organization

ขนาดป้ายแบนเนอร์ของเพื่อนที่ติดในโฮมเพจ

ทุกองค์กรย่อมมีเรื่องเล่า
เพื่อมุ่งเป้าหมายสูงสุด
ให้บรรลุความสำเร็จที่กำหนดไว้
ด้วยวิธีที่หลากหลาย
ทั้งสายบู้ และ สายบุ๋น
ผ่านผู้คน และ เทคโนโลยี
หรือคนในองค์กรช่วยกัน
ดังคำว่า
อยู่บ้านท่าน อย่านิ่งดูดาย
ปั้นวัว ปั้นควาย ให้ลูกท่านเล่น
.
วิธีหนึ่ง คือ CSR
เพื่อให้ความรู้แก่สังคม
สร้างความสัมพันธ์ ผูกมิตรกับสังคม
ร่วมกับ การทำ SEO
เพื่อสร้างภาพลักษณ์ที่ดีที่สุด
ผ่าน เว็บไซต์ในเครือข่าย
ให้เข้าไปอยู่ในสายตา
ของเครื่องมือสืบค้น
และ ของกลุ่มเป้าหมายที่กำหนด
.
ปกติแล้ว
มีเพื่อนที่เป็นพันธมิตรทางเว็บไซต์
ที่มีเจตนาที่มุ่งมั่น
อยู่ในหลายองค์กร
.
แล้ว ผมมักจะร้องขอ
ป้ายแบนเนอร์
ขนาดฟูลแบนเนอร์
จากกลุ่มเพื่อนกัลยาณมิตร
หรือ
ช่วยกัน หาภาพที่เหมาะสม
มาจัดทำเป็นป้าย
ที่มีความหมายลึกซึ้ง
แล้ววางไว้บนเว็บเพจที่เกี่ยวข้อง
.
ขนาดป้ายมาตรฐาน
มีหลายรูปแบบ
เลือกตำแหน่งวางได้
เช่น วางไว้ที่ส่วนหัว
ส่วนท้าย ส่วนซ้าย ส่วนขวา
วางเป็นลิงก์ในเนื้อหา
หรือในเมนูก็ได้
.
เพื่อนที่ทำเรื่องการสื่อสาร
สามารถหาอ่านเรื่องป้ายแบนเนอร์
จากวิกิพีเดียกันเลยนะครับ

https://vt.tiktok.com/ZSFms5w1m/

https://en.m.wikipedia.org/wiki/File:Standard_web_banner_ad_sizes.svg

ป้ายแบนเนอร์
เพื่อการสื่อสาร
ให้บรรลุเป้าหมาย
#communication
#banner
#technology
#seo
#csr
#friend
#design

กิ่งไม้ 7 กิ่ง กับภารกิจเรื่องจริยธรรม

กิ่งไม้ 7 กิ่ง กับภารกิจเรื่องจริยธรรม
โดย : จักร์กฤษ เพิ่มพูล

7 องค์กรอิสระ .. ผนึกกำลังสร้างปรากฎการณ์ใหม่ในสังคมไทย ประกอบด้วย 1. สำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน 2. สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ 3. สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ4. สำนักงานสภาพัฒนาการเมือง 5. สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน 6. สภาทนายความในพระบรมราชูปถัมภ์ 7. สภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ

องค์กร 7 องค์กร
องค์กร 7 องค์กร

เพราะมีภารกิจมากมายที่เกี่ยวข้องกับเรื่องราวของ “คนดี” และ “ความดี” ที่สังคมไทยในห้วงระยะเวลาที่ผ่านมา เริ่มมีทัศนคติที่เปลี่ยนไป

