nited

คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยเนชั่น

คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยเนชั่น
คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยเนชั่น

คลิ๊ปรายการสยามสาระพา ตอน เปิดโลกการศึกษากับ คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยเนชั่น ออกอากาศวันที่ 10 พฤษภาคม 2556 ทาง Nation Channel ดำเนินรายการโดยคุณวรรณศิริ ศิริวรรณ

ได้พบกับ อ.อดิศักดิ์ จำปาทอง รองคณบดี จัดรายการวิทยุในห้องสถานีวิทยุเสียงลำปาง 104.25 MHz โดยเล่าถึงกิจกรรมที่นักศึกษาจะได้ทำระหว่างเรียนทั้งเป็นผู้จัดรายการ เขียนข่าว ทำรายการทีวีในห้องสตูดิโอของมหาวิทยาลัย

! http://blog.nation.ac.th/?p=2638

 http://www.facebook.com/SiamSarapa

เกณฑ์คัดเลือกช่องทีวีสาธารณะในระบบดิจิทัล

วนิดา วินิจจะกูล
วนิดา วินิจจะกูล

เป็นข่าวกันไปพอสมควรแล้ว สำหรับ ทีวีสาธารณะในระบบดิจิทัล ที่คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการวิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม หรือ กสทช.

เปิดเผยว่าจะมีทั้งหมด 12 ช่อง โดยกำหนดค่อนข้างแน่นอนแล้ว 6 ช่อง โดย 4 ช่องแรกเป็นช่องที่เราคุ้นเคยกันอยู่ คือ 5, 7,11 และ ไทยพีบีเอส (ภายใต้เงื่อนไขต้องคืนคลื่นอนาล็อกก่อน) ส่วนอีก 2 สำหรับช่องเพื่อความปลอดภัย และช่องเพื่อความมั่นคง ว่ากันว่าเป็นไปตาม พ.ร.บ.กลาโหม

! http://bit.ly/10DG6aJ
ทั้ง 6 ช่องนี้ สมควรได้รับจัดสรรคลื่นโดยอัตโนมัติหรือไม่ เป็นประเด็นที่ยังต้องถามหาความชอบธรรม

ส่วนที่เหลืออีก 6 ช่อง ที่ กสทช. จะพิจารณาให้องค์กรหรือหน่วยงานใดนั้น ก็ยังไม่มีหลักเกณฑ์กติกาการคัดเลือกแต่อย่างใด แต่สุภิญญา กลางณรงค์ เสียงข้างน้อยอีกเช่นเคย เห็นว่า กสทช. ควรมีหลักเกณฑ์ที่แน่นอน เพื่อความโปร่งใส กรรมการตัดสินจะได้มีหลักยึด ดังนั้น การจัดเวทีระดมสมองเรื่อง “เกณฑ์การคัดเลือกผู้เหมาะสมให้ใช้คลื่นความถี่ในกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์สำหรับการประกอบกิจการบริการสาธารณะ” หรือรู้จักกันในชื่อ “บิวตี้คอนเทสต์” ที่ กสทช. สุภิญญา ในฐานะกรรมการคนหนึ่ง พยายามทำให้การตัดสินใจของ กสทช. ต่อเรื่องการจัดสรรคลื่นความถี่ซึ่งเป็นทรัพยากรของชาติที่สามารถนำไปหามูลค่าได้มหาศาล มีความโปร่งใส สังคมตรวจสอบได้

เกณฑ์การคัดเลือกผู้เหมาะสมให้ใช้คลื่นความถี่ฯ ในกิจการสาธารณะ ที่ทีมงาน กสทช.สุภิญญา จัดทำเป็นร่างมาให้เวทีระดมความคิดเห็นนั้น ประกอบด้วย 6 ด้าน คือ 1. ประสบการณ์และความเชี่ยวชาญ 2. การผลิตรายการและที่มาของเนื้อหารายการ 3. ความทั่วถึง 4. แหล่งเงินทุนและการใช้เงินทุน 5.กลไกการติดตามตรวจสอบภายในองค์กร และ 6.การมีส่วนร่วมและการคุ้มครองผู้บริโภค

ในเวทีได้อภิปรายและเสนอข้อคิดเห็นมากมาย แต่โดยส่วนตัวนั้น สนใจมากๆ ใน 2 ประเด็น

ประเด็นแรก คือ เรื่องเกี่ยวกับศักยภาพหน่วยงานที่จะเสนอตัว ซึ่งเวทีเสนอในประเด็นนี้ค่อนข้างเยอะ

