technology

ยินดียิ่งแล้ว แขกแก้วมาเยือนที่ทำงาน

Lampang 2020
Lampang 2020
ntc 2015 conference
ntc 2015 conference
ntu fut 2016 symposium
ntu fut 2016 symposium

ทุกมหาวิทยาลัยก็จะมีความสัมพันธ์กับมหาวิทยาลัยต่าง ๆ หลายมหาวิทยาลัยจะมีความสัมพันธ์กับมหาวิทยาลัยในต่างประเทศ เช่น มหาวิทยาลัยเนชั่น มีความสัมพันธ์กับ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีฟุคุอิ ได้จัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนทางวิชาการร่วมกันทุกปี โดยเฉพาะการประชุมวิชาการที่จัดมาตั้งแต่ปี 2014 บางปีก็เดินทางไปที่ประเทศญี่ปุ่น และปีนี้ (2016) ก็มีกิจกรรมร่วมกันมากมาย

กิจกรรมดูงานในลำปางมีแผน ดังนี้
3 ธ.ค.59
– ชมกาดกองต้า
4 ธ.ค.59
– ดูการผลิตข้างแต๋น
– ดูงานกลุ่มตีมีดบ้านขามแดง
– ดูงานการผลิตเซรามิค
5 ธ.ค.59
– เยี่ยมศูนย์อนุรักษ์ช้างไทย
– เยี่ยมวัดพระธาตุลำปางหลวง
6 ธ.ค.59
กิจกรรมทางวิชาการในห้อง Auditorium, NTU, Lampang

3 ธันวาคม 2559
3 ธันวาคม 2559
4 ธันวาคม 2559
4 ธันวาคม 2559
5 ธันวาคม 2559
5 ธันวาคม 2559
6 ธันวาคม 2559
6 ธันวาคม 2559

24 – 26 มกราคม 2557
! http://www.nation.ac.th/ntc2014/

13 – 14 ธันวาคม 2557
! http://www.nation.ac.th/ntc2557/

18 ธันวาคม 2558
! http://www.nation.ac.th/ntc2015/

3-6 ธันวาคม 2559
! http://www.nation.ac.th/ntc2016/

6-14 ตุลาคม 2558
โครงการ: Joint Symposium between NATION UNIVERSITY and Fukui University of Technology
! http://www.nation.ac.th/news-detail.php?main=fpdazyrr//243&content=465
! https://www.facebook.com/NationUNews/posts/886858211391265:0

Joint Symposium between NATION UNIVERSITY and Fukui University of Technology
Joint Symposium between NATION UNIVERSITY and Fukui University of Technology

การประชุมทางวิชาการ ม.เนชั่น ร่วม ม.ฟุคุอิ

มหาวิทยาลัยเนชั่น และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีฟุคุอิ ประเทศญี่ปุ่น
มหาวิทยาลัยเนชั่น และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีฟุคุอิ ประเทศญี่ปุ่น

มหาวิทยาลัยเนชั่นเล็งเห็นถึงความสำคัญของการร่วมมือทางวิชาการกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีฟุคุอิ ประเทศญี่ปุ่น ที่มีมาตั้งแต่ปีการศึกษา 2556 ร่วมกันจัดกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง จึงได้จัดประชุมวิชาการร่วม มหาวิทยาลัยเนชั่น และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีฟุคุอิ ประเทศญี่ปุ่นขึ้นในวันที่ 6 ธันวาคม 2559 เวลา 9.00 – 15.30น. ณ ห้องประชุมใหญ่ อาคารคณะบริหารธุรกิจมหาวิทยาลัยเนชั่น มหาวิทยาลัยเนชั่น ลำปาง โดยมีการนำเสนอผลงานทางวิชาการที่น่าสนใจ เช่น
ดาวเทียมเพื่อการเกษตร
โปรแกรมควบคุมหุ่นยนต์
การพัฒนากระดาษกันยุง
รูปแบบการเรียนรู้ตลอดชีวิตของผู้สูงอายุจังหวัดลำปาง
ข้าวก่ำเพื่อพัฒนาเสริมสร้างสุขภาพ
และการใช้สื่อประชาสัมพันธ์เพื่อส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม

! http://www.nation.ac.th/ntc2016

การประชุมครั้งนี้เชิญผู้บริหาร คณาจารย์ เจ้าหน้าที่ และนักศึกษาทุกท่านเข้าร่วมการประชุมวิชาการ โดยพร้อมเพรียงกัน


