professional

ไล่ล่า มืออาชีพ

จักร์กฤษ เพิ่มพูล
จักร์กฤษ เพิ่มพูล

โฆษณาทั้งชวนเชื่อ และชวนด้วยความเชื่อจริงๆ ในเรื่องการ “เรียนกับมืออาชีพ” นับเป็นปรากฏการณ์ร่วม ที่เกิดขึ้นมายาวนานแล้ว ในสถาบันการศึกษาต่างๆ เพราะความคิดเรียนเพียงเพื่อกระดาษหนึ่งแผ่น จบแล้วไม่มีงานทำ โดยเฉพาะในสาขาทางด้านสังคมศาสตร์ที่ว่ากันว่าเรียนง่าย จบง่ายนั้น บั่นทอนขวัญและกำลังใจของผู้เรียนไม่น้อย

! http://bit.ly/165e7cO

ภาพประกอบจาก http://mediainsideout.net/local/2013/04/121

เนื่องเพราะเมื่อจบแล้ว ไม่สามารถเข้าสู่ระบบงานได้ทันที เพราะเรียนมาอย่างหนึ่ง แต่ในงานเป็นอีกอย่างหนึ่ง โดยเฉพาะในสาขานิเทศศาสตร์ ที่หมุนไปไม่ทันโลกแห่งเทคโนโลยีการสื่อสาร

ฉะนั้น การเรียนรู้กับมืออาชีพ จึงเป็น “ข้อเสนอ” และทางเลือกของผู้บริหารสถาบันการศึกษา เพื่อสร้างแรงจูงใจว่า นักศึกษาจะได้เรียนรู้จากผู้มีประสบการณ์โดยตรง จากกรณีศึกษาที่เกิดขึ้นจริง หรือในสภาพบรรยากาศสถานที่ทำงานจริง และเมื่อจบแล้ว มีหลักประกันว่าจะได้ทำงานแน่นอน แต่ประเด็น ก็คือ สิ่งเหล่านี้มีอยู่จริงหรือไม่ สถาบันการศึกษาใด จะมีมืออาชีพเข้ามามีส่วนร่วมในการผลิตบัณฑิตได้มากน้อย จริงจังเพียงใด

คำว่า “มืออาชีพProfessional หรือ Professionalism คืออะไรแน่ มีคนนิยามคำนี้ไว้หลากหลาย ถ้านิยามอย่างรวบรัด ก็อาจจะพูดได้ว่า เป็นผู้ที่มีความเชี่ยวชาญ มีประสบการณ์ในเรื่องนั้น และที่อาจไม่ค่อยได้พูดถึงนัก ก็คือต้องมีคุณธรรม จริยธรรม ด้วย แต่เพียงเท่านี้คงยังไม่เพียงพอที่จะบอก คุณลักษณะของมืออาชีพ เพราะดูเหมือนว่า ความเป็นมืออาชีพยังปะปนกับคำว่า อาชีพ หรือกระทั่งคำว่า “วิชาชีพ” เมื่อกล่าวถึงในบริบทของสื่อสารมวลชน

นอกจากคำว่า “อาชีพ” “วิชาชีพ” แล้ว เมื่อพูดถึงงานด้านสื่อสารมวลชน ยังมีคำว่า “อาชีวปฏิญาณ” อีกคำหนึ่ง คำสามคำนี้ ต่างกันอย่างไร

คำว่า อาชีพ หมายถึง การทำกิจกรรม การทำงานที่ไม่เป็นโทษกับสังคมและมีรายได้ตอบแทนโดยอาศัย แรงงาน ความรู้ ทักษะ อุปกรณ์ เครื่องมือ วิธีการแตกต่างกันไป ส่วนวิชาชีพนั้น หมายถึง งานที่อุทิศจิตวิญญาณให้กับงาน ต้องอาศัยการอบรมสั่งสอนมานาน เป็นงานที่มีแบบแผนและจรรยาของหมู่คณะ จุดเน้นวิชาชีพคืออาชีพที่ต้องมีจรรยาบรรณ หากประกอบวิชาชีพขัดต่อจรรยาบรรณแล้ว จะก่อให้เกิดความเดือดร้อนต่อสังคม เช่น ครู หมอ นักกฎหมาย ตำรวจ ทหาร รวมทั้งสื่อมวลชน

