skill

พ่อซื้อ iphone เพื่อให้ลูกนำไปโรงเรียน .. ไม่งั้น ก็ไม่ไป

Equality is not always justice
Equality is not always justice

เพื่อให้ตนเองได้เท่าเทียม หากปัจจุบันยังพร่องอยู่
ก็ต้องไปดึงทรัพยากรจากที่อื่นมาเติมเต็ม
แล้วที่เคยต่ำต้อย ก็ได้เท่าเทียม แล้วเกิดความพึงพอใจ
http://www.politicaltheology.com/blog/wp-content/uploads/2013/05/equality-justice.jpg

อ่านข่าวของอินโดนีเซียใน stomp.com รายงานเรื่องน่าสะเทือนใจในครอบครัว ว่าพ่อวัยชรา
ซึ่งมีอาชีพขายชาอยู่ริมถนน (street tea seller) ยอมควักเงินที่เก็บออมหลายหมื่น
เพื่อซื้อโทรศัพท์สมาร์ทโฟน ไอโฟน 6 พลัสให้ลูกสาว เพราะลูกสาวอับอายไม่ยอมไปโรงเรียน
หากไม่มีมือถือรุ่นใหม่แบบเพื่อนๆ
http://www.stomp.com.sg/singapore-seen/from-around-the-world/indonesian-street-tea-seller-spends-his-savings-to-buy

อ่านเรื่องนี้แล้วนึกถึงคำว่า กตัญญูกตเวที (Gratitude) นี่ถ้าลูกสาวเค้ามีคำนี้อยู่ในใจ แล้วมองความเป็นจริงของครอบครัว
เรื่องแบบนี้คงไม่ปรากฎออกมาเป็นข่าว บางทีน้องเขาอาจมีอัตตา คือ ยืดมั่นถือมั่นในตัวเองน้อยไป
แต่ไปยึดมั่นถือมั่นในคนอื่น ในสังคม ในค่านิยมของชาวบ้าน จนไปเบียดเบียนอัตตา หรือความมีตัวตนที่แท้จริงของตนให้ลดลงก็ได้

iphone for daughter
iphone for daughter
https://www.khaosod.co.th/special-stories/news_141825

แล้วเคยอ่านข่าวว่า หนุ่มจีน ยอมขายไต เพื่อนำเงินไปซื้อไอโฟน
อันที่จริงมีตัวอย่างทำนองนี้อีกมากในยุควัตถุนิยม ที่สื่อสังคมครอบงำชีวิตผู้คน
http://www.manager.co.th/China/ViewNews.aspx?NewsID=9580000105738

เรื่องนี้นึกถึงปัญหาการศึกษาในไทย
ที่เค้าว่าเด็กไทยขาด “ทักษะการคิดวิเคราะห์”
ทำให้คะแนน PIZA ต่ำ
http://tishafan-analysisthinking.blogspot.com/p/blog-page_4283.html

วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ ในศตวรรษที่ 21

essential learning
essential learning

วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ ในศตวรรษที่ 21 โดย
ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช ประธานกรรมการมูลนิธิสถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้เพื่อสังคม
นพ.ประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์ เลขาธิการมูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์

หลังฟังแล้วก็นำมาเล่าสู่กันฟัง
ว่า นอกจากความรู้ในสาระวิชาหลัก มีสิ่งที่ต้องรู้ยังมีอีกมากมาย
แต่ที่ชอบในแนวคิดนี้อย่างมาก คือ การมีทักษะสำคัญ 3 ด้าน
1. ทักษะชีวิตและการทำงาน คือ การปรับตัว รับผิดชอบ และเป็นผู้นำ
2. ทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม คือ มีวิจารณญาณ แก้ปัญหาเป็น และสื่อสารได้
3. ทักษะด้านสารสนเทศ สื่อ และเทคโนโลยี คือ ประเมินสารสนเทศได้ ใช้ไอทีเป็น
ทักษะที่ 3 ต้องชวนดูซีรี่เรื่อง CSI : Cyber ตอบได้ครบ (พึ่งดูมาครับ ยังไม่จบเลย)


