moe

ธรรมาภิบาล เรื่องที่ต่างมุมก็ต่างมอง

ธรรมาภิบาล น่าจะผ่านทุกสถาบัน
ธรรมาภิบาล น่าจะผ่านทุกสถาบัน

ก็ สกอ.เห็นว่า หลายมหาวิทยาลัยมีปัญหาธรรมาภิบาล
แต่ทุกมหาวิทยาลัยประเมินตนเองได้คะแนนธรรมาภิบาลผ่านเกือบทุกสถาบัน
(ที่ไม่ผ่านก็ยังไม่เห็น แต่อาจมี)

อ่านที่ ศ.ดร.วีรชัย พุทธวงศ์ และ น.ส.อาภรณ์ แก่นวงศ์ แสดงทัศนะไว้ในสื่อ
เห็นว่าน่าสนใจจึงนำไปทำเว็บเพจแกะประเด็นทั้ง 10 ของธรรมาภิบาล
เตรียมเล่าให้ลูกศิษย์ฟัง
ที่ http://www.thaiall.com/ethics/governance.htm

หลังเกิดเหตุ ดอกเตอร์ทำร้ายกันในสถาบันการศึกษา เมื่อเช้า 18 พ.ค.59 และยิงตัวตายเย็น 19 พ.ค.59 จนเป็นเหตุให้ดอกเตอร์เสียชีวิตรวม 3 คน ก็มีการหยิบประเด็นธรรมาภิบาลขึ้นมาพูดคุยในแวดวงการศึกษา เรื่อง หลักธรรมาภิบาล ซึ่งประเด็นนี้เป็นเกณฑ์ประกันคุณภาพการศึกษาระดับอุดมศึกษา ของคณะวิชา และสถาบันสำหรับทุกสถาบันการศึกษา มาตั้งแต่ปี 2553 ตามคู่มือมีตัวบ่งชี้ 7.1 เกณฑ์ที่ 6 หน้า 83 “ผู้บริหารบริหารงานด้วยหลักธรรมาภิบาล โดยคำนึงถึงประโยชน์ของสถาบันและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย” ส่วนปี 2557 ตามคู่มือมีตัวบ่งชี้ 5.1 เกณฑ์ที่ 4 หน้า 120 และ 142 ของคณะและสถาบันเหมือนกันว่า “บริหารงานด้วยหลักธรรมาภิบาลอย่างครบถ้วนทั้ง 10 ประการที่อธิบายการดำเนินงานอย่างชัดเจน” ซึ่งคะแนนส่วนนี้ ทุกสถาบันการศึกษาได้คะแนนเต็มเกือบทุกสถาบัน

ต่อมา 24 พ.ค.59
พบใน posttoday.com ว่า รศ.ดร.วีรชัย พุทธวงศ์ เลขาธิการศูนย์ประสานงานบุคลากรในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ (CHES) วิเคราะห์ว่า การเสียชีวิตของด็อกเตอร์ทั้ง 3 คน ซึ่งสังคมส่วนใหญ่มองว่าเป็นความขัดแย้งส่วนตัว แต่ในฐานะผู้ทำงานช่วยเหลือบุคลากรในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐมานานกว่า 10 ปี เขาเชื่อว่า ต้นตอแท้จริงมาจากระบบการบริหารจัดการที่ขาดหลักธรรมาภิบาล
http://www.posttoday.com/analysis/interview/433596

ต่อมา 25 พ.ค.59
พบใน dailynews.co.th ว่า น.ส.อาภรณ์ แก่นวงศ์ เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา (กกอ.) เปิดเผยถึงปัญหาธรรมาภิบาลในมหาวิทยาลัยว่า ปัจจุบันหลายมหาวิทยาลัยมีปัญหาธรรมาภิบาล ดูได้จากข้อร้องเรียนต่าง ๆ ทั้งที่เป็นความขัดแย้งระหว่างสภามหาวิทยาลัยกับผู้บริหาร, ผู้บริหารกับบุคลากร หรือเรื่องหลักสูตรการเรียนการสอนไม่มีคุณภาพ แต่หากทุกคนในมหาวิทยาลัยยึดหลักธรรมาภิบาลในการทำงาน ปัญหาก็จะไม่เกิด ซึ่งที่ผ่านมาสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา(สกอ.) ก็พยายามส่งเสริมให้ทุกมหาวิทยาลัยมีธรรมาภิบาล โดยมีทั้งหลักสูตรพัฒนาผู้บริหารมหาวิทยาลัย และบุคลากร แต่ต้องยอมรับว่าเรื่องธรรมาภิบาลเป็นเรื่องบุคคล และการเปลี่ยนแปลงก็ไม่ใช่เรื่องง่าย
http://www.dailynews.co.th/education/399997

ข่าวปรับรูปแบบการประเมินให้ดีขึ้น เด็กจะมีความสุขกับการเรียนมากขึ้น

ความสุข ในมุมมองของแต่ละคนไม่เหมือนกัน
– นักพัฒนาการศึกษา ก็คิดอย่าง
– ครู ก็คิดอย่าง
– เด็ก ก็คิดอย่าง
– ผู้ปกครอง ก็คิดอย่าง
– ชาวบ้านชาวช่อง ก็คิดไปอีกอย่าง

ข่าวในเดลินิวส์เมื่อ 15 เมษายน 2559 ว่า
กระทรวงศึกษาธิการ โดย นพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ รมช.ศึกษาธิการ เปิดเผยว่า
การกำหนด หรือสร้างตัวชี้วัดความสำเร็จ (KPI) ที่กำลังพัฒนาใหม่ให้ดีกว่าเดิม และสมบูรณ์
และจะส่งต่อให้ สมศ. พัฒนาให้สอดคล้องกัน
และจะปรับปรุงการเรียนการสอนเริ่มภาคที่ 2 ปีการศึกษา 2559
เน้นวิชาหลัก เช่น คณิต วิทย์ ไทย อังกฤษ เรียนอย่างน้อยวิชาละ 1 ชั่วโมงต่อวัน
เพื่อให้เข้มแข็งทางวิชาการ และเพื่อให้เด็ก ๆ มีความสุขกับการเรียนมากขึ้น

[ความสุข]
ผมว่าใคร ๆ ก็ตั้งใจพัฒนาการศึกษาให้เด็กมีความสุขกับการเรียนมากขึ้น
ต่อไปวิชาหลักก็จะเรียนกันทุกวันตั้งแต่เด็ก เป็นประเด็นที่น่าสนใจ
เพราะโตขึ้นพอเข้ามหาวิทยาลัย อาจไปกวดวิชากันน้อยลง
เพราะเรียนมาเยอะล่ะ จึงไม่จำเป็นต้องเรียนข้างนอกอีก
– พ่อแม่ก็มีความสุข ไม่ต้องเสียตังให้ลูกไปกวดวิชา
– เด็กก็มีความสุข เรียนในห้องเยอะล่ะ ไม่ต้องไปกวดวิชา
ถ้าในโรงเรียนสอนกระหยองกระแหยง เด็กก็ต้องไปเรียนพิเศษข้างนอก
เพราะเวลาเรียนในห้องไม่พอเรียนรู้เนื้อหาที่มีอยู่ จึงต้องไปขวนขวายหาเอง
อ่านต่อที่ : http://www.dailynews.co.th/education/391701

mama tutor
mama tutor

http://www.dek-d.com/admission/25831/