thai

reddit thai

เว็บบอร์ดสัญชาติอเมริกัน เรดดิต

เว็บบอร์ดสัญชาติอเมริกัน กลุ่มไทย subreddit ในเรดดิต

อ่านจาก wiki
พบว่า ผลสำรวจอเล็กซา ในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 2019 เรดดิตถูกรับชมมากที่สุดเป็นอันดับที่ 5 ของสหรัฐอเมริกา และอันดับที่ 13 ของโลก โดยผู้ใช้ร้อยละ 55 มาจากสหรัฐฯ ร้อยละ 7.4 มาจากสหราชอาณาจักร และร้อยละ 5.8 มาจากแคนาดา

อ่านจากผู้จัดการออนไลน์
พบว่า Rathschmidt 27 ม.ค. 2565 ให้ข้อมูลว่า กำลังทดสอบและพัฒนาระบบ ให้สามารถใช้ NFT เป็นรูปโปรไฟล์ หรืออวาตาร์ และยืนยันความเป็นเจ้าของ ซึ่งเป็นการทดสอบเท่านั้น ยังไม่มีผลบวกหรือลบต่อการใช้งาน ซึ่งเชื่อมโยงกับการพัฒนาระบบเกี่ยวกับ Crypto และ NFT ที่มี subreddit ให้สมาชิกได้พูดคุย และมีการใช้งานสูง

เข้าโพสต์ใน reddit
พบว่า กฎเกณฑ์ในแต่ละกลุ่ม subreddit มีกฎที่เข้มงวด โดยเฉพาะกลุ่มที่มีจำนวนสมาชิกมาก จะมี moderator พิจารณาด้วยเกณฑ์ที่ allow หรือ remove เพื่อความสงบเรียบร้อยของกลุ่ม เช่น กลุ่ม r/GetStudying มี rules ทั้งหมด 6 ข้อ คือ 1) Be nice 2) Stay positive 3) Promotion of courses 4) Assign link flair if you can 5) No Music Posts Allowed 6) Don’t spam your Blog/Youtube content

Reddit : thai

สื่อสังคมออนไลน์ (Social Media)
หมายถึง สังคมออนไลน์ที่มีผู้ใช้เป็นผู้สื่อสาร หรือเขียนเล่าเรื่องราว เนื้อหา ประสบการณ์ บทความ รูปภาพ และวีดิโอ ที่ผู้ใช้เขียนขึ้นเอง ทำขึ้นเอง หรือพบเจอจากสื่ออื่น ๆ แล้วนำมาแบ่งปันให้กับผู้อื่นที่อยู่ในเครือข่ายของตนผ่านทางเครือข่ายสังคมออนไลน์ (Social Network) ที่ให้บริการบนโลกออนไลน์ ปัจจุบันการสื่อสารแบบนี้จะทำผ่านทาง Internet และนิยมใช้งานบนโทรศัพท์เคลื่อนที่
https://www.thaiall.com/socialmedia/

pdf2doc และ pdfcandy

การแปลงจาก pdf ภาษาไทยเป็น word (1/2)

การทดสอบแปลงแฟ้ม pdf ภาษาไทยเป็น word โดยใช้แฟ้มต้นฉบับที่สร้างจากทั้ง Word 2010 และ 2019 ให้ผลไม่ต่างกันมาก พบว่า pdf2doc.com , pdfcandy.com , google docs ให้ผลลัพธ์ดี มีความสมบูรณ์ประมาณ 80% ซึ่งใกล้เคียงกันกับแฟ้มที่สร้างด้วยโปรแกรม pdfcreator หรือ save as หรือ microsoft print โดยผลลัพธ์จาก 3 บริการข้างต้น ให้ผลดีกว่า adobe online, ilovepdf, pdftoword และ smallpdf สำหรับผลงานที่สร้างจาก Word ประเด็นที่น่าสนใจ คือ 1) การใช้ google docs มีปัญหา error convertion กับการแปลงแฟ้ม pdf ที่สร้างมาจาก pdfcreator 2) ฟอนต์จุฬาภรณ์ลิขิตนั้น มีเพียง pdf2doc.com ที่อ่านแฟ้มที่ีได้จาก pdfcreator มาเป็นตัวอักษร ส่วนต้นฉบับที่ได้จาก save as จะเห็นฟอนต์นี้เป็นวัตถุที่ไม่สามารถแปลงเป็นตัวอักษรได้ตามปกติ