ในอดีต
รับความรู้เยอะ ๆ แล้วก็ท่องเยอะ ๆ เคยใช้ได้

แต่ยุคสมัยนี้
มอบความรู้ตรง ๆ ใช้ไม่ได้ผล
เค้าเน้นให้สอนเรื่องสำคัญ (Essential)
แล้วนำความรู้ไปต่อยอดเอง ความรู้จะงอกขึ้นมา (Teach less, Learn more)
เดี๋ยวนี้ต้องเปลี่ยนเป้าหมายจาก “ความรู้ (Knowledge)” ไปสู่ “ทักษะ (Skill)
เปลี่ยนจากครูเป็นหลัก มาเอานักเรียนเป็นหลัก (Child Center)
เรียนด้วยการปฏิบัติจริง เรียก Project Base Learning
เป็นการฝึกให้เด็กทำโครงงาน แล้วครูเป็นโค้ช ช่วยเหลืออยู่ข้าง ๆ
แล้วได้ฝึกนำเสนอ ทำงานเป็นทีม แลกเปลี่ยนเพื่อต่อยอดเป็นความรู้ของตนเอง
ครูต้องเป็นครูฝึก (Coach) ที่ฝึกให้นักเรียนทำงาน และบรรลุ
แล้วนักเรียนเกิดแรงบันดาลใจ (Inspiration)
ครูต้องมีทักษะในการสร้างแรงบันดาลใจ มีพลัง มีไฟ มีชีวิตชีวา ไม่มีกรอบ
การเรียนยุคใหม่ไม่สนใจคำตอบ (Answer) แต่สนใจกระบวนการหาคำตอบ (Process)
โจทย์ข้อหนึ่งมี คำตอบมากมาย การให้เด็กร่วมกันหาคำตอบ (A question has many answers.)
เราจึงสนใจกระบวนการที่เด็กทำงานร่วมกัน (Team work)
นักเรียนทุกคนมีศักยภาพที่จะพัฒนาตนเองไปเรื่อย ๆ (Development)
การบ้านมีเพื่อให้เด็กมีความรู้ (Increase experience by homework)
การบ้านสมัยใหม่ คือ การบ้านทั้งปี เรียนเป็นทีม ปลายปีแสดงละคร (Drama)
สมัยนี้ความรู้มหาศาล จนไม่รู้จะสอนอะไรให้เด็ก
จึงต้องมี PLC (Professional Learning Community)
เพื่อครูรวมตัวกันเรียนรู้การออกแบบการสอนที่เหมาะสมของแต่ละที่ เป็น “ชุดการเรียนรู้ครู
เป็นชุมชนการเรียนรู้ ให้ครูมีทักษะการเรียนรู้ เพื่อให้เด็กมีทักษะที่จำเป็นสำหรับศตวรรณที่ 21
PLC ไม่ใช่ทำครั้งเดียว แต่ต้องทำอย่างต่อเนื่อง จะได้ผลกว่า

เรื่องของ ทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21
อยู่ใน คู่มือการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับอุดมศึกษา พ.ศ.2557
หน้า 69
โดย สกอ. หวังว่าหลักสูตรจะจัดให้มีการสร้างโอกาสการเรียนรู้
ที่ส่งเสริมการพัฒนาศักยภาพนักศึกษา และทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21
ให้ได้มาตรฐานสากล

ทักษะการสื่อสาร เป็นกุญแจไขไปสู่อาชีพที่ดี

พบข่าวในเว็บไซต์ THE NATION

the nation
the nation

หัวข้อ Communication skills ‘key to a good career’
ทักษะการสื่อสาร เป็นกุญแจไขไปสู่อาชีพที่ดี

Nation University is seriously equipping its students with communication skills – the key for them to advance in their career and to prosper in daily life.
มหาวิทยาลัยเนชั่นเตรียมความพร้อมอย่างจริงจังที่จะบ่มเพาะให้นักศึกษามี
ทักษะการสื่อสาร ซึ่งเป็นกุญแจที่จะทำให้พวกเข้าก้าวหน้าในอาชีพ และ
ประสบความสำเร็จในการใช้ชีวิต

