teacher

ครูพันธุ์ใหม่ ยุคดิจิทัล

ครูพันธุ์ใหม่ ยุคดิจิทัล

! http://bit.ly/19jRb58

โดย อัญญาวีร์ อุนสวัสดิ์อาภา   
สมัยอดีต “การไหว้ครู” เป็นพิธีกรรมที่ศิษย์แสดงถึงความเคารพและยอมรับนับถือครูบาอาจารย์อย่างจริงใจ ว่าเป็นผู้เพียบพร้อมด้วยคุณธรรมความรู้

และศิษย์ในฐานะผู้สืบทอดมรดกทางวิชาการจึงพร้อมใจกันปวารณาตัวเพื่อรับการถ่ายทอดวิชาความรู้ด้วยความวิริยะอุตสาหะ และสัญลักษณ์ที่มักจะพบในพานไหว้ครูแบบดั้งเดิมมักจะประกอบด้วย “ข้าวตอก” ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของความมีระเบียบวินัย “ดอกมะเขือ” เป็นสัญลักษณ์แห่งความอ่อนน้อมถ่อมตนและการมีสัมมาคารวะ “ดอกเข็ม” เป็นสัญลักษณ์ของสติปัญญาที่ฉลาดหลักแหลม และ “หญ้าแพรก” เป็นสัญลักษณ์ของความอดทนและความมีวิริยะอุตสาหะ ซึ่งสัญลักษณ์ดังกล่าว ได้ถูกผลิตซ้ำและสืบทอดคุณค่าและความหมายเกี่ยวกับคุณลักษณะศิษย์ที่พึงประสงค์มาเป็นระยะเวลานาน

แต่ในยุคปัจจุบันสัญลักษณ์พานไหว้ครูได้มีการพัฒนาเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม และในช่วงเปิดเทอมที่ผ่านมา สื่อมวลชนได้นำเสนอข่าวพิธีไหว้ครูของวัยรุ่นในโรงเรียนและสถาบันการศึกษาบางแห่ง ที่ได้สร้างสรรค์พานไหว้ครูเป็นโลโก้กูเกิล เฟซบุ๊ค และไลน์ โดยให้เหตุผลว่า เพื่อต้องการสื่อว่าโลกทุกวันนี้เปลี่ยนแปลงและทันสมัยมากขึ้น ทั้งกูเกิล เฟซบุ๊ค และไลน์ถือเป็นสื่อใหม่ (New media) ที่วัยรุ่นได้นำมาใช้ในการติดต่อสื่อสารจนกลายเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวัน

เมื่อข่าวดังกล่าวเผยแพร่ไป ปรากฏว่ามีกระแสตอบรับจากสังคมทั้งเห็นด้วยและไม่เห็นด้วยกับการนำสัญลักษณ์สื่อใหม่ (New media) และสื่อสังคม (Social media) มาเป็นส่วนหนึ่งของพิธีกรรมไหว้ครู โดยวัยรุ่นโดยส่วนใหญ่มองว่า พานไหว้ครูยุคใหม่เป็นการสืบทอดสัญลักษณ์และประเพณีในเชิงสร้างสรรค์ แต่ในทางกลับกันผู้ใหญ่บางคนกลับไม่เห็นด้วยเพราะมองว่าสัญลักษณ์ของพานไหว้ครูดังกล่าว อาจเป็นการทำลายความน่าเชื่อถือและความศักดิ์สิทธิ์ของพิธีกรรมไหว้ครูแบบดั้งเดิมให้เสื่อมถอยลงไป ซึ่งโดยความคิดเห็นส่วนตัวผู้เขียนไม่ได้นำเสนอปรากฏการณ์ดังกล่าวเพื่อตัดสินใจว่าสิ่งใดถูกหรือสิ่งใดผิด แต่สิ่งที่สนใจก็คือการสื่อสารเชิงสัญญะที่แฝงเร้นอยู่ในพานไหว้ครู สัญลักษณ์สื่อใหม่และสื่อสังคมที่ปรากฏบนพานไว้ครูได้สถาปนาความหมายและสถานภาพของ “ครูพันธุ์ใหม่ในยุคดิจิทัล” ขึ้นในสังคมไทย

อาจกล่าวได้ว่า ในยุคที่เทคโนโลยีการสื่อสารสามารถเข้าถึงผู้รับสารได้สะดวก รวดเร็ว เป็นจำนวนมาก โดยไม่จำกัดเวลาและสถานที่ สื่อใหม่ (New media) ไม่ว่าจะเป็นสมาร์ทโฟน ไอแพด โน้ตบุ๊ค ได้ถูกสถาปนาให้กลายเป็น “ครูพันธุ์ใหม่” ที่ สามารถแสวงหาคำตอบให้กับคนทุกเพศทุกวัยในทุกเรื่อง ทุกที่ และทุกเวลาโดยไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อย และบางครั้งเราก็มักจะได้ยินครูบางท่านสบถในห้องเรียนด้วยความท้อแท้ใจในการสอนเด็กยุคใหม่ที่ก้มหน้าก้มตาดูสมาร์ทโฟน โน้ตบุ๊ค หรือไอแพดโดยไม่สนใจครูผู้สอนว่า “เด็กสมัยนี้เชื่อคอมฯ มากกว่าเชื่อครู”

ข้อมูลจากการสำรวจของเว็บไซต์ alexa.com ผู้ให้บริการวิเคราะห์ข้อมูลเว็บไซต์ที่มีผู้เข้าใช้บริการมากกว่า 1 ล้านคนต่อวัน แสดงข้อมูลเชิงสถิติที่น่าสนใจว่า ปัจจุบันเฟซบุ๊ค (Facebook.com) ได้กลายเป็นเว็บไซต์เครือข่ายสังคมออนไลน์ที่ที่มีผู้ใช้บริการมากที่สุดในโลก รองลงมาคือกูเกิล (google.com) และ ยูทูป (http://www.alexa.com) เป็นที่น่าสังเกตว่า คนรุ่นใหม่ในยุคดิจิทัลไม่สามารถใช้ชีวิตประจำวันโดยปราศจากการติดต่อสื่อสารกับโลกออนไลน์ในทุกช่วงเวลาของชีวิต เช่น ตื่นนอน เดินทาง กินอาหาร เดินทาง พักผ่อน หรือแม้แต่ในยามที่ครูกำลังสอนในชั้นเรียน ผู้ส่งสารในโลกดิจิทัลยังคงสื่อสารและสร้างปฏิสัมพันธ์กับผู้รับสารทั้งทางตรงและทางอ้อม

จุดเด่นของสื่อใหม่คือการให้อำนาจกับผู้รับสารในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร และความสามารถในการตรวจสอบข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว รวมทั้งเปิดช่องทางการติดต่อสื่อสารและการแสดงความคิดเห็นแบบสองทาง (Two-way-communication) โดยไม่ต้องกลัวการทำโทษ หรือกลัวว่าคำตอบนั้นจะถูกหรือผิด จึงกลายเป็นเสน่ห์ดึงดูดผู้สนใจให้เข้ามาใช้บริการในเว็บไซต์มากขึ้น ซึ่งสวนทางกับจำนวนผู้อ่านหนังสือหรือตำราที่นับวันจะมีจำนวนลดลงไปเรื่อยๆ เนื่องจากการสื่อสารแบบทางเดียวไม่สามารถตอบสนองความต้องการของวัยรุ่นในยุคดิจิทัล หรือแม้แต่ครูพันธ์ดังเดิม (บุคคล) หากมุ่งที่เน้นการสอนแบบทางเดียวโดยไม่สร้างการมีปฏิสัมพันธ์แห่งการเรียนรู้ก็อาจไม่ได้รับความสนใจจากศิษย์ในยุคสมัยนี้

อย่างไรก็ดี แม้ครูพันธุ์ใหม่จะได้รับการยอมรับว่าสามารถให้ความรู้ที่รอบด้านอย่างรวดเร็ว แต่ก็ยังมีข้อจำกัด เนื่องจากไม่สามารถสร้างความรู้สึกแห่งความไว้วางใจระหว่างครูกับศิษย์ได้อย่างแท้จริง เนื่องจากผู้ส่งสารในโลกดิจิทัลแม้จะทำหน้าที่ให้ความรู้แต่ก็ไม่มีตัวตนที่สามารถสัมผัสได้ รวมทั้งไม่สามารถให้คำปรึกษาหรือเยียวยาความทุกข์ของศิษย์ได้อย่างเข้าใจ หรือแม้แต่การสร้างทัศนคติและจิตสำนึกที่ดีต่อเพื่อนมนุษย์ได้อย่างแท้จริง เพราะสื่อออนไลน์เป็นเพียงช่องทาง หรือเครื่องมือในการสื่อสารแต่ไม่ได้ทำหน้าที่เป็นมนุษย์ หากเป็นเช่นนี้แล้วครูพันธ์ใหม่อาจมีสถานะเป็นเพียง “เปลือก” ในการสร้างความรู้ แต่ไม่ใช่ “แก่น” ที่สร้างคุณค่าแห่งการเรียนรู้ของศิษย์แบบครูสมัยก่อนก็เป็นได้

เพราะฉะนั้นสัญลักษณ์สื่อใหม่ในพานไหว้ครูที่เปลี่ยนไปจึงสะท้อนให้เห็นเพียงรูปแบบการสื่อสารในพิธีกรรม แต่ยังขาดการสถานะครูพันธุ์ใหม่อย่างสมบูรณ์หากยังไม่ทำหน้าที่ในการสร้างจิตสำนึกของศิษย์ให้เข้าถึงความเป็นมนุษย์ (ผู้รู้จักใช้เหตุผล, ผู้มีจิตใจสูง) ได้อย่างสมบูรณ์

! http://bit.ly/19jRb58

Tags : อัญญาวีร์ อุนสวัสดิ์อาภา

สอบ ‘ครูผู้ช่วย’ ฉาวพ่นพิษ ชงเสริมศักดิ์ฟัน 4 บิ๊กสพฐ.