พบว่าบางบริการจำกัดจำนวนการใช้งานฟรี 1 ครั้ง สามารถเปิด browser โปรแกรมตัวใหม่ หรือ Clear history ก่อนใช้รอบต่อไป หรือใช้โหมดไม่ระบุตัวตน (incognito) ปิดแล้วเปิดใหม่ จะใช้งานฟรีรอบใหม่ได้ แต่การปิดเปิด browser ใหม่นั้นเว็บไซต์ยังตรวจพบอยู่และถูกจำกัดการใช้งาน จนกว่าจะสมัครสมาชิก จึงต้องเลือกแบบที่จำไม่ได้ ล้างสิ่งที่จำ หรือเลือกใช้แบบไม่จำสถานะเดิม

  • adobe.com (1 ฟรี)
  • drive.google.com (ฟรี)
  • ilovepdf.com (ฟรี)
  • pdf2doc.com (ฟรี)
  • pdfcandy.com (1 ฟรี)
  • pdftoword.com (ฟรีในอีเมล)
  • smallpdf.com (1 ฟรี)

เปรียบเทียบผลของ smallpdf.com และ google docs

Smallpdf.com : ทดสอบส่ง pdf 3 ประเภทเพื่อแปลงเป็น word คือ save as, microsoft print และ pdfcreator โดยมีรูปแบบตัวอักษรทั้งหมด 12 รูปแบบ พบว่า อันดับหนึ่ง คือ save as นั้นจะได้ผลการ convert ที่ดีที่สุด ที่ยอมรับได้มากกว่า 90% ทั้งตารางและย่อหน้า คือ TH Sarabun PSK ทั้ง 1) Normal และ 2) Bold ส่วน Chulabhorn Likit Lite เป็นแบบ 3) Bold ที่ยอมรับได้มากกว่า 80% ในส่วนย่อหน้า คือ TH Niramit AS 16 แบบ Bold แต่ในตารางจะแปลงได้ไม่ดี รองลงมา คือ microsoft print ที่ยอมรับได้มากกว่า 80% ทั้งตารางและย่อหน้า คือ TH Sarabun PSK ทั้ง 1) Normal และ 2) Bold ที่ยอมรับได้มากกว่า 70% ในส่วนย่อหน้า คือ TH Niramit AS 16 แบบ 1) Normal และ 2) Bold แต่ในตารางจะแปลงได้ไม่ดี สุดท้าย คือ pdfcreator ที่เกือบทุกแบบยอมรับได้ไม่ถึง 50%

Google docs : ทดสอบส่ง pdf 3 ประเภทเพื่อแปลงเป็น word คือ save as, microsoft print และ pdfcreator โดยมีรูปแบบตัวอักษรทั้งหมด 12 รูปแบบ พบว่า อันดับหนึ่ง คือ save as นั้นจะได้ผลการ convert ที่ดีที่สุด ที่ยอมรับได้ 90-100% ทั้งตารางและย่อหน้า คือ TH Sarabun PSK และ TH Niramit AS ที่ยอมรับได้ 50-90% สำหรับรูปแบบที่เหลือ รองลงมา คือ microsoft print ที่ยอมรับได้มากกว่า 90% แบบย่อหน้า คือ TH Sarabun PSK และ TH Niramit AS ที่ยอมรับได้ 70-80% แบบตาราง คือ TH Sarabun PSK และ TH Niramit AS ที่ยอมรับได้ 50-60% สำหรับรูปแบบที่เหลือ สุดท้าย คือ pdfcreator ระดับการแปลงเท่ากับ 0 %

https://www.thaiall.com/fonts/

https://drive.google.com/drive/folders/1o-DlDLGJDLqNpFzJKvuSi_cBDGaTbwRT?usp=sharing

ศูนย์ข้อมูลที่ปรึกษาไทย กระทรวงการคลัง

thai consultant
thai consultant

8 เม.ย.59 ได้รับแจ้งจาก อ.ดร.ทันกวินท์   รัฐวัฒก์อังกูร
ว่า มหาวิทยาลัยเนชั่นได้หนังสือเรื่อง “แจ้งผลการจดทะเบียนที่ปรึกษาไทย
ที่ กค 0910/1050 จาก นายวิสุทธิ์ จันมณี ที่ปรึกษาด้านตลาดตราสารหนี้ ปฏิบัติราชการแทน
ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ ว่า
ศูนย์ข้อมูลที่ปรึกษาไทย กระทรวงการคลังได้จดทะเบียนให้มหาวิทยาลัยเนชั่น
เป็นที่ปรึกษาระดับ B หมายเลข 4304 เรียบร้อยแล้ว
เมื่อวันที่ 25 มีนาคม 2559 .. และมีอายุ 2 ปีนับจากวันจดทะเบียน
โดยค้นข้อมูลได้ที่ http://www.thaiconsult.pdmo.go.th/ThaiConsult/mainframe/search
ค้นคำว่า “มหาวิทยาลัย” เมื่อ 8 เมษายน 2559 พบผลการสืบค้นทั้งสิ้น 128 รายการ

http://www.thaiconsult.pdmo.go.th/ThaiConsult/mainframe/search#sthash.bFczslJe.dpuf
มหาวิทยาลัยเนชั่น มีเลขทะเบียนที่ปรึกษา คือ 4304

