objective

ทำเล กับ สังคม มีความคล้ายที่ต้องเลือกให้ถูกที่

#ทำเล คือ สถานที่ ที่ตั้ง พื้นที่
คล้ายกับ #สื่อสังคม ที่เป็นพื้นที่ให้สมาชิกได้มาพบกันและทำกิจกรรมร่วมกัน

เพราะสังคมก็เกิดจากที่แห่งหนึ่ง ซึ่งผู้คนที่มีความสนใจเฉพาะตัว ยินดีเข้าร่วมเป็นสมาชิกและทำกิจกรรมที่เกิดจากข้อตกลงร่วมของสังคมนั้น หากเข้าสังคมแล้วไม่ตอบโจทย์ ไม่เกิดปฏิสัมพันธ์ตามความสนใจที่มากพอ ก็ต้องย้ายไปอยู่ในสังคมที่ตอบโจทย์ได้มากกว่า หรือมีประชากรเป้าหมายอยู่กันหนาแน่นกว่า
เช่น ย้ายจาก hi5 ไป facebook

เหมือนทำเลดี มักถูกกำหนดขึ้นตามความสนใจของประชากรเป้าหมาย ที่ใดผู้คนเดินผ่านมาก มีกำลังซื้อ และตอบโจทย์ได้ก็จะถือว่าเป็นทำเลดี
เช่น ย้ายขายในหมู่บ้าน ไป ขึ้นห้าง

ดังนั้น การเลือกทำเลหรือสื่อสังคม หากใช้ การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมและศักยภาพ หรือ หลักการ 5W1H มาช่วยอธิบายในรายละเอียด หรือ ทำวิจัยตลาด หรือ การวิเคราะห์หาจุดคุ้มทุน ก็เป็นหลักการที่น่าสนใจที่ทำให้มีข้อมูลมาสนับสนุนทางเลือกที่กำลังตัดสินใจเลือกอยู่

อ่านโพสต์ของ Nuttapong พบ 5 ประเด็น
1. ปริมาณผู้คนที่ผ่านไปผ่านมา
2. รายได้ของผู้คนในบริเวณนั้นเป็นอย่างไร
3. ความสะดวกสบาย
4. ราคาค่าเช่าที่เหมาะสม
5. รูปแบบของพื้นที่

https://cheechongruay.smartsme.co.th/content/26297

#socialmedia
#population
#objectives
#site
#advantage
#swot
#resource
#opportunity
https://www.thaiall.com/socialmedia/
.

ความหมายของทำเล

#เล่าสู่กันฟัง 63-002 กฎการเรียน ข้อ 1

ปัจจุบันสำหรับนักเรียนแล้ว จะมีข้อมูล สารสนเทศ กฎ กติกา ระบบ ระเบียบ เงื่อนไข โอกาส ภัยคุกคาม สิ่งล่อ สิ่งเร้า ทั้งจากในตนเอง ในกลุ่มเพื่อน ในครอบครัว ในหมู่บ้าน ในโรงเรียน ในประเทศ หรือในโลก วิ่งเข้ามาหา มาชนตลอดเวลา แบบที่เรียกว่า Too fast to think แล้ว

ดร.วิริยะ ฤาชัยพาณิชย์ เคยโพสต์ไว้ใน AJWiriya
ทำให้ฉุกคิดได้ว่า น่านำมาตั้งเป็นกฎได้ 2 ข้อ ดังนี้

กฎข้อ 1
เรียนเพื่อทำงานได้
ไม่ใช่เรียนเพื่อของานใครทำ
เรียนเพื่อปัญญา
ไม่ใช่เรียนเพื่อปริญญา

กฎข้อ 2
ถ้ามีกฎใดชวนคิดต่าง
ก็อย่าเสียเวลาให้มากนัก
ให้กลับไปมอง กฎข้อ 1

สรุปว่า #เรียนเพื่อทำงานได้
เป็นคาถาที่อยากฝากไว้เป็น #แรงบันดาลใจ
ฝั่งอยู่ในใจ และคิดถึงบ่อย ๆ
https://m.facebook.com/story.php?story_fbid=10157186345671171&id=284423006170

ชวนดูหนังเรื่อง
#สยบฟ้าพิชิตปฐพี (ever night)
ที่เข้ากับคำว่า #เรียนไว้ใช้ ได้ดีจริง ๆ
http://thaiall.com/handbill/

พูดคุยกับนักศึกษา ด้วย 4 คำถาม คือ ชวนฝัน ชีวิตจริง เป้าหมาย การไปถึงเป้าหมาย

วิกฤตหนังสือ
วิกฤตหนังสือ

หลังปิดภาคเรียนเป็นเวลาหลายเดือน
และเปิดภาคเรียนมาแล้ว 1 เดือน ก็ยิงคำถามไป 4 คำถาม
ที่ต่อเนื่องกัน ดังนี้
คำถามที่ 1 – ทำไมต้องอ่านหนังสือ
คำตอบ …
เพื่อชวนนักศึกษาคิดว่าการอ่านหนังสือดีอย่างไร
สิ่งที่ทราบจากนักศึกษา คือ ข้อดีสารพัดจากการอ่านหนังสือ

คำถามที่ 2 – หนึ่งเดือนที่ผ่านมาอ่านหนังสืออะไรบ้าง
คำตอบ …
เพื่อชวนนักศึกษาสำรวจตนเองว่าหนังสือดีนั้น อ่านไปกี่เล่ม
ประสบการณ์ของนักศึกษาแต่ละคนก็จะแตกต่างกันไป
ในการอ่านหนังสือก็จะแตกต่างกันไป

คำถามที่ 3 – ถ้าสำเร็จการศึกษาแล้ว อยากทำงานเกี่ยวกับอะไร
คำตอบ …
เพื่อชวนมองหาเป้าหมายของชีวิตหลังสำเร็จการศึกษา
ในสายไอทีเรามีทางเลือกที่ค่อยข้างหลากหลาย
ถ้าใครที่วางแผนชีวิตไว้ ก็จะมีเป้าหมายชัดเจน
ถ้ายังไม่ชัดเจน ก็ต้องรอให้เค้าค่อย ๆ คิดกันต่อไป

คำถามที่ 4 – การไปถึงเป้าหมาย ต้องอ่านหนังสืออะไรกันบ้าง
คำตอบ …
เพื่อชวนมองลงไปว่าหนังสือที่จำเป็นต้องอ่าน อ่านกันบ้างรึยัง
นักศึกษาบางกลุ่มคงตอบได้เป็นฉาก ๆ ว่าวางแผนชีวิตอย่างไร
บางกลุ่มอาจทำได้แค่ชวนคิด กระตุ้นให้ไปหาหนังสือมาอ่านเท่านั้น
บางกลุ่มเป้าหมายยังไม่ชัดเจน ก็คงไม่รู้จะอ่านหนังสืออะไรไปอีกระยะหนึ่ง

http://www.thaiall.com/readbookt