ประชุมวิชาการ 2015
ประชุมวิชาการ 2015
6 ธันวาคม 2559
6 ธันวาคม 2559
3 ธันวาคม 2559
3 ธันวาคม 2559
5 ธันวาคม 2559
5 ธันวาคม 2559
4 ธันวาคม 2559
4 ธันวาคม 2559

18 ธันวาคม 2015
! http://www.nation.ac.th/ntc2015

13 – 14 ธันวาคม 2014
! http://www.nation.ac.th/ntc2557

24-26 มกราคม 2014
! http://www.nation.ac.th/ntc2014

ประชุมทางวิชาการ
ประชุมทางวิชาการ

ประชุมวิชาการปี 2559 ร่วม Fukui University of Technology

สังคมไม่ยอมรับการทุจริตสอบ (itinlife552)

จดโน้ต กันลืม
จดโน้ต กันลืม

ไม่มีสังคมใดในโลกยอมรับการทุจริต เพราะการทุจริตสอบของนักเรียนคนหนึ่ง หมายถึงการเอารัดเอาเปรียบนักเรียนคนอื่นที่ร่วมกันสอบทั้งหมด คุณครูเองหรือกรรมการคุมสอบก็จะยอมให้มีการทุจริตสอบเกิดขึ้นไม่ได้ เป็นความไม่ยุติธรรมต่อผู้เข้าร่วมสอบแข่งขันทั้งหมด ทุกครั้งที่มีข่าวการทุจริตก็จะเป็นที่สนใจของสังคมทั้งทุจริตสอบครู สอบตำรวจ หรือสอบแพทย์ ยิ่งสื่อสังคมได้รับความนิยมเท่าใด การทุจริตก็ยิ่งเป็นที่สนใจ แพร่ได้เร็ว และได้รับการติดตามใกล้ชิด ทำให้การพิจารณาโทษของการทุจริตเป็นเรื่องผ่อนปรนไม่ได้ เพราะเป็นการเลือกปฏิบัติที่ไม่ดำเนินการตามระเบียบที่บัญญัติไว้

การทุจริตสอบเกิดขึ้นหลายรูปแบบ ที่เกิดขึ้นได้ง่ายและเห็นในภาพยนตร์ ก็มีทั้งแบบที่รู้คำตอบล่วงหน้าก่อนเข้าสอบจากการที่ข้อสอบรั่ว และแบบที่ไปหาคำตอบกันในห้องสอบ หากทุจริตคนเดียวก็จะใช้วิธีแอบจดสูตร สมการ ขั้นตอน หรือแนวคำตอบเข้าห้องสอบ อาจเป็นกระดาษซ่อนไว้ในชายเสื้อ กระเป๋าลับ หรือจดไว้ตามแขนขาฝ่ามือ หากทำกันหลายคนก็อาจเป็นการส่งคำตอบให้กัน ผ่านกระดาษโน้ต ยางลบ แลกกระดาษคำตอบ แลกข้อสอบที่จดคำตอบลงไปแล้ว การยกกระดาษคำตอบให้เพื่อนรอบโต๊ะได้เห็นและลอกตาม นั่งตัวเอียงให้เพื่อนด้านหลังได้เห็นคำตอบ การส่งสัญญาณมือ หรือใช้ภาษากายอื่น การผลัดกันออกไปเข้าห้องน้ำ แล้วใช้ห้องน้ำเป็นที่แลกเปลี่ยนเรียนรู้ วิธีโบราณที่สุด คือ พูดคุยกันในห้องสอบ เหมาะกับห้องสอบที่มีขนาดใหญ่ และชิดกัน