สำหรับอาชีวปฏิญาณ เป็นศัพท์บัญญัติ ซึ่งยังอ้างอิงไม่ได้ชัดว่าใครคือต้นกระแสธาร แต่ครูหนังสือพิมพ์รุ่นใหญ่พงษ์ศักดิ์ พยัฆวิเชียร กล่าวถึงบ่อยครั้ง คือ “…การปฏิญาณตนต่อสรรพสิ่งศักดิ์สิทธิ์ว่า จะประกอบอาชีพตามธรรมเนียมที่วางไว้เป็นบรรทัดฐาน หาใช่เป็นการทำมาหากิน หรือทำมาหาเลี้ยงชีพ แต่เพียงอย่างเดียว

กล่าวอย่างรวบรัด การเรียนกับมืออาชีพ หมายถึงการเรียนกับผู้ที่มีประสบการณ์ตรงในอาชีพนั้น ซึ่งในที่นี้จะพูดถึงในเรื่องอาชีพสื่อสารมวลชน ในคณะที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเรียกชื่อว่านิเทศศาสตร์ วารสารศาสตร์ สื่อสารมวลชน หรือยังคงมีฐานะเป็นโปรแกรมในคณะวิทยาการจัดการ ของมหาวิทยาลัยราชภัฏบางแห่งก็ตาม แต่ในโลกความเป็นจริง สถาบันการศึกษาจำนวนไม่น้อย ยังขาดแคลนมืออาชีพที่สามารถถ่ายทอดประสบการณ์จริงไปพร้อมๆ กับการสอนทฤษฎีหรือหลักการในห้องเรียน

แต่ในทางตรงกันข้าม นักวิชาชีพส่วนใหญ่ก็ไม่ได้มีทักษะในการสอน หรือสามารถอธิบายถ่ายทอดประสบการณ์ได้อย่างเห็นภาพ เหมือนอาจารย์อาชีพที่มีความเชี่ยวชาญในการเรียนการสอน นับเป็นเหรียญสองด้านที่ยังถกเถียงกันอยู่

คำว่า “เรียนกับมืออาชีพ” จึงยังเป็นคำที่ต้องค้นหาความหมายที่แท้จริงกันต่อไป แต่ในทางทฤษฎีการเรียนจากของจริง ฝึกปฏิบัติจริงและทำจริง นั่นคือสุดยอดของการเรียนแน่นอน

โดย จักร์กฤษ เพิ่มพูล ในกรุงเทพธุรกิจ

! http://blog.nation.ac.th/?p=2631

องค์ประกอบดี ผลลัพธ์ย่อมดี แปรผันตามกัน

ทัศนะวิจารณ์  ..  “องค์ประกอบชำรุด ผลลัพธ์ย่อมผิดรูปไป

 

องค์ประกอบ และผลลัพธ์
องค์ประกอบ และผลลัพธ์

สิ่งมีชีวิตทั้งมวลล้วนเป็นไปตามกฎวัฏสงสาร มีเกิดมีดับเปลี่ยนไปตามภพภูมิ มีเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป แล้วก็กลับมาเกิดใหม่ แล้วทุกสถานะก็จะมีองค์ประกอบและค่าประจำองค์ของตน การเลื่อนไหลจากสถานะหนึ่งไปอีกสถานะหนึ่งล้วนมีที่มาที่ไป ซึ่งค่าขององค์ประกอบทั้งหมดจะถูกรวมและประเมินว่าจะไหลไปอยู่ที่ใดเป็นเวลาเท่าใด  เช่นเดียวกันกับคุณภาพการศึกษาที่ต้องมีองค์ประกอบเป็นปัจจัยว่าสถาบันจะรุ่ง หรือจะร่วง