15 ต.ค.57 มีโอกาสพูดคุยกับ อ.นงลักษณ์ สุวรรณวิชิตกุล เรื่องการเป็นที่ปรึกษา
แล้วติดต่อกับส่วนราชการ มีรายละเอียดพอสมควร ผมก็จำได้ไม่ได้บ้าง
เพราะเคยสนใจ เมื่อกว่า 10 ปีมาแล้ว
มาค้นดูอีกครั้ง เห็นได้ชัดว่าประเทศไทยเราพัฒนาไปเรื่อย ๆ ในทางที่ดีขึ้น

ที่ปรึกษาในศูนย์ข้อมูลที่ปรึกษาไทย กระทรวงการคลัง พบ มหาวิทยาลัยอยู่ 134 รายการ
ที่ปรึกษาในศูนย์ข้อมูลที่ปรึกษาไทย กระทรวงการคลัง พบ มหาวิทยาลัยอยู่ 134 รายการ

ความหมายของที่ปรึกษา
ที่ปรึกษาคือ ผู้ประกอบวิชาชีพซึ่งอาจเป็นรายบุคคลหรือนิติบุคคลที่เป็น ห้างหุ้นส่วน หรือบริษัทที่ต้องมีจรรยาบรรณวิชาชีพอย่างสูง และมีความรู้ทางวิชาการ ประสบการณ์ และความสามารถให้บริการที่ปรึกษา และเสนอแนะ ความรู้ทางวิชาการในสาขาต่างๆ อาทิ วิศวกรรม สถาปัตยกรรม เศรษฐศาสตร์ สังคม และการเมือง ทั้งนี้ รูปแบบการให้บริการประกอบด้วย การศึกษาความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของโครงการลงทุนโดยพิจารณาด้านเทคนิค เศรษฐกิจ การเงิน สังคม และสิ่งแวดล้อม การศึกษาสำรวจและออกแบบในรายละเอียดทางด้านวิศวกรมและสถาปัตยกรรม และการวางแผนและควบคุมการก่อสร้างโครงการขนาดใหญ่และซับซ้อน ซึ่งเกี่ยวข้องกับงานหลายๆ ด้าน โดยจำเป็นต้องใช้วิศวกรที่ปรึกษาและผู้เชี่ยวชาญซึ่งมีความรู้ความสามารถและ ประสบการณ์ในงานที่เกี่ยวข้องทั้งทางเทคนิค วิศวกรรม เศรษฐศาสตร์ การเงิน และการบริหาร เป็นจำนวนมาก ทั้งนี้ เพื่อหาวิธีการที่จะก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ผู้ว่าจ้าง
http://www.thaiconsult.pdmo.go.th/12

