social media

ศูนย์บริการประชาชน กระทรวงศึกษาธิการ

7 ประเด็นร้อนในชุมชนผู้ประกอบวิชาชีพครู

ชุมชนผู้ประกอบวิชาชีพครูที่ท้าทายจรรยาบรรณครู มีประเด็นที่น่าสนใจใน 7 กลุ่มประเด็น ประกอบด้วย 1) สุข 2) สาร 3) สั่ง 4) สอบ 5) สมรรถนะ 6) สุจริต และ 7) เกษียณ เสนอให้ใช้คำค้นต่อไปนี้ในกูเกิลจะพบเรื่องราวที่เกี่ยวข้องมากมาย ได้แก่ ครูไม่มีความสุข ครูทำงานเอกสาร สั่งครูมิชอบ สอบไม่ตรงที่สอน ฐานสมรรถนะเชิงรุก ครูสุจริต ผอสุจริต และ บังคับครูงานเกษียณ พบว่า ประเด็นข้างต้นมีหลายชุมชนได้หยิบยก หรือจุดประเด็นในสื่อสังคม และมีหลายช่องทางที่แจ้งข้อมูลร้องเรียนได้ สำหรับช่องทางที่ไม่เป็นทางการ คือ สื่อสังคม หรือสื่อสิ่งพิมพ์ทุกสำนักที่เปิดช่องทางสื่อสารทั้งเฟซบุ๊ก อินสตาแกรม ไลน์ โทรศัพท์ อีเมล หรือไปรษณีย์

https://www.thaiall.com/ethics/ethics_teacher.htm

ช่องทางที่เป็นทางการ ได้แก่

  • สายด่วนการศึกษา 1579 หรือ http://1579.moe.go.th/
  • สำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดินรัฐสภาสายด่วน 1676
  • ศูนย์บริการข้อมูลภาครัฐเพื่อประชาชน GCC สายด่วน 1111 หรืออีเมล contact_1111@gcc.go.th
  • ศูนย์บริการประชาชน สำนักงานปลัดกระทรวงสำนักนายกรัฐมนตรี โทรศัพท์ 022831270-84 โทรสาร 022834525 หรืออีเมล ccc@opm.go.th
  • สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคสายด่วน 1166
  • เว็บไซต์ระบบร้องทุกข์ผู้บริโภคออนไลน์ https://complaint.ocpb.go.th
  • ศูนย์ดำรงธรรม กระทรวงมหาดไทยสายด่วน 1567 โทรศัพท์ 02-222-1141-55 โทรสาร 02-222-6838
  • สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติสายด่วน 1166 โทรศัพท์ 02-141-3800 โทรสาร 02-143-9563 อีเมล info@nhrc.or.th
  • สำนักงานรัฐมนตรี กระทรวงศึกษาธิการ ที่ตั้งเลขที่ 19 อาคารราชวัลลภ ชั้น 2 ถนนราชดำเนินนอก เขตดุสิต กรุงเทพฯ 10300
ระบบร้องทุกข์ผู้บริโภค
ศูนย์บริการประชาชน กระทรวงศึกษาธิการ
สายด่วนการศึกษา 1579
the conversation prism