ทุกอย่างเกิดขึ้นจากการรวมกันขององค์ประกอบ เช่น ข้าวมันไก่จะประกอบด้วย ข้าว ไก่ น้ำจิ้ม น้ำซุป แต่จะมีลูกค้ามากน้อยเพียงใดย่อมมีอีกหลายองค์ประกอบที่เกี่ยวข้อง สำหรับข้าวมันไก่ที่มีคุณภาพก็จะมีรสชาติและปริมาณใกล้เคียงกันทุกจาน หากกุ๊กทำมานับสิบปีที่เรียกว่ามืออาชีพก็มักมีมาตรฐาน คือ ปริมาณและรสชาติใกล้เคียงกันทุกจาน ส่วนร้านใดเปลี่ยนกุ๊กบ่อยก็คาดได้ว่าไม่มีมาตรฐาน คือ รสชาติเปลี่ยนตามแม่ครัว ลูกค้าก็มักทยอยหนีหายไปร้านอื่น

การศึกษายุคโบราณที่มีวัดเป็นโรงเรียนจะมีองค์ประกอบที่ต่างกับปัจจุบัน คือ มีพระสงฆ์ มีกระดานชนวน มีปั๊บสา มีศาลาวัดเป็นห้องเรียน ซึ่งยังไม่มีใครพูดถึงคุณภาพหรือมาตรฐาน แต่ปัจจุบันโรงเรียนประกอบด้วย อาคารเรียน ครู ห้องเรียน สื่อการเรียนรู้ หลักสูตร คุณภาพและมาตรฐาน เป็นต้น แล้วองค์ประกอบที่ทำให้โรงเรียนแตกต่างกันก็มีอยู่มากมาย เพื่อแยกความแตกต่างจึงมีการจัดลำดับโรงเรียน ก็มีทั้งจัดอันดับในจังหวัด ในประเทศ และในโลก เมื่อมีโรงเรียนที่เป็นเลิศก็ย่อมมีโรงเรียนที่อยู่ท้ายสุด ผู้จัดอันดับแต่ละรายก็จะสนใจองค์ประกอบที่เป็นที่มาของคะแนนแตกต่างกัน อาจพิจารณาจากจำนวนนักเรียนที่สอบเข้าในสถาบันการศึกษาของรัฐ จำนวนนักเรียนที่เป็นตัวแทนระดับชาติ หรือคะแนนเฉลี่ยจากการสอบวัดผลด้วยข้อสอบส่วนกลาง

ในระดับอุดมศึกษามีสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) กำหนดว่าสถาบันที่มีคุณภาพต้องประเมินองค์ประกอบคุณภาพทั้งหมด 9 องค์ประกอบ นอกจากนั้นก็ยังมีสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา(องค์การมหาชน) (สมศ.) กำหนดว่ามาตรฐานคุณภาพต้องมี 18 มาตรฐาน หากลงไปในรายละเอียดก็จะพบว่ามีตัวบ่งชี้ และเกณฑ์คุณภาพอีกร้อยกว่าตัวที่ทุกหลักสูตรต้องปฏิบัติ ไม่มีหลักฐานมาแสดงก็จะไม่ได้คะแนนในส่วนนั้น ถ้าไม่ดำเนินการตามเกณฑ์ในระดับหนึ่งก็จะถูกประเมินว่าไม่มีคุณภาพ อาจมีผลพิจารณาจากต้นสังกัดว่าไม่ได้รับอนุญาตให้เปิดรับนักเรียนในปีต่อไป หากดื้อดึงยังรับนักศึกษาต่อไปก็จะไม่ส่งเรื่องให้สำนักงาน ก.พ. เป็นผลให้หลักสูตรที่มีบัณฑิตจบออกมานั้นไม่สามารถรับราชการได้