ขั้นตอนการยื่นขอจดทะเบียนที่ปรึกษา
http://www.thaiconsult.pdmo.go.th/21

registration flow
registration flow

หลักฐานที่ใช้ประกอบการยื่นจด/ต่อ/เพิ่มเติม/ปรับสถานะทะเบียนที่ปรึกษาไทย
สำหรับที่ปรึกษานิติบุคคล
1.หนังสือแสดงความประสงค์ขอจดทะเบียนเป็นที่ปรึกษานิติบุคคลถึงผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะจำนวน 1 ฉบับ ดาวน์โหลด ที่นี่
2. เอกสารประกอบกรณีห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลหรือบริษัท
– สำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนจัดตั้งบริษัท (นายทะเบียนรับรองไม่เกิน 6 เดือน, ทุนจด    ทะเบียน 1 ล้านบาทขึ้นไป)
– สำเนาหนังสือบริคณห์สนธิ
– สำเนาบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น (นายทะเบียนรับรองไม่เกิน 6 เดือน)
– สำเนาเลขประจำตัวผู้เสียภาษีของบริษัท
– สำเนาใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภพ.20)
– สำเนาใบประกอบวิชาชีพ สำเนาใบสมาชิกสมาคมวิศวกรที่ปรึกษา หรือสมาคมต่างๆที่เกี่ยวข้อง (ถ้ามี)
– อื่นๆ
3. เอกสารประกอบกรณีองค์กรอื่นๆ เช่น มูลนิธิ สมาคม หรือสถาบันการศึกษา (ในกรณีที่เป็นมูลนิธิ จะต้องระบุให้ชัดเจนว่าเป็นมูลนิธิประเภทใด เช่น มูลนิธิเพื่อการกุศล มูลนิธิเชิงพาณิชย์ หรือ อื่นๆ)
– พระราชบัญญัติจัดตั้งองค์กร/ระเบียบ ข้อบังคับที่เกี่ยวข้อง
– สำเนารายชื่อกรรมการ/คณะผู้ดำเนินการขององค์กร
– งบการเงิน
– รายงานประจำปี (Annual Report)
– สำเนาประจำตัวผู้เสียภาษีขององค์กร
– อื่นๆ
4. เอกสารประกอบโครงการ
– สำเนาหนังสือสัญญาว่าจ้างเป็นที่ปรึกษาที่ได้ดำเนินการแล้วเสร็จ ซึ่งอย่างน้อยต้องมีรายละเอียดของลักษณะงานที่ทำ บุคลากรที่ดำเนินโครงการ จำนวนคน-เดือน (man-month) และอัตราค่าจ้าง ระยะเวลาดำเนินโครงการ และมูลค่าตามสัญญาจ้าง
– ถ้าโครงการยังไม่แล้วเสร็จ ทางศูนย์ข้อมูลที่ปรึกษาจะไม่พิจารณาโครงการนั้น
หมายเหตุ กรณีจดทะเบียนเพิ่มเติม หรือต่อทะเบียนการเป็นที่ปรึกษา ที่ปรึกษายื่นเอกสารโครงการเฉพาะที่เพิ่มเติมเท่านั้น
5. เอกสารบุคลากร
– รูปถ่าย 1 นิ้ว หน้าตรง จำนวน 1 รูป (ถ่ายไม่เกิน 6 เดือน)
– สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน หรือบัตรอื่นที่ทางราชการออกให้แทน
– สำเนาทะเบียนบ้าน
– ประวัติการทำงานโดยละเอียด (อย่างน้อยต้องระบุปี พ.ศ.)
– หลักฐานการศึกษา (ใบปริญญาบัตร หรือ Transcript)
6. การรับรองความถูกต้องของเอกสาร
– เอกสารทุกชนิด ทุกหน้า ต้องประทับตราบริษัท และรับรองความถูกต้องโดยผู้มีอำนาจลงนามของบริษัท ทั้งนี้ ศูนย์ข้อมูลฯ จะไม่รับจดทะเบียน และจะดำเนินการลบรายชื่อที่ปรึกษาออกจากฐานข้อมูลที่ปรึกษา หากตรวจพบว่าที่ปรึกษาเสนอข้อมูลจดทะเบียนมาไม่ถูกต้องกับข้อเท็จจริง
7. เอกสารต้องเจาะใส่แฟ้ม 2 ห่วง
http://www.thaiconsult.pdmo.go.th/22

บริการค้นที่ปรึกษาในศูนย์ข้อมูลที่ปรึกษาไทย กระทรวงการคลัง
พบว่ามีประเภทนิติบุคคล : มหาวิทยาลัย พบทั้งหมด 134 รายการ
http://www.thaiconsult.pdmo.go.th/ThaiConsult/mainframe/search
ที่ปรึกษามี 4 สถานะ
1. สถานะ Active แสดงสถานะ สมาชิก
2. สถานะหมดอายุและไม่ได้ทำการต่อทะเบียนที่ปรึกษา หรือ Not Acitve
3. ต่ออายุที่ปรึกษา หรือ เพิ่มเติมโครงการ/ปรับสถานะ และยังอยู่ในขั้นตอนตรวจสอบของเจ้าหน้าที่
4. สถานะถูกเพิกถอน

ภัยคุกคามต่อความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์กับวัฒนธรรมไทย

ภัยคุกคามต่อความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์กับวัฒนธรรมไทย

ภัยคุกคามต่อความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์กับวัฒนธรรมไทย
ภัยคุกคามต่อความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์กับวัฒนธรรมไทย

26 พ.ย.56 นักศึกษา และเพื่อนอาจารย์ มหาวิทยาลัยเนชั่น
ประกอบด้วย นายไวภพ ตุ้ยน้อย อาจารย์วิเชพ ใจบุญ และนายณภัทร เทพจันตา
เข้าร่วมสัมมนา ณ โรงแรมคุ้มภูคำ จังหวัดเชียงใหม่ เมื่อวันที่ 26 พ.ย.56
โดย กสทช. จัดเวิร์กช็อปนักศึกษา
เรื่อง ภัยคุกคามต่อความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์กับวัฒนธรรมไทย
(Threats on Cyber security and Its Implication on Thai Culture Workshop)

