได้ขยายเวลาในการชำระเงินกู้คืน กยศ. จากเดิมวันที่ 5 กรกฎาคม 2551 เป็นวันที่ 7 กรกฎาคม 2551 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อเช้าวันที่ 7 กรกฎาคม 2551 ซึ่งเป็นวันสุดท้ายของการชำระเงินกู้ กยศ. ปรากฏว่าที่ธนาคารกรุงไทยสาขาต่าง ๆ ได้มีผู้กู้จำนวนมากที่ครบกำหนดต้องชำระเงินคืนได้ไปติดต่อขอชำระเงินกู้ แต่กลับไม่สามารถชำระได้ เนื่องจากระบบอินเทอร์เน็ตของธนาคารเกิดขัดข้อง

ซึ่ง นายบุญชัย ศศิวงศ์   ผู้อำนวยการฝ่ายบริหารโครงการภาครัฐ บมจ. ธนาคารกรุงไทย เปิดเผยว่า ในช่วงเช้าระบบของธนาคารกรุงไทยมีปัญหาขัดข้องจริง แต่หลังจากนั้นก็ได้ดำเนินการแก้ไขเรียบร้อยแล้ว จึงสามารถรับชำระได้ตามปกติ และหลังจากนี้ผู้ที่มาชำระล่าช้ากว่าที่กำหนดจะต้องจ่ายเบี้ยปรับด้วย โดยกรณีค้างชำระไม่เกิน 12 เดือนจะมีเบี้ยปรับ 12% ถ้าค้างเกิน 12 เดือน เบี้ยปรับ 18% ของยอดที่ค้างชำระ ทั้งนี้คงไม่สามารถยืดเวลาการชำระหนี้ออกไปได้อีกแล้ว  เนื่องจากเป็นระเบียบของ กยศ. ที่กำหนดให้ชำระได้ถึงแค่วันที่ 7 กรกฎาคม 2551

รศ. นพ. ธาดา มาร์ติน
รศ. นพ. ธาดา มาร์ติน

ด้าน รศ.นพ.ธาดา มาร์ติน ผู้จัดการกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) เปิดเผยถึงจำนวนผู้ที่ยื่นขอกู้ยืมประจำปีการศึกษา 2551 ซึ่งหมดเขตยื่นขอกู้ไปเมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2551 ที่ผ่านมาว่า จากข้อมูลพบว่ามีผู้มายื่นขอกู้กยศ.ผ่านระบบออนไลน์ทางอินเทอร์เน็ต รวมประมาณ 9 แสนราย ซึ่งถือว่าเป็นตัวเลขที่สูงกว่าเป้าหมายที่ กยศ. คาดการณ์ไว้มาก เพราะ กยศ. ตั้งเป้าไว้แค่ 8 แสนรายเท่านั้น ซึ่งการที่มีผู้ยื่นขอกู้เพิ่มขึ้นจำนวนมากนั้น เนื่องจากรัฐบาลมีการขยายเพดานรายได้ครอบครัวของผู้ที่มีสิทธิกู้ กยศ. จากเดิมรายได้ครอบครัวต้องไม่เกิน 1.5 แสนบาทต่อปี ได้ขยายเป็นไม่เกิน 2 แสนบาทต่อปี จึงทำให้ผู้มีสิทธิขอกู้มีจำนวนเพิ่มมากขึ้น

 

ขณะนี้ กยศ.กำลังเร่งตรวจสอบคุณสมบัติของผู้ขอกู้ว่าเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดหรือไม่ ตลอดจนตรวจสอบข้อเท็จจริง ความจำเป็นของผู้กู้ และงบประมาณที่จะต้องใช้ เนื่องจากเกินกว่าวงเงินที่ กยศ. ได้รับจากสำนักงบประมาณ ดังนั้นขณะนี้จึงยังสรุปไม่ได้ว่าจะให้กู้ได้ตามวงเงินที่กำหนดหรือไม่ หรือจะต้องเสนอของบประมาณเพิ่มเติม แต่ กยศ.จะเร่งพิจารณาให้แล้วเสร็จโดยเร็วที่สุด” ผจก.กยศ.กล่าว.

 

แหล่งที่มา/ผู้ส่ง http://www.dailynews.co.th

http://www.moe.go.th/moe/th/news/detail.php?NewsID=2438&Key=hotnews