ประเด็นที่สอง คือ เรื่อง “ความคิดสร้างสรรค์” ที่ดูเหมือนจะไม่มีตัวอักษรใดในร่างที่สื่อถึงเรื่องนี้เลย ในตอนท้าย ตัวเองจึงได้เสนอความเห็นไปว่า…

คิดว่าการกำหนดเกณฑ์เหล่านี้ไม่ควรเป็นไปเพื่อการหาทีวีสาธารณะที่ดีที่สุด แต่ต้องหาทีวีสาธารณะที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด ฉะนั้นการเข้าถึงก็ดี เกณฑ์คุณภาพต่างๆ ที่พูดถึงก็ดี รู้สึกว่ากำลังจะได้ช่องที่ลงทุนไปแล้วจะไม่มีคนดูมากนัก อยากให้ช่วยกันคิดว่า ทำอย่างไรจึงจะถ่วงดุลให้ได้ระหว่าง 3 มุมนี้ คือ

หนึ่ง ทำอย่างไรให้ผู้เสนอตัว มีทุนที่จะยืนระยะได้ หมายความว่า ทำอย่างไรให้ประชาชนอยากเข้ามาชมรายการคุณภาพ คุ้มค่ากับการเผาเวลาไปนาทีละ 2 แสน หรือวันละ 5 ล้าน (ข้อมูลจากเวที) มันมหาศาลนะ ฉะนั้นถ้าให้เขามาลงทุนแล้วบอกไม่ให้หากำไร ไม่ให้หารายได้ หรือหาได้เท่าที่จำเป็น แล้วใครจะเข้ามาเพราะว่ามันไม่น่าจูงใจเลย ฉะนั้น ทำอย่างไรให้ผู้เสนอมีรายได้พอที่จะยืนระยะในการพัฒนารายการและสถานีให้ดีขึ้นในอนาคต ซึ่ง กสทช.อาจจะดูเรื่องการให้ทุนอุดหนุนบางส่วน หรือให้มีโฆษณาที่เหมาะสม เพื่อไม่ให้ผลิตรายการที่ด้อยคุณภาพหรือเรียกแต่เรตติ้ง

สอง ที่ต้องให้น้ำหนักด้วย คือ “คุณค่าต่อสังคม” ทั้งการเป็น “พลเมือง” หรือการให้ทุกภาคส่วนได้มีโอกาสเข้ามาใช้หรือเกิดประโยชน์ต่อสังคมจริงๆ ประเด็นนี้พูดกันค่อนข้างเยอะแล้ว

สาม ที่ไม่ค่อยมีคนพูดกัน แต่คิดว่าต้องให้ความสำคัญมากที่สุดอีกมุมหนึ่งด้วย คือ เรื่อง ความคิดสร้างสรรค์ ที่รายการออกมาแล้วดูสนุก หรือทำออกมาแล้วมีคนอยากดู จะเรียกว่าเรตติ้งก็ได้ พูดถึงเรตติ้งอาจจะดูเป็นเชิงลบ แต่ความคิดสร้างสรรค์อยู่ในเกณฑ์ข้อไหน เพราะร่างที่ทีมงาน กสทช.สุภิญญา นำเสนอมา ยังไม่เห็นประเด็นนี้

ตอนนี้ประชาชนเลือกดูทีละรายการแล้ว เขาดูยูทูป เขาไม่ดูทั้งสถานี ไม่ดูทั้ง 24 ชั่วโมง ไม่ดูตามเวลาที่ออกอากาศ แต่เข้ามาเลือกดูภายหลังได้ ในรายการที่เขาชอบ ฉะนั้น การที่เขาจะเข้ามาดูช่องทีวีสาธารณะ นั่นแปลว่ารายการต้องโดนเขาจริงๆ นั่นจึงเป็นเหตุผลที่ต้องให้น้ำหนักให้ได้ระหว่าง 3 มุมที่ว่านี้ คือ 1.ให้มีเงินทุนที่จะยืนระยะได้จริงและมีแผนเลี้ยงตัวเองได้จากแหล่งไหนก็ตาม 2.คุณค่าที่จะเป็นประโยชน์ต่อสังคมจริงๆ ไม่ใช่แค่เกิดช่องละครหรือรายการที่มีอยู่แล้วในกระแสหลัก และ 3.เรื่องความคิดสร้างสรรค์ ที่จะทำให้คนเข้ามาชมรายการมีคุณภาพอย่างที่ตั้งใจกัน ทั้งหมดนี้ก็เพื่อจะทำให้เกิดประสิทธิภาพจริง ๆ ของการลงทุนและการใช้ทรัพยากรสาธารณะ