http://bit.ly/HcB7eL
โดยเห็นว่าสิ่งเหล่านี้ เป็นเรื่องไม่สำคัญมากไปกว่า “คนเก่ง” และ “คนรวย” ที่ทำให้บ้านเมืองเจริญก้าวหน้าทางวัตถุ ทำให้มีฐานะร่ำรวย แม้สิ่งเหล่านี้จะได้มาด้วยการสูบเลือด สูบเนื้อ เพื่อนร่วมชาติ หรือฉกฉวยโอกาสในอำนาจ ไปแสวงหาผลประโยชน์เพื่อตัวเองและพวกพ้อง ฉะนั้น ในท่ามกลางสังคมที่บูชาคนเก่ง คนมีฐานะ คนดี และความดี จึงค่อยๆ เลือนหายไปจากสังคม จนเกือบไม่มีที่ยืนให้กับคนเหล่านี้อีก และเป็นจุดเริ่มต้นของแรงบันดาลใจ ที่จะทำอะไรสักสิ่ง

เมื่อปลายสัปดาห์ก่อน รายการวิทยุสถานีจราจรเพื่อสังคม เอฟเอ็ม 99.5 ช่วงประเทศไทย ไอ เลิฟ ยู และรายการ “รู้ทันสื่อ” เอฟเอ็ม 100.5 อสมท ชวนคุยเรื่อง การผนึกกำลังครั้งสำคัญของ 7 องค์กรอิสระ เพื่อภารกิจปกป้องคุ้มครองคนดี และความดี ที่ผมมีส่วนเล็กๆ ในการผลักดันให้เกิดขึ้น ผมอธิบายว่าจุดบันดาลใจสำคัญของผม นอกจากภาพใหญ่ของสังคม ที่ลดทอนคุณค่าของคนดี และความดีแล้ว เราพบว่า มีคนดีจำนวนไม่น้อยที่ปฏิบัติหน้าที่อย่างสุจริต ตรงไปตรงมา เพื่อประโยชน์ของชาติและส่วนรวม จนแม้กระทั่งนักวิชาการ และสื่อมวลชน ที่ทำงานตามหลักการ ตามหน้าที่ทางวิชาชีพ ก็ยังถูกคุกคาม ใช้อำนาจโดยไม่ชอบธรรม ข่มขู่ให้หวาดกลัวโดยไม่สามารถไปสู้รบปรบมือ หรือมีพลังใดจะไปต้านทานได้

เรามีข้าราชการ ผู้ที่ทำหน้าที่ด้วยความสุจริตจำนวนมาก ที่ทำงานอย่างตรงไปตรงมา และถูกกลั่นแกล้ง ถูกฟ้อง ถูกโยกย้ายอย่างไม่เป็นธรรม เช่น กรณีของคุณถวิล เปลี่ยนศรี เลขาฯ สมช. คุณสุภา ปิยะจิตติ รองปลัดกระทรวงการคลัง ประธานอนุกรรมการปิดบัญชีสินค้าเกษตรโครงการรับจำนำผลิตผลการเกษตร หรือโครงการจำนำข้าว ดร.เดือนเด่น นิคมบริรักษ์ ผอ.วิจัย ทีดีอาร์ไอ คุณณัฎฐา โกมลวาทิน พิธีกรรายการ ไทยพีบีเอส ที่ถูก กสทช.ฟ้อง คนเหล่านี้จะต้องไม่โดดเดี่ยว และคนอื่นๆ ก็ต้องมีความมั่นใจในการทำหน้าที่ ในการทำหน้าที่เพื่อสร้างสังคมที่มีธรรมาภิบาล โดยไม่ต้องหวั่นเกรงภัยคุกคามใด ๆ

ผมอธิบายความคิดในการชักชวน 7 องค์กรอิสระ มาร่วมกันปกป้องคุ้มครอง คนดี และความดี และว่าภารกิจสำคัญนี้ ไม่ได้มุ่งเฉพาะคนที่มีชื่อเสียง มีบทบาทสำคัญ ที่สังคมรู้จักเท่านั้น หากแต่คนเล็กคนน้อยในสังคมนี้ เช่น แท็กซี่เก็บเงินผู้โดยสารได้และไปส่งคืน หรือพลเมืองดีที่มีจิตอาสา ช่วยเหลือคนอื่น ก็เป็นเรื่องที่ต้องใส่ใจดูแลด้วย