20 พฤษภาคม 2556

2 เขตพื้นที่ฯยังยื้อเพิกถอนบรรจุครูผู้ช่วย ตั้ง กก. สอบข้อเท็จจริงเพิ่ม อ้าง’ดีเอสไอ’ยังไม่ฟันธง แค่ ชี้ส่อไปในทางไม่สุจริต

จากกรณีที่ประชุมคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) ซึ่งมีนายพงศ์เทพ เทพกาญจนา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เป็นประธาน ได้มีมติให้แจ้งไปยังคณะอนุกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (อ.ก.ค.ศ.) เขตพื้นที่การศึกษา 119 เขต และผู้อำนวยการโรงเรียน ให้พิจารณาเพิกถอนการบรรจุแต่งตั้งบุคคลเข้ารับราชการครู ในตำแหน่งครูผู้ช่วย ในการสอบคัดเลือกบุคคลเข้ารับราชการครู ในตำแหน่งครูผู้ช่วย กรณีมีความจำเป็น หรือเหตุพิเศษ ว12 ในครั้งที่ผ่านมา จำนวน 334 ราย ตามที่กรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) ได้ทำหนังสือแจ้งมายัง ก.ค.ศ.และ อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่ฯ 119 เขต เนื่องจากเห็นว่าบุคคลเหล่านี้กระทำการเข้าข่ายทุจริตในการสอบ ทำข้อสอบผิดในข้อเดียวกัน และมีคะแนนสอบที่สูงผิดปกติ อีกทั้งยังได้แนบเอกสารคำให้การของนายพิษณุ ตุลสุข หัวหน้าผู้ตรวจราชการ ศธ. ในฐานะประธานคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงชุดของ ศธ. ซึ่งได้มีการสรุปเสนอให้ดำเนินการทางวินัยร้ายแรงกับผู้บริหารสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) รวม 3 ราย เพราะมีมูลสงสัยว่าเป็นผู้ร่วมกระทำผิดวินัย กรณีละเลยหรือจงใจละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ตามมาตรา 157 แห่งประมวลกฎหมายอาญา ซึ่งประกอบด้วยนายชินภัทร ภูมิรัตน เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) นายอนันต์ ระงับทุกข์ รองเลขาธิการ กพฐ. และนายไกร เกษทัน ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาระบบบริหารงานบุคคลและนิติกร สพฐ.นั้น

เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม นางพนิตา กำภู ณ อยุธยา ปลัด ศธ. ในฐานะประธานคณะกรรมการสืบสวนข้อเท็จจริงการทุจริตสอบครูผู้ช่วย เปิดเผยว่า คณะกรรมการชุดที่ตนเป็นประธานได้ประชุมนัดสุดท้ายเมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม ที่ผ่านมา มีข้อสรุปให้ตั้งคณะกรรมการสอบ วินัยร้ายแรงผู้บริหาร ศธ. โดยได้เสนอผลสรุปให้นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช รัฐมนตรีช่วยว่าการ ศธ. รับทราบแล้ว จากนี้ต้องรอว่านายว่าการ ศธ. รับทราบแล้ว จากนี้ต้องรอว่านายเสริมศักดิ์จะดำเนินการตามข้อเสนอของคณะกรรมการ หรือจะสั่งให้สอบสวนประเด็นใดเพิ่มเติมอีกหรือไม่

แหล่งข่าวระดับสูงใน ศธ.กล่าวว่า ผลสรุปการสอบสวนของคณะกรรมการชุดที่นางพนิตา เป็นประธาน ได้เสนอให้ตั้งคณะกรรมการสอบวินัยร้ายแรงผู้บริหารระดับสูงของ สพฐ. จำนวน 4 คน ประกอบด้วย นายชินภัทร นายอนันต์ นายไกร และนายสุเทพ ชิตยวงษ์ อดีตผู้ช่วยเลขาธิการ กพฐ. ซึ่งที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เพิ่งมีมติแต่งตั้งให้เป็นผู้ตรวจราชการ ศธ. เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคมที่ผ่านมา ในข้อหาละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ทำให้ราชการเสียหายร้ายแรง อย่างไรก็ตาม คณะกรรมการชุดนี้ยังไม่สามารถสรุปหรือชี้ชัดได้ว่า ผู้บริหาร สพฐ.ทั้ง 4 คน เกี่ยวข้องกับการทุจริตสอบครูผู้ช่วย โดยเสนอว่าหากจะให้ชี้ชัดจะต้องมีการสอบสวนข้อเท็จจริงเพิ่มเติมอีก

นายเสริมศักดิ์ กล่าวว่า ได้รับผลสรุปจากคณะกรรมการสืบสวนฯชุดของนางพนิตาแล้ว แต่ยังไม่ได้ดูรายละเอียด คาดว่าในวันที่ 19 พฤษภาคมนี้ จะสามารถบอกได้ว่าแนวทางดำเนินการต่อไปจะเป็นไปในทิศทางใด แต่หากใครที่มีหลักฐานชี้ว่าละเว้นการปฏิบัติหน้าที่จริงก็ต้องดำเนินการตามที่คณะกรรมการสืบสวนฯเสนอมา แต่ถ้าใครที่ความผิดยังไม่ชัดเจนก็ต้องสอบสวนเพิ่มเติม

นายศักดิ์สิทธิ์ ถิรทัฬหกุล ประธาน อ.ก.ค.ศ.สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา (สพป.) ขอนแก่น เขต 3 กล่าวว่า ได้รับหนังสือจากดีเอสไอแล้ว ซึ่งส่อว่าทุจริต จำนวน 2 รายชื่อ โดยปรากฏว่ารายชื่อแรกได้รับการบรรจุไปแล้วในลำดับที่ 2 ส่วนอีกรายชื่อยังไม่ได้รับการบรรจุ ซึ่งน่าประหลาดใจว่าผู้ที่สอบได้คะแนนสูงสุดลำดับที่ 1 ที่ได้รับการบรรจุไปแล้ว กลับไม่มีอยู่ในรายชื่อของดีเอสไอ
นายศักดิ์สิทธิ์กล่าวต่อว่า ในวันที่ 22 พฤษภาคมนี้ จะประชุม อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่ฯโดยจะนำเอกสารที่ได้รับจากดีเอสไอมาประกอบการพิจารณา พร้อมทั้งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริง โดยระหว่างการตรวจสอบจะรอหนังสือแจ้งมติจาก ก.ค.ศ.ดังกล่าวด้วย ซึ่งยังตอบไม่ได้ว่าผลการพิจารณาของ อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่ฯ จะออกมาอย่างไร เพราะในหนังสือที่ได้รับจากดีเอสไอไม่ได้ระบุว่าให้ “ยกเลิก” ซึ่งโดยหลักการก็ยกเลิกไม่ได้อยู่แล้ว เพราะกระบวนการสอบคัดเลือกผ่านไปแล้ว ส่วน อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่ฯจะสามารถออกคำสั่งให้ผู้อำนวยการโรงเรียนสั่งให้ผู้ได้รับการบรรจุออกจากราชการได้หรือไม่นั้น ตนไม่สามารถคาดเดาคำตัดสินของที่ประชุม อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่ฯ ได้ เนื่องจากดีเอสไอไม่ได้ฟันธงความผิด บอกแค่ว่าเป็นผู้ที่กระทำไปในทางส่อไม่สุจริต ซึ่งคำว่า “ส่อไปในทางไม่สุจริต” อาจจะแปลความว่าสุจริตหรือทุจริตก็ได้

นายโกวิท เพลินจิตร ผู้อำนวยการ สพป.อุบลราชธานี เขต 2 กล่าวว่า ได้รับหนังสือจากดีเอสไอแล้ว โดยแจ้ง 1 รายชื่อว่าส่อในทางไม่สุจริต และในหนังสือไม่ได้ระบุให้ อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่ฯยกเลิกการบรรจุ แต่ระบุว่ามีมูลความผิด ให้เขตพื้นที่ฯดำเนินการตาม พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา และว่าดีเอสไอกำลังสืบค้นข้อมูลต่างๆ เพิ่มเติม ก็แสดงว่ายังไม่ได้ข้อยุติ ดังนั้น อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่ฯต้องพิจารณาด้วยความรอบคอบ ส่วนที่ ก.ค.ศ.มีมติแจ้งให้ อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่ฯดำเนินการเพิกถอนการบรรจุตามที่ดีเอสไอมีหนังสือแจ้งถึงนั้น ขณะนี้ยังไม่มีหนังสือแจ้งมติดังกล่าวมา

“จริงๆ แล้ว ที่ สพป.อุบลราชธานี เขต 2 มีผู้สอบบรรจุครูผู้ช่วยที่มีคะแนนสูงผิดปกติ 2 ราย แต่ดีเอสไอแจ้งมาแค่ 1 ราย ดังนั้น ในวันที่ 20 พฤษภาคมนี้ อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่ฯจะตั้งคณะกรรมการสืบข้อเท็จจริง และประมวลภาพรวม ทั้งนี้ ยอมรับว่าโดยภาพรวมมีการทุจริตสอบครูผู้ช่วยจริง แต่เอกสารหลักฐานที่จะเอาผิดยังไม่เพียงพอ อีกทั้งผู้ถูกเพิกถอน การบรรจุอาจฟ้องศาลปกครอง หรือศาลอาญาได้ จึงต้องพิจารณาอย่างรอบคอบ ซึ่งถ้าจะให้สบายใจจริงๆ ก.ค.ศ.ควรฟันธงมาเลยว่า ใครกระทำความผิด และสั่งให้เพิกถอนมาเลย ไม่ใช่แค่ให้เป็นข้อมูลมาประกอบการพิจารณา” นายโกวิทกล่าว

นายธาริต เพ็งดิษฐ์ อธิบดีดีเอสไอ เปิดเผยถึงความคืบหน้าทางคดีการทุจริตสอบครูผู้ช่วยว่า ดีเอสไอกำลังรวบรวมพยานหลักฐานเพื่อขออนุมัติหมายจับบุคคลที่เกี่ยวข้องกับขบวนการทุจริต ส่วนผู้สอบครูผู้ช่วยได้คะแนนสูงผิดปกติ 344 ราย ที่ดีเอสไอได้มีหนังสือแจ้งไปยังสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา 119 เขต ให้ดำเนินการปลดออกจากตำแหน่งครูผู้ช่วย ดีเอสไอกำลังรอการติดต่อจากบุคคลกลุ่มดังกล่าวอยู่ และเตรียมเรียกทุกคนมาให้การกับพนักงานสอบสวน โดยจะเรียกรายชื่อกลุ่มเขตพื้นที่ฯใน จ.นครราชสีมา มาสอบปากคำเป็นลำดับแรก เนื่องจากเป็นพื้นที่ที่พนักงานสอบสวนมีพยานเนื่องจากเป็นพื้นที่ที่พนักงานสอบสวนมีพยานเอกสารหลักฐานที่ชัดเจนว่า มีการซื้อขายเฉลยคำตอบในการสอบครูผู้ช่วยจากบุคคลใด อีกทั้งใน สพป.พื้นที่ จ.นครราชสีมา มีบุคคลที่เข้าข่ายทุจริตถึง 48 คน

ทั้งนี้ สำหรับหนังสือที่ดีเอสไอส่งไปยังสำนักงานเขตพื้นที่ฯ 119 เขต ให้ดำเนินการปลดออกจากตำแหน่งครูผู้ช่วย รวมจำนวน 344 รายดังกล่าวนั้น ประกอบด้วย สพป.กาญจนบุรี เขต 1 จำนวน 1 ราย, สพป.กาฬสินธุ์ เขต 1,2 และ 3 จำนวน 4 ราย, สพป.กำแพงเพชร เขต 1 และ 2 จำนวน 4 ราย, สพป.ขอนแก่น เขต 1,2,3,4 และ 5 จำนวน 7 ราย, สพป.จันทบุรี เขต 2 จำนวน 3 ราย, สพป.ฉะเชิงเทรา เขต 2 จำนวน 2 ราย, สพป.ชลบุรี เขต 1 และ 2 จำนวน 2 ราย, สพป.ชัยนาท 5 ราย, สพป.ชัยภูมิ เขต 1,2 และ 3 จำนวน 15 ราย, สพป.เชียงใหม่ เขต 5 จำนวน 8 ราย, สพป.ตรัง เขต 2 จำนวน 2 ราย, สพป.ตาก เขต 2 จำนวน 1 ราย