“Communications are related to all fields of works and parts of daily lives. So, we have placed an emphasis on communications. This applies to students at all faculties, not just the Faculty of Communication Arts,” Nation Multimedia Group (NMG) chairman Suthichai Yoon said during the university’s Open House event.
สุทธิชัย หยุ่น กล่าวว่า “การสื่อสารเข้าไปเชื่อมโยงกับทุกงาน และเชื่อมกับชีวิตประจำวัน
ดังนั้นเราเน้นการสื่อสารที่นำไปใช้กับนักศึกษาทุกคนและบุคลากรทั้งหมด ไม่ใช่เฉพาะสายนิเทศศาสตร์”

Held at the university’s Bang Na Centre on Sunday, the event attracted a number of students and parents. The university is operating under the NMG.

“People with good communication skills usually enjoy career advancement and demonstrate leadership,” Suthichai said.
สุทธิชัย หยุ่น กล่าวว่า “คนที่มีทักษะการสื่อสารที่ดี โดยปกติจะมีความสุข ก้าวหน้า
และแสดงถึงความเป็นผู้นำ”

NMG editor-in-chief Thepchai Yong said students at Nation University would also know how to work and to communicate effectively in English. At Nation University, students will get apprenticeships from their first year up.
เทพชัย หย่อง กล่าวว่า นักศึกษาที่นี่รู้ว่าจะต้องทำงานอย่างไร และมีการสื่อสารด้วยภาษาอังกฤษอย่างมีประสิทธิภาพ
นักศึกษาจะได้รับการฝึกงานตั้งแต่ชั้นปีที่หนึ่งเป็นต้นไป

For more information on the programme,
please visit http://www.nation.ac.th or call 0-2338-3777.

http://www.nationmultimedia.com/national/Communication-skills-key-to-a-good-career-30206600.html

วิกฤตครูจ่อเกษียณเกือบแสนคน 56-60 แนะผลิตรองรับ

ศิษย์มีครู
ศิษย์มีครู

23 เม.ย.56 รายงานข่าวแจ้งว่า จากข้อมูลของสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พบว่าจำนวนข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาที่จะเกษียณอายุราชการในปีงบประมาณ 2556-2560 มีจำนวน 97,254 คน มีรายละเอียดดังนี้ ปี 2556 จำนวน 10,932 คน ได้แก่ อันดับข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (คศ.) 1 จำนวน 11 คน อันดับ คศ.2 วิทยฐานะชำนาญการ จำนวน 3,929 คน อันดับ คศ.3 วิทยฐานะชำนาญการพิเศษ จำนวน 6,556 คน อันดับ คศ.4 วิทยฐานะเชี่ยวชาญ จำนวน 260 คน อันดับ คศ.5 วิทยฐานะเชี่ยวชาญ และวิทยฐานะเชี่ยวชาญพิเศษ 9 คน บุคลากรทางการศึกษาอื่น 38 ค (2) จำนวน 167 คน ปี 2557 จำนวน 15,541 คน ได้แก่ คศ. 1 จำนวน 6 คน อันดับ คศ.2 วิทยฐานะชำนาญการ จำนวน 5,774 คน อันดับ คศ.3 วิทยฐานะชำนาญการพิเศษ จำนวน 9,239 คน อันดับ คศ.4 วิทยฐานะเชี่ยวชาญ จำนวน 275 คน อันดับ คศ.5 วิทยฐานะเชี่ยวชาญ 10 คน บุคลากรทางการศึกษาอื่น 38ค (2) จำนวน 237 คน

รายงานข่าวระบุด้วยว่า สำหรับ ปี 2558 จำนวน 20,661 คน ได้แก่ คศ.1 จำนวน 23 คน อันดับ คศ.2 วิทยฐานะชำนาญการ จำนวน 7,612 คน อันดับ คศ.3 วิทยฐานะชำนาญการพิเศษ จำนวน 12,546 คน อันดับ คศ.4 วิทยฐานะเชี่ยวชาญ จำนวน 206 คน อันดับ คศ.5 วิทยฐานะเชี่ยวชาญ 10 คน บุคลากรทางการศึกษาอื่น 38 ค(2) จำนวน 264 คน