แน่นอนว่า สังคมไทยไม่ได้สูญเสียคุณงามความดี และความดีไปจนหมดสิ้น แต่จิตสำนึกเรื่องจริยธรรมเริ่มสั่นคลอน และอาจหวังไม่ได้จากผู้ใหญ่ที่มีบทบาทเป็นแบบฉบับในสังคมมากนัก โดยเฉพาะกลุ่มนักการเมือง โครงการดีๆ เช่น “โตไปไม่โกง” ซึ่งเริ่มจากหน่ออ่อนของสังคม รวมทั้งความพยายามของผมและกลุ่มคนที่มีความเห็นตรงกัน ในการปลูกฝังอบรมบ่มเพาะจิตสำนึกในเรื่องจริยธรรม ตั้งแต่เด็กๆ จนกระทั่งในระดับมหาวิทยาลัย ที่จะจบไปเป็นกำลังหลักของสังคมไทยในอนาคต จึงเป็นแสงสว่างวาบหนึ่งที่ถูกจุดขึ้นในท่ามกลางความมืดมิด แม้จะหวังผลไม่ได้ร้อยเปอร์เซ็นต์ แต่การที่ได้เริ่มต้น และมุ่งมั่นตั้งใจที่จะทำต่อไปอย่างต่อเนื่อง ก็พอจะเป็นหลักประกันความมั่นใจได้ว่า สักวันหนึ่งเราจะได้สังคมที่เห็นคุณค่าของความดี และคนดีกลับคืนมา

เมื่อช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา สภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ สถาบันอิศรา มูลนิธิพัฒนาสื่อมวลชนแห่งประเทศไทย ภายใต้การสนับสนุนของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ ได้จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ พัฒนาจริยธรรม ส่งเสริมความรู้ด้านกฎหมาย และเพิ่มศักยภาพกลไกการทำงานสื่อ ที่จังหวัดเชียงใหม่ มีอาจารย์จาก 11 สถาบัน เจ้าของและบรรณาธิการหนังสือพิมพ์ 12 ฉบับในภาคเหนือเข้าร่วม เป้าหมายหลักคือสานต่อภารกิจในการปฏิรูปการเรียนการสอนวิชากฎหมายและจริยธรรมสื่อมวลชน ที่ผมได้เริ่มต้นไว้เมื่อสองปีก่อน โดยออกดอกออกผล เป็นคู่มือการเรียนการสอนวิชานี้ ซึ่งเขียนโดยกลุ่มคณาจารย์จากหลายมหาวิทยาลัย จำนวน 2 เล่มแล้ว ครั้งนี้เป็นการต่อยอด จัดทำ Course Sylabus เพื่อความชัดเจนในแนวทางการเรียนการสอน โดยมี ร.ศ.ดร.ดรุณี หิรัญรักษ์ ประธานคณะอนุกรรมการวิชาการ สภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ และอดีตคณบดีคณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และคณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เป็นแม่ทัพใหญ่

จากจุดเล็ก ๆ หลายจุดจุดนี้ ในวันนี้ 7 องค์กรอิสระ ประกอบด้วย ผู้ตรวจการแผ่นดิน คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ สำนักงานสภาพัฒนาการเมือง สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน สภาทนายความในพระบรมราชูปถัมภ์ และสภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ จะรวมตัวกันประกาศเปิดตัว “ภาคีเครือข่ายเสริมสร้างพลังคุณธรรมจริยธรรมของแผ่นดิน” ที่โรงแรมเดอะ สุโกศล กรุงเทพ เพื่อกอบกู้ภาวะวิกฤติคุณธรรม จริยธรรม ที่เป็นเมฆหมอกปกคลุมสังคมไทยมานาน