ตามที่ช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมาทุกประเทศในโลกมีอัตราการเติบโตของปริมาณผู้ใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่แบบที่เรียกกว่า สมาร์ทโฟน ขึ้นสูงมาก วิวัฒนาการได้ก้าวหน้าอย่างก้าวกระโดด จนทำให้ประชากรส่วนใหญ่ไม่ได้ให้ความสำคัญและตระหนักถึงความปลอดภัยของข้อมูลที่ตนเองได้ใช้ในการทำธุรกรรมผ่านสมาร์ทโฟนดังกล่าว ทำให้เกิดช่องโหว่ให้ผู้ไม่หวังดี และแฮคเกอร์ต่างใช้โอกาสนี้ในการโจรกรรมข้อมูล และก่อให้เกิดความเสียหายต่อบุคคลและองค์กรเป็นอย่างมาก โดยปัจจุบันไทยมีจำนวนผู้ใช้เครือข่ายออนไลน์ โดยเฉพาะเฟชบุ๊คในกรุงเทพมากเป็นอันดับ 1 ของโลก ยิ่งเป็นเป้าหมายของกลุ่มแฮคเกอร์ได้โดยง่าย

กสทช. เห็นความสำคัญ ได้ประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่องภัยคุกคามต่อความมั่นคงทางไซเบอร์กับวัฒนธรรมไทย ทุกภูมิภาค เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจและตระหนักถึงภัยคุกคามออนไลน์ในรูปแบบต่างๆ ส่งเสริมให้เยาวชนและผู้เข้าร่วมประชุมใช้วัฒนธรรมนำชีวิต รู้จักใช้วัฒนธรรมในโลกไซเบอร์ รู้จักวิธีป้องกันปัญหาและวิธีแก้ปัญหาที่ถูกต้องและเหมาะสม และเพื่อสร้างความตื่นตัวของภาคการศึกษา ประชาชนและกรรมการสภาวัฒนธรรม ตระหนักถึงภัยคุกคามต่อความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ รวมทั้งการใช้คอมพิวเตอร์ทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ โดยการประชุมครั้งนี้ เป็นครั้งที่ 3 ผู้เข้าประชุมประกอบด้วยนักเรียนนักศึกษา รวมทั้งครูอาจารย์ ตลอดจนผู้แทนหน่วยงานราชการ รัฐวิสาหกิจ ผู้แทนองค์กรภาคเอกชน นักธุรกิจ และประชาชนที่สนใจ

http://www.pracharkomnews.com/hilight/%E0%B8%81%E0%B8%AA%E0%B8%97%E0%B8%8A-%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%A1%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B8%A0%E0%B8%B1%E0%B8%A2%E0%B8%84%E0%B8%B8%E0%B8%81/

‘จาตุรนต์’ กู้วิกฤติภาษาไทยเล็งเพิ่มน้ำหนักสอบเข้า ม.1

7 สิงหาคม 2556 ศึกษาธิการ “จาตุรนต์” ห่วงปัญหาเด็กจำนวนมากอ่านไทยไม่ออก เขียนไม่คล่อง เล็งปรับเกณฑ์รับ ม.1 อาจต้องเน้นให้น้ำหนักความสำคัญวิชาภาษาไทยไม่น้อยกว่าภาษาอังกฤษ ชี้หากภาษาแม่ยังอ่อนยวบ ก็เรียนเชื่อมโยงวิชาอื่นไม่ได้ ผอ.รร.ดังแฉ แม้แต่เด็ก ม.1 อ่านไม่คล่อง ไม่ชอบเขียนบทความยาวๆ ชอบแต่ภาษาสแลงหรือศัพท์วัยรุ่นสั้นๆ ทำให้ภาษาไทยผิดเพี้ยน

นายจาตุรนต์ ฉายแสง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (รมว.ศธ.) เปิดเผยว่า จากการเชิญผู้บริหารโรงเรียนและครูจากโรงเรียนต่างๆ มาร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับการจัดการศึกษา เมื่อเร็วๆ นี้ พบว่ามีเรื่องที่น่าสนใจและน่าตกใจคือ เด็กไทยจำนวนมากอ่านภาษาไทยไม่ออก ฉะนั้น ศธ.จะต้องนำเรื่องนี้มาแก้ปัญหาให้เร็วที่สุด เพราะหากเด็กอ่านภาษาไทยไม่ได้ก็ไม่มีทางที่จะเรียนวิชาอื่นได้เลย อย่างไรก็ตาม หลังจากนี้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องจะต้องมาวิเคราะห์ร่วมกันว่าจะต้องมีการปฏิรูปการศึกษา ทั้งหลักสูตรการเรียนการสอน การทดสอบ การวัดผลประเมินผล และพัฒนาครูอย่างไรให้เชื่อมโยงกันทั้งระบบ โดยเฉพาะวิชาภาษาไทยที่จะต้องเชื่อมโยงไปยังวิชาอื่น