ประเภทของสื่อสังคมออนไลน์

จากบทความวิชาการ เรื่อง สื่อสังคมออนไลน์กับการศึกษา โดย ธนะวัฒน์ วรรณประภา (2017) ตีพิมพ์ใน วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ปีที่ 11 ฉบับที่ 1 หน้า 7 – 20 พบว่า ในหน้า 10 ได้สรุป ประเภทของสื่อสังคมออนไลน์ ไว้ 25 กลุ่ม ที่อ้างอิงจากแผนภาพ The conversation prism ของ Solis B. (2016) ดังนี้ 1) เครือข่ายสังคม – Social networks 2) บล็อก – Blog/Microblogs 3) กลุ่มคนที่มีความรู้ – Crowd wisdom 4) ถามตอบ – Question & Answer 5) ข้อเสนอแนะ – Comments 6) สังคมการค้า – Social commerce 7) สังคมตลาดออนไลน์ – Social marketplace 8) บริการตามกระแสสังคม – Social streams 9) ตำแหน่งที่ตั้ง – Location 10) งานเฉพาะ – Niche working 11) องค์กร – Enterprise 12) วิกิ – Wiki 13) อภิปราย ประชุม – Discussion & Forums 14) ธุรกิจ – Business 15) รีวิว จัดอันดับ – Review & Ratings 16) ผู้จัดการทางสังคม – Social Curation 17) วิดีโอ – Video 18) เนื้อหา/เอกสาร – Content/Documents 19) เหตุการณ์ – Events 20) ดนตรี – Music 21) ถ่ายทอดสด – Live casting 22) รูปภาพ – Pictures 23) บุ๊กมาร์ค – Social Bookmarks 24) วัดระดับอิทธิพล – Influence 25) ดูแลสุขภาพ – Quantified self

http://edu.msu.ac.th/journal/home/journal_file/316.pdf

Social media

https://www.thaiall.com/socialmedia/

7 เครื่องมือนำเสนอและแชร์แฟ้ม PDF ออนไลน์
โดย EMMA GAROFALO – OCT 18, 2021
การนำเสนอแฟ้มได้เร็วและง่าย เป็นทางเลือกที่น่าสนใจ มี 7 แหล่ง

  1. scribd.com
  2. google drive
  3. box.com
  4. beamium.com
  5. publitas.com
  6. flipsnack.com
  7. slides.com

https://www.makeuseof.com/tag/7-best-tools-present-share-pdf-files-online/

reddit thai

เว็บบอร์ดสัญชาติอเมริกัน เรดดิต

เว็บบอร์ดสัญชาติอเมริกัน กลุ่มไทย subreddit ในเรดดิต

อ่านจาก wiki
พบว่า ผลสำรวจอเล็กซา ในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 2019 เรดดิตถูกรับชมมากที่สุดเป็นอันดับที่ 5 ของสหรัฐอเมริกา และอันดับที่ 13 ของโลก โดยผู้ใช้ร้อยละ 55 มาจากสหรัฐฯ ร้อยละ 7.4 มาจากสหราชอาณาจักร และร้อยละ 5.8 มาจากแคนาดา

อ่านจากผู้จัดการออนไลน์
พบว่า Rathschmidt 27 ม.ค. 2565 ให้ข้อมูลว่า กำลังทดสอบและพัฒนาระบบ ให้สามารถใช้ NFT เป็นรูปโปรไฟล์ หรืออวาตาร์ และยืนยันความเป็นเจ้าของ ซึ่งเป็นการทดสอบเท่านั้น ยังไม่มีผลบวกหรือลบต่อการใช้งาน ซึ่งเชื่อมโยงกับการพัฒนาระบบเกี่ยวกับ Crypto และ NFT ที่มี subreddit ให้สมาชิกได้พูดคุย และมีการใช้งานสูง

เข้าโพสต์ใน reddit
พบว่า กฎเกณฑ์ในแต่ละกลุ่ม subreddit มีกฎที่เข้มงวด โดยเฉพาะกลุ่มที่มีจำนวนสมาชิกมาก จะมี moderator พิจารณาด้วยเกณฑ์ที่ allow หรือ remove เพื่อความสงบเรียบร้อยของกลุ่ม เช่น กลุ่ม r/GetStudying มี rules ทั้งหมด 6 ข้อ คือ 1) Be nice 2) Stay positive 3) Promotion of courses 4) Assign link flair if you can 5) No Music Posts Allowed 6) Don’t spam your Blog/Youtube content