กิ่งไม้เล็กๆ อาจไร้พลัง แต่เมื่อมามัดรวมกันก็สามารถงัดขุนเขาสูงใหญ่ได้
http://bit.ly/HcB7eL
Tags : จักร์กฤษ เพิ่มพูล

http://www.thairath.co.th/content/pol/378132

สามัคคีคือพลัง
สามัคคีคือพลัง

พีอาร์กับการเปลี่ยนแปลงขององค์กร

พีอาร์กับการเปลี่ยนแปลงขององค์กร
Public Relation with Organization changing
โดย : อดิศักดิ์ จำปาทอง
! http://bit.ly/14cNz6s

องค์กรธุรกิจในปัจจุบันนี้ ต่างต้องเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงอย่างมากมายหลายรูปแบบ ทั้งการเปลี่ยนผู้ถือหุ้นใหญ่ เปลี่ยนผู้บริหาร เปลี่ยนสายธุรกิจ

adisak
adisak

จากองค์กรที่เคยอยู่กันมาอย่างสงบนับสิบปี แต่แล้ววันหนึ่งก็มีซองขาวมาวางอยู่บนโต๊ะ พร้อมกับเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยที่เข้ามาช่วยดูแลเก็บข้าวของและเชิญให้ออกจากองค์กรไปโดยเร็ว ซึ่งเป็นตัวอย่างของการจัดการกับพนักงานที่ลอกเลียนแบบมาจากฝรั่งตะวันตกที่ยังนิยมปฏิบัติกันอย่างแพร่หลายในเมืองไทยอยู่ทุกวันนี้ จนพนักงานส่วนที่เหลือก็ทนไม่ไหวพากันลาออกไปจนเกือบหมดในที่สุด ความสูญเสียที่ใหญ่หลวงขององค์กรก็คือ พนักงานไม่มีใจเหลือให้องค์กรอีกต่อไปแล้ว ที่ยังอยู่ก็อยู่กันแบบซังกะตาย หมดเรี่ยวแรงจะผลักดันองค์กร

ผู้บริหารคิดว่า จะยังสามารถบริหารองค์กรที่ตกอยู่ในสภาพเช่นนี้ได้ต่อไปอีกหรือ

ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว การสื่อสารดูเหมือนจะเป็นเรื่องที่สำคัญอย่างมาก เพราะถึงแม้จะไม่มีการสื่อสารอย่างเป็นทางการ แต่ก็มีการแลกเปลี่ยนคุยกันปากต่อปากอยู่ดี ยิ่งมีประเด็นที่ลับมากเท่าไหร่ ก็ยิ่งมีการซุบซิบนินทามากขึ้นเป็นเงาตามตัว ปล่อยข่าวจริงบ้างเท็จบ้าง โดยเฉพาะข่าวที่เป็นลบยิ่งแพร่กระจายออกไปอย่างรวดเร็ว แต่ในทางตรงกันข้าม ข่าวดีๆ มักจะอยู่กับที่ ซึ่งเป็นอันตรายต่อองค์กรอย่างยิ่ง

การสื่อสารในลักษณะเช่นนี้ เราเรียกว่า The Grapevine หรือการสื่อสารแบบไม่เป็นทางการ (Informal Communication) ซึ่งเป็นเรื่องปกติขององค์กรที่พนักงานในบริษัทจะซุบซิบคุยเล่นกันในสถานที่ทำงาน การพูดคุยกันในห้องน้ำหลังอาหารมื้อกลางวันกับเพื่อนร่วมงาน การแวะแต่งหน้าหรือแปรงฟันในห้องน้ำเป็นกลุ่มๆ ในช่วงเวลาพัก หรือแม้แต่การพูดคุยกันบนโต๊ะอาหารกลางวัน ซึ่งเชื่อได้เลยว่า การสนทนาในสถานการณ์ดังกล่าว กว่า 80% ล้วนแล้วแต่เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับงานแทบทั้งสิ้น