สุดท้ายที่ประชุมสรุปเกณฑ์ออกมาได้ 5 ด้าน คือ ด้านที่เกี่ยวกับองค์กร ด้านเทคนิค ด้านเนื้อหา ด้านการเงิน และด้านธรรมาภิบาล ส่วนรายละเอียดจะเป็นอย่างไรติดตามได้จากผลการประชุมของบอร์ด กสทช.เร็ว ๆ นี้

เขียนโดย วนิดา วินิจจะกูล ในกรุงเทพธุรกิจ

! http://blog.nation.ac.th/?p=2633

ความหมาย และความจำเป็น กับคำว่ามืออาชีพ

แต่งหน้า อย่างกับมืออาชีพ
แต่งหน้า อย่างกับมืออาชีพ

ความหมาย และความจำเป็น ที่ต้องใช้มืออาชีพ
1. ความหมายของมืออาชีพ ของ สุรชัย เทียนส่ง ใน blog คณะเภสัชศาสตร์ ศิลปากร
มืออาชีพ คือ มือ + อาชีพ เอาคำสองคำนี้มาประสานกัน การทำงานคงต้องใช้มือในการลงมือทำ มือทำตามสมองและจิต  การงานใดที่เรามองว่ามันคืออาชีพ เราควรจะทำมันเต็มกำลังสามารถและควรจะพยายามรักษาอาชีพที่เราทำนั้นไว้ให้ดีที่สุด เมื่อเราทำเช่นนี้ เราก็จะมีความสามารถในงานที่เราทำเหนือใคร ๆ จนสามารถสอน บอกเล่า งานการที่เราทำนั้นแก่ผู้อื่นได้ ซึ่งอาจหมายถึงคำที่เขาเรียกกันว่า ผู้มีประสบการณ์
http://blog.pharm.su.ac.th/content/%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%B5%E0%B8%9E

2. ความจำเป็นที่ต้องใช้ มืออาชีพ มาเป็น อาจารย์พิเศษ ของ ผศ.ชัยชาญ ถาวรเวช นิเทศ ศิลปากร
ตอบคำถามเรื่อง “อะไรคือ ความตั้งใจแรกที่ คณะไอซีที ต้องอยู่บางรัก และมีอาจารย์พิเศษ ซึ่งเป็นสาเหตุให้ สกอ. ประเมิน ไม่ผ่าน”
ว่า “คณะมีความตั้งใจ คือ ต้องการให้นักศึกษาจบไปแล้วทำงานเป็นเลย เพราะอย่างที่ทราบกันดี นายจ้างต้องเสียเวลาฝึกพนักงานใหม่เป็นเดือน พอเป็นงานแล้ว ก็เปลี่ยนงานใหม่ เพื่อปรับฐานเงินเดือน”
“เพราะเหตุนี้ มหาวิทยาลัยจึงต้องการผลิตบัณฑิต เพื่อตอบสนองความต้องการของสังคมได้ดี บัณทิตที่จบไป ต้องทำงานได้ทันที นี่คือ ความจำเป็นที่ต้องใช้ มืออาชีพ มาเป็น อาจารย์พิเศษ ”
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1365152611&grpid=03&catid=03

แถลงการณ์จากคณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มศก.
เรื่อง การรับนักศึกษาหลักสูตรนิเทศศาสตร์ ประจำปีการศึกษา 2556

http://thainame.net/edu/?p=708

3. ถ้าหลักสูตรมีผู้มีประสบการณ์แสดงว่าเป็นจุดขาย ของ ผศ.ดร.รุ่งรัตน์ ชัยสำเร็จ นิเทศฯ หอการค้าไทย
“ต้องยอมรับว่ามหาวิทยาลัยเปิดหลักสูตรจำนวนมาก แต่อาจารย์สอนมีจำนวนจำกัด ทำให้มหาวิทยาลัยทุกแห่งต้องจ้างอาจารย์พิเศษมาสอน ซึ่งการจ้างอาจารย์พิเศษมาสอนถือเป็นเรื่องที่ดี เพราะทำให้นักศึกษาได้เห็นมุมมอง ประสบการณ์ ความคิดใหม่ๆ จากอาจารย์พิเศษที่ส่วนใหญ่เป็นผู้เชี่ยวชาญ มีความรู้ความสามารถ อยู่ในแวดวงการทำงานธุรกิจนั้นจริงๆ”
คมชัดลึก ฉบับวันที่ 18 เม.ย. 2556 (กรอบบ่าย)
http://www.moe.go.th/moe/th/news/detail.php?NewsID=32449&Key=hotnews