สพป.นครปฐม เขต 1 จำนวน 3 ราย, สพป.นครพนม เขต 1 และ 2 จำนวน 5 ราย, สพป.นครราชสีมา เขต 1,2,3,4,5,6 และ 7 จำนวน 48 คน, สพป.นครศรีธรรมราช เขต 4 จำนวน 1 ราย, สพป.นครสวรรค์ เขต 1 จำนวน 3 ราย, สพป.นราธิวาส เขต 2 และ 3 จำนวน 3 ราย, สพป.น่าน เขต 1 และ 2 จำนวน 8 ราย, สพป.บึงกาฬ เขต 1 จำนวน 9 ราย, สพป.บุรีรัมย์ เขต 1,3 และ 4 จำนวน 8 ราย, สพป.ปทุมธานี เขต 1 และ 2 จำนวน 4 ราย, สพป.ปราจีนบุรี เขต 1 จำนวน 1 ราย, สพป.ปัตตานี เขต 1 จำนวน 1 ราย, สพป.พะเยา เขต 1 จำนวน 1 ราย, สพป.พัทลุง เขต 2 จำนวน 1 ราย, สพป.พิจิตร เขต 2 จำนวน 2 ราย, สพป.พิษณุโลก เขต 2 และ 3 จำนวน 5 ราย, สพป.เพชรบุรี เขต 2 จำนวน 1 ราย, สพป.เพชรบูรณ์ เขต 1 และ 3 จำนวน 6 ราย, สพป.แพร่ เขต 1 และ 2 จำนวน 2 ราย, สพป.มหาสารคาม เขต 1 จำนวน 2 ราย, สพป.มุกดาหาร เขต 1 จำนวน 6 ราย
สพป.แม่ฮ่องสอน เขต 2 จำนวน 1 ราย สพป.ยโสธร เขต 2 จำนวน 2 ราย, สพป.ร้อยเอ็ด เขต 1 และ 2 จำนวน 2 ราย, สพป.ระยอง เขต 1 และ 2 จำนวน 5 ราย, สพป.ราชบุรี เขต 1 จำนวน 1 ราย, สพป.ลพบุรี เขต 1 จำนวน 3 ราย, สพป.เลย เขต 1,2 และ 3 จำนวน 18 ราย, สพป.ศรีสะเกษ เขต 1,2 และ 4 จำนวน 7 ราย, สพป.สกลนคร เขต 1,2 และ 3 จำนวน 16 ราย, สพป.สงขลา เขต 2 จำนวน 2 ราย, สพป.สตูล 1 ราย, สงขลา เขต 2 จำนวน 2 ราย, สพป.สตูล 1 ราย, สพป.สระบุรี เขต 1 และ 2 จำนวน 7 ราย, สพป.สิงห์บุรี 2 ราย, สพป.สุรินทร์ เขต 1,2 และ 3 จำนวน 22 ราย, สพป.หนองคาย เขต 2 จำนวน 1 ราย, สพป.หนองบัวลำภู เขต 1 จำนวน 2 ราย, สพป.อำนาจเจริญ 4 ราย, สพป.อุดรธานี เขต 1,2,3 และ 4 จำนวน 9 ราย, สพป.อุทัยธานี เขต 2 จำนวน 4 ราย สพป.อุบลราชธานี 1,2,3 และ 4 จำนวน 10 ราย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา (สพม.) เขต 2 (กรุงเทพมหานคร) 1 ราย, สพม.เขต 4 (ปทุมธานี-สระบุรี) 2 ราย, สพม.เขต 6 (ฉะเชิงเทรา-สมุทรปราการ) 1 ราย, สพม.เขต 7 (ปราจีนบุรี-นครนายก-สระแก้ว) 1 ราย
สพม.เขต 9 (สุพรรณบุรี-นครปฐม) 1 ราย, สพม.เขต 10 (เพชรบุรี-ประจวบคีรีขันธ์สมุทรสงคราม-สมุทรสาคร) 1 ราย, สพม.เขต 18 (ชลบุรี-ระยอง) 2 ราย, สพม.เขต 19 (เลยหนองบัวลำภู) 7 ราย, สพม.เขต 20 (อุดรธานี) 2 ราย, สพม.เขต 21 (หนองคาย) 3 ราย, สพม.เขต 24 (กาฬสินธุ์) 4 ราย, สพม.เขต 25 (ขอนแก่น) 2 ราย, สพม.เขต 27 (ร้อยเอ็ด) 1 ราย, สพม.เขต 29 (อุบลราชธานี-อำนาจเจริญ) 3 ราย, สพม.เขต 30 (ชัยภูมิ) 2 ราย, สพม.เขต 31 (นครราชสีมา) 3 ราย, สพม.เขต 33 (สุรินทร์) 4 ราย, สพม.เขต 40 (เพชรบูรณ์) 3 ราย, สพม.เขต 41 (กำแพงเพชร-พิจิตร) 1 ราย, สพม.เขต 42 (นครสวรรค์-อุทัยธานี) 1 ราย และสังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ 1 ราย

— มติชน ฉบับวันที่ 20 พ.ค. 2556 (กรอบบ่าย) —

! http://www.moe.go.th/moe/th/news/detail.php?NewsID=32760&Key=hotnews

เกณฑ์คัดเลือกช่องทีวีสาธารณะในระบบดิจิทัล

วนิดา วินิจจะกูล
วนิดา วินิจจะกูล

เป็นข่าวกันไปพอสมควรแล้ว สำหรับ ทีวีสาธารณะในระบบดิจิทัล ที่คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการวิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม หรือ กสทช.

เปิดเผยว่าจะมีทั้งหมด 12 ช่อง โดยกำหนดค่อนข้างแน่นอนแล้ว 6 ช่อง โดย 4 ช่องแรกเป็นช่องที่เราคุ้นเคยกันอยู่ คือ 5, 7,11 และ ไทยพีบีเอส (ภายใต้เงื่อนไขต้องคืนคลื่นอนาล็อกก่อน) ส่วนอีก 2 สำหรับช่องเพื่อความปลอดภัย และช่องเพื่อความมั่นคง ว่ากันว่าเป็นไปตาม พ.ร.บ.กลาโหม

! http://bit.ly/10DG6aJ
ทั้ง 6 ช่องนี้ สมควรได้รับจัดสรรคลื่นโดยอัตโนมัติหรือไม่ เป็นประเด็นที่ยังต้องถามหาความชอบธรรม

ส่วนที่เหลืออีก 6 ช่อง ที่ กสทช. จะพิจารณาให้องค์กรหรือหน่วยงานใดนั้น ก็ยังไม่มีหลักเกณฑ์กติกาการคัดเลือกแต่อย่างใด แต่สุภิญญา กลางณรงค์ เสียงข้างน้อยอีกเช่นเคย เห็นว่า กสทช. ควรมีหลักเกณฑ์ที่แน่นอน เพื่อความโปร่งใส กรรมการตัดสินจะได้มีหลักยึด ดังนั้น การจัดเวทีระดมสมองเรื่อง “เกณฑ์การคัดเลือกผู้เหมาะสมให้ใช้คลื่นความถี่ในกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์สำหรับการประกอบกิจการบริการสาธารณะ” หรือรู้จักกันในชื่อ “บิวตี้คอนเทสต์” ที่ กสทช. สุภิญญา ในฐานะกรรมการคนหนึ่ง พยายามทำให้การตัดสินใจของ กสทช. ต่อเรื่องการจัดสรรคลื่นความถี่ซึ่งเป็นทรัพยากรของชาติที่สามารถนำไปหามูลค่าได้มหาศาล มีความโปร่งใส สังคมตรวจสอบได้

เกณฑ์การคัดเลือกผู้เหมาะสมให้ใช้คลื่นความถี่ฯ ในกิจการสาธารณะ ที่ทีมงาน กสทช.สุภิญญา จัดทำเป็นร่างมาให้เวทีระดมความคิดเห็นนั้น ประกอบด้วย 6 ด้าน คือ 1. ประสบการณ์และความเชี่ยวชาญ 2. การผลิตรายการและที่มาของเนื้อหารายการ 3. ความทั่วถึง 4. แหล่งเงินทุนและการใช้เงินทุน 5.กลไกการติดตามตรวจสอบภายในองค์กร และ 6.การมีส่วนร่วมและการคุ้มครองผู้บริโภค

ในเวทีได้อภิปรายและเสนอข้อคิดเห็นมากมาย แต่โดยส่วนตัวนั้น สนใจมากๆ ใน 2 ประเด็น

ประเด็นแรก คือ เรื่องเกี่ยวกับศักยภาพหน่วยงานที่จะเสนอตัว ซึ่งเวทีเสนอในประเด็นนี้ค่อนข้างเยอะ

ประเด็นที่สอง คือ เรื่อง “ความคิดสร้างสรรค์” ที่ดูเหมือนจะไม่มีตัวอักษรใดในร่างที่สื่อถึงเรื่องนี้เลย ในตอนท้าย ตัวเองจึงได้เสนอความเห็นไปว่า…

คิดว่าการกำหนดเกณฑ์เหล่านี้ไม่ควรเป็นไปเพื่อการหาทีวีสาธารณะที่ดีที่สุด แต่ต้องหาทีวีสาธารณะที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด ฉะนั้นการเข้าถึงก็ดี เกณฑ์คุณภาพต่างๆ ที่พูดถึงก็ดี รู้สึกว่ากำลังจะได้ช่องที่ลงทุนไปแล้วจะไม่มีคนดูมากนัก อยากให้ช่วยกันคิดว่า ทำอย่างไรจึงจะถ่วงดุลให้ได้ระหว่าง 3 มุมนี้ คือ

หนึ่ง ทำอย่างไรให้ผู้เสนอตัว มีทุนที่จะยืนระยะได้ หมายความว่า ทำอย่างไรให้ประชาชนอยากเข้ามาชมรายการคุณภาพ คุ้มค่ากับการเผาเวลาไปนาทีละ 2 แสน หรือวันละ 5 ล้าน (ข้อมูลจากเวที) มันมหาศาลนะ ฉะนั้นถ้าให้เขามาลงทุนแล้วบอกไม่ให้หากำไร ไม่ให้หารายได้ หรือหาได้เท่าที่จำเป็น แล้วใครจะเข้ามาเพราะว่ามันไม่น่าจูงใจเลย ฉะนั้น ทำอย่างไรให้ผู้เสนอมีรายได้พอที่จะยืนระยะในการพัฒนารายการและสถานีให้ดีขึ้นในอนาคต ซึ่ง กสทช.อาจจะดูเรื่องการให้ทุนอุดหนุนบางส่วน หรือให้มีโฆษณาที่เหมาะสม เพื่อไม่ให้ผลิตรายการที่ด้อยคุณภาพหรือเรียกแต่เรตติ้ง

สอง ที่ต้องให้น้ำหนักด้วย คือ “คุณค่าต่อสังคม” ทั้งการเป็น “พลเมือง” หรือการให้ทุกภาคส่วนได้มีโอกาสเข้ามาใช้หรือเกิดประโยชน์ต่อสังคมจริงๆ ประเด็นนี้พูดกันค่อนข้างเยอะแล้ว

สาม ที่ไม่ค่อยมีคนพูดกัน แต่คิดว่าต้องให้ความสำคัญมากที่สุดอีกมุมหนึ่งด้วย คือ เรื่อง ความคิดสร้างสรรค์ ที่รายการออกมาแล้วดูสนุก หรือทำออกมาแล้วมีคนอยากดู จะเรียกว่าเรตติ้งก็ได้ พูดถึงเรตติ้งอาจจะดูเป็นเชิงลบ แต่ความคิดสร้างสรรค์อยู่ในเกณฑ์ข้อไหน เพราะร่างที่ทีมงาน กสทช.สุภิญญา นำเสนอมา ยังไม่เห็นประเด็นนี้

