policy

คืนครูให้นักเรียน: ยกเลิกให้ครูเข้าเวร ทันที

Thai teacher is the guard of the school.

ครูทุกท่านพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า การเข้าเวรเป็นเรื่องที่กินชีวิตมาก ตามระเบียบราชการแล้ว สถานที่ราชการต้องมีเวรยามเฝ้าตลอดเวลาทั้งกลางวันและกลางคืน

เรื่องนี้เป็นปัญหาอย่างมาก โดยเฉพาะกับโรงเรียนขนาดเล็กในพื้นที่ห่างไกล ที่มีจำนวนครูน้อย ทำให้ครูต้องเข้าเวรตอนกลางคืนตลอดเกือบทุกวัน โดยที่ไม่มีค่าล่วงเวลาและไม่มีเวลาชีวิตไปทำอย่างอื่นได้เลย

ถ้าพรรคก้าวไกลเป็นรัฐบาล สิ่งที่เราจะทำคือ การออกคำสั่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ยกเลิกการบังคับให้ครูต้องอยู่เวร ให้ใช้วิธีอื่นในการรักษาความปลอดภัยของโรงเรียนตามความเหมาะสม เช่น ร่วมมือกับชุมชนและสถานีตำรวจ หรือสำหรับโรงเรียนขนาดใหญ่มีเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยอยู่แล้ว ก็ไม่ต้องให้เป็นภาระครูในการอยู่เวรซ้ำซ้อน

https://thaiall.com/checklist.php

นโยบายพรรคก้าวไกล

เรื่องซึ้ง เกี่ยวกับการเลือกเดินรถของภาครัฐ สำหรับนักเรียนคนหนึ่ง

นักเรียนคนหนึ่ง
นักเรียนคนหนึ่ง

อ่านเรื่อง รถไฟบนเกาะฮอกไกโดแล้วซึ้ง
อ่านเรื่อง รถ BRT ช่องนนทรี-ราชพฤกษ์ แล้วน่าคิดตาม
อ่านเรื่อง ควบรวมโรงเรียนใน 4 รูปแบบ แล้วน่าคิดตาม

ความตรงต่อเวลา
เป็นสิ่งที่ทั้ง 2 ฝ่ายต้องรักษา
เป็นอย่างดี


19 มิ.ย.59 อ่านเรื่อง “กทม.​ เตรียมปิดฉาก BRT สายช่องนนทรี-ราชพฤกษ์”
รายละเอียดส่วนหนึ่ง คือ “จากข้อมูลของกทม. BRT มีผู้โดยสารเฉลี่ย 23,000 คน/วัน
พลาดจากเป้าที่วางไว้ 30,000 คน/วัน ทำให้ขาดทุนถึง 1,000 ลบ.
เนื่องจาก กทม. ต้องควักเนื้อ งบประมาณอุดหนุนโครงการ ปีล่ะ 200 กว่าลบ.
เพื่อจ่ายค่าติดตั้งระบบ-เดินรถให้ BTSC-บมจ.ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ เป็นระยะเวลา 7 ปี
ซึ่งสัญญาจะสิ้นสุด เม.ย.2560″ แต่เตรียมหาระบบอื่นทดแทน อยู่ระหว่างศึกษา
บทความโดย : Yuii ที่มาข่าว: ประชาชาติ
http://goo.gl/wvjuax

7 มิ.ย.59 อ่านเรื่อง “สพฐ. ยันไม่ยุบโรงเรียนขนาดเล็ก”
รมว.ศึกษาธิการ ได้มอบหมายให้ สพฐ.
ไปดำเนินการว่าจะมีการบริหารจัดการอย่างไร โดยเบื้องต้น สพฐ.ได้ดำเนินการใน 4 รูปแบบ
1. ควบรวมทั้งโรงเรียน
2. ควบรวมแบบสลับชั้นเรียน
3. ควบรวมแบบสลับชั้นเรียนบางช่วงชั้น
4. ควบรวมแบบคละชั้น
โดยเป้าหมายหลัก คือ ต้องให้โรงเรียนมีครูครบชั้น และมีนักเรียนที่เหมาะสมกับห้องเรียน
ซึ่งก็หมายความว่าทั้ง 2 โรงเรียน ต้องมาบริหารโรงเรียนร่วมกัน
โดยวิธีการควบรวม แต่ไม่ใช่การยุบเลิกโรงเรียน เว้นแต่โรงเรียนที่มีที่ตั้งสภาพทางภูมิศาสตร์
ที่เป็นข้อจำกัด คือ อยู่ห่างไกล พื้นที่สูง อยู่บนเกาะ เป็นต้น
http://www.kruwandee.com/news-id31815.html

อ่านเรื่องควบรวมโรงเรียนแล้ว คิดถึงภาพยนตร์เรื่อง “คิดถึงวิทยา
มีชื่อภาษาอังกฤษว่า The Teacher’s Diary
https://www.youtube.com/watch?v=269Mit_Ip80

15 ม.ค.59
ซึ้ง! รถไฟญี่ปุ่นยอมเดินรถรับ-ส่งนักเรียนหญิงคนเดียวจนจบการศึกษา เป็นเวลา 3 ปี
http://manager.co.th/Japan/ViewNews.aspx?NewsID=9590000004840

14 ม.ค.59
การรถไฟญี่ปุ่นบนเกาะฮอกไกโดจะทำการยกเลิกรถไฟเที่ยวสถานี “คายุ ชิราตากิ”
https://www.facebook.com/prince.alessandro.92/posts/10153879626451057