แต่งหน้าแบบมืออาชีพ

กสทช. ต้องตอบโจทย์สังคม

กสทช. ตอบโจทย์สังคม เรื่องทีวีสาธารณะในระบบดิจิทัล ได้ไหม
จาก กรุงเทพธุรกิจ 3 เมษายน 2556

วนิดา วินิจจะกูล
วนิดา วินิจจะกูล

มีกี่คนที่รู้และเข้าใจว่า… กสทช. มีประกาศ เรื่อง แผนการเปลี่ยนระบบการรับส่งสัญญาณวิทยุโทรทัศน์เป็นระบบดิจิทัล และ เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการอนุญาตการให้บริการกระจายเสียงหรือโทรทัศน์ พ.ศ. 2555

ซึ่งทั้ง 2 ประกาศนี้ มีผลบังคับใช้แล้ว เพราะประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อปลายปีที่แล้ว

การที่ประชาชนไม่ติดตามกฎหมายก็คงไม่น่าแปลกใจ แต่สำหรับ 2 ประกาศนี้ และระเบียบอื่นๆ ที่สืบเนื่องกัน เป็นเรื่องที่ทุกคนปล่อยผ่านไปเฉยๆ ไม่ได้ เพราะจะส่งผลต่อสิทธิและผลประโยชน์ของประชาชน และลูกหลานของเราอย่างมากที่สุดเรื่องหนึ่งเลยทีเดียว เพราะจะเป็นการจัดสรรคลื่นความถี่ ซึ่งเป็นทรัพยากรของคนทั้งประเทศ เป็นทีวีสาธารณะ ในระบบดิจิทัล จำนวน 12 ช่อง ไปให้กับผู้ประกอบการทีวีวิทยุ ทั้งหน้าเก่าและหน้าใหม่ๆ ที่อยากจะเข้ามาแบ่งเค้กก้อนนี้ (ความจริงยังมีทีวีช่องธุรกิจอีกที่ยังต้องถกเถียงกันอีกเยอะ)

จากวงเสวนา “ปีแห่งการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคทีวีดิจิทัล : กสทช.ควรทำอย่างไรให้บรรลุเจตนารมณ์การปฏิรูปสื่อ” และจากการประชุมเชิงปฏิบัติการในกลุ่มนักวิชาการ หัวข้อ “การปฏิรูปสื่อในทีวีดิจิทัลสาธารณะ : รูปแบบที่ควรจะเป็น

มีหลายประเด็นที่ กสทช. ต้องออกมา “ตอบ
จะงุบงิบทำไป แบบค้านสายตาคนดู คงจะไม่ได้

เบื้องต้นขอให้ข้อมูลไว้ก่อนว่า กิจการกระจายเสียงหรือกิจการโทรทัศน์ ที่ กสทช. กำหนดจะให้ใบอนุญาตสำหรับกิจการบริการสาธารณะ มี 3 ประเภท

กิจการบริการสาธารณะประเภทที่ 1 ออกให้สำหรับกิจการกระจายเสียงหรือกิจการโทรทัศน์ที่มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อการส่งเสริมความรู้ การศึกษา ศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม วิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม การเกษตร และการส่งเสริมอาชีพอื่นๆ สุขภาพ อนามัย กีฬา หรือการส่งเสริมคุณภาพชีวิตของประชาชน

กิจการบริการสาธารณะประเภทที่ 2 ออกให้สำหรับกิจการกระจายเสียงหรือกิจการโทรทัศน์ที่มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อความมั่นคงของรัฐหรือความปลอดภัยสาธารณะ