ตอนนี้ประชาชนเลือกดูทีละรายการแล้ว เขาดูยูทูป เขาไม่ดูทั้งสถานี ไม่ดูทั้ง 24 ชั่วโมง ไม่ดูตามเวลาที่ออกอากาศ แต่เข้ามาเลือกดูภายหลังได้ ในรายการที่เขาชอบ ฉะนั้น การที่เขาจะเข้ามาดูช่องทีวีสาธารณะ นั่นแปลว่ารายการต้องโดนเขาจริงๆ นั่นจึงเป็นเหตุผลที่ต้องให้น้ำหนักให้ได้ระหว่าง 3 มุมที่ว่านี้ คือ 1.ให้มีเงินทุนที่จะยืนระยะได้จริงและมีแผนเลี้ยงตัวเองได้จากแหล่งไหนก็ตาม 2.คุณค่าที่จะเป็นประโยชน์ต่อสังคมจริงๆ ไม่ใช่แค่เกิดช่องละครหรือรายการที่มีอยู่แล้วในกระแสหลัก และ 3.เรื่องความคิดสร้างสรรค์ ที่จะทำให้คนเข้ามาชมรายการมีคุณภาพอย่างที่ตั้งใจกัน ทั้งหมดนี้ก็เพื่อจะทำให้เกิดประสิทธิภาพจริง ๆ ของการลงทุนและการใช้ทรัพยากรสาธารณะ

สุดท้ายที่ประชุมสรุปเกณฑ์ออกมาได้ 5 ด้าน คือ ด้านที่เกี่ยวกับองค์กร ด้านเทคนิค ด้านเนื้อหา ด้านการเงิน และด้านธรรมาภิบาล ส่วนรายละเอียดจะเป็นอย่างไรติดตามได้จากผลการประชุมของบอร์ด กสทช.เร็ว ๆ นี้

เขียนโดย วนิดา วินิจจะกูล ในกรุงเทพธุรกิจ

! http://blog.nation.ac.th/?p=2633

จี้สพฐ.บรรจุผอ.ลงร.ร.ต่ำกว่า 60 คน ห่วง 300 รายชื่อ ขึ้นบัญชีผู้อำนวยการแห้ว

คุณครูโรงเรียน
คุณครูโรงเรียน

17 มกราคม 2556 นายวุฒิชัย ชินรัตน์ ผู้แทนผู้ผ่านการสรรหาขึ้นบัญชีรวมผู้อำนวยการสถานศึกษาของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) เปิดเผยว่า เมื่อเร็วๆ นี้ ตน และคณะได้ยื่นหนังสือถึงนาย พงศ์เทพ เทพกาญจนา รัฐมนตรีว่าการกระทรวง ศึกษาธิการ (ศธ.) นางพนิตา กำภู ณ อยุธยา ปลัด ศธ.และนายชินภัทร ภูมิรัตน เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) เพื่อคัดค้านกรณีที่ สพฐ.ไม่บรรจุผู้อำนวยการสถานศึกษาที่มีนักเรียนต่ำกว่า 60 คน ว่า ตามที่ สพฐ.ได้ดำเนินการสรรหาเพื่อบรรจุแต่งตั้ง ผู้อำนวยการสถานศึกษาในปีงบประมาณ 2555 ซึ่งมีบัญชีของกลุ่มประสบการณ์ และบัญชีกลุ่มทั่วไป แต่ขณะนี้ ศธ.และ สพฐ.มี นโยบายที่จะไม่บรรจุแต่งตั้งผู้อำนวยการสถานศึกษาในโรงเรียนที่มีนักเรียนต่ำกว่า 60 คน และสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา (สพป.) หลายเขต รับย้ายเพิ่มเติมหลายรอบ ทำให้มีโรงเรียนที่มีนักเรียนต่ำกว่า 60 คน เพิ่มจำนวนมาก ซึ่ง สพป.ส่วนมากยังไม่รายงานตำแหน่งว่างให้ สพฐ.ทราบ ทำให้มีผลกระทบกับผู้ที่ผ่านการสรรหา และขึ้นบัญชีไว้ทั้ง 2 กลุ่ม หรืออาจจะไม่ได้บรรจุแต่งตั้งในตำแหน่งดังกล่าวตามจำนวนที่ขึ้นบัญชีไว้ โดยเฉพาะผู้ที่ผ่านการสรรหา และขึ้นบัญชีไว้ทั้ง 2 กลุ่ม ที่ผ่านการอบรม และพัฒนาแล้ว จะทำให้สูญเสียงบประมาณแผ่นดินที่ใช้อบรมโดยสูญเปล่า ดังนั้น จึงขอให้บรรจุแต่งตั้งผู้อำนวยการสถานศึกษาในโรงเรียนที่มีนักเรียนต่ำกว่า 60 คน และให้ สพฐ.เร่งรัดการส่งตำแหน่งว่างใน สพป.ให้ชัดเจน และรวดเร็ว

การสอบขึ้นบัญชีผู้อำนวยการสถานศึกษา สอบตั้งแต่ปีที่ผ่านมา น่าจะเหลือผู้ที่ขึ้นบัญชีในกลุ่มประสบการณ์ และกลุ่มทั่วไปกว่า 300 คน ที่ยังรอการบรรจุแต่งตั้ง หากไม่บรรจุในโรงเรียนที่ต่ำกว่า 60 คน เกรงว่าจะทำให้ผู้ที่สอบขึ้นบัญชีไว้ไม่ถูกเรียกบรรจุภายใน 2 ปี และบัญชีต้องถูกยกเลิกจนเสียสิทธิ เพราะขณะนี้การขึ้นบัญชีครบ 1 ปีแล้ว เหลือเวลาอีก 1 ปีเศษเท่านั้น นอกจากนี้ การไม่บรรจุ ผู้อำนวยการสถานศึกษาดังกล่าว ยังกระทบ กับการเรียนการสอนที่จะไม่มีคุณภาพเต็มที่ ครูขาดขวัญกำลังใจ และยังทำให้การบริหารงานโรงเรียนไม่มีประสิทธิภาพ ทั้งนี้ โรงเรียนที่มีนักเรียนต่ำกว่า 60 คน ไม่ได้เป็นโรงเรียนที่ควบรวมกับโรงเรียนขนาดเล็กอื่นๆ ยังเป็นโรงเรียนที่เปิดการเรียนการสอนอยู่ แต่ไม่มี ผู้อำนวยการโรงเรียนเท่านั้นนายวุฒิชัยกล่าว

นายอนันต์ ระงับทุกข์ รองเลขาธิการ กพฐ.กล่าวว่า กรณีที่ สพฐ.ไม่บรรจุแต่งตั้ง ผู้อำนวยการสถานศึกษาที่มีนักเรียนต่ำกว่า 60 คนนั้น เป็นไปตามนโยบายของรัฐบาลที่จะให้โรงเรียนขนาดเล็กมีความร่วมมือในการบริหารจัดการร่วมกัน สพฐ.จึงให้นโยบายกับเขตพื้นที่การศึกษาไปดำเนินการ ทั้งนี้ ผู้ที่สอบขึ้นบัญชีได้ไม่ต้องกังวลว่าจะไม่ได้รับการบรรจุแต่งตั้ง เพราะตำแหน่งที่เปิดสอบบรรจุในครั้งที่ผ่านมา มีตำแหน่งว่างมากกว่าผู้ที่สอบขึ้นบัญชี ฉะนั้นจึงไม่ต้องกังวล เพราะจะทยอยบรรจุตามบัญชีที่สอบไว้ อย่างไรก็ตาม การเป็นผู้บริหารสถานศึกษานั้น จะต้องไม่เลือกสนามรบ พร้อมจะไปอยู่ที่ไหนก็ได้ เหมือนกับผู้บริหารสถานศึกษาในอดีต ที่ไม่เคยได้ไปบรรจุในจังหวัด หรือบ้านเกิดของตนเองเลย

ที่มา: หนังสือพิมพ์มติชน

http://www.moe.go.th/moe/th/news/detail.php?NewsID=31282&Key=hotnews

เรื่อง “การสอนของคุณครู”
http://www.bloggang.com/viewblog.php?id=lungboon&date=24-11-2010&group=5&gblog=63

นโยบาย ศธ.ต้นเหตุการศึกษาไทยตกต่ำ

นโยบาย ศธ.ต้นเหตุการศึกษาไทยตกต่ำ

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 26 เมษายน 2556 21:27 น.

http://www.manager.co.th/Home/ViewNews.aspx?NewsID=9560000050418

ครูไทย (teacher)
ครูไทย (teacher)

แฉเรื่องเน่าๆ ในวงการการศึกษาของไทย ล้วนเป็นต้นเหตุให้ “เด็ก” จบการศึกษาคุณภาพต่ำลง! ชี้ปัญหาใหญ่สุดอยู่ที่กระบวนการผลิต “ครู” และนโยบาย ศธ.ในการเพิ่มวิทยฐานะครู ผิดพลาด เพราะข้อเท็จจริงครูประถม-มัธยมทำงานวิจัยไม่เป็น ต้องจ้างทำฉบับละ 6 หมื่น-1 แสนบาท แถมยังถูกวิชามารจากกรรมการพิจารณารีดเงินอีกคนละ 3 หมื่น สุดช้ำกว่า 90% ผลงานปลอม! วันนี้ระบบการศึกษาไทย กำลังนำไปสู่ “ระบบกินตัวเอง” เชื่อไม่รีบจัดการ การศึกษาของไทยจะดิ่งเหว

คนไทยอ่านหนังสือวันละ 7 บรรทัด

ระบบการศึกษาไทยห่วย

ประชาธิปไตยไทยไม่ไปไหนเพราะการศึกษาเรายังไม่ดีเพียงพอ

ยิ่งเรียนยิ่งโง่ ฯลฯ

 

เมื่อพูดถึงระบบการศึกษาไทย อย่าแปลกใจที่เรามักจะได้ยินคำกล่าวเหล่านี้อยู่เสมอ แม้ประเทศไทยจะมีการปฏิรูปการศึกษามาแล้ว 2 ครั้งใหญ่ คือการปฏิรูปการศึกษา พ.ศ. 2542 ที่มี พ.ร.บ.การศึกษา 2542 ได้มีการแบ่งขั้วอำนาจการบริหารงานใหม่ในกระทรวงศึกษาธิการเป็น 5 แท่ง ได้แก่ สำนักงานปลัดกระทรวง สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา แท่งสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา และครั้งที่สองกับการปฏิรูปการศึกษาในชื่อเรียกว่า การปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่ 2 (2552-2561) โดยมีประเด็นหลัก 4 ประเด็น ได้แก่ กระบวนการเรียนรู้ใหม่, ครูยุคใหม่/ครูพันธุ์ใหม่ และครูสาขาขาดแคลน, สถานศึกษาและแหล่งเรียนรู้ใหม่ และการบริหารจัดการใหม่

แต่การปฏิรูปการศึกษาไทยเดินมาถูกทางหรือยัง หรือนับวันยิ่งก้าวเข้าสู่วังวนที่ทำให้การศึกษาไทยเดินหน้าไม่ถึงไหน?