รมว.ศธ.กล่าวด้วยว่า ในเร็วๆ นี้จะเชิญสำนัก งานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) มาหารือในหลายๆ เรื่องเกี่ยวกับการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของเด็กไทย โดยจะหยิบยกเรื่องนโยบายและแนวทางการรับนักเรียนชั้น ม.1 และ ม.4 สังกัด สพฐ. ประจำปีการศึกษา 2557 มาหารือด้วย ซึ่งจะต้องขอดูรายละเอียดก่อนว่าในการพิจารณาคัดเลือกนักเรียนเข้าศึกษาต่อจะต้องผ่านการทดสอบวิชาใดบ้าง รวมทั้งจะต้องดูด้วยว่าควรจะให้ความสำคัญกับวิชาใดบ้าง โดยเฉพาะวิชาภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ที่จะต้องเร่งแก้ปัญหาทั้งคู่

นายชลอ เขียวฉลัว ผู้อำนวยการโรงเรียนมัธยมวัดเบญจมบพิตร กล่าวว่า ยอมรับว่าขณะนี้เด็กไทยมีปัญหาเรื่องการอ่านออก เขียนได้ ซึ่งในส่วนของโรงเรียนระดับมัธยมศึกษาเองก็พบปัญหาดังกล่าวเช่นกัน โดยเฉพาะเด็กชั้น ม.1 ที่เข้ามาเรียน แต่ก็ยังอ่านไม่คล่อง เขียนไม่คล่องเท่าที่ควร ทำให้เด็กกลุ่มนี้เรียนรู้ได้ช้า ถือเป็นปัญหาใหญ่ที่อยากให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งแก้ไข เพราะภาษาไทยถือเป็นภาษาหลักที่เราต้องใช้ในการเรียนรู้ในทุกรายวิชา

ที่สำคัญยังพบด้วยว่า เด็กสมัยนี้จะไม่ชอบอ่านและไม่ชอบเขียนบทความยาวๆ แต่ชอบอ่านอะไรที่ฉาบฉวย ใช้ภาษาสแลงหรือศัพท์วัยรุ่นสั้นๆ ทำให้ภาษามีการผิดเพี้ยนไป ไม่ถูกต้อง รวมถึงทำให้เอกลักษณ์ของภาษาไทยหายไป ดังนั้นจึงคิดว่าหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรจะหันมาช่วยกันแก้ไขเรื่องดังกล่าว เพื่อคงเอกลักษณ์และรักษาภาษาไทยเอาไว้” นายชลอกล่าว

น.ส.นิจสุดา อภินันทาภรณ์ หัวหน้าสถาบันภาษาไทย สำนักวิชาการ สพฐ. กล่าวว่า ยอมรับว่าขณะนี้ปัญหาเรื่องนักเรียนระดับประถมศึกษามีปัญหาอ่านไม่ออก เขียนไม่ได้อยู่บ้าง แต่ต้องดูปัจจัยหลายอย่างประกอบกัน อาทิ เด็กที่อ่านไม่ออก เขียนไม่ได้ อาจจะเป็นนักเรียนที่อยู่ในพื้นที่ห่างไกล ติดชายแดน เด็กพิเศษ หรือเป็นเด็กชาวเขาเผ่าต่างๆ เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมา สพฐ.มีการแก้ปัญหาดังกล่าวอย่างเป็นระบบ โดยประสานเขตพื้นที่การศึกษาต่างๆ ให้เน้นส่งเสริมให้นักเรียนและครูเห็นความสำคัญของการใช้ภาษาไทยอย่างถูกต้อง โดยเฉพาะครูภาษาไทย หรือนักศึกษาที่กำลังเรียนเอกภาษาไทยอยู่ขณะนี้ อยากให้มีความภาคภูมิใจ เพราะต่อไปประเทศไทยจะเป็นศูนย์กลางของประชาคมอาเซียน และเท่าที่ดูประเทศในกลุ่มอาเซียนมีการเรียนการสอนวิชาภาษาไทยเพิ่มมากขึ้น เพื่อจะเข้ามาทำงานในประเทศไทย ดังนั้นเราในฐานะเจ้าของภาษาจึงควรมีความเชี่ยวชาญ โดยเฉพาะในเขตพื้นที่ชายแดน ที่เป็นจุดเชื่อมโยงทางด้านการค้า แต่ขณะเดียวกันเราก็ต้องเรียนรู้ภาษาเพื่อนบ้านที่สำคัญด้วย.

