question

การสร้างแบบฝึกหัดแบบเฉลยทันที

มีผู้ปกครองแชร์คลิปวิดีโอแบบทดสอบ หรือข้อสอบสำหรับเด็ก
เรื่อง “59002 อ่านว่าอะไร” พบว่า แบบสอบตามคลิปใช้บริการ Google form แบบ quiz ที่เฉลยทันที ซึ่งเป็นแนวคิดการสร้างแบบฝึกหัดให้นักเรียนได้ฝึกทำหลายครั้งได้ เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ด้วยตนเอง พบว่า ตัวแบบสอบ หรือข้อสอบถูกสร้างด้วยการแปะภาพที่ตัดมาจากกระดาษข้อสอบจริง และมีตัวเลือกแบบ multiple choice จำนวน 4 ตัวเลือก คือ ก ข ค ง

https://forms.gle/Va9nrL1g8AjtHFeT8

จึงเขียนขั้นตอนเพื่อสร้างแบบสอบ internet01 แล้ว Send link เป็น Shorten URL ที่ https://forms.gle/Va9nrL1g8AjtHFeT8 โดยขอเล่าถึงขั้นตอนการสร้างแบบสอบชุดนี้ ว่ามีขั้นตอน ดังนี้ 1) สร้าง google form แล้วพิมพ์ชื่อแบบสอบเข้าไปที่ untitled form 2) Add section เพื่อให้ Section แรก เพื่อให้เป็นส่วนรับชื่อสกุล กรณีต้องการบันทึกไว้ในระบบ และส่วนที่สองเป็นข้อสอบที่มีการสุ่มทั้งตัวเลือก และคำถาม 3) ใน Section ที่สอง เพิ่มข้อสอบแบบ Multiple choice กรอกคำถาม และตัวเลือกให้ครบ สำหรับข้อแรก 4) คลิ๊ก Settings ของแบบสอบ เลือก enabled ให้กับ Make this a quiz และเลือก Immediately after each submission โดยหัวข้อ RESPONDENT SETTINGS เลือกเปิดการเฉลยซึ่งมี 3 ตัวเลือก คือ Missed questions , Correct answers , Point values 5) เลือก Suffle question order เพื่อเตรียมสภาพแวดล้อมเป็นแบบสอบ 6) กลับไปที่คำถามแรก เลือกคลิ๊ก 3 จุด แล้วเลือก Suffle option order 7) ในคำถาม กำหนดข้อที่ถูก และกำหนดคะแนน (point) ที่จะได้ถ้าถูก ผมใส่ไป 1 คะแนนทุกข้อ 8) ในหัวข้อ title form ได้ระบุคำชี้แจงก่อนลงมือทำแบบสอบ ดังนี้ 1. ตรวจคำตอบ และเฉลยหลังส่งแบบสอบ 2. สามารถทำซ้ำได้ 3. แบบสอบชุดนี้เป็นเพียงแบบฝึกหัด 4. ไม่มีการระบุตัวผู้ทำแบบสอบ 9) แบบสอบนี้ ออกแบบให้สามารถทำแบบสอบ ตอบคำถามได้ทันที โดยไม่ต้องยืนยันตัวตนด้วยอีเมล และตรวจคำตอบพร้อมเฉลยหลังส่งแบบสอบ แม้ใช้ chrome ในโหมดระบุตัวตน ก็สามารถทำแบบสอบได้ ตัวอย่างคำถาม internet01 เช่น 1. แฟ้มประเภทอีบุ๊คมีนามสกุลแบบใด 2. ข้อใดคือชื่ออีเมล 3. ภาษาใดทำงานฝั่ง Client 4. ข้อใดคือชื่อโดเมน