เร่งผลิตครู-คุณภาพตก

ดร.ยงยุทธ แฉล้มวงษ์ นักวิจัยสถาบันวิจัยและพัฒนาแห่งประเทศไทย หรือทีดีอาร์ไอ กล่าวว่า หลังจากที่ได้เข้าไปเก็บข้อมูลและทำวิจัยเกี่ยวกับการศึกษาไทยก็พบว่าประเทศไทยมีปัญหาเรื่องของระบบการศึกษาอย่างมาก โดยเฉพาะในเรื่องของ “ปัญหาครู” ที่ถือเป็น “จุดบอด” ที่แก้ยากที่สุด ยิ่งแก้ ยิ่งเข้าสู่วังวน

ปัญหาแรกเป็นปัญหาเรื่องจำนวนครู ถือเป็นปัญหาใหญ่ที่ต้องยอมรับว่ารัฐบาลไทยปล่อยปละละเลยดูแลครูมานานมาก และนานกว่า 20 ปี

“เดิมเราต้องยอมรับว่ามหาวิทยาลัยปิดจะเป็นแหล่งที่ผลิตครูที่มีคุณภาพอย่างมาก โดยเฉพาะในคณะศึกษาศาสตร์ ครุศาสตร์ ซึ่งอาจารย์ของมหาวิทยาลัยปิดเหล่านี้ก็จบการศึกษาจากต่างประเทศ เช่น คุรุศาสตร์ จุฬาฯ เป็นคณะที่มีการเรียนการสอนที่ทันสมัย และมีคุณภาพมาก แต่ท้ายที่สุดแล้วมีคำถามว่าเด็กที่มีคุณภาพเหล่านั้นมีสักกี่เปอร์เซ็นต์ที่เลือกที่จะประกอบอาชีพครู ความจริงคือมีน้อยมาก นอกนั้นไปทำอาชีพอื่น”

ปัญหานี้ทำให้รัฐบาลที่ผ่านมาเลือกแก้ปัญหาครูขาดแคลนด้วยการผลิตครูอย่างไม่อั้น เพื่อขยายฐานครู แต่ต้องยอมรับเลยว่าในขั้นตอนนี้ทำให้คุณภาพการศึกษาของครูตกลง

“ครูรู้แค่ไหน ก็จะสอนแค่นั้น หลักการมันมีอยู่แค่นั้น ถ้าได้ครูที่เรียนรู้มากๆ โดยเฉพาะมีโอกาสไปเรียนต่างประเทศ หรือมีโอกาสได้เรียนจากอาจารย์ที่เรียนจบมาจากต่างประเทศ ก็จะมีมุมมองด้านการศึกษาที่กว้างขวางกว่า แต่ถ้าครูเรียนจากครูที่ไม่ได้จบมาจากต่างประเทศ ซ้ำยังไม่ได้เรียนกับครูที่มีมุมมองกว้างขวาง ครูก็จะมีความรู้เท่าที่ครูของครูถ่ายทอดมาแค่นั้น เมื่อมาสอนนักเรียน ความรู้ที่สอนก็มีแค่ความรู้ที่ได้รับมา หรือบางทีอาจน้อยกว่า”

“ครู” ระบบกินตัวเอง!

ดร.ยงยุทธกล่าวต่อว่า กระทรวงศึกษาธิการนั้นมีครูอยู่จำนวนมาก และตัวกระทรวงศึกษาธิการก็มีงบประมาณบริหารมาก คิดเป็น 4.5-4.8% ของ GDP แต่ปรากฏว่าคุณภาพครูตกลงไปเรื่อยๆ เหมือนระบบที่กำลังกินตัวเอง อย่างที่กล่าวไปว่า การเร่งผลิตครูทำให้ครูที่มีความรู้กว้างขวางนั้นน้อยลง ครูที่จบจากต่างประเทศก็มีองค์ความรู้ใหม่ๆ มาถ่ายทอดให้ลูกศิษย์ แต่ลูกศิษย์ไม่มีเวลาเพิ่มเติมความรู้ ก็ใช้ความรู้เท่าที่เก็บเกี่ยวจากอาจารย์มาให้ส่งต่อไปให้เด็กอีกรุ่น ความรู้ก็ไม่ทันสมัย เพราะความรู้ต้องเพิ่มเติมอยู่ตลอด ความรู้ก็จะหดหายไปเรื่อยๆ และโดยเฉพาะในทุกวันนี้ที่ครูมีภารกิจจำนวนมากมาย ทั้งภารกิจที่กระทรวงมอบหมายให้ และการเลื่อนวิทยฐานะ ยิ่งทำให้ครูห่างไกลต่อการสอน คุณภาพของการสอนหนังสือก็ตกลงไปเรื่อยๆ อย่างน่าเสียดาย

life long learning คือ หลักการเรียนรู้ตลอดอายุขัยของคนเรา ตอนนี้เราอยู่ศตวรรษที่ 20 แล้ว ก็ต้องพยายามเรียนรู้นวัตกรรมใหม่ๆ เพิ่มเติมตลอดเวลา แต่ทุกวันนี้ไม่ใช่ ครูที่เพิ่มเติมความรู้ให้ตัวเองเหลือน้อยลงทุกที

วิธีการคัดเลือกคนเป็น “ครู”

ปัญหาต่อเนื่องที่ตามมาจากการเร่งผลิตครู คือครูเกือบทั้งหมดจะเป็นครูที่จบในประเทศไทย ทำให้องค์ความรู้ด้านการศึกษาไทยไม่ได้ยกระดับแล้ว และเนื่องจากปัญหาการขาดแคลนครู ก็ทำให้กระทรวงศึกษาธิการไม่มีเวลาคัดกรองครู ทั้งด้านความสามารถและจริยธรรมที่เข้มข้นเพียงพอ

กระทรวงศึกษาธิการ แค่ต้องการให้คนมาสอบ ไม่ได้มีการกลั่นกรองอย่างแท้จริง ดังนั้นไม่แปลกใจที่มีการประกาศรับสมัครครูให้ไปรวมกันอยู่ตรงกลาง ดูแค่วิทยฐานะว่าเป็นครู แต่ไม่เคยกำหนดคุณสมบัติที่เชี่ยวชาญ เช่น ครูภาษาอังกฤษ ต้องเป็นครูที่จบเอกด้านภาษาอังกฤษ เป็นต้น

ดร.ยงยุทธ กล่าวด้วยว่า ในพื้นที่ที่ห่างไกลจะยิ่งพบปัญหานี้ คือครูสอนวิชาคณิตศาสตร์ อาจไม่ได้เป็นครูที่จบคณิตศาสตร์มา เมื่อไม่ได้จบสาขาที่สอนมาโดยตรง ไม่มีความเชี่ยวชาญที่แท้จริง การศึกษาของครูไทยจำนวนไม่น้อยจึงเป็นไปในรูปแบบการสอนแบบ “งูๆ ปลาๆ”

เมื่อเป็นเช่นนี้ในการเรียนการสอนที่ครูไม่มีความเชี่ยวชาญในสาขานั้นอย่างแท้จริง ทำให้การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนค่อนข้างมีน้อย ส่วนใหญ่จึงใช้การสอนแบบท่องจำเพราะเป็นวิธีการสอนที่ง่ายที่สุด ทักษะความคิดของเด็กจึงไม่มี

ประเทศไทยพึ่งพาครูอาจารย์สูงมาก แม้แต่คำพูด ครูเว้นวรรคตรงไหน เด็กก็เว้นวรรคตรงนั้น ครูก็เลยสอนตามตำราเป๊ะ แต่ลองนึกภาพดู ถ้าครูคนไหนเว้นวรรคตรงไหนผิด เด็กก็ผิดตามด้วยอย่างไม่ต้องสงสัย

จุดนี้เป็นจุดสำคัญที่ทำให้ปัญหาคุณภาพการศึกษาไทยต่ำลงไปเรื่อยๆ

ปัญหาก.ศธ.ขาดการบริหารเป็นองค์รวม

ปัญหาจากส่วนกลางเป็นอีกปัญหาหนึ่ง ที่กระทบเรื่องของคุณภาพครูด้วย ตั้งแต่ระดับการบริหารงาน และระดับปฏิบัติการ

ระดับการบริหารงาน ปัญหาเกิดหลายระดับ ตั้งแต่ตัวผู้นำกระทรวงศึกษา หรือรัฐมนตรีก็มีการเปลี่ยนผู้นำ หรือรัฐมนตรีบ่อยมาก ลักษณะกิจกรรมก็จะเปลี่ยนตามนวัตกรรมของแต่ละคนที่เข้ามา ซึ่งไม่ได้เป็นการสานงานต่อกัน ข้าราชการก็มีหน้าที่ในการปรับตัวให้ทัน

“การวางนโยบายที่ดีจะต้องวางนโยบายที่ชัดเจน มีแผนการทำงานที่ต่อเนื่อง ดังนั้นไม่แปลกใจที่ปฏิรูปการศึกษารอบแรกในปี 2542 ถึงสอบตก และการปฏิรูปการศึกษารอบ 2 ทำมา 3 ปีแล้ว ก็ไม่ไปถึงไหน เพราะคนที่มาใหม่ก็ไม่ได้สานต่อ ไม่ได้ให้ความสนใจ”

จากนั้นการแบ่งงานในกระทรวงศึกษาธิการก็เป็นปัญหา เพราะการแบ่งงานเป็น 5 แท่งใหญ่ ได้แก่ สำนักงานปลัดกระทรวง, สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา, สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา, แท่งสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.), สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.)

โดยปัญหาเกิดขึ้นเมื่อแต่ละแท่งมีการบริหารงานที่เป็น พ.ร.บ.ของตัวเอง โดยเฉพาะ สพฐ., อาชีวะ และ สกอ. ซึ่งเป็นแท่งที่มีขนาดใหญ่ แต่ละแท่งไม่ต้องพึ่งพากัน ซึ่งตรงจุดนี้เองที่เป็นปัญหาเพราะไม่เกิดการทำงานแบบบูรณาการกัน คือมีแต่ “แท่ง” แต่ไม่มี “ท่อ”

“นายกฯ ยิ่งลักษณ์ เพิ่งขอข้อมูลเรื่องอุปสงค์-อุปทานว่าจะเตรียมการศึกษาอย่างไรเพื่อให้ตอบโจทย์ภาคอุตสาหกรรม ปัญหาคือ พอนายกฯ เรียกข้อมูลขึ้นมา ไม่มีข้อมูลให้นายกฯ ได้เลย ต่างคนต่างมีข้อมูลที่ไม่สามารถนำมาเชื่อมต่อกันได้ ดังนั้นเรื่องของการ management information system เรียกว่าไม่มี และไม่ใช่ประชุมครั้งเดียว ประชุมไปสองครั้งแล้ว ข้อมูลก็ไม่สามารถหาให้นายกฯ ได้”

การที่นายกรัฐมนตรีต้องการข้อมูลดังกล่าวเป็นเพราะว่ารัฐบาลต้องการดูว่าคนในประเทศมีเพียงพอต่อตลาดแรงงานหรือไม่ ทั้งคนจบปริญญาตรี และคนจบ ปวช.ปวส. เพื่อจะเตรียมรับการก้าวเข้าสู่ประชาคมอาเซียน

“จริงๆ หลังจากนายกฯ ออกนโยบาย 4 ประสาน พัฒนา 4 เรื่อง ก็อยากได้ข้อมูลด้วยว่า การทำรถไฟระบบราง ก็ต้องใช้คน 5 แสนคน ยังพบว่างานวิจัยก็ไม่พอที่จะสนับสนุนข้อมูล เพราะแต่ละแท่งต่างคนต่างทำงาน แต่ตอนนี้ต้องปรับ เพราะต้องเป็นแหล่งผลิตบุคลากรที่มีคุณภาพ เช่น เด็กชั้น ม.3 ต้องส่งเข้าไปเรียนอาชีวศึกษาเท่าไร เข้าระบบสามัญเท่าไร ต้องชัดเจน”

แต่สิ่งที่เกิดขึ้นในกระทรวงศึกษาธิการในขณะนี้กลับพบว่าแต่ละแท่งต่างแย่งชิงเด็กเข้าเรียนแท่งของตัวเองมากกว่า แทนที่จะแบ่งสันปันส่วนตามสัดส่วนที่รัฐบาลได้วางแผนไว้เพื่อให้สอดคล้องกับตลาดแรงงานหรือการพัฒนาประเทศ

“ที่แย่งจำนวนเด็กกันมากเพราะรัฐบาลมีงบรายหัว ดังนั้นใครมีเด็กมากก็จะได้เงินมาก ซึ่งจริงๆ ไม่ถูกต้อง เลยกลายเป็นว่าต่อไป สพฐ.จะมาสอนอาชีวะเองอีก ปลัดกระทรวงศึกษาธิการก็ต้องจัดการแก้ปัญหาเชิงโครงสร้างนี้ให้ได้ก่อน”