 

ที่มา: หนังสือพิมพ์ไทยโพสต์

 

http://www.moe.go.th/moe/th/news/detail.php?NewsID=33615&Key=hotnews

ทักษะอื่น ๆ ของคนไทย ก็น่าเป็นห่วงไม่แพ้กัน
ทักษะอื่น ๆ ของคนไทย ก็น่าเป็นห่วงไม่แพ้กัน

การศึกษาไทยถ้าไม่เปลี่ยนอาจบ๊วย .. แน่นอน

ตอนนี้หากถามว่าภูมิใจกับอันดับด้านการศึกษาของประเทศไทยในเวทีโลกหรือไม่
ก็คงไม่มีใครไปตอบว่า “ดีกว่านี้ไม่มีอีกแล้ว” ! http://bit.ly/17oaJI9

วัฒนธรรมการศึกษา (education culture)
วัฒนธรรมการศึกษา (education culture)

เพราะระบบการศึกษาของไทยอยู่อันดับที่ 37 จากทั้งหมด 40 ประเทศในปี 2555 จากผลการจัดอันดับโดยบริษัทด้านการศึกษา คือ เพียร์สัน (Pearson) และ อีไอยู (EIU = The Economist Intelligence Unit) ในทางกลับกันพบว่ากรุงเทพฯ ซึ่งเป็นเมืองหลวงของประเทศไทยมีสถิติการเข้าถึงเครือข่ายสังคมอย่างเฟซบุ๊คเป็นอันดับหนึ่งในโลก เท่ากับ 12.7 ล้านคนจากทั้งหมด 7.8 ล้านคน มีบัญชีผู้ใช้เข้าถึงเกือบ 2 เท่าของจำนวนประชากร ก่อนถามคนไทยว่าภูมิใจหรือไม่กับการเป็นอันดับหนึ่ง ก็ต้องกลับไปทบทวนวรรณกรรมว่าสถิติแต่ละค่าเป็นตัวบ่งชี้ต่อการแผนพัฒนาประเทศในด้านใด แล้วการเข้าเฟซบุ๊คมากผิดปกติเช่นนี้จะทำให้การศึกษาของไทยพัฒนาไปกว่าเดิมหรือไม่ ถ้ามีผลเป็นปฏิกิริยาต่อกันจะเป็นแนวแปรผันหรือแนวผกผัน

เมื่อเข้าอยู่ในสนามประลองย่อมต้องเหลียวซ้ายแลขวา และย้อนดูตนเองไปพร้อมกับการชำเรืองดูคู่แข่งขัน เพราะระบบการศึกษาของเราอยู่ในอันดับเกือบบ๊วย แล้ว 5 อันดับแรกคือใคร พบว่าเบอร์หนึ่งคือ ฟินแลนด์ ตามด้วย เกาหลีใต้ ฮ่องกง ญี่ปุ่น และสิงคโปร์ หลังผลการจัดอันดับออกมาแล้วพบว่ากระทรวงศึกษาธิการขยับในหลายเรื่อง อาทิเช่น ส่งหนังสือเวียนไปยังโรงเรียนให้ยกเลิกการบังคับนักเรียนชายตัดผมเกรียน นักเรียนหญิงตัดผมบ๊อบ รวมถึงสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานสั่งลดการบ้าน และหวังลดภาระนักเรียน เพื่อจะเน้นบูรณาการ ทั้งเนื้อหา เวลาเรียน การวัดผลประเมินผล และบูรณาการกลุ่มสาระการเรียนรู้ไม่ให้ซ้ำซ้อน ซึ่งเป็นการปฏิรูปการศึกษาที่ทำให้เกิดข้อถกเถียงในช่วงเวลาที่ผ่านมาว่าถูกที่ ถูกทางแล้วใช่ไหม