31 มี.ค.59
ปิดตัวแล้ว สถานีรถไฟญี่ปุ่นรับ-ส่งนร.หญิงคนเดียวจนจบการศึกษา (ชมคลิป)
http://www.manager.co.th/Japan/ViewNews.aspx?NewsID=9590000032991

12 ม.ค.59
Japan is keeping an entire train station open for just one passenger.
Kana Harada lives in Shirataki, a neighborhood with just 36 people.
She takes the train every day to the closest high school, 35 minutes away.
And She’s the only one who gets on.
“I got on and off this train for the last three years.”
“.. and this station’s presence has become something..”
“.. I have taken for granted.”
“I do feel sad to think it will disappear.”
Local residents build the station in 1955 to get kids to school.
When Harada graduates in March, the station will shut down.
“I remember getting on the train..”
“.. at an important time in my development.”
“I get very emotional about it.”
“I am glad we had this station here.”
Harada is proud to be the train’s last passenger.
[INSIDER]
https://www.youtube.com/watch?v=4BhiGKFtUA4

ข่าวปรับรูปแบบการประเมินให้ดีขึ้น เด็กจะมีความสุขกับการเรียนมากขึ้น

ความสุข ในมุมมองของแต่ละคนไม่เหมือนกัน
– นักพัฒนาการศึกษา ก็คิดอย่าง
– ครู ก็คิดอย่าง
– เด็ก ก็คิดอย่าง
– ผู้ปกครอง ก็คิดอย่าง
– ชาวบ้านชาวช่อง ก็คิดไปอีกอย่าง

ข่าวในเดลินิวส์เมื่อ 15 เมษายน 2559 ว่า
กระทรวงศึกษาธิการ โดย นพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ รมช.ศึกษาธิการ เปิดเผยว่า
การกำหนด หรือสร้างตัวชี้วัดความสำเร็จ (KPI) ที่กำลังพัฒนาใหม่ให้ดีกว่าเดิม และสมบูรณ์
และจะส่งต่อให้ สมศ. พัฒนาให้สอดคล้องกัน
และจะปรับปรุงการเรียนการสอนเริ่มภาคที่ 2 ปีการศึกษา 2559
เน้นวิชาหลัก เช่น คณิต วิทย์ ไทย อังกฤษ เรียนอย่างน้อยวิชาละ 1 ชั่วโมงต่อวัน
เพื่อให้เข้มแข็งทางวิชาการ และเพื่อให้เด็ก ๆ มีความสุขกับการเรียนมากขึ้น

[ความสุข]
ผมว่าใคร ๆ ก็ตั้งใจพัฒนาการศึกษาให้เด็กมีความสุขกับการเรียนมากขึ้น
ต่อไปวิชาหลักก็จะเรียนกันทุกวันตั้งแต่เด็ก เป็นประเด็นที่น่าสนใจ
เพราะโตขึ้นพอเข้ามหาวิทยาลัย อาจไปกวดวิชากันน้อยลง
เพราะเรียนมาเยอะล่ะ จึงไม่จำเป็นต้องเรียนข้างนอกอีก
– พ่อแม่ก็มีความสุข ไม่ต้องเสียตังให้ลูกไปกวดวิชา
– เด็กก็มีความสุข เรียนในห้องเยอะล่ะ ไม่ต้องไปกวดวิชา
ถ้าในโรงเรียนสอนกระหยองกระแหยง เด็กก็ต้องไปเรียนพิเศษข้างนอก
เพราะเวลาเรียนในห้องไม่พอเรียนรู้เนื้อหาที่มีอยู่ จึงต้องไปขวนขวายหาเอง
อ่านต่อที่ : http://www.dailynews.co.th/education/391701

mama tutor
mama tutor

http://www.dek-d.com/admission/25831/

รายการคืนความสุข ท่านนายกพูดถึง ภารกิจหลักด้านการศึกษา และการใช้ไอที

รายการคืนความสุข วันที่ 27 มีนาคม 2558
เล่าถึงนโยบายทางการศึกษาในนาทีที่ 2.10 super board ด้านการศึกษา
มุ่งเน้น 3 ภารกิจหลัก

1. การดำเนินงานตามภารกิจประจำ
(routine work)
2. การดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาล
(Implementation of government policies)
3. การดำเนินงานสำหรับการวางรากฐานเพื่อส่งไปยังรัฐบาลในอนาคต
(Work related to laying down the foundation for future governments)

ทั้งนี้
จะดำเนินการทั้งด้านการจัดการศึกษา
การปรับหลักสูตร การพัฒนาคุณภาพครูและผู้เรียน
การยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษา การใช้จ่ายงบประมาณ และการกระจายอำนาจ
เน้นให้มีทั้งนักวิชาการ และนักปฏิบัติ โดยจะพิจารณาการดำเนินงาน
จากต่างประเทศมาปรับใช้ตามความเหมาะสม

แล้วนาทีที่ 4.45
ที่เห็นเป็นประโยชน์ คือ การสอนทาง social media หรือระบบดิจิทอล
ต้องสอนให้รู้ว่าเราจะใช้ประโยชน์อย่างไร
ถ้าใช้ผิด แล้วไปคาดหวังจากระบบอย่างเดียว ก็คงไม่ได้
https://www.youtube.com/watch?v=2A5fPtiJ-Qw