พูดคุยกับนักศึกษา ด้วย 4 คำถาม คือ ชวนฝัน ชีวิตจริง เป้าหมาย การไปถึงเป้าหมาย

วิกฤตหนังสือ
วิกฤตหนังสือ

หลังปิดภาคเรียนเป็นเวลาหลายเดือน
และเปิดภาคเรียนมาแล้ว 1 เดือน ก็ยิงคำถามไป 4 คำถาม
ที่ต่อเนื่องกัน ดังนี้
คำถามที่ 1 – ทำไมต้องอ่านหนังสือ
คำตอบ …
เพื่อชวนนักศึกษาคิดว่าการอ่านหนังสือดีอย่างไร
สิ่งที่ทราบจากนักศึกษา คือ ข้อดีสารพัดจากการอ่านหนังสือ

คำถามที่ 2 – หนึ่งเดือนที่ผ่านมาอ่านหนังสืออะไรบ้าง
คำตอบ …
เพื่อชวนนักศึกษาสำรวจตนเองว่าหนังสือดีนั้น อ่านไปกี่เล่ม
ประสบการณ์ของนักศึกษาแต่ละคนก็จะแตกต่างกันไป
ในการอ่านหนังสือก็จะแตกต่างกันไป

คำถามที่ 3 – ถ้าสำเร็จการศึกษาแล้ว อยากทำงานเกี่ยวกับอะไร
คำตอบ …
เพื่อชวนมองหาเป้าหมายของชีวิตหลังสำเร็จการศึกษา
ในสายไอทีเรามีทางเลือกที่ค่อยข้างหลากหลาย
ถ้าใครที่วางแผนชีวิตไว้ ก็จะมีเป้าหมายชัดเจน
ถ้ายังไม่ชัดเจน ก็ต้องรอให้เค้าค่อย ๆ คิดกันต่อไป

คำถามที่ 4 – การไปถึงเป้าหมาย ต้องอ่านหนังสืออะไรกันบ้าง
คำตอบ …
เพื่อชวนมองลงไปว่าหนังสือที่จำเป็นต้องอ่าน อ่านกันบ้างรึยัง
นักศึกษาบางกลุ่มคงตอบได้เป็นฉาก ๆ ว่าวางแผนชีวิตอย่างไร
บางกลุ่มอาจทำได้แค่ชวนคิด กระตุ้นให้ไปหาหนังสือมาอ่านเท่านั้น
บางกลุ่มเป้าหมายยังไม่ชัดเจน ก็คงไม่รู้จะอ่านหนังสืออะไรไปอีกระยะหนึ่ง

http://www.thaiall.com/readbookt

การตั้งคำถามก็มีเป้าหมายที่แตกต่างกัน

การตั้งคำถามก็มีเป้าหมายที่แตกต่างกัน
เมื่อมองจาก ภาพปัญหา กับ เจตนาของคำถาม มี 4 แบบ

1. Wide + Affirm what we know = Adjoining
ปัญหากว้าง และยืนยันสิ่งที่เรารู้ = เพื่อให้ความรู้กระชับ
ต.ย.คำถาม ภาษาคอมพิวเตอร์ ใช้ภาษาอังกฤษในการเขียนใช่ไหม
2. Wide + Discover something new = Elevating
ปัญหากว้าง และได้เรื่องใหม่ = เพื่อยกระดับความรู้
ต.ย.คำถาม ภาษาคอมพิวเตอร์ ที่กำลังเป็นที่นิยม คือ ภาษาอะไร จะได้ไปศึกษา
3. Narrow + Affirm what we know = Clarifying
ปัญหาแคบ และยืนยันสิ่งที่เรารู้ = เพื่อให้ความรู้กระจ่างชัดขึ้น
ต.ย.คำถาม ภาษา Python กำลังมาแรง ปีนี้จะขึ้นมา ด้วยสัดส่วนผู้ใช้เท่าใด
4. Narrow + Discover something new = Funneling
ปัญหาแคบ และได้เรื่องใหม่ = เพื่อให้มีความรู้ลึกขึ้น
ต.ย.คำถาม ถ้า download ภาษา Python รุ่นใหม่ จะมีฟังก์ชั่นใหม่อะไร มาให้ใช้บ้าง
https://hbr.org/2015/03/relearning-the-art-of-asking-questions
ปล. ดร.ทันฯ อ่าน hbr.org แล้วแชร์มาครับ