ผู้บริหารที่ฉลาดจึงมักจะใช้เส้นทางของ The Grapevine นี้ เพื่อหาข้อมูลที่จะเป็นประโยชน์ต่อการตัดสินใจของตนเอง เพราะถ้ารู้ตัวว่า เมื่อขจัดมันออกไปจากองค์กรไม่ได้ ก็ควรใช้มันให้เป็นประโยชน์เสียเลยดีกว่า อย่างนี้เรียกว่า พลิกวิกฤตให้เป็นโอกาส เช่น ผู้บริหารต้องการอยากจะทราบว่าพนักงานคิดอย่างไรกับการตกแต่งโชว์รูมใหม่ ก็อาจจะเปรยกับเลขาฯหรือผู้ช่วยฝ่ายประชาสัมพันธ์ที่มีมนุษยสัมพันธ์ดีมากๆ สักคนหนึ่ง รับรองว่าอีกไม่นานคำตอบต่างๆ ก็จะหลั่งไหลมาหาผู้บริหารท่านนั้นเอง ที่เหลือจึงเป็นเรื่องของเทคนิคการกลั่นกรองข่าวสารเพื่อที่จะนำไปใช้ประโยชน์ต่อไป

ผู้บริหารที่ให้ความสำคัญกับขั้นตอนการสื่อสารเพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลง หากยังอยู่ในขั้นตอนของการเจรจาหรือมีประเด็นที่ยังหาข้อสรุปไม่ได้ เงื่อนไขก็คือว่าประเด็นเหล่านี้จะหลุดรอดออกมาภายนอกไม่ได้ เพราะจะส่งผลเสียหายอย่างร้ายแรง ถ้าต้องให้ผู้มีส่วนร่วมรับรู้ ก็เฉพาะผู้ที่เกี่ยวข้องจริงๆ เท่านั้น หากเป็นความลับ ก็ต้องลับสนิทอย่างแท้จริง เพราะบางเรื่องที่อาจมีผลกระทบต่อคนจำนวนมากๆ เป็นละเอียดอ่อน เช่น เรื่องการโยกย้ายตำแหน่ง หรือเรื่องการปรับขึ้นเงินเดือน เพราะข่าวนั้นจะไหลเข้าสู่กระแส Grapevine อย่างรวดเร็วและรุนแรง จนบางครั้งเราอาจจะควบคุมมันไว้ไม่อยู่เลยทีเดียว

เมื่อสถานการณ์ชัดเจนแน่นอน ค่อยชิงจังหวะสื่อสารไปยังผู้เกี่ยวข้อง พนักงาน และกลุ่มเป้าหมายก่อนที่ประเด็นดังกล่าวจะถูกปล่อยออกไปเป็นข่าวลือ เพราะหากถึงขั้นเป็นข่าวลือแล้วละก็ การสื่อสารที่ตามมาก็จะกลายเป็นการแก้ข่าว และหากข่าวลือนั้นถูกทำให้เชื่อแล้ว ยิ่งต้องกลายเป็นข้อแก้ตัวหนักเข้าไปอีก จังหวะในการสื่อสารจึงเป็นเรื่องที่สำคัญ และที่สำคัญยิ่งไปกว่านั้น เนื้อหาที่สื่อสารออกไปต้องเป็นข้อเท็จจริงอย่างตรงไปตรงมา แม้ว่าจะเป็นข้อเท็จจริงที่เจ็บปวดก็ตาม เพราะการนำเสนอแต่ข้อเท็จจริง จะทำให้พนักงานยังคงเชื่อมั่นในองค์กร

การเปลี่ยนแปลงขององค์กรย่อมมีที่มาที่ไป คงไม่มีองค์กรไหนต้องการสร้างความวุ่นวาย ดังนั้น ที่มาของการเปลี่ยนแปลงจึงน่าจะเป็นเรื่องสำคัญที่ต้องถ่ายทอดไปสู่พนักงานและผู้เกี่ยวข้องทุกระดับ ซึ่งวิธีการถ่ายทอดนั้น สามารถทำได้ทั้งรูปแบบที่เป็นทางการ เช่น สารจากผู้บริหาร จดหมายข่าว หรือวารสารภายใน ฯลฯ หรือรูปแบบที่ไม่เป็นทางการ เช่น การพูดคุยกับพนักงานอาวุโส พนักงานที่มีอิทธิพลทางความคิด หรืออาจเชิญผู้มีชื่อเสียงหรือมีอิทธิพลจากภายนอกมาให้ความรู้ตอกย้ำประเด็นของการเปลี่ยนแปลง