ขณะเดียวกันเมื่อย้อนมาดูแผนปฏิรูปการศึกษารอบ 2 ก็ยิ่งเห็นได้ชัดว่า แต่ละแท่งไม่มีศาสตร์ที่จะมาบูรณาการงานกันอยู่ดี แถมยังมีการแย่งค่าใช้จ่ายรายหัว หรือ per head ที่หนักขึ้น แต่ละแท่งแข่งกันเอง ไม่เหมือนการบริหารงานในพื้นที่ ที่จะมีการช่วยเหลือกัน และบูรณาการกันที่ดีกว่า

 

 

ผลสอบ
ผลสอบ

ผู้บริหาร รร.ต้องรับผิดชอบ A net-O net

นอกจากนี้จากการศึกษาในระดับผู้บริหารโรงเรียน จะพบว่าปัญหาการบริหารงานระดับโรงเรียนก็มีไม่น้อย โดยดูได้จากผลการทดสอบ A-net O-net ของเด็กในแต่ละโรงเรียนเป็นอย่างไร ควรจะมีการเก็บเป็นสถิติ เพื่อดูว่าผู้บริหารโรงเรียนนั้นทำให้เด็กมีอัตราของคะแนนเพิ่มขึ้นได้หรือไม่ ถ้าอัตราไม่เพิ่มขึ้นเลย ผู้บริหารก็ควรจะต้องมีการรับผิดชอบ ไม่เหมือนปัจจุบันนี้ที่ไม่มีการเก็บข้อมูลสถิติตรงนี้เลย แล้วผู้บริหารก็ไม่คิดว่าจะต้องรับผิดชอบอะไร ซึ่งไม่ถูกต้อง

“ต้องยอมรับนะว่า จะให้ทุกโรงเรียนมีอัตราหรือค่าเฉลี่ยของคะแนนที่สอบสูงเท่ากันคงไม่ได้ แต่ว่าอย่างน้อยแต่ละโรงเรียนต้องมีการพัฒนาขึ้นมา อย่างน้อยต้องให้อยู่ในระดับค่าเฉลี่ยของประเทศ ค่อยๆ พัฒนาให้ค่าเฉลี่ยของคะแนนขึ้นไป”

โดยผู้บริหารจะต้องรับผิดชอบคุณภาพของเด็ก, การจัดการการศึกษาจะต้องเน้นที่ประสิทธิผลที่เพิ่มขึ้นด้วยอย่าเดิมพันแต่ตำแหน่ง แต่ขาดการวิจัยทางวิชาการ หรือขาดการพัฒนาวิชาการ และให้มีการโยกย้ายผู้บริหารโรงเรียนให้น้อยลง เพราะคนเก่ากำลังทำงานได้ดี แต่พอคนใหม่มาก็ต้องเริ่มทำโครงการใหม่ วัสดุครุภัณฑ์ที่จัดมาแล้วก็สูญเปล่า

โครงสร้างเงินเดือนครู-ไม่จูงใจ

นอกจากนี้กระบวนการจัดการเรื่องเงินเดือนครูก็เป็นอีกหนึ่งปัญหา

ดร.ยงยุทธกล่าวว่า เรื่องเงินเดือนครูเป็นเรื่องใหญ่เกี่ยวกับแรงบันดาลใจการเป็นครู ทุกวันนี้คนที่ไม่ควรได้เงินเดือนมาก แต่ได้มาก มีจำนวนไม่น้อย เพราะขั้นวิ่งมีมาก ดังนั้นมองว่าหลักการควรจะเปลี่ยนโครงสร้างเงินเดือน เป็นให้เงินเดือนครูสูง และขั้นวิ่งไม่มาก

“เงินเดือนแรกเข้า สมมติ 10,000 บาท ทำงานไป 30 ปีเกษียณ เงินเดือนอยู่ที่ 45,000-50,000 บาท ตรงนี้เสนอว่าควรย่นให้ขั้นวิ่งไม่ต้องสูง ให้เงินเดือนสูงตั้งแต่แรก จะทำให้เกิดแรงจูงใจให้ครูที่มีคุณภาพเข้ามาประกอบอาชีพครูมากขึ้นได้”

ภารกิจของครู-กันครูออกจากนักเรียน

เมื่อมาดูที่ภารกิจครู ก็พบว่า ครู 1 คนมีภาระมากกว่าที่คิด โดยเฉพาะครูในต่างจังหวัด จะพบว่างานราชการจากส่วนกลางที่กระจายลงในพื้นที่นั้น ไม่ว่าจะเป็นงานของกระทรวงศึกษาธิการ หรืองานจากกระทรวงอื่นๆ ล้วนแต่กำหนดให้ครูในพื้นที่เข้าร่วมเป็นคณะกรรมการชุดต่างๆ มากมาย ซึ่งเป็นระบบที่ทำให้ครูห่างจากการสอนอย่างมาก

ซ้ำร้าย กระทรวงศึกษาธิการยังออกระเบียบเกี่ยวกับการสร้างผลงานวิชาการเพื่อให้ได้ค่า “วิทยฐานะ” ยกระดับตัวครูเอง ทำให้ครูหลายคนมุ่งเน้นที่จะได้วิทยฐานะที่เพิ่มขึ้น แต่ปัญหาคือประสิทธิผลไม่ได้เกิดขึ้นจริง เพราะหลายคนจ้างคนอื่นทำงานให้ แล้วครูคนอื่นที่ทำงานให้ก็ไม่มีเวลาสอนหนังสือเด็กนักเรียน

ส่วนครูคนไหนทำงานวิชาการเองก็มักจะมีการบังคับเด็กให้มาทำตามงานวิจัยของครูคนนั้นๆ ซึ่งไม่ได้พุ่งเป้าไปที่การให้เด็กเป็นศูนย์กลางการเรียนการสอนตามวัตถุประสงค์ของการปฏิรูปการศึกษาแต่อย่างใด

“วิทยฐานะทุกวันนี้ก็เหมือนกับการซื้อใบปริญญา ตรงนี้เป็นจุดอ่อนของนโยบายที่มองว่าต้องแก้ในส่วนของวิชาการ แต่ลืมในเรื่องของจรรยาบรรณ และความรับผิดชอบในเนื้องานของครูผู้สอน”

นอกจากนี้คนประเมินให้วิทยฐานะก็ยังเป็นคนกันเอง เกิดคำถามเรื่องความโปร่งใสขึ้นมากมายอีก

“ตรงนี้ต้องแก้โดยการเข้าไปดู work process 1. ขั้นตอนการได้มา การเลื่อนขั้นแต่ละขั้นเป็นอย่างไร 2. ใครเป็นคนพิจารณา แต่งตั้งโดยใคร คณะกรรมการคือใคร ควรเป็นกลาง โปร่งใส และ 3. มีการทำวิจัยเรื่องอะไรบ้าง มีคุณค่าต่อระบบการศึกษาหรือไม่”

สำหรับปัญหาการเลื่อนวิทยฐานะนี้ ดร.สมยงค์ แก้วสุพรรณ อดีตประธาน อ.ค.ก.ศ. (อนุกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา) เขตพื้นที่การศึกษา และรองประธานเครือข่ายองค์กรวิชาชีพครูแห่งประเทศไทย ซึ่งมีหน้าที่ในการตรวจจับการทุจริตในกระบวนการเลื่อนวิทยฐานะในเขตขอนแก่น กล่าวว่า ปัญหาการเลื่อนวิทยฐานะของครูเป็นปัญหาใหญ่มาก และพบว่ามีขบวนการหากินกับทั้งรับจ้าง และการให้ผ่านงานวิจัยของครูด้วย โดยเฉพาะในภาคอีสาน

“ครูประถม ครูมัธยม เขาเรียกว่าให้มาเป็นครู เน้นทำการสอนมาตลอด พอกระทรวงศึกษาธิการ และ ก.ค.ศ. (คณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา) ให้มีการเลื่อนวิทยฐานะขึ้นมา ด้วยการที่ครูต้องทำการวิจัยแบบพิจารณาจากเอกสาร บอกได้เลยว่าเมื่อครูทำไม่เป็นก็ต้องจ้าง”

ฉะนั้นพูดได้เลยว่า กว่า 90% ของเอกสารเหล่านั้นไม่ใช่ผลงานของครูที่แท้จริง!

แล้วขบวนการหากินในการรับจ้างทำงานเพื่อให้ครูเลื่อนวิทยฐานะก็ทำกันเป็นอาชีพเสริมหากินกันเป็นล่ำเป็นสัน

ตั้งแต่ขั้นตอนของการเลือกคณะกรรมการเพื่อมาอ่านผลงาน ซึ่งจะมีหน้าที่ในการชี้งานชิ้นนั้นๆ ว่าผ่านหรือไม่ผ่าน ขั้นตอนนี้จะมีคณะ อ.ค.ก.ศ. หรือ อนุกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ที่จะทำการประสานอาจารย์จากมหาวิทยาลัยต่างๆ ให้มาเป็นกรรมการอ่านผลงาน ซึ่งจะมีคนหนึ่งที่ทำหน้าที่เป็นนายหน้าในการติดต่ออาจารย์จากมหาวิทยาลัยมา ซึ่งอาจารย์จากมหาวิทยาลัยเหล่านี้ เรียกได้ว่าส่วนใหญ่มักจะมีการเรียกเงินค่าอ่านผลงาน หรือนายหน้าจะเป็นคนเสนอค่าอ่านผลงานให้ ตกราคาต่อราย รายละ 3 หมื่นบาท ซึ่งจะมีการเรียกครูเจ้าของผลงานนั้นๆ มาคุยก่อนวันที่จะอ่านผลงานเพียงไม่กี่วัน สุดท้ายผลงานของครูในกระบวนการนี้ก็จะได้ประเมิน “ผ่าน”

ส่วนในขั้นตอนการทำผลงานของครู ขั้นตอนนี้จะมีขบวนการรับจ้างทำผลงานเลื่อนวิทยฐานะ โดยเมื่อมาเป็นครูครั้งแรก มักจะได้เป็นครูผู้ช่วย ก็ยังไม่มีสิทธิเลื่อนวิทยฐานะ แต่เมื่อทำงานไป 2 ปี และเป็นครูได้ 6 ปีสำหรับคนที่จบปริญญาตรีมา 4 ปีสำหรับคนที่จบปริญญาโทมา และ 2 ปีสำหรับคนที่จบปริญญาเอกมา ก็จะสามารถทำผลงานเพื่อขอเลื่อนขั้นได้ การเลื่อนขั้นตรงนี้จะได้วิทยฐานะชำนาญการ ซึ่งจะมีรายได้เพิ่มจากเงินเดือนอีกเดือนละ 3,500 บาท หลังจากนั้นจะมีการขอเลื่อนขั้นเป็นผู้ชำนาญการพิเศษ ซึ่งจะต้องมีการทำวิจัย

“ปัญหามันเกิดตรงนี้ ในขั้นการทำวิจัย ครูที่จบปริญญาตรีมามักจะทำไม่เป็น จะต้องจ้างครูด้วยกันที่จบปริญญาโท หรือปริญญาเอก หรือจ้างอาจารย์จากมหาวิทยาลัยต่างๆ มาทำให้”

สนนราคาค่าจ้างทำวิจัยเพื่อเลื่อนขั้นในการเป็นผู้ชำนาญการพิเศษนี้จะอยู่ที่ 60,000-100,000 บาททีเดียว!
คนที่ได้วิทยฐานะเป็นผู้ชำนาญการพิเศษนี้จะได้เงินเพิ่มเติมจากเงินเดือนอีกเดือนละ 12,000 บาท ตรงนี้ทำให้ครูพยายามทำทุกทางที่จะเลื่อนขั้นมาอยู่จุดนี้ ซึ่งตอนนี้ก็มีครูที่อยู่ระดับชำนาญการพิเศษมากที่สุด
ถ้าจ้างทำวิจัยปริญญาเอก ที่ http://thainame.net/edu/?p=1044

 

ส่วนวิทยฐานะในลำดับต่อไป คือ เชี่ยวชาญ และเชี่ยวชาญพิเศษ นั้น มีครูที่ได้วิทยฐานะขั้นนี้น้อย เพราะว่างานวิจัยที่ทำจะต้องมีฐานะเทียบเท่าวิทยานิพนธ์ ซึ่งยาก แต่ถ้าใครทำได้ก็เท่ากับมีฐานะเท่าข้าราชการซี 9

ปัญหาครูเงินเดือนน้อย พอมีค่าวิทยฐานะให้ ก็กลายเป็นการทำอย่างไรก็ได้ให้ตนเองมีผลงาน แม้จะไม่ได้ทำเอง และแม้จะต้องเสียเงินเสียทองซื้อมาก็ตาม!