ปัญหาความโปร่งใสของตำแหน่งอธิการบดี การยึดโยงกับประชาคมภายในมหาวิทยาลัย และความเหลื่อมล้ำ

ปัญหาความโปร่งใสของตำแหน่งอธิการบดี การยึดโยงกับประชาคมภายในมหาวิทยาลัย และความเหลื่อมล้ำ
คนที่เขียนเรื่องนี้ไม่ธรรมดาครับ เพราะเชิงอรรถแน่น และร้อยเรียงได้ดี
ผมคัดลอกส่วนของปัญหาความโปร่งใส .. รายละเอียดอื่นอีกเพียบ
ที่ http://prachatai.com/journal/2013/12/50325

ในด้านหนึ่งตำแหน่งอธิการบดีนั้นถือว่าเป็นพื้นที่ขับเคี่ยวทางการเมืองเป็นอย่างยิ่ง การที่อดีตรัฐมนตรีกระทรวงศึกษาธิการ พงศ์เทพ เทพกาญจนาออกมาเตือนให้ สภามหาวิทยาลัยควรมีความโปร่งใสในการสรรหาอธิการบดี ก็ยิ่งเป็นตัวชี้วัดได้ดี [10] ไม่เพียงเท่านั้นข่าวฉาวของอธิการบดีก็มีอยู่เรื่อยๆ ทั้งในระดับมหาวิทยาลัยชั้นนำสมาชิก ทปอ. และมหาวิทยาลัยนอก ทปอ. ยังไม่ต้องนับว่า ตำแหน่งอธิการบดีหลายแห่งในประเทศไทย ไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง และตัดขาดความมีส่วนร่วมของประชาคมในมหาวิทยาลัยนั้นๆ

ความเหลื่อมล้ำของสถาบันต่างๆ โดยโครงสร้างนั้นมีอยู่จริง ไม่นับต้องพูดถึงความเหลื่อมล้ำภายในองค์กรที่จัดฐานันดรศักดิ์ ข้าราชการ พนักงานมหาวิทยาลัย ลูกจ้างชั่วคราว ที่เป็นปัญหาอย่างมากในฐานะขององค์กรแนวดิ่ง ไม่มีสหภาพแรงงานเฉกเช่นประเทศในโลกสมัยใหม่ทั้งหลาย  ในที่นี้ขอปิดท้ายด้วยงบประมาณที่มหาวิทยาลัยต่างๆ ได้รับการจัดสรร ตั้งแต่งบประมาณปี 2549-2556 ทำให้เห็นความแตกต่างของมหาวิทยาลัยต่างๆ ในระดับครีมสมาชิกทั้ง 27 แห่ง มีความแตกต่างอย่างไรกับมหาวิทยาลัยที่ไม่ถูกนับ ช่องว่างดังกล่าวแสดงถึงความเหลื่อมล้ำอย่างเป็นรูปธรรมยิ่ง มหาวิทยาลัยใหญ่จึงได้รับทั้งอภิสิทธิ์ทางเกียรติยศ เงินทอง และบทบาททางการเมือง ซึ่งที่ถือว่ามีปัญหามากในสายตาของผู้เขียนคือ ทำตัวเป็นผู้ไม่รู้ร้อนเกี่ยวกับหลักการอยู่ร่วมกันโลกสมัยใหม่ และระบอบประชาธิปไตย.