การสื่อสารเพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงนั้น ต้องไม่ละเลยที่จะดูแลกระแสจากภายนอกองค์กรด้วย ข่าวจากภายนอกองค์กรอาจทำให้พนักงานตีตนไปก่อนไข้ได้ หรือข่าวที่หลุดไปจากพนักงานที่ไม่พึงพอใจต่อการเปลี่ยนแปลง ทั้งๆ ที่อาจเป็นเพียงความคิดเห็นของคนเพียงคนเดียวหรือคนกลุ่มเล็กๆ ก็อาจสร้างความเข้าใจผิดเสียหายต่อองค์กรได้

ปัจจุบันองค์กรคงจะไม่ได้เผชิญหน้ากับการเปลี่ยนแปลงเป็นเรื่องๆ อย่างที่ผ่านมาในอดีตเสียแล้ว แต่ทุกองค์กรกำลังเผชิญหน้ากับ Continuous Change ที่หมายถึงการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง ซึ่งก็หมายความว่า ทั้งผู้บริหาร พนักงาน และผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายต้องรับมือกับการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่องและไม่รู้จบเช่นกัน

โดย อ.อดิศักดิ์ จำปาทอง ในกรุงเทพธุรกิจ

! http://blog.nation.ac.th/?p=2696

แนวคิด ทฤษฎี และการออกแบบองค์การ (Organization)

องค์การ ถือเป็นสิ่งที่มีความเกี่ยวข้องและมีความสำคัญต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ทุกคน ไม่ว่าจะในสถานะของสมาชิกในองค์การหนึ่ง ๆ หรือในสถานะผู้ซื้อสินค้าหรือรับบริการจากองค์การใดๆ ในสังคม

five S model
five S model
สวรัย นัยนานนท์
สวรัย นัยนานนท์

การศึกษาถึงแนวคิด ทฤษฎี และการออกแบบองค์การ จึงเป็นสิ่งสำคัญสำหรับบุคคลทุกคน โดยเฉพาะอย่างยิ่งบุคคลในระดับบริหาร ซึ่งหากมีความรู้ ความเข้าใจถึงแนวคิดและทฤษฎีองค์การ เชื่อว่าจะสามารถบริหารและจัดการให้องค์การ มีผลการดำเนินงานตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดได้อย่างมีประสิทธิภาพ

แนวคิดและทฤษฎีองค์การ มีผู้ศึกษาและให้นิยามขององค์การไว้อย่างหลากหลาย อาทิเช่น “องค์การ คือ การรวมตัวของคนตั้งแต่สองคนขึ้นไป เพื่อดำเนินกิจกรรมใดๆ ให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้” (ดร.ทิพวรรณ หล่อสุวรรณรัตน์) หรือ “สิ่งที่มีอยู่ในสังคม มีการจัดตั้งขึ้นมาอย่างมีเป้าหมาย มีการออกแบบระบบโครงสร้างและระบบกิจกรรมที่มีการประสานงานกัน และมีการเชื่อมโยงสัมพันธ์กับสภาพแวดล้อมภายนอก” (Richard L. Daft) เป็นต้น

ในส่วนของทฤษฎีองค์การ “เป็นหลักการศึกษาถึงโครงสร้าง และการออกแบบองค์การ โดยอธิบายว่าองค์การถูกจัดตั้งขึ้นมาได้อย่างไร และให้ข้อเสนอแนะการสร้างองค์การในลักษณะใด ที่จะก่อให้เกิดประสิทธิผลแก่องค์การเอง” (นิตยา เงินประเสริฐศรี) และเพื่อประโยชน์ต่อการศึกษาทฤษฎีองค์การ จึงจัดแบ่งทฤษฎีองค์การออกเป็น 3 สำนัก คือ