องค์ประกอบของสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษาที่มีคุณภาพต้องมี 9 องค์ประกอบ คือ แผนการดำเนินการ การผลิตบัณฑิต การพัฒนานักศึกษา การวิจัย การบริการวิชาการ การทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม การบริหาร การเงิน และการประกันคุณภาพ จากการกำกับให้มีการประกันคุณภาพการศึกษาอย่างต่อเนื่องมากว่า 10 ปีของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ได้นำผลการประเมินคุณภาพการศึกษาของทุกสถาบันเผยแพร่สู่สาธารณะผ่านระบบ CHEQA เมื่อเข้าไปสืบค้นข้อมูลผลประเมินสถาบันการศึกษาในไทย พบว่า มีสถาบันการศึกษากลุ่มหนึ่งที่มีผลประเมินต่ำกว่าระดับดี โดยองค์ประกอบที่มีคะแนนต่ำคือ การผลิตบัณฑิต และการวิจัย

เมื่อเข้าไปดูผลการดำเนินงานของสถาบันที่มีผลประเมินในระดับต่ำในระบบ CHEQA ที่ สกอ. เผยแพร่ พบว่า ตัวบ่งชี้ของการผลิตบัณฑิตที่ได้คะแนนต่ำ คือ จำนวนอาจารย์ที่มีวุฒิปริญญาเอก และจำนวนอาจารย์ที่มีตำแหน่งทางวิชาการมีน้อย ซึ่งสะท้อนได้ว่าจำนวนอาจารย์ที่พร้อมสอนในระดับนี้ยังขาดแคลน ส่วนตัวบ่งชี้ของการวิจัยที่ได้คะแนนต่ำ คือ วงเงินสนับสนุนงานวิจัย ถ้าหลักสูตรด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมีอาจารย์ 5 ท่านจะต้องได้ทุนวิจัย 300,000 บาทต่อปี จึงจะได้คะแนนในระดับดีมาก

องค์ประกอบทั้งสองส่งผลถึงการผลิตบัณฑิตว่า ถ้าอาจารย์มีความพร้อมที่จะสอน ย่อมผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพเป็นที่ยอมรับของสังคม ถ้าอาจารย์ทำวิจัยที่มีคุณภาพก็ย่อมจะได้องค์ความรู้ใหม่ และนำไปถ่ายทอดให้นักศึกษามีความรู้ใหม่ แล้วจบเป็นบัณฑิตที่มีคุณภาพ เป็นที่ต้องการของสังคม แต่จากการติดตามข่าวเด่นประเด็นร้อนในเว็บไซต์ของกระทรวงศึกษาธิการ พบว่า สถาบันการศึกษาบางแห่งไม่ใส่ใจเรื่องคุณภาพการศึกษาจนเป็นเหตุให้ต้องถอนใบอนุญาตจัดตั้งมหาวิทยาลัย หรือบางแห่งต่างเรื่องคุณภาพอาจารย์จน สกอ. มีคำสั่งให้หยุดรับนักศึกษาใหม่ในหลักสูตรที่มีจำนวนอาจารย์วุฒิปริญญาเอกน้อย และตำแหน่งทางวิชาการน้อย