กสทช. ต้องตอบโจทย์สังคม

กสทช. ตอบโจทย์สังคม เรื่องทีวีสาธารณะในระบบดิจิทัล ได้ไหม
จาก กรุงเทพธุรกิจ 3 เมษายน 2556

วนิดา วินิจจะกูล
วนิดา วินิจจะกูล

มีกี่คนที่รู้และเข้าใจว่า… กสทช. มีประกาศ เรื่อง แผนการเปลี่ยนระบบการรับส่งสัญญาณวิทยุโทรทัศน์เป็นระบบดิจิทัล และ เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการอนุญาตการให้บริการกระจายเสียงหรือโทรทัศน์ พ.ศ. 2555

ซึ่งทั้ง 2 ประกาศนี้ มีผลบังคับใช้แล้ว เพราะประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อปลายปีที่แล้ว

การที่ประชาชนไม่ติดตามกฎหมายก็คงไม่น่าแปลกใจ แต่สำหรับ 2 ประกาศนี้ และระเบียบอื่นๆ ที่สืบเนื่องกัน เป็นเรื่องที่ทุกคนปล่อยผ่านไปเฉยๆ ไม่ได้ เพราะจะส่งผลต่อสิทธิและผลประโยชน์ของประชาชน และลูกหลานของเราอย่างมากที่สุดเรื่องหนึ่งเลยทีเดียว เพราะจะเป็นการจัดสรรคลื่นความถี่ ซึ่งเป็นทรัพยากรของคนทั้งประเทศ เป็นทีวีสาธารณะ ในระบบดิจิทัล จำนวน 12 ช่อง ไปให้กับผู้ประกอบการทีวีวิทยุ ทั้งหน้าเก่าและหน้าใหม่ๆ ที่อยากจะเข้ามาแบ่งเค้กก้อนนี้ (ความจริงยังมีทีวีช่องธุรกิจอีกที่ยังต้องถกเถียงกันอีกเยอะ)

จากวงเสวนา “ปีแห่งการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคทีวีดิจิทัล : กสทช.ควรทำอย่างไรให้บรรลุเจตนารมณ์การปฏิรูปสื่อ” และจากการประชุมเชิงปฏิบัติการในกลุ่มนักวิชาการ หัวข้อ “การปฏิรูปสื่อในทีวีดิจิทัลสาธารณะ : รูปแบบที่ควรจะเป็น

มีหลายประเด็นที่ กสทช. ต้องออกมา “ตอบ
จะงุบงิบทำไป แบบค้านสายตาคนดู คงจะไม่ได้

เบื้องต้นขอให้ข้อมูลไว้ก่อนว่า กิจการกระจายเสียงหรือกิจการโทรทัศน์ ที่ กสทช. กำหนดจะให้ใบอนุญาตสำหรับกิจการบริการสาธารณะ มี 3 ประเภท

กิจการบริการสาธารณะประเภทที่ 1 ออกให้สำหรับกิจการกระจายเสียงหรือกิจการโทรทัศน์ที่มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อการส่งเสริมความรู้ การศึกษา ศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม วิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม การเกษตร และการส่งเสริมอาชีพอื่นๆ สุขภาพ อนามัย กีฬา หรือการส่งเสริมคุณภาพชีวิตของประชาชน

กิจการบริการสาธารณะประเภทที่ 2 ออกให้สำหรับกิจการกระจายเสียงหรือกิจการโทรทัศน์ที่มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อความมั่นคงของรัฐหรือความปลอดภัยสาธารณะ

กิจการบริการสาธารณะประเภทที่ 3 ออกให้สำหรับกิจการกระจายเสียงหรือกิจการโทรทัศน์ที่มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อกระจายข้อมูลข่าวสารเพื่อส่งเสริมความเข้าใจอันดีระหว่างรัฐบาลและประชาชนและรัฐสภากับประชาชน การกระจายข้อมูลข่าวสารเพื่อการส่งเสริมสนับสนุนในการเผยแพร่และให้การศึกษาแก่ประชาชนเกี่ยวกับการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข บริการข้อมูลข่าวสารอันเป็นประโยชน์สาธารณะแก่คนพิการ คนด้อยโอกาส หรือกลุ่มความสนใจที่มีกิจกรรมเพื่อประโยชน์สาธารณะหรือบริการข้อมูลข่าวสารอันเป็นประโยชน์สาธารณะอื่น

อ่านมาถึงบรรทัดนี้ ประชาชนอย่างเราๆ เกิดคำถาม ข้อสงสัย อะไร หรือไม่ ?