การใช้เทคโนโลยีในยุคนี้ปรากฏเป็นข่าวดังหลายครั้ง ถ้าใช้อุปกรณ์ในระดับบุคคล หรือระหว่างสองคนก็เป็นเพียงการแอบพกอุปกรณ์เข้าห้องสอบ เพื่อแอบเปิดอุปกรณ์ค้นหาคำตอบ หรือหาข้อมูลที่เกี่ยวกับคำถาม อาจใช้สื่อสารกันผ่านบรูทูช แชท อีเมล หรือเอสเอ็มเอส แต่ที่ยอมรับไม่ได้และมีโทษร้ายแรง คือ การใช้อุปกรณ์ที่ทำกันเป็นกระบวนการมีความผิดตามกฎหมายทั้งลักทรัพย์และฉ้อโกง ด้วยการมีผู้รับจ้างจัดเตรียมอุปกรณ์ มีทีมเข้าไปนำข้อสอบออกมา ทีมทำหน้าที่เฉลยคำตอบ ทีมส่งคำตอบกลับไปให้ผู้สอบ และกลุ่มผู้สอบที่ทำการทุจริต อุปกรณ์และวิธีการที่ใช้ก็ต่างกันไปในแต่ละครั้ง มีทั้งแบบแนบเนียนที่ใส่ไว้ในทวารหนัก หรือสวมให้เห็นกันเลยก็มี ต่อไปจะทุจริต หรือจะคุมสอบก็ต้องคิดกันเยอะขึ้น เพราะมีบทเรียนมาให้เรียนรู้กันหลายบทแล้ว

กระบวนการทุจริต แบบใช้อุปกรณ์ร่วมกับการรับจ้างสอบ

http://www.dailynews.co.th/education/397229

http://www.unigang.com/Article/9009

รายการคืนความสุข ท่านนายกพูดถึง ภารกิจหลักด้านการศึกษา และการใช้ไอที

รายการคืนความสุข วันที่ 27 มีนาคม 2558
เล่าถึงนโยบายทางการศึกษาในนาทีที่ 2.10 super board ด้านการศึกษา
มุ่งเน้น 3 ภารกิจหลัก

1. การดำเนินงานตามภารกิจประจำ
(routine work)
2. การดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาล
(Implementation of government policies)
3. การดำเนินงานสำหรับการวางรากฐานเพื่อส่งไปยังรัฐบาลในอนาคต
(Work related to laying down the foundation for future governments)

ทั้งนี้
จะดำเนินการทั้งด้านการจัดการศึกษา
การปรับหลักสูตร การพัฒนาคุณภาพครูและผู้เรียน
การยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษา การใช้จ่ายงบประมาณ และการกระจายอำนาจ
เน้นให้มีทั้งนักวิชาการ และนักปฏิบัติ โดยจะพิจารณาการดำเนินงาน
จากต่างประเทศมาปรับใช้ตามความเหมาะสม

แล้วนาทีที่ 4.45
ที่เห็นเป็นประโยชน์ คือ การสอนทาง social media หรือระบบดิจิทอล
ต้องสอนให้รู้ว่าเราจะใช้ประโยชน์อย่างไร
ถ้าใช้ผิด แล้วไปคาดหวังจากระบบอย่างเดียว ก็คงไม่ได้
https://www.youtube.com/watch?v=2A5fPtiJ-Qw

หลากหลาย ไว(วัย)และจริยธรรม เท่ากับคนสื่อยุคใหม่

หลากหลาย ไว(วัย)และจริยธรรม เท่ากับคนสื่อยุคใหม่

โดย : ชินกฤต อุดมลาภไพศาล

http://bit.ly/H14kJD

“น้ำอดน้ำทนน้อยลง หนักไม่เอาเบาไม่สู้” “สมาธิสั้น” “ทำงานไม่เป็น ไม่ค่อยฟัง เถียง” วลีสั้นๆ ที่ได้ยินบ่อยครั้ง

เมื่อกล่าวถึงคนสื่อรุ่นใหม่จากปากคนสื่อรุ่นเก่า เหมือนคำตอบที่โยนกลับสู่นักวิชาการสื่อ คนสอนสื่อ ผู้สร้างคนสื่อรุ่นใหม่ถึงผลผลิตที่ป้อนสู่อุตสาหกรรมสื่อ ใส่เครื่องหมายคำถามตัวโตๆ “เป็นความผิดคนรุ่นใหม่หรือที่เป็นอย่างนั้น” ก็คงจะไม่ใช่เพราะเป็นเพียงมุมมองคนรุ่นหนึ่งมองคนอีกรุ่นหนึ่ง