ที่ผ่านมาครูจำนวนมากจึงดิ้นรนหาเงินมาจ่ายเพื่อการเลื่อนวิทยฐานะทั้ง 2 ขั้นตอน คือขั้นตอนของการจ้างทำผลงานวิชาการ และขั้นตอนการพิจารณาของคณะกรรมการเพื่อประเมินให้ “สอบผ่าน” ได้ จึงนับว่าคุ้มค่ากับสิ่งที่ได้มาอย่างยิ่ง!

ดังนั้น นโยบายในการเลื่อนวิทยฐานะของกระทรวงศึกษาธิการครั้งนี้จึงกลายเป็นการแก้ปัญหาหนึ่ง นำมาสู่อีกปัญหาหนึ่งที่รุนแรงกว่าเดิม เพราะก่อให้เกิดการทุจริตในการนำเสนอผลงานของครูทั้งประเทศ

ที่สำคัญสุด ครูเหล่านี้เมื่อได้เลื่อนวิทยฐานะสูงขึ้น จะช่วยในการพัฒนาคุณภาพของการศึกษาได้หรือไม่

ถึงเวลาหรือยังที่กระทรวงศึกษาธิการควรจะต้องรื้อทั้งระบบและจัดระบบใหม่ครั้งใหญ่

ถ้าไม่ผ่าตัดและปล่อยให้ปัญหาต่อเนื่องไปเรื่อยๆ แล้ว จะเขียนนโยบายและแผนการปฏิรูปการศึกษาอีกกี่ฉบับ ก็แก้ไขได้ยาก เพราะต้นตอของคุณภาพการศึกษาของเด็กไทยจะพัฒนาไปได้หรือไม่อยู่ที่ “ครู” และผู้บริหารของกระทรวงศึกษาธิการเป็นหลัก!!

ที่มา http://www.manager.co.th/Home/ViewNews.aspx?NewsID=9560000050418

ครูก็อยากสอน นักเรียนก็อยากเรียน แต่ไม่ได้มาพบกัน

เมื่อครูกับนักเรียน (ไม่)ได้พบกัน
เมื่อครูกับนักเรียน (ไม่)ได้พบกัน

ครูก็อยากสอน นักเรียนก็อยากเรียน แต่ไม่ได้มาพบกัน
แต่จาก 3 ข่าวข้างล่างนี้

พอสรุปได้ว่า ปีนี้จะเปิดรับครู 731 อัตรา
แต่ปีนี้ครูจะเกษียณ 10,932 คน
แต่ประเด็นที่น่าสนใจ คือ มหาวิทยาลัยผลิตครู 29,000 คนต่อปี

.. รู้สึกว่าตัวเลขดูน่าจับตามนะครับ
.. รู้สึกอีกว่า ถ้าจับหลาย ๆ คนมาคุยกัน คงได้คำตอบ เสียแต่ว่าไม่คุย
http://cinema.theiapolis.com/movie-2SYC/bad-teacher/gallery/bad-teacher-ver2-xl-poster-1059117.html
http://news.mthai.com/world-news/215185.html

ข่าว .. แรก
นายชินภัทร ภูมิรัตน เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) เปิดเผย
สพฐ.เปิดสอบครูผู้ช่วยปี 2556 จำนวน 731 อัตรา
http://www.moe.go.th/moe/th/news/detail.php?NewsID=32513&Key=hotnews

ข่าว .. ที่สอง
จากสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
ว่า วิกฤตครูจ่อเกษียณเกือบแสนคน ช่วงปี 56-60 “ก.ค.ศ.” แนะผลิตรองรับ
ปี 2556 – 2560 เกณียณรวม 97,254 คน มีรายละเอียดว่า
ปี 2556 จำนวน 10,932 คน
ปี 2557 จำนวน 15,541 คน
ปี 2558 จำนวน 20,661 คน
ปี 2559 จำนวน 24,689 คน
ปี 2560 จำนวน 25,431 คน
http://www.moe.go.th/moe/th/news/detail.php?NewsID=32487&Key=hotnews

ข่าว .. ที่สาม
นายสุรวาท ทองบุ คณบดีคณะครุศาสตร์ ม.มหาสารคาม
บอกว่า เด็กเกิดน้อยลง แต่ผลิตครูกันตรึม
คณะครุศาสตร์/ศึกษาศาตร์ของสถาบันอุดมศึกษาทั้ง 17 แห่ง
ผลิตครูรวมทั้งหมดประมาณ 29,000 คนต่อปี
http://www.moe.go.th/moe/th/news/detail.php?NewsID=32211&Key=hotnews

วิกฤตครูจ่อเกษียณเกือบแสนคน 56-60 แนะผลิตรองรับ

ศิษย์มีครู
ศิษย์มีครู

23 เม.ย.56 รายงานข่าวแจ้งว่า จากข้อมูลของสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พบว่าจำนวนข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาที่จะเกษียณอายุราชการในปีงบประมาณ 2556-2560 มีจำนวน 97,254 คน มีรายละเอียดดังนี้ ปี 2556 จำนวน 10,932 คน ได้แก่ อันดับข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (คศ.) 1 จำนวน 11 คน อันดับ คศ.2 วิทยฐานะชำนาญการ จำนวน 3,929 คน อันดับ คศ.3 วิทยฐานะชำนาญการพิเศษ จำนวน 6,556 คน อันดับ คศ.4 วิทยฐานะเชี่ยวชาญ จำนวน 260 คน อันดับ คศ.5 วิทยฐานะเชี่ยวชาญ และวิทยฐานะเชี่ยวชาญพิเศษ 9 คน บุคลากรทางการศึกษาอื่น 38 ค (2) จำนวน 167 คน ปี 2557 จำนวน 15,541 คน ได้แก่ คศ. 1 จำนวน 6 คน อันดับ คศ.2 วิทยฐานะชำนาญการ จำนวน 5,774 คน อันดับ คศ.3 วิทยฐานะชำนาญการพิเศษ จำนวน 9,239 คน อันดับ คศ.4 วิทยฐานะเชี่ยวชาญ จำนวน 275 คน อันดับ คศ.5 วิทยฐานะเชี่ยวชาญ 10 คน บุคลากรทางการศึกษาอื่น 38ค (2) จำนวน 237 คน

รายงานข่าวระบุด้วยว่า สำหรับ ปี 2558 จำนวน 20,661 คน ได้แก่ คศ.1 จำนวน 23 คน อันดับ คศ.2 วิทยฐานะชำนาญการ จำนวน 7,612 คน อันดับ คศ.3 วิทยฐานะชำนาญการพิเศษ จำนวน 12,546 คน อันดับ คศ.4 วิทยฐานะเชี่ยวชาญ จำนวน 206 คน อันดับ คศ.5 วิทยฐานะเชี่ยวชาญ 10 คน บุคลากรทางการศึกษาอื่น 38 ค(2) จำนวน 264 คน

ปี 2559 จำนวน 24,689 คน ได้แก่ คศ.1 จำนวน 28 คน อันดับ คศ.2 วิทยฐานะชำนาญการ จำนวน 9,165 คน อันดับ คศ.3 วิทยฐานะชำนาญการพิเศษ จำนวน 15,019 คน อันดับ คศ.4 วิทยฐานะเชี่ยวชาญ จำนวน 174 คน อันดับ คศ.5 วิทยฐานะเชี่ยวชาญ 5 คน บุคลากรทางการศึกษาอื่น 38 ค (2) จำนวน 298 คน และ ปี 2560 จำนวน 25,431 คน ได้แก่ คศ.1 จำนวน 42 คน อันดับ คศ.2 วิทยฐานะชำนาญการ จำนวน 9,057 คน อันดับ คศ.3 วิทยฐานะชำนาญการพิเศษ จำนวน 15,865 คน อันดับ คศ.4 วิทยฐานะเชี่ยวชาญ จำนวน 146 คน อันดับ คศ.5 วิทยฐานะเชี่ยวชาญ 2 คน บุคลากรทางการศึกษาอื่น 38ค (2) จำนวน 319 คน

นางรัตนา ศรีเหรัญ เลขาธิการคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) กล่าวว่า เรื่องนี้หน่วยผลิตบัณฑิตสายครุศาสตร์-ศึกษาศาสตร์ จะต้องมาขอข้อมูลเพื่อผลิตบัณฑิตให้เพียงพอทดแทนกับข้าราชการครูที่จะเกษียณอายุราชการในช่วงปี 2556-2560 ซึ่งจะต้องมาดูว่า จะต้องผลิตบัณฑิตในสาขาอะไรบ้าง และจะต้องเริ่มวางแผนการผลิตตั้งแต่ปีการศึกษา 2556 นี้ โดยขณะนี้ยังไม่ได้มีการประสานหรือขอข้อมูลดังกล่าว ทั้งนี้ในส่วนของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ในฐานะหน่วยงานที่ข้าราชการครูเหล่านี้ปฏิบัติงานอยู่ในโรงเรียนสังกัด สพฐ.ก็ไม่สามารถกำหนดอัตรามาทดแทนได้ เพราะตามมติคณะกรรมการกำหนดเป้าหมาย และนโยบายกำลังคนภาครัฐ

(คปร.) ได้กำหนดให้มีการคืนอัตราเกษียณอายุราชการให้ ศธ.100% จนถึงปี 2556 นี้และหลังจากนั้นจะเหลืออัตราคืนให้เพียง 20% ของอัตราเกษียณในแต่ละปี โดยเมื่อพิจารณาตั้งแต่ปี 2557-2560 แล้ว จะได้อัตราเกษียณคืนมาประมาณ 20,000 อัตราเท่านั้น ฉะนั้น หากไม่มีการวางแผนแล้ว ก็จะมีปัญหาการขาดแคลนข้าราชการครู อย่างแน่นอน

หน่วยผลิตสามารถเสนอขอข้อมูลมายัง ก.ค.ศ.เพื่อให้วิเคราะห์รายละเอียดข้าราชการครูที่จะเกษียณอายุราชการช่วงปี 2556-2560 จำแนกตามสาขาวิชาเอกได้ จะได้เป็นประโยชน์ในการผลิตบัณฑิตให้เพียงพอ ในส่วนของ สพฐ.นั้น ก็อาจจะต้องสรรหาครูให้ตรงและเพียงพอกับสาขาที่ขาดแคลน เลขาธิการ ก.ค.ศ.กล่าว