เกณฑ์คุณภาพการศึกษาเป็นเรื่องที่มองได้หลายมุม คนที่กำหนดเกณฑ์เป็นคนกลุ่มหนึ่ง คนที่รักษากฎเป็นอีกกลุ่ม คนที่พิพากษาเป็นอีกกลุ่ม แต่กลุ่มใหญ่ที่สุดคือคนที่ต้องปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ทุกข้อให้ครบถ้วน ปัจจุบันพบว่ามีนักวิชาการไทยก็ยังเห็นต่างเรื่องคุณภาพการศึกษา อาทิ เน้นการกระจายโอกาสทางการศึกษาจนทำให้คุณภาพเสียไป เน้นเรียนกับมืออาชีพโดยใช้คนที่ทำงานในภาคธุรกิจมาเป็นอาจารย์พิเศษเป็นสัดส่วนที่มากเกินไปก็จะไม่เป็นตามเกณฑ์คุณภาพ
ประเทศไทยยังเป็นประเทศกำลังพัฒนา และอยู่ระหว่างพัฒนา ทั้งองค์ประกอบคุณภาพ มาตรฐานคุณภาพ และเกณฑ์คุณภาพมีการปรับเปลี่ยนตลอดเวลาในช่วงเวลา 10 ปีนี้ และจะยังปรับเปลี่ยนต่อไป การให้ความสำคัญกับองค์ประกอบใดอย่างไรย่อมทำให้ผลลัพธ์แปรผันตามกันไป ในอนาคตการศึกษาไทยอาจให้ความสำคัญกับองค์ประกอบด้านศิลปวัฒนธรรมเป็นอันดับหนึ่ง ถ้าวันนั้นมาถึงก็เชื่อได้ว่าบัณฑิตใหม่จะสวดมนต์ และฟ้อนรำเป็นทุกคน

แหล่งข้อมูล
http://www.cheqa.mua.go.th
http://www.mua.go.th
http://www.onesqa.or.th
http://www.moe.go.th

วิกฤตครูจ่อเกษียณเกือบแสนคน 56-60 แนะผลิตรองรับ

ศิษย์มีครู
ศิษย์มีครู

23 เม.ย.56 รายงานข่าวแจ้งว่า จากข้อมูลของสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พบว่าจำนวนข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาที่จะเกษียณอายุราชการในปีงบประมาณ 2556-2560 มีจำนวน 97,254 คน มีรายละเอียดดังนี้ ปี 2556 จำนวน 10,932 คน ได้แก่ อันดับข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (คศ.) 1 จำนวน 11 คน อันดับ คศ.2 วิทยฐานะชำนาญการ จำนวน 3,929 คน อันดับ คศ.3 วิทยฐานะชำนาญการพิเศษ จำนวน 6,556 คน อันดับ คศ.4 วิทยฐานะเชี่ยวชาญ จำนวน 260 คน อันดับ คศ.5 วิทยฐานะเชี่ยวชาญ และวิทยฐานะเชี่ยวชาญพิเศษ 9 คน บุคลากรทางการศึกษาอื่น 38 ค (2) จำนวน 167 คน ปี 2557 จำนวน 15,541 คน ได้แก่ คศ. 1 จำนวน 6 คน อันดับ คศ.2 วิทยฐานะชำนาญการ จำนวน 5,774 คน อันดับ คศ.3 วิทยฐานะชำนาญการพิเศษ จำนวน 9,239 คน อันดับ คศ.4 วิทยฐานะเชี่ยวชาญ จำนวน 275 คน อันดับ คศ.5 วิทยฐานะเชี่ยวชาญ 10 คน บุคลากรทางการศึกษาอื่น 38ค (2) จำนวน 237 คน

รายงานข่าวระบุด้วยว่า สำหรับ ปี 2558 จำนวน 20,661 คน ได้แก่ คศ.1 จำนวน 23 คน อันดับ คศ.2 วิทยฐานะชำนาญการ จำนวน 7,612 คน อันดับ คศ.3 วิทยฐานะชำนาญการพิเศษ จำนวน 12,546 คน อันดับ คศ.4 วิทยฐานะเชี่ยวชาญ จำนวน 206 คน อันดับ คศ.5 วิทยฐานะเชี่ยวชาญ 10 คน บุคลากรทางการศึกษาอื่น 38 ค(2) จำนวน 264 คน