1. สำนักทฤษฎีองค์การสมัยดั้งเดิม จะมุ่งเน้นโครงสร้างองค์การที่เป็นทางการ และการบรรลุวัตถุประสงค์เฉพาะที่กำหนดไว้เป็นหลัก

2. สำนักทฤษฎีองค์การเน้นมนุษยสัมพันธ์ จะมีลักษณะตรงข้ามกับสำนักทฤษฎีองค์การสมัยดั้งเดิม กล่าวคือ มีโครงสร้างองค์การอย่างไม่เป็นทางการ และให้ความสำคัญกับความรู้สึกของคนมากขึ้น

3. สำนักระบบและสถานการณ์ จะให้ความสำคัญกับการพิจารณาถึงลักษณะของระบบต่างๆ ภายในองค์การที่มีความสัมพันธ์กัน และสอดคล้องกับสภาพแวดล้อมขององค์การนั้นๆ

จากทฤษฎีองค์การของแต่ละสำนักตามข้างต้น จะพบว่า ในการศึกษาทฤษฎีองค์การให้เกิดความเข้าใจขึ้นได้นั้น จำเป็นจะต้องทำความเข้าใจหรือศึกษาพฤติกรรมองค์การประกอบด้วย เพราะการบรรลุผลสำเร็จขององค์การได้หรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับคนหรือสมาชิกภายในองค์การนั้นๆ เป็นสำคัญ

การออกแบบองค์การ โดยทั่วไปองค์การจะประกอบด้วยองค์ประกอบ 5 ส่วน คือ ฝ่ายบริหารระดับสูง ฝ่ายบริหารระดับกลาง กลุ่มผู้ปฏิบัติการ ฝ่ายสนับสนุนทางการบริหาร และฝ่ายสนับสนุนทางเทคนิค ซึ่งระดับของบทบาทหน้าที่และความสำคัญขององค์ประกอบใดๆ ข้างต้น จะขึ้นอยู่กับรูปแบบขององค์การ ที่มี 5 รูปแบบ (มินซ์เบอร์ก) คือ องค์การแบบโครงสร้างอย่างง่าย องค์การแบบเครื่องจักรกล องค์การทางวิชาชีพ องค์การแบบโครงสร้างแยกหน่วยงาน และองค์การแบบเฉพาะกิจ

ทั้งนี้ มีแนวคิดเกี่ยวกับวิธีการออกแบบองค์การ โดยใช้ยุทธศาสตร์ 3Rs (ฐิติกร พูลภัทรชีวิน) คือ การปรับความคิดความเข้าใจ (Rethinking) การปรับกระบวนการทำงาน (Reengineering) และ การปรับโครงสร้าง (Restructuring) ซึ่งเป็นการพัฒนาองค์การเพื่อเพิ่มประสิทธิผลในการปฏิบัติงาน

นอกจากนี้ ในปัจจุบันผู้ออกแบบองค์การควรตระหนักถึงลักษณะขององค์การสมัยใหม่ หรือ 5’s Model (รศ.ดร.เสน่ห์ จุ้ยโต) คือ องค์การจิ๋วแต่แจ๋วคุณภาพ (Small) องค์การฉลาดทรงภูมิปัญญา (Smart) องค์การยิ้มแย้มเปี่ยมน้ำใจ (Smile) องค์การร่วมมือไร้ความขัดแย้ง (Smooth) และ องค์การทำเรื่องยากให้ง่ายและเร็ว (Simplify) ซึ่งจะต้องอาศัยความรู้ความสามารถของผู้บริหาร (Competency) การมีวินัยและความรับผิดชอบต่อตนเอง ของพนักงาน (Self-Control) การมีกระบวนการที่ดีมีประสิทธิภาพ มีความน่าเชื่อถือ การมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ซึ่งลักษณะขององค์การตาม 5’s Model นี้ จะสามารถเพิ่มขีดความสามารถให้แก่องค์การ สู่ความเป็นเลิศได้

โดย สวรัย นัยนานนท์  ในกรุงเทพธุรกิจ

! http://blog.nation.ac.th/?p=2576