แต่ในวงเสวนา ฟันธง ตรงไปถึง กสทช. ว่าต้องตอบ อย่างน้อยในเรื่องต่อไปนี้

กสทช. จะนิยามคำว่า “กิจการบริการสาธารณะ” ว่าอย่างไร และเหมือนหรือต่างจาก “ทีวีสาธารณะ” อย่างไทยพีบีเอส อย่างไร ตลอดจนเรื่องรูปแบบรายการ สัดส่วนรายการ ผังรายการ กลไกการกำกับดูแล เป็นต้น ประเด็นเหล่านี้ส่งผลอย่างมากต่อเนื้อหาสาระ คุณภาพของรายการ และเป็นเงื่อนไขการหารายได้ของแต่ละช่อง

กิจการฯ ประเภทที่ 2 เขียนไว้ไม่เกิน 2 บรรทัด แต่ กสทช. กำหนดจะให้ใบอนุญาตถึง 2 ช่อง ซึ่งขณะนี้ กองทัพบก ช่อง 5 ประกาศตัวชัดเจนมาตั้งแต่ 2-3 เดือนที่แล้วว่า จะยื่นขออนุญาตเพื่อให้ช่อง 5 เป็นช่องเพื่อความมั่นคงของรัฐ เรียกว่า ประกาศไว้ ใครก็ห้ามแย่ง แล้วล่าสุด กสทช.ก็ให้สิทธินั้นไปแล้วโดยอัตโนมัติ

ส่วนอีกช่อง ที่บอกว่าเพื่อความปลอดภัยสาธารณะ ก็คาดเดากันได้อย่างไม่น่าพลาดว่า โทรทัศน์ตำรวจ คงขอจอง

ข้อสังเกตที่คาใจมากที่สุดอีกเรื่อง คือ การที่ พ.ร.บ.ประกอบกิจการกระจายเสียงฯ พ.ศ. 2551 มาตรา 9 และ 11 เปิดช่องให้หน่วยงานรัฐด้านความมั่นคงหารายได้จากการให้เช่าเวลาได้ไม่เกินร้อยละ 40 และการโฆษณาได้เท่าที่เพียงพอต่อการประกอบกิจการ ซึ่งสถานีวิทยุจุฬาฯ บอกว่าแค่ร้อยละ 20 เขาก็อยู่ได้สบายๆ แล้ว และถ้าสถานีจะดำเนินการเองเพียงร้อยละ 60 เช่นนี้ควรจะยังเรียกว่า “กิจการบริการสาธารณะ” อีกหรือ ?

นอกจากนี้ เรื่องที่ กสทช. ควรต้องตอบด้วยในเชิงของการปฏิรูปสื่อ คือ การจัดสรรคลื่นความถี่ทีวีสาธารณะครั้งนี้ จะทำให้เกิดการจัดสรรโครงสร้างความสัมพันธ์ของกลุ่มต่างๆ ในสังคมอย่างไร ให้ถ่วงดุลกันอย่างเหมาะสมและเป็นธรรม ซึ่งเป็นหัวใจของการปฏิรูปสื่อที่เรียกร้องกันมาตั้งแต่รัฐธรรมนูญ 2540

ม. เนชั่น และเหล่านักวิชาการทางสายนิเทศศาสตร์ ที่เข้าร่วมประชุมจากทั่วประเทศ
จึงทำข้อเสนอถึง กสทช. ขอให้ “ตอบโจทย์” สังคมในเรื่องเหล่านี้
ผลจะเป็นอย่างไร ต้องช่วยกันติดตาม !

http://bit.ly/10rHgYQ

http://blog.nation.ac.th/?p=2552