ที่มา : นสพ.มติชน http://www.prachachat.net

http://www.moe.go.th/moe/th/news/detail.php?NewsID=32487&Key=hotnews

เกณฑ์คำนวณครูต่อนักเรียนในระดับประถมและมัธยม

teacher criteria
teacher criteria

การคำนวณอัตรากำลังข้าราชการครู
โรงเรียนประถมศึกษาและโรงเรียนมัธยมศึกษา

แบบ 1
โรงเรียนประถมศึกษาที่มีนักเรียน 120 คน ลงมา
และจัดการเรียนการสอน อ.1-ป.6 หรือ ป.1-ป.6

– นักเรียน 1 -20 คน มีผู้บริหารได้ 1 คน มีครูผู้สอนได้ 1 คน
– นักเรียน 21 -40 คน มีผู้บริหารได้ 1 คน มีครูผู้สอนได้ 2 คน
– นักเรียน 41 -60 คน มีผู้บริหารได้ 1 คน มีครูผู้สอนได้ 3 คน
– นักเรียน 61 -80 คน มีผู้บริหารได้ 1 คน มีครูผู้สอนได้ 4 คน
– นักเรียน 81 -100 คน มีผู้บริหารได้ 1 คน มีครูผู้สอนได้ 5 คน
– นักเรียน 101 -120 คน มีผู้บริหารได้ 1 คน มีครูผู้สอนได้ 6 คน

แบบ 2
โรงเรียนประถมศึกษาที่มีนักเรียน 121 คนขึ้นไป
และจัดการเรียนการสอน อ.1-ป.6 หรือ ป.1-ป.6

อัตราส่วน (อนุบาล) ครู : นักเรียน = 1 : 25
จำนวนนักเรียน : ห้อง = 30 : 1
อัตราส่วน (ประถม) ครู : นักเรียน = 1 : 25
จำนวนนักเรียน : ห้อง = 40 : 1

จำนวนบุคลากรสายบริหาร
– นักเรียน 121 – 359 คน มีผู้บริหารได้ 1 ตำแหน่ง
– นักเรียน 360 – 719 คน มีผู้บริหารได้ 1 ตำแหน่ง มีผู้ช่วยได้ 1 ตำแหน่ง
– นักเรียน 720 – 1,079 คน มีผู้บริหารได้ 1 ตำแหน่ง มีผู้ช่วยได้ 2 ตำแหน่ง
– นักเรียน 1,080 – 1,679 คน มีผู้บริหารได้ 1 ตำแหน่ง มีผู้ช่วยได้ 3 ตำแหน่ง
– นักเรียน 1,680 คนขึ้นไป มีผู้บริหารได้ 1 ตำแหน่ง มีผู้ช่วยได้ 4 ตำแหน่ง

เงื่อนไข
– การคิดจำนวนห้องเรียน (โดยใช้จำนวนนักเรียน : ห้อง หารจำนวนนักเรียน) แต่ละชั้น
หากมีเศษตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป ให้เพิ่มอีก 1 ห้อง
– การคิดจำนวนครูให้ปัดเศษตามหลักคณิตศาสตร์ (0.5ขึ้นไปปัดเป็น 1 , ไม่ถึง 0.5 ปัดทิ้ง)

แบบ 3
โรงเรียนประถมศึกษาที่มีนักเรียน 121 คนขึ้นไป
และจัดการเรียนการสอน อ.1-ม.3 หรือ ป.1-ม.3

อัตราส่วน (อนุบาล) ครู : นักเรียน = 1 : 25
จำนวนนักเรียน : ห้อง = 30 : 1
อัตราส่วน (ประถม) ครู : นักเรียน = 1 : 25
จำนวนนักเรียน : ห้อง = 40 : 1
อัตราส่วน (มัธยม) ครู : นักเรียน = 1 : 20
จำนวนนักเรียน : ห้อง = 40 : 1

จำนวนบุคลากรสายบริหาร
– นักเรียน 121 – 359 คน มีผู้บริหารได้ 1 ตำแหน่ง
– นักเรียน 360 – 719 คน มีผู้บริหารได้ 1 ตำแหน่ง มีผู้ช่วยได้ 1 ตำแหน่ง
– นักเรียน 720 – 1,079 คน มีผู้บริหารได้ 1 ตำแหน่ง มีผู้ช่วยได้ 2 ตำแหน่ง
– นักเรียน 1,080 – 1,679 คน มีผู้บริหารได้ 1 ตำแหน่ง มีผู้ช่วยได้ 3 ตำแหน่ง
– นักเรียน 1,680 คนขึ้นไป มีผู้บริหารได้ 1 ตำแหน่ง มีผู้ช่วยได้ 4 ตำแหน่ง

เงื่อนไข
– การคิดจำนวนห้องเรียน (โดยใช้จำนวนนักเรียน : ห้อง หารจำนวนนักเรียน) แต่ละชั้น
หากมีเศษตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป ให้เพิ่มอีก 1 ห้อง
– การคิดจำนวนครูให้ปัดเศษตามหลักคณิตศาสตร์ (0.5ขึ้นไปปัดเป็น 1 , ไม่ถึง 0.5 ปัดทิ้ง)

แบบ 4 โรงเรียนมัธยมศึกษา

อัตราส่วน (มัธยม) ครู : นักเรียน = 1 : 20
จำนวนนักเรียน : ห้อง = 40 : 1

จำนวนบุคลากรสายบริหาร
– นักเรียน 121 – 359 คน มีผู้บริหารได้ 1 ตำแหน่ง
– นักเรียน 360 – 719 คน มีผู้บริหารได้ 1 ตำแหน่ง มีผู้ช่วยได้ 1 ตำแหน่ง
– นักเรียน 720 – 1,079 คน มีผู้บริหารได้ 1 ตำแหน่ง มีผู้ช่วยได้ 2 ตำแหน่ง
– นักเรียน 1,080 – 1,679 คน มีผู้บริหารได้ 1 ตำแหน่ง มีผู้ช่วยได้ 3 ตำแหน่ง
– นักเรียน 1,680 คนขึ้นไป มีผู้บริหารได้ 1 ตำแหน่ง มีผู้ช่วยได้ 4 ตำแหน่ง

เงื่อนไข
– การคิดจำนวนห้องเรียน (โดยใช้จำนวนนักเรียน : ห้อง หารจำนวนนักเรียน) แต่ละชั้น
หากมีเศษตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป ให้เพิ่มอีก 1 ห้อง
– การคิดจำนวนครูให้ปัดเศษตามหลักคณิตศาสตร์ (0.5ขึ้นไปปัดเป็น 1 , ไม่ถึง 0.5 ปัดทิ้ง)

แบบ 5 การคำนวณอัตรากำลังข้าราชการครูโรงเรียนศึกษาสงเคราะห์
อัตราส่วน ครู : นักเรียน = 1 : 12
จำนวนนักเรียน : ห้อง = 35 : 1

จำนวนครูรวม = (35 x จำนวนห้องเรียน) / 12

จำนวนครูปฏิบัติการสอน = จำนวนครูรวม – จำนวนบุคลากรสายบริหาร

จำนวนบุคลากรสายบริหาร
1 – 2 ห้องเรียน มีผู้บริหารได้ 1 คน
3 – 6 ห้องเรียน มีผู้บริหารได้ 1 คน มีผู้ช่วยผู้บริหารได้ 1 คน
7 – 14 ห้องเรียน มีผู้บริหารได้ 1 คน มีผู้ช่วยผู้บริหารได้ 2 คน
15 – 23 ห้องเรียน มีผู้บริหารได้ 1 คน มีผู้ช่วยผู้บริหารได้ 3 คน
24 ห้องเรียนขึ้นไป มีผู้บริหารได้ 1 คน มีผู้ช่วยผู้บริหารได้ 4 คน

หมายเหตุ ในการคำนวณตามสูตรหากมีเศษตั้งแต่ 0.1 ขึ้นไปให้ปัดเป็น 1
! http://www.saraeor.org/Job%20school3/km.kumlungkroo.htm
http://www.kroobannok.com/14836

จำนวนครู น่าเป็นห่วงมากกว่าคุณภาพการสอน 0 คน

zero teacher in school
zero teacher in school

พบข้อมูลจำนวนครูต่อโรงเรียน แล้วรู้สึกน่าเป็นห่วงมี 2 กรณี
กรณีแรกที่เข้าข่ายน่าเป็นห่วงมาก คือ ทั้งโรงเรียนมีครู 1 คน
กรณีที่สองที่น่าเป็นห่วงมากที่สุด คือ ทั้งโรงเรียนมีครู 0 คน

จากข่าววิชาการเรื่อง “ปัญหาการศึกษาไทยถอยหลังลงคลอง ชี้การเรียนการสอนด้อย-ขาดจิตสำนึก” ที่  ศาสตราจารย์ ดร.ธเนศวร์ เจริญเมือง ที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ กล่าวในระหว่างเป็นประธานเปิดการสัมมนารับฟังความเห็นและข้อเสนอแนะกลุ่มเป้าหมายครูเพื่อสังคม
ในหัวข้อเรื่อง”บทบาทของครูต่อการศึกษา สังคมและประเทศชาติ
ชี้ว่า ปัญหาของการศึกษาไทยในขณะนี้มีอยู่ 3 เรื่อง
1. ปัญหาการขาดความรับผิดชอบของครู ทั้งที่มีการให้งบประมาณกว่า 10,000 ล้านบาท หรือแม้แต่การเพิ่มเงินเดือนครูให้มากขึ้น แต่กลับปรากฏว่าการเรียนการสอนไม่ดีขึ้น และส่งผลให้สัมฤทธิ์ผลทางการเรียนไม่ปรากฏ
2. ปัญหาความแตกต่างทางการศึกษา จากอัตราครูที่สูงขึ้น เงินเดือนที่สูงขึ้น มีผู้บริหารจำนวนมากขึ้น แต่การศึกษากลับถดถอยไม่มีความก้าวหน้า
3. เกิดความเหลื่อมล้ำอย่างรุนแรงระหว่างโรงเรียนในเมืองหลวง เมืองใหญ่ และชนบท ซึ่งปัญหาทั้งหมดที่เกิดขึ้นไม่ใช่ เพราะระบบการเมืองที่ล้มลุกคลุกคลาน ไม่เข้มแข็ง ไม่มั่นคง แต่ขึ้นอยู่กับครูผู้สอนที่มีการจัดการเรียนการสอนไม่มีประสิทธิภาพ
บรรทัดสุดท้ายชี้ว่า
ขณะนี้มีโรงเรียนอีกหลายพันแห่งที่มีครูคนเดียว แต่ต้องสอนนักเรียนทั้งโรงเรียน

http://www.facebook.com/photo.php?fbid=10151501840442272&set=a.423083752271.195205.350024507271
http://www.moe.go.th/moe/th/news/detail.php?NewsID=32209&Key=hotnews
http://202.143.169.168/emis/table_school.php?areaid=50

ปี 2554 ประเทศมีอัตราส่วนครู 20 ต่อ 1

student and teacher 2554
student and teacher 2554

ข้อมูลจำนวนครู จำนวนอาจารย์ และผู้สอนในปีการศึกษา 2554
ณ วันที่ 4 กันยายน 2555
พบว่า ประเทศไทยมีครู/คณาจารย์/ผู้สอน
จำนวน 696,231 คน ดูแลนักเรียน นิสิต นักศึกษา จำนวน 13,954,735 คน
คิดเป็นนักเรียน 20.04 คนต่อครูหนึ่งคน
http://www.moc.moe.go.th/ViewContent.aspx?ID=4281