standard

อัพพลังความรู้ สู่ความก้าวหน้าธุรกิจแฟรนไชส์

อัพพลังความรู้ สู่ความก้าวหน้าธุรกิจแฟรนไชส์ Thailand Franchise Standard 2016
อัพพลังความรู้ สู่ความก้าวหน้าธุรกิจแฟรนไชส์
Thailand Franchise Standard 2016

Thailand Franchise Standard 2016
อัพพลังความรู้ สู่ความก้าวหน้าธุรกิจแฟรนไชส์
มาร่วมอัพพลังความรู้ และก้าวหน้าไปด้วยกัน
ในโครงการพัฒนาศักยภาพการบริหารจัดการธุรกิจแฟรนไชส์
(Thailand Franchise Standard)
พร้อมร่วมสัมมนา Thailand Franchise Standard
ในวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2559 เวลา 9.00น.-16.00น.
ณ ศูนย์ฝึกอบรมพัฒนาธุรกิจการค้า ชั้น 6 กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์
งานนี้มีแต่กำไร

กำไรต่อที่ 1 – รับโอกาสตรวจเช็คศักยภาพธุรกิจโดยกูรุด้านการพัฒนาธุรกิจ
จากจุฬาลวกรณ์มหาวิทยาลัย และมหาวิทยาลัยเนชั่น
กำไรต่อที่ 2 – รับคำปรึกษา แนะนำการพัฒนาธุรกิจ ถึงสถานประกอบการโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย
กำไรต่อที่ 3 – เพิ่มโอกาสการสร้างเครือข่าย ได้ร่วมแชร์ความรู้และประสบการณ์ธุรกิจ
กำไรต่อที่ 4 – เสริมทัพความเชื่อถือ ด้วยการประเมินรับรองมาตรฐานคุณภาพการบริหารจัดการ โดยกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
กำไรต่อที่ 5 – คุณอาจได้รับการคัดเลือกให้เผยแพร่ธุรกิจผ่านสื่อในเครือเนชั่นที่มีผู้อ่าน มากกว่า 100,000 ราย โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย

ผู้ปรกอบการธุรกิจแฟรนไชส์ สามารถสมัครเข้าร่วมโครงการ หรือสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม
ได้ที่ ที่ปรึกษาโครงการ Thailand Franchise Standard มหาวิทยาลัยเนชั่น
ศูนย์เนชั่นบางนา ชั้น 9 เลขที่ 1854 ถนนบางนา-ตราด (กม.45) แขวงบางนา เขตบางนา กรุงเทพฯ 10250
โทรศัพท์ 023383861, 0813584756 โทรสาร 023383871 หรือ franchise@nation.ac.th
กองส่งเสริมธุรกิจแฟรนไชส์ กองส่วเสริมและพัฒนาธุรกิจ
คุณทิพย์ณัฐนันต์ โทรศัพท์ 025475953 โทรสาร 025745952

กลไกที่ทำให้สังคมมั่นใจในคุณภาพบัณฑิต [itinlife389]

หมอรักษาเสือ
หมอรักษาเสือ

 

รมต.กระทรวงศึกษาธิการ เซ็นอนุมัติให้เพิกถอนใบอนุญาตจัดตั้งมหาวิทยาลัยอีสาน แม้จะมีนักศึกษาหลายพันคน อันมีจุดเริ่มต้นมาจากข่าวขายปริญญาในปี 2554 (สุชาติ ธาดาธำรงเวช, 2555) เป็นสถาบันการศึกษาล่าสุดที่ถูกเพิกถอนด้วยเหตุผลเรื่องมาตรฐานการศึกษา และผลการตรวจสอบเงื่อนไขในวิชาชีพครู ซึ่งก่อนหน้านั้นมีวิทยาลัยบัณฑิตสกลนคร ปิดเมื่อปี 2540 และวิทยาลัยศรีอีสานปิดเมื่อปี 2533 นั่นแสดงให้เห็นว่าภาครัฐมีกลไกกำกับติดตามให้สถาบันการศึกษาดำเนินการจัดการเรียนการสอนให้ผู้สำเร็จการศึกษามีความรู้ความสามารถไปทำงานในสังคมได้ตรงกับที่กำหนดไว้

elephant

หลักสูตรที่เปิดสอนระดับอุดมศึกษาอาจจำแนกได้ 2 กลุ่ม คือ มีสภาวิชาชีพ และไม่มีสภาวิชาชีพ หมายความว่าหลักสูตรที่มีสภาวิชาชีพรับรองจะต้องจัดการเรียนการสอนตามที่สภาวิชาชีพเห็นชอบก่อนสอน เช่น เรียนวิชาอะไร เป็นเวลาเท่าใด คุณสมบัติอาจารย์ เครื่องมือที่พร้อม เงื่อนไขการฝึกงาน เป็นต้น เพราะหลังจากสำเร็จการศึกษาแล้ว สภาวิชาชีพจะออกใบรับรองวิชาชีพให้ไปทำงาน ถ้าไม่มีใบรับรองก็ไม่สามารถทำวิชาชีพนั้นได้ อาทิ สัตวแพทย์ วิศวะ พยาบาล แพทย์ เป็นต้น การได้ใบรับรองวิชาชีพมีกระบวนการตั้งแต่ก่อนเปิดหลักสูตร ระหว่างจัดการเรียนการสอน และภายหลังจากสำเร็จการศึกษา

dog

กลางมีนาคม 2556 พบข่าวว่าหลักสูตรสัตวแพทย์ในสถาบันหนึ่ง ที่สภาวิชาชีพไปตรวจมาตรฐานครั้งแรก หลังเปิดหลักสูตรแล้ว 5 ปี พบว่าหลักสูตรไม่ผ่านหลังเปิดสอนแล้ว 5 รุ่น รวมทั้งสิ้น 170 คน ถ้าสภาฯ ไม่ออกใบรับรองให้จริงก็จะทำให้ผู้สำเร็จการศึกษากลุ่มนี้ไม่สามารถไปรักษาสัตว์ได้ อีกหลักสูตรคือ วิศวกรรมศาสตร์ที่อาจไม่ได้ใบรับรองวิชาชีพหากสภาวิชาชีพไม่รับรอง แต่บัณฑิตกลุ่มนี้สามารถนำความรู้ และปริญญาไปประกอบอาชีพแบบไม่มีใบรับรอง ซึ่งทั้ง 2 หลักสูตรนี้เป็นอีกเหตุการณ์ที่สะท้อนความเข้มงวดเรื่องคุณภาพการศึกษา ส่วนสาขาด้านไอทีนั้น ปัจจุบันยังไม่มีสภาวิชาชีพ แต่ผู้สำเร็จการศึกษามักกรองตนเองไปทำงานด้านอื่น เพราะตำแหน่ง web developer, mobile developer, developer, network admin, server admin ก็ล้วนต้องเข้าใจในเรื่องนั้นก่อนสมัครงาน เนื่องจากงานที่ทำจะวัดกันตั้งแต่วันที่เริ่มงาน ไม่มีลองผิดลองถูก หากไม่เข้าใจก็จะเริ่มต้นไม่ได้ ต่างกับอาชีพอื่นที่ค่อยเรียนรู้และฝึกฝนกันไป

 

http://th.wikipedia.org/wiki/รายชื่อสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทย

http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1303890331&grpid=01&catid=no