รายงานของเพียร์สันในส่วนสรุปผู้บริหาร (Executive Summary) ได้เขียนคำแนะนำสำหรับผู้จัดทำนโยบายด้านการศึกษาทั้งหมด 5 ข้อ ซึ่งขอสรุปเป็นวลีสำคัญดังนี้ ต้องลงทุนอย่างต่อเนื่อง สอนเด็กให้เลิศต้องสอนโดยครูที่เป็นเลิศ มีวัฒนธรรมที่ดีที่สนับสนุนการศึกษา พ่อแม่ต้องส่งเสริม สอนเรื่องที่นำไปใช้ในอนาคตได้ ซึ่ง 5 วลีนี้เป็นข้อเสนอในภาพรวมของการปฏิรูปการศึกษา หลังจากอ่านแล้วอ่านอีกหลายรอบ ก็รู้สึกอื้ออึงในสมองซีกซ้ายเป็นคำถามว่ามีเรื่องใดแก้ไขได้เร็วที่สุดบ้าง เพราะทุกเรื่องล้วนเป็นปัญหาที่พบเห็นเป็นประจักษ์ แต่ก็ฉุกคิดขึ้นมาได้ว่าถ้าประเทศของเราไม่มีปัญหาดัง 5 ข้อนี้ เราก็คงไม่ได้ตำแหน่งเกือบบ๊วยเป็นแน่

สำหรับข้อที่ 3 ในคำแนะนำของเพียร์สันเป็นเรื่องกลาง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับคนทุกอาชีพ และทุกวัยอย่างแท้จริง เกี่ยวตรงคำว่าวัฒนธรรม ก็ต้องทำความเข้าใจกันก่อนว่า วัฒนธรรม หมายถึง วิถีการดำเนินชีวิต รูปแบบของกิจกรรม ความสัมพันธ์ทางสังคม มุมมองต่อโลก และแนวการปฏิบัติของมนุษย์ ซึ่งวัฒนธรรม ความเชื่อ และค่านิยมที่กระทบต่อคุณภาพการศึกษามีมากมาย อาทิเช่น อยากเรียนต้องได้เรียน สอบได้เป็นเรื่องตลกสอบตกเดี๋ยวก็สอบซ่อม จ่ายครบจบแน่ เชื่อในสิ่งที่เห็น เห็นแต่สิ่งที่อยากเชื่อ ชิงสุกก่อนห่าม ลูกไม้หล่นไม่ไกลต้น ตั้งใจเรียนโตขึ้นจะได้เป็นเจ้าคนนายคน รีบเรียนให้จบนะลูกจะได้มาช่วยพ่อแม่ไถนา เรียนไปก็ตกงานจะตั้งใจเรียนไปทำไม เงินซื้อได้ทุกอย่างแม้แต่ปริญญา สาธุขอให้เจ้าพ่อเจ้าแม่ช่วยลูกช้างให้สอบผ่านทีเถอะ หมอดูในทีวีทักมาว่าราศีไม่ดีสอบปลายภาคตกแน่ ปล่อยให้หนูจบเถอะไม่งั้นอาจารย์เจอดีแน่

การเปลี่ยนวัฒนธรรมด้านการศึกษาของคนไทยไม่ใช่เรื่องง่าย ดังคำว่า กรุงโรมไม่อาจสร้างเสร็จในวันเดียวฉันใด ก็ไม่อาจพัฒนาการศึกษาให้สำเร็จได้ในปีเดียวฉันนั้น เพราะการเปลี่ยนวัฒนธรรมการศึกษาต้องเริ่มต้นจากการมีต้นแบบวัฒนธรรมที่ดีที่เป็นแบบอย่างได้ ถ้ายังไม่รู้ยังไม่มีวัฒนธรรมการศึกษาที่ดีมีคุณภาพ และเป็นที่ยอมรับทั้งสังคม ประเทศก็คงค่อยเดินค่อยคลานไปในความมืดโดยมีเป้าประสงค์ที่เลือนรางรออยู่ เพราะในสังคมไทยมีผู้คนที่เดินสวนทางกับวัฒนธรรมการศึกษาคุณภาพอยู่มากมาย โดยเฉพาะภาคเอกชนที่จะได้รับผลกระทบทันที ถ้าคนในสังคมเริ่มคิดเป็น ทำเป็น แล้วรู้จักเลือกอุปโภคบริโภคที่ไม่ได้ไปอิงกับค่านิยม ความเชื่อ ตามอิทธิพลของสื่อ ตามคนหมู่มาก หรือแฟชั่นที่ฟุ้งเฟ้อ

! http://blog.nation.ac.th/?p=2563

news paper
news paper

http://www.facebook.com/photo.php?fbid=477721182295748&set=a.160162067384996.39239.100001736120394

แหล่งข้อมูล
http://thelearningcurve.pearson.com/
http://www.thairath.co.th/content/edu/325982
! http://www.khaosod.co.th/view_newsonline.php?newsid=TVRNMU56ZzJPRFl5T0E9PQ==
http://www.voathai.com/content/best-education-systems-ss/1557918.html
http://www.thaiall.com/blogacla/admin/2176/
http://www.ipsr.mahidol.ac.th/ipsr-th/population_thai.html
http://www.socialbakers.com/facebook-statistics/cities/