กิจการบริการสาธารณะประเภทที่ 3 ออกให้สำหรับกิจการกระจายเสียงหรือกิจการโทรทัศน์ที่มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อกระจายข้อมูลข่าวสารเพื่อส่งเสริมความเข้าใจอันดีระหว่างรัฐบาลและประชาชนและรัฐสภากับประชาชน การกระจายข้อมูลข่าวสารเพื่อการส่งเสริมสนับสนุนในการเผยแพร่และให้การศึกษาแก่ประชาชนเกี่ยวกับการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข บริการข้อมูลข่าวสารอันเป็นประโยชน์สาธารณะแก่คนพิการ คนด้อยโอกาส หรือกลุ่มความสนใจที่มีกิจกรรมเพื่อประโยชน์สาธารณะหรือบริการข้อมูลข่าวสารอันเป็นประโยชน์สาธารณะอื่น

อ่านมาถึงบรรทัดนี้ ประชาชนอย่างเราๆ เกิดคำถาม ข้อสงสัย อะไร หรือไม่ ?

แต่ในวงเสวนา ฟันธง ตรงไปถึง กสทช. ว่าต้องตอบ อย่างน้อยในเรื่องต่อไปนี้

กสทช. จะนิยามคำว่า “กิจการบริการสาธารณะ” ว่าอย่างไร และเหมือนหรือต่างจาก “ทีวีสาธารณะ” อย่างไทยพีบีเอส อย่างไร ตลอดจนเรื่องรูปแบบรายการ สัดส่วนรายการ ผังรายการ กลไกการกำกับดูแล เป็นต้น ประเด็นเหล่านี้ส่งผลอย่างมากต่อเนื้อหาสาระ คุณภาพของรายการ และเป็นเงื่อนไขการหารายได้ของแต่ละช่อง

กิจการฯ ประเภทที่ 2 เขียนไว้ไม่เกิน 2 บรรทัด แต่ กสทช. กำหนดจะให้ใบอนุญาตถึง 2 ช่อง ซึ่งขณะนี้ กองทัพบก ช่อง 5 ประกาศตัวชัดเจนมาตั้งแต่ 2-3 เดือนที่แล้วว่า จะยื่นขออนุญาตเพื่อให้ช่อง 5 เป็นช่องเพื่อความมั่นคงของรัฐ เรียกว่า ประกาศไว้ ใครก็ห้ามแย่ง แล้วล่าสุด กสทช.ก็ให้สิทธินั้นไปแล้วโดยอัตโนมัติ

ส่วนอีกช่อง ที่บอกว่าเพื่อความปลอดภัยสาธารณะ ก็คาดเดากันได้อย่างไม่น่าพลาดว่า โทรทัศน์ตำรวจ คงขอจอง

ข้อสังเกตที่คาใจมากที่สุดอีกเรื่อง คือ การที่ พ.ร.บ.ประกอบกิจการกระจายเสียงฯ พ.ศ. 2551 มาตรา 9 และ 11 เปิดช่องให้หน่วยงานรัฐด้านความมั่นคงหารายได้จากการให้เช่าเวลาได้ไม่เกินร้อยละ 40 และการโฆษณาได้เท่าที่เพียงพอต่อการประกอบกิจการ ซึ่งสถานีวิทยุจุฬาฯ บอกว่าแค่ร้อยละ 20 เขาก็อยู่ได้สบายๆ แล้ว และถ้าสถานีจะดำเนินการเองเพียงร้อยละ 60 เช่นนี้ควรจะยังเรียกว่า “กิจการบริการสาธารณะ” อีกหรือ ?

นอกจากนี้ เรื่องที่ กสทช. ควรต้องตอบด้วยในเชิงของการปฏิรูปสื่อ คือ การจัดสรรคลื่นความถี่ทีวีสาธารณะครั้งนี้ จะทำให้เกิดการจัดสรรโครงสร้างความสัมพันธ์ของกลุ่มต่างๆ ในสังคมอย่างไร ให้ถ่วงดุลกันอย่างเหมาะสมและเป็นธรรม ซึ่งเป็นหัวใจของการปฏิรูปสื่อที่เรียกร้องกันมาตั้งแต่รัฐธรรมนูญ 2540

ม. เนชั่น และเหล่านักวิชาการทางสายนิเทศศาสตร์ ที่เข้าร่วมประชุมจากทั่วประเทศ
จึงทำข้อเสนอถึง กสทช. ขอให้ “ตอบโจทย์” สังคมในเรื่องเหล่านี้
ผลจะเป็นอย่างไร ต้องช่วยกันติดตาม !

http://bit.ly/10rHgYQ

http://blog.nation.ac.th/?p=2552