Reddit : thai

สื่อสังคมออนไลน์ (Social Media)
หมายถึง สังคมออนไลน์ที่มีผู้ใช้เป็นผู้สื่อสาร หรือเขียนเล่าเรื่องราว เนื้อหา ประสบการณ์ บทความ รูปภาพ และวีดิโอ ที่ผู้ใช้เขียนขึ้นเอง ทำขึ้นเอง หรือพบเจอจากสื่ออื่น ๆ แล้วนำมาแบ่งปันให้กับผู้อื่นที่อยู่ในเครือข่ายของตนผ่านทางเครือข่ายสังคมออนไลน์ (Social Network) ที่ให้บริการบนโลกออนไลน์ ปัจจุบันการสื่อสารแบบนี้จะทำผ่านทาง Internet และนิยมใช้งานบนโทรศัพท์เคลื่อนที่
https://www.thaiall.com/socialmedia/

รายการคืนความสุข ท่านนายกพูดถึง ภารกิจหลักด้านการศึกษา และการใช้ไอที

รายการคืนความสุข วันที่ 27 มีนาคม 2558
เล่าถึงนโยบายทางการศึกษาในนาทีที่ 2.10 super board ด้านการศึกษา
มุ่งเน้น 3 ภารกิจหลัก

1. การดำเนินงานตามภารกิจประจำ
(routine work)
2. การดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาล
(Implementation of government policies)
3. การดำเนินงานสำหรับการวางรากฐานเพื่อส่งไปยังรัฐบาลในอนาคต
(Work related to laying down the foundation for future governments)

ทั้งนี้
จะดำเนินการทั้งด้านการจัดการศึกษา
การปรับหลักสูตร การพัฒนาคุณภาพครูและผู้เรียน
การยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษา การใช้จ่ายงบประมาณ และการกระจายอำนาจ
เน้นให้มีทั้งนักวิชาการ และนักปฏิบัติ โดยจะพิจารณาการดำเนินงาน
จากต่างประเทศมาปรับใช้ตามความเหมาะสม

แล้วนาทีที่ 4.45
ที่เห็นเป็นประโยชน์ คือ การสอนทาง social media หรือระบบดิจิทอล
ต้องสอนให้รู้ว่าเราจะใช้ประโยชน์อย่างไร
ถ้าใช้ผิด แล้วไปคาดหวังจากระบบอย่างเดียว ก็คงไม่ได้
https://www.youtube.com/watch?v=2A5fPtiJ-Qw

MAM (CLOUD)…สื่อดิจิทัลบนการจัดการ

ชินกฤต อุดมลาภไพศาล
ชินกฤต อุดมลาภไพศาล

การทำงานในยุคดิจิทัลทุกวันนี้ผูกอยู่กับเรื่องของแอพพลิเคชั่น แพลตฟอร์ม และเครือข่ายสารสนเทศความเร็วสูง แม้กระทั่งระบบออกอากาศวิทยุโทรทัศน์

ในหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ
! http://bit.ly/Z7sPgA

การเปลี่ยนผ่านระบบออกอากาศบ้านเรา ก็ให้สาระความสำคัญอยู่ที่แพลตฟอร์ม อนาล็อกสู่ดิจิทัล ทั้งระบบความคมชัดปรกติ (Standard Definition) และความคมชัดสูง (High Definition) สาระสำคัญอย่างเนื้อหารายการ “Content is the King” กลับกลายเป็นเหมือนคลื่นกระทบฝั่ง มีการจุดประกาย สร้างประเด็น ก่อให้เกิดความตระหนักแล้วก็เงียบหายไป แล้วหวนกลับมาใหม่เหมือนระลอกคลื่นเนื้อหา คุณภาพรายการจึงเสมือนสิ่งที่ถูกให้ความสำคัญในลำดับรอง