ปี 2559 จำนวน 24,689 คน ได้แก่ คศ.1 จำนวน 28 คน อันดับ คศ.2 วิทยฐานะชำนาญการ จำนวน 9,165 คน อันดับ คศ.3 วิทยฐานะชำนาญการพิเศษ จำนวน 15,019 คน อันดับ คศ.4 วิทยฐานะเชี่ยวชาญ จำนวน 174 คน อันดับ คศ.5 วิทยฐานะเชี่ยวชาญ 5 คน บุคลากรทางการศึกษาอื่น 38 ค (2) จำนวน 298 คน และ ปี 2560 จำนวน 25,431 คน ได้แก่ คศ.1 จำนวน 42 คน อันดับ คศ.2 วิทยฐานะชำนาญการ จำนวน 9,057 คน อันดับ คศ.3 วิทยฐานะชำนาญการพิเศษ จำนวน 15,865 คน อันดับ คศ.4 วิทยฐานะเชี่ยวชาญ จำนวน 146 คน อันดับ คศ.5 วิทยฐานะเชี่ยวชาญ 2 คน บุคลากรทางการศึกษาอื่น 38ค (2) จำนวน 319 คน

นางรัตนา ศรีเหรัญ เลขาธิการคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) กล่าวว่า เรื่องนี้หน่วยผลิตบัณฑิตสายครุศาสตร์-ศึกษาศาสตร์ จะต้องมาขอข้อมูลเพื่อผลิตบัณฑิตให้เพียงพอทดแทนกับข้าราชการครูที่จะเกษียณอายุราชการในช่วงปี 2556-2560 ซึ่งจะต้องมาดูว่า จะต้องผลิตบัณฑิตในสาขาอะไรบ้าง และจะต้องเริ่มวางแผนการผลิตตั้งแต่ปีการศึกษา 2556 นี้ โดยขณะนี้ยังไม่ได้มีการประสานหรือขอข้อมูลดังกล่าว ทั้งนี้ในส่วนของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ในฐานะหน่วยงานที่ข้าราชการครูเหล่านี้ปฏิบัติงานอยู่ในโรงเรียนสังกัด สพฐ.ก็ไม่สามารถกำหนดอัตรามาทดแทนได้ เพราะตามมติคณะกรรมการกำหนดเป้าหมาย และนโยบายกำลังคนภาครัฐ

(คปร.) ได้กำหนดให้มีการคืนอัตราเกษียณอายุราชการให้ ศธ.100% จนถึงปี 2556 นี้และหลังจากนั้นจะเหลืออัตราคืนให้เพียง 20% ของอัตราเกษียณในแต่ละปี โดยเมื่อพิจารณาตั้งแต่ปี 2557-2560 แล้ว จะได้อัตราเกษียณคืนมาประมาณ 20,000 อัตราเท่านั้น ฉะนั้น หากไม่มีการวางแผนแล้ว ก็จะมีปัญหาการขาดแคลนข้าราชการครู อย่างแน่นอน

หน่วยผลิตสามารถเสนอขอข้อมูลมายัง ก.ค.ศ.เพื่อให้วิเคราะห์รายละเอียดข้าราชการครูที่จะเกษียณอายุราชการช่วงปี 2556-2560 จำแนกตามสาขาวิชาเอกได้ จะได้เป็นประโยชน์ในการผลิตบัณฑิตให้เพียงพอ ในส่วนของ สพฐ.นั้น ก็อาจจะต้องสรรหาครูให้ตรงและเพียงพอกับสาขาที่ขาดแคลน เลขาธิการ ก.ค.ศ.กล่าว