ปี 2559 จำนวน 24,689 คน ได้แก่ คศ.1 จำนวน 28 คน อันดับ คศ.2 วิทยฐานะชำนาญการ จำนวน 9,165 คน อันดับ คศ.3 วิทยฐานะชำนาญการพิเศษ จำนวน 15,019 คน อันดับ คศ.4 วิทยฐานะเชี่ยวชาญ จำนวน 174 คน อันดับ คศ.5 วิทยฐานะเชี่ยวชาญ 5 คน บุคลากรทางการศึกษาอื่น 38 ค (2) จำนวน 298 คน และ ปี 2560 จำนวน 25,431 คน ได้แก่ คศ.1 จำนวน 42 คน อันดับ คศ.2 วิทยฐานะชำนาญการ จำนวน 9,057 คน อันดับ คศ.3 วิทยฐานะชำนาญการพิเศษ จำนวน 15,865 คน อันดับ คศ.4 วิทยฐานะเชี่ยวชาญ จำนวน 146 คน อันดับ คศ.5 วิทยฐานะเชี่ยวชาญ 2 คน บุคลากรทางการศึกษาอื่น 38ค (2) จำนวน 319 คน

นางรัตนา ศรีเหรัญ เลขาธิการคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) กล่าวว่า เรื่องนี้หน่วยผลิตบัณฑิตสายครุศาสตร์-ศึกษาศาสตร์ จะต้องมาขอข้อมูลเพื่อผลิตบัณฑิตให้เพียงพอทดแทนกับข้าราชการครูที่จะเกษียณอายุราชการในช่วงปี 2556-2560 ซึ่งจะต้องมาดูว่า จะต้องผลิตบัณฑิตในสาขาอะไรบ้าง และจะต้องเริ่มวางแผนการผลิตตั้งแต่ปีการศึกษา 2556 นี้ โดยขณะนี้ยังไม่ได้มีการประสานหรือขอข้อมูลดังกล่าว ทั้งนี้ในส่วนของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ในฐานะหน่วยงานที่ข้าราชการครูเหล่านี้ปฏิบัติงานอยู่ในโรงเรียนสังกัด สพฐ.ก็ไม่สามารถกำหนดอัตรามาทดแทนได้ เพราะตามมติคณะกรรมการกำหนดเป้าหมาย และนโยบายกำลังคนภาครัฐ

(คปร.) ได้กำหนดให้มีการคืนอัตราเกษียณอายุราชการให้ ศธ.100% จนถึงปี 2556 นี้และหลังจากนั้นจะเหลืออัตราคืนให้เพียง 20% ของอัตราเกษียณในแต่ละปี โดยเมื่อพิจารณาตั้งแต่ปี 2557-2560 แล้ว จะได้อัตราเกษียณคืนมาประมาณ 20,000 อัตราเท่านั้น ฉะนั้น หากไม่มีการวางแผนแล้ว ก็จะมีปัญหาการขาดแคลนข้าราชการครู อย่างแน่นอน

หน่วยผลิตสามารถเสนอขอข้อมูลมายัง ก.ค.ศ.เพื่อให้วิเคราะห์รายละเอียดข้าราชการครูที่จะเกษียณอายุราชการช่วงปี 2556-2560 จำแนกตามสาขาวิชาเอกได้ จะได้เป็นประโยชน์ในการผลิตบัณฑิตให้เพียงพอ ในส่วนของ สพฐ.นั้น ก็อาจจะต้องสรรหาครูให้ตรงและเพียงพอกับสาขาที่ขาดแคลน เลขาธิการ ก.ค.ศ.กล่าว

ที่มา : นสพ.มติชน http://www.prachachat.net

http://www.moe.go.th/moe/th/news/detail.php?NewsID=32487&Key=hotnews