ทว่ายังมีสิ่งที่ซ่อนอยู่เบื้องหลังดิจิทัลคอนเทนต์ (Content) อย่างการจัดการสารสนเทศสื่อดิจิทัลยิ่งไม่ต้องกล่าวถึง ถูกให้ความสำคัญในมุมมองที่เงียบงันของโลกดิจิทัลมีเดียสำหรับสังคมไทย ทั้งๆ ที่ สังคมยุคข้อมูลข่าวสาร ข้อมูลถูกสร้างขึ้นทุกเวลาทุกวินาที ผ่านอุปกรณ์สื่อสาร อุปกรณ์พกพาที่ทำหน้าที่มากกว่าหนึ่งภารกิจงาน โทรศัพท์สมาร์ทโฟน ที่ทำหน้าที่มากกว่าการใช้เป็นโทรศัพท์ ยังใช้เพื่อการถ่ายภาพ สื่อสารข้อความบนสื่อสังคมออนไลน์ การไหลบ่าของข้อมูลอันมหาศาล การจัดการกลับเป็นสิ่งที่ต้องบริหารจัดการอย่างยิ่งยวดข้อมูล (Data) เป็นภาษาละติน หมายถึง สิ่งที่ให้ (Given) เมื่อสู่ยุคของโลกดิจิทัล ข้อมูล (Data) คือสิ่งที่บันทึก การจัดการ ไม่ว่าจะอยู่ในรูปแบบใดก็ตาม ข้อมูลที่เกิดขึ้นอาจจะอยู่ในรูปแบบของ คำพูด ความคิดเห็น การพูดคุยบนเว็บสื่อสังคมออนไลน์ การเช็คอินผ่านแอพพลิเคชั่นมือถือ การถ่ายภาพผ่านแอพพลิเคชั่นมือถือแล้วอัพโหลด ก็ถือเป็นข้อมูล ดังนั้น จะเห็นว่ากิจกรรมทุกสิ่งอย่างในโลกดิจิทัลล้วนสร้างให้เกิดข้อมูลขึ้นการเปลี่ยนแปลงทางด้านเทคโนโลยีมากเท่าไหร่ ยิ่งก่อให้เกิดข้อมูลดิจิทัลมากเท่านั้น

ข้อมูลดิจิทัล นับวันจะมีขนาดใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ การจัดการข้อมูลปริมาณมาก โดยใช้โครงสร้างการจัดเก็บไฟล์ในรูปแบบของแฟ้ม โฟลเดอร์ ตามโครงสร้างระบบจัดเก็บไฟล์ของคอมพิวเตอร์อาจจะเป็นตัวเลือกที่เหมาะสม หากเป็นข้อมูลเฉพาะบุคคล แต่คงไม่ใช่ตัวเลือกที่เหมาะสมอย่างยิ่ง เมื่อเป็นข้อมูลระบบองค์กร อาทิเช่น การค้นหาข้อมูลที่มีความเฉพาะเจาะจง จะมีความยากลำบาก และใช้เวลามากขึ้นเรื่อยๆ ตามปริมาณข้อมูลที่มากขึ้น จึงเป็นที่มาของการที่จะต้องมีระบบการบริหารจัดการข้อมูลที่ดี ระบบที่เรียกว่า “Digital Asset Management” (DAM) ในช่วงปีที่ผ่านมาประเด็นดังกล่าวเป็นประเด็นที่ถูกกล่าวถึง การเพิ่มขึ้นของ DAM ประการหนึ่งก็มาจากการขับเคลื่อนก้าวข้ามไปสู่ยุคสื่อดิจิทัล (File-Based Media) อันเป็นสิ่งที่ทำให้การร่วมมือ หรือการค้นหาเป็นสิ่งที่เป็นไปได้ ตัวแปรอื่นๆ ก็น่าจะเป็นเรื่องการผลิตสื่อ และแรงขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจที่ต้องการพัฒนาประสิทธิภาพ และต้องการลดค่าใช้จ่าย