การเปลี่ยนแปลงของตัวสื่อ ไม่ใช่กระทบต่อรูปแบบการทำงานสังคมงานสื่อเพียงประการเดียว แต่มีผลพวงวงกว้าง รวมถึงการเรียนการสอนด้านสื่อก็ด้วย ทุกวันนี้ต้องยอมรับว่าผู้สอนต้องงัดสารพัดเทคนิคมาใช้มากขึ้น เพื่อแข่งขันกับอาจารย์กู (กูเกิล) ที่สามารถรังสรรค์คำตอบให้แก่ผู้เรียนเพียงปลายนิ้วสัมผัสที่ป้อนสิ่งที่ต้องการจะรู้เข้าไป ผ่านแป้นคีย์บอร์ด ความรู้บนโลกไซเบอร์ที่กว้างขวาง ตอบได้ทุกด้านที่ผู้เรียนต้องการ จริงไม่จริง ถูกไม่ถูกต้อง ครบถ้วนหรือไม่ อีกเรื่องหนึ่ง แน่นอนว่าเทคโนโลยีเปลี่ยนวิธีคิดของคน ทำให้อดทนน้อยลงที่จะนั่งค้นหาคำตอบสิ่งต่างๆ บทบาทของผู้สอนจึงเป็นเสมือน “โค้ช” มากกว่าการเป็นครู เป็นผู้ชี้แนะแนวทางแสวงหาความรู้ สร้างบรรยากาศ กระตุ้นการเรียนรู้ แล้วคนสื่อแบบไหนที่สังคมสื่อในยุคปัจจุบันต้องการ

ประการแรก “หลากหลาย” มีทักษะอันหลากหลาย นักสื่อสารมวลชนคนรุ่นใหม่ ต้องเป็นคนที่มีความรู้ไม่จำเพาะความรู้เฉพาะด้านเชี่ยวชาญเฉพาะเรื่อง จะเป็นคนสื่อที่รู้เพียงด้านวิทยุโทรทัศน์ สื่อใหม่ โฆษณา หรือประชาสัมพันธ์เพียงด้านใดด้านหนึ่งคงไม่เพียงพอ ควรมีความรู้รอบด้านอันเกี่ยวข้องกับบริบททางสังคม เศรษฐกิจ สังคม การเมือง วัฒนธรรม ร่วมด้วย การคอนเวอร์เจนซ์ของสื่อ ต้องการคนสื่อที่เข้าใจธรรมชาติของสื่อที่เปลี่ยน สามารถบูรณาการความรู้ในการทำงานเป็นนักวิชาชีพที่มีองค์ความรู้ทางวิชาการ และที่สำคัญควรเป็นคนสื่อที่รู้เท่าทันสื่อ ส่วนทักษะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศที่กลายเป็นทักษะพื้นฐานที่คนสื่อยุคใหม่ต้องมี การใช้งานคอมพิวเตอร์โปรแกรมพื้นฐานในการพิมพ์งาน การนำเสนอ และการใช้โซเชียลมีเดียเป็น ไม่ว่าจะใช้งานผ่านคอมพิวเตอร์ โน๊ตบุ๊ค แท็บเล็ต หรือโทรศัพท์สมาร์ทโฟน ทักษะด้านภาษาที่นักสื่อสารมวลชนคนรุ่นใหม่ควรจะสื่อสารได้ 2 ภาษาเป็นอย่างน้อย คือ ภาษาไทย และภาษาอังกฤษ ไม่ต้องมองไปไหนไกล เริ่มจากการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนที่จะมาถึงในปี 58 หรือใกล้ตัวกว่านั้น คือ การใช้ภาษาในการติดตามข่าวสาร แลกเปลี่ยนข่าวสารกับสื่อมวลชนจากทั่วทุกมุมโลก

ประการที่สอง “ไว (วัย)” ไวอันแรกคือ ปรับตัวไว วัยทำงานของคนสังคมสื่อมีความหลากหลายคนสื่อรุ่นใหม่ต้องสามารถทำงานเป็นทีม เมื่อคนหลายเจนเนอเรชั่นมาทำงานรวมกัน ความแตกต่างเรื่องวัยสัมพันธ์กับเข็มไมล์ประสบการณ์ ปัญหาและทัศนคติการทำงานที่ไม่ตรงกันเกิดขึ้นได้เสมอ ก็เหมือนองค์กรธุรกิจอื่น ที่ประกอบไปด้วยคนตั้งแต่ยุคเบบี้บูมเมอร์ ที่มีชีวิตเพื่อการทำงาน (Work for Life) คนเจนเนอเรชั่น X โตมากับพัฒนาการของสื่อ ทำงานในลักษณะสมดุลงานกับครอบครัว (Work-Life Balance) มีความคิดสร้างสรรค์ เป็นตัวของตัวเองสูง และคนเจนเนอเรชั่น Y โตมากับสื่อใหม่ มีทักษะการทำงานที่หลากหลาย มีความเป็นตัวของตัวเองสูง ไม่ชอบอยู่ในกรอบ การเปิดใจยอมรับ ปรับทัศนคติเข้าหากันและกัน สำคัญที่สุดคือใช้ “การสื่อสาร” เพื่อการป้องกันปัญหา ลดช่องว่างระหว่างวัยที่จะเกิดขึ้น