ที่มา : นสพ.มติชน http://www.prachachat.net

http://www.moe.go.th/moe/th/news/detail.php?NewsID=32487&Key=hotnews

ความหมาย และความจำเป็น กับคำว่ามืออาชีพ

แต่งหน้า อย่างกับมืออาชีพ
แต่งหน้า อย่างกับมืออาชีพ

ความหมาย และความจำเป็น ที่ต้องใช้มืออาชีพ
1. ความหมายของมืออาชีพ ของ สุรชัย เทียนส่ง ใน blog คณะเภสัชศาสตร์ ศิลปากร
มืออาชีพ คือ มือ + อาชีพ เอาคำสองคำนี้มาประสานกัน การทำงานคงต้องใช้มือในการลงมือทำ มือทำตามสมองและจิต  การงานใดที่เรามองว่ามันคืออาชีพ เราควรจะทำมันเต็มกำลังสามารถและควรจะพยายามรักษาอาชีพที่เราทำนั้นไว้ให้ดีที่สุด เมื่อเราทำเช่นนี้ เราก็จะมีความสามารถในงานที่เราทำเหนือใคร ๆ จนสามารถสอน บอกเล่า งานการที่เราทำนั้นแก่ผู้อื่นได้ ซึ่งอาจหมายถึงคำที่เขาเรียกกันว่า ผู้มีประสบการณ์
http://blog.pharm.su.ac.th/content/%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%B5%E0%B8%9E

2. ความจำเป็นที่ต้องใช้ มืออาชีพ มาเป็น อาจารย์พิเศษ ของ ผศ.ชัยชาญ ถาวรเวช นิเทศ ศิลปากร
ตอบคำถามเรื่อง “อะไรคือ ความตั้งใจแรกที่ คณะไอซีที ต้องอยู่บางรัก และมีอาจารย์พิเศษ ซึ่งเป็นสาเหตุให้ สกอ. ประเมิน ไม่ผ่าน”
ว่า “คณะมีความตั้งใจ คือ ต้องการให้นักศึกษาจบไปแล้วทำงานเป็นเลย เพราะอย่างที่ทราบกันดี นายจ้างต้องเสียเวลาฝึกพนักงานใหม่เป็นเดือน พอเป็นงานแล้ว ก็เปลี่ยนงานใหม่ เพื่อปรับฐานเงินเดือน”
“เพราะเหตุนี้ มหาวิทยาลัยจึงต้องการผลิตบัณฑิต เพื่อตอบสนองความต้องการของสังคมได้ดี บัณทิตที่จบไป ต้องทำงานได้ทันที นี่คือ ความจำเป็นที่ต้องใช้ มืออาชีพ มาเป็น อาจารย์พิเศษ ”
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1365152611&grpid=03&catid=03

แถลงการณ์จากคณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มศก.
เรื่อง การรับนักศึกษาหลักสูตรนิเทศศาสตร์ ประจำปีการศึกษา 2556

http://thainame.net/edu/?p=708

3. ถ้าหลักสูตรมีผู้มีประสบการณ์แสดงว่าเป็นจุดขาย ของ ผศ.ดร.รุ่งรัตน์ ชัยสำเร็จ นิเทศฯ หอการค้าไทย
“ต้องยอมรับว่ามหาวิทยาลัยเปิดหลักสูตรจำนวนมาก แต่อาจารย์สอนมีจำนวนจำกัด ทำให้มหาวิทยาลัยทุกแห่งต้องจ้างอาจารย์พิเศษมาสอน ซึ่งการจ้างอาจารย์พิเศษมาสอนถือเป็นเรื่องที่ดี เพราะทำให้นักศึกษาได้เห็นมุมมอง ประสบการณ์ ความคิดใหม่ๆ จากอาจารย์พิเศษที่ส่วนใหญ่เป็นผู้เชี่ยวชาญ มีความรู้ความสามารถ อยู่ในแวดวงการทำงานธุรกิจนั้นจริงๆ”
คมชัดลึก ฉบับวันที่ 18 เม.ย. 2556 (กรอบบ่าย)
http://www.moe.go.th/moe/th/news/detail.php?NewsID=32449&Key=hotnews


แต่งหน้าแบบมืออาชีพ