DAM (Digital Asset Management) เป็นความหมายกว้างๆ ครอบคลุมถึงการจัดการระดับองค์กร รูปแบบสื่อดิจิทัล ทั้งในแบบของรูปภาพดิจิทัล เอกสาร มีความแตกต่างกับ MAM (Media Asset Management) ซึ่งเน้นไปทางด้านวีดิโอ และเสียง และเป็นระบบที่สำคัญยิ่งสำหรับองค์กรสื่อที่จะนำมาใช้ ตัวอย่างในการนำเอาระบบเหล่านี้มาใช้ในการทำงาน เช่น สถานีโทรทัศน์ ฝ่ายผลิตรายการ ถ่ายฟุตเทจรายการมา โหลดไฟล์ไปเก็บไว้ในเซิร์ฟเวอร์ แชร์ไฟล์ทุกคนที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการผลิต ช่างตัดต่อ คนเขียนบท โปรดิวเซอร์ สามารถเข้าถึงไฟล์ เลือกรูปแบบไฟล์ที่ตนต้องการมาใช้งาน การค้นหาวีดิโอคลิปทำได้อย่างรวดเร็ว ย่นระยะเวลาในการทำงาน เมื่อทำงานเสร็จ จัดเก็บไฟล์รายการเข้าระบบ จัดตารางออกอากาศจากไฟล์รายการที่ทำเสร็จเรียบร้อยพร้อมออกอากาศ เหล่านี้เป็นการสร้างกระบวนการทำงานที่มีประสิทธิภาพ ลดค่าใช้จ่าย เสริมความคล่องตัวในการทำงาน ลดความซ้ำซ้อนของงาน

แต่การก้าวกระโดดของเทคโนโลยีไม่หยุดอยู่เพียงเท่านี้ เส้นเขตแดนโลกจริงและโลกเสมือนได้สลายหายไป การทำงานอยู่กับที่นั่งอยู่กับโต๊ะได้ถูกตัดออกจากโลกความเป็นจริง สู่โลกการทำงานเสมือนจริง ที่เราสามารถทำงานที่ไหนก็ได้ เมื่อไหร่ก็ได้ คลาวด์ (Cloud) คือนิยามใหม่ที่ก้าวเข้ามา กิจกรรมบนคลาวด์เกิดขึ้นหลากลักษณะตามวัตถุประสงค์ของผู้ใช้งาน สิ่งที่เราๆ ท่านๆ คุ้นเคย อย่างพื้นฐานที่สุดน่าจะเป็นการใช้เพื่อเป็นที่เก็บข้อมูล รูปภาพ คลิปวีดิโอ อย่าง Dropbox Youtube Sound Cloud หรือ Google Drive เป็นต้น กิจกรรมทางด้านสื่อ อย่างการผลิตรายการโทรทัศน์ การตัดต่อวีดิโอก็ก้าวเข้าไปสู่อาณาจักรของระบบคลาวด์ บุคลากรในทีมสามารถทำงานพร้อมกันจากสถานที่ต่างกัน ซอฟต์แวร์ที่ถูกปรับปรุงใหม่อยู่เสมอ คอมพิวเตอร์ที่ไม่ต้องการสมถนะสูงนักในการเข้าสู่ระบบ สร้างความรวดเร็วคล่องตัวในการทำงาน ปริมณฑลสาธารณะของการทำงานยิ่งเปิดกว้าง ปริมาณข้อมูล คอนเทนต์ยิ่งเพิ่มขึ้นเป็นทวีคูณ ระบบสารสนเทศการจัดการสื่อ (MAM) ยิ่งทวีบทบาทมากขึ้น จากระบบ MAM บนคอมพิวเตอร์เวิร์คสเตชั่น ก้าวกระโดดไปจัดการข้อมูลบน คลาวด์ การจัดการสื่อ คอนเทนต์มหึมาให้เป็นระบบ

สิ่งเหล่านี้น่าจะเป็นสิ่งที่ฉุกคิด สำหรับองค์กรสื่อที่ยังไม่ได้วางแผนการรองรับไว้ หรือมองว่าไม่ใช่ประเด็นสำคัญไปกว่าการลงทุนด้านการผลิต บุคลากร เพราะท้ายที่สุด คอนเทนต์ดี “การจัดการ” คอนเทนต์เยี่ยม คือมูลค่าที่สำคัญยิ่งสำหรับองค์กรสื่อ

! http://blog.nation.ac.th/?p=2668