ไว อันที่สอง ไวต่อการเรียนรู้ ด้วยสื่อสมัยปัจจุบันที่มีการคอนเวอร์เจนซ์ เทคโนโลยีสื่อที่ปรับเปลี่ยนตลอดเวลา การเรียนรู้ ปรับตัวให้เข้ากับสื่อ สามารถหยิบเอาประโยชน์ เทคโนโลยีจากสื่อ มาใช้ให้เกิดประโยชน์กับตนเอง คนที่พร้อม คนที่เรียนรู้อยู่ตลอดเวลา จึงจะสามารถอยู่รอดในวิชาชีพนี้

ประการสุดท้าย “จริยธรรม” การเป็นคนสื่อที่มีจริยธรรม การประพฤติและปฏิบัติที่ดี มองเรื่องจริยธรรมสื่อแล้วก็น่าใจหายที่เป็นประเด็นที่ถูกหยิบยก มองเห็นความสำคัญกันน้อย ทั้งที่ในความเป็นจริงควรให้ความสำคัญระดับต้นๆ เริ่มที่ครอบครัวและสถาบันการศึกษา การไปแก้ไขเมื่อเข้าสู่สังคมสื่อกระทำได้ยาก ปัญหาจริยธรรมนับวันเป็นสิ่งที่ฝังรากลึกในสังคมทุกสังคม ตัวอย่างง่ายๆ ที่ประสบพบเจอในฐานะนักวิชาการ ผู้สอนทางด้านสื่อคือ การละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา ไม่ว่าจะเป็นความรู้ในรูปแบบใดก็ตาม การลอกเลียนแบบผลงานคนอื่น การหยิบ หรือนำผลงานคนอื่นมาใช้ในผลงานตนเองโดยไม่ได้ให้การอ้างอิง ถึงแหล่งที่มาของข้อมูล จนผู้เรียน บุคคลที่จะก้าวขึ้นมาเป็นคนสื่อรุ่นใหม่มองว่าเป็นเรื่องธรรมดาไม่ได้ผิดอะไร เป็นความคุ้นชินที่ทำมาตลอด หรือการใช้เทคโนโลยีในการแก้ไข ลอกเลียน บิดเบือนข้อเท็จจริง สิ่งต่างๆ เหล่านี้ควรที่จะได้รับการแก้ไข ให้ความตระหนักจากทุกภาคส่วน ลำพังจะรอองค์กรวิชาชีพสื่อ ขับเคลื่อนกลไกเรื่องนี้คงจะไม่ได้

ไม่ว่าสังคมสื่อ ภูมิทัศน์สื่อจะเปลี่ยนไปมากเท่าใด หากเรียนรู้ที่จะปรับตัว เรียนรู้ที่จะทำความเข้าใจ และคงไว้ซึ่งกรอบความคิดและจุดยืนในวิชาชีพที่เปี่ยมด้วยจริยธรรมคุณธรรม ก็สามารถเป็นคนสื่อคุณภาพได้ไม่ยาก
http://bit.ly/H14kJD
Tags : ชินกฤต อุดมลาภไพศาล

Nation University Update #7 ตอนคณะเทคโนโลยีสารสนเทศ

นั่งดูคลิ๊ปเพลินครับวันนี้ .. เห็นนักศึกษาหน้าตาดี
อาจารย์ก็หล่อมาดเข้ม จึงนำมาฝากครับ

อ.ดร.อติชาต หาญชาญชัย
อ.ดร.อติชาต หาญชาญชัย

คลิ๊ปรายการ Nation University Update #7
อ.ดร.อติชาต หาญชาญชัย เล่าเรื่อง คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ
และ อ.อุดม ไพรเกษตร ผู้ดำเนินรายการ
บริเวณริมอ่างตระพังดาว มหาวิทยาลัยเนชั่น จังหวัดลำปาง
ตอนเซเว่น” เห็นนักศึกษาเล่น ninja fruit ด้วยครับ

– iClassroom
– Lab Mac
– e-Learning
– Wi-Fi
– Tablet PC : Samsung Tab 10.1
– Network : Training & Co-op