theory

ทฤษฎีสมองสามส่วน ถูกใช้อธิบายพฤติกรรม และความคาดหวังที่แตกต่างกันได้

เห็นพฤติกรรมของมนุษย์ และการวิพากษ์วิจารณ์แล้ว
ทำให้นึกถึงว่า มนุษย์ใช้สมองแต่ละส่วนไม่เหมือนกัน
บางคนก็ใช้ก้านสมองคิด แต่บางคนแสดงความคาดหวังด้วยสมองส่วนหน้า
ย่อมคิดเห็นแตกต่างกัน .. อย่างแน่นอน

สมองสามส่วน (Triune brain) คือ โมเดลวิวัฒนาการของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม และพฤติกรรม นำเสนอโดย พอล แมคลีน (Dr.Paul MacLean) นายแพทย์และนักวิชาการด้านจิตเวช ใช้อธิบายวิวัฒนาการด้านการเจริญเติบโตของมนุษย์ และพัฒนาการที่เป็นไปตามวัย ว่าเด็กก็จะใช้สมองส่วนในตามสัญชาตญาณ โตขึ้นหน่อยก็ใช้สองส่วนกลางมากขึ้น เป็นผู้ใหญ่ก็จะใช้สมองส่วนหน้าที่คิด วิเคราะห์ แยกแยะมากขึ้น

http://en.wikipedia.org/wiki/Triune_brain

เครือข่ายสมอง (Brain Networks) แบ่งหน้าที่ได้ 3 ส่วน
1.  เรปทิเลียนเบรน (Reptilian Brain) : Instinctive Mind
เป็นส่วนสมองของสัตว์เลื้อยคลาน
Non-concious, geared for survival and regulating major body processes
พฤติกรรมที่ไม่ใช้สติ ไม่มีความรู้ตัว ทำโดยสัญชาตญาณ มุ่งเอาตัวรอด ควบคุมการทำงานของร่างกาย เช่น ดื่มน้ำเพราะกระหาย
2. ลิมบิกเบรน (Limbic Brain) หรือ โอลด์แมมมาเลียนเบรน (Old Mammalian brain) : Emotional Mind
เป็นส่วนสมองของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมยุคเก่า
Emotional command centre, running all basic social interactions, part conscious
ศูนย์ความคุมอารมณ์ มีส่วนร่วมกับสังคม เป็นส่วนที่ใช้สติ มีความรู้ตัว
3. คอร์เทกซ์ใหม่ (Neocortex Brain) : Analytical Mind
เป็นส่วนสมองของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม
Higher functions, analytical thinking, decision making (especially at the front)
ทำหน้าที่สูงขึ้น คิดวิเคราะห์ มีกระบวนการตัดสินใจ เป็นสมองส่วนหน้า
โดย  เจมส์ พาร์สันส์ (James Parsons)

! http://www.iedp.com/Blog/Brain_Networks_Effective_Leadership

ทฤษฎีสมองสามส่วน (Triune brain theory)
It is for example meaningful for many people to distinguish between “head, heart and hands” or “thinking, feeling and gut instinct”
1. The Brain Stem (Reptilian Brain)
The oldest and most critical part of the brain for survival is the basal ganglia – sometimes called the reptilian brain as birds and other non mammals also primarily driven by this structure.
2. The Limbic System( Midbrain)
We share this part of the brain with cats and dogs which is why they make such good pets.
3. The New Brain
The neocortex, found only in certain “higher” mammals is associated with functions such as language, abstraction, planning and logical thought.
โดย มาร์ค เวลช์ (Mark Walsh, lead trainer at Integration Training)

! http://integrationtraining.co.uk/blog/2010/10/brains-of-training-triune-brain-theory.html

แนวคิด ทฤษฎี และการออกแบบองค์การ (Organization)

องค์การ ถือเป็นสิ่งที่มีความเกี่ยวข้องและมีความสำคัญต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ทุกคน ไม่ว่าจะในสถานะของสมาชิกในองค์การหนึ่ง ๆ หรือในสถานะผู้ซื้อสินค้าหรือรับบริการจากองค์การใดๆ ในสังคม

five S model
five S model
สวรัย นัยนานนท์
สวรัย นัยนานนท์

การศึกษาถึงแนวคิด ทฤษฎี และการออกแบบองค์การ จึงเป็นสิ่งสำคัญสำหรับบุคคลทุกคน โดยเฉพาะอย่างยิ่งบุคคลในระดับบริหาร ซึ่งหากมีความรู้ ความเข้าใจถึงแนวคิดและทฤษฎีองค์การ เชื่อว่าจะสามารถบริหารและจัดการให้องค์การ มีผลการดำเนินงานตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดได้อย่างมีประสิทธิภาพ

แนวคิดและทฤษฎีองค์การ มีผู้ศึกษาและให้นิยามขององค์การไว้อย่างหลากหลาย อาทิเช่น “องค์การ คือ การรวมตัวของคนตั้งแต่สองคนขึ้นไป เพื่อดำเนินกิจกรรมใดๆ ให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้” (ดร.ทิพวรรณ หล่อสุวรรณรัตน์) หรือ “สิ่งที่มีอยู่ในสังคม มีการจัดตั้งขึ้นมาอย่างมีเป้าหมาย มีการออกแบบระบบโครงสร้างและระบบกิจกรรมที่มีการประสานงานกัน และมีการเชื่อมโยงสัมพันธ์กับสภาพแวดล้อมภายนอก” (Richard L. Daft) เป็นต้น

ในส่วนของทฤษฎีองค์การ “เป็นหลักการศึกษาถึงโครงสร้าง และการออกแบบองค์การ โดยอธิบายว่าองค์การถูกจัดตั้งขึ้นมาได้อย่างไร และให้ข้อเสนอแนะการสร้างองค์การในลักษณะใด ที่จะก่อให้เกิดประสิทธิผลแก่องค์การเอง” (นิตยา เงินประเสริฐศรี) และเพื่อประโยชน์ต่อการศึกษาทฤษฎีองค์การ จึงจัดแบ่งทฤษฎีองค์การออกเป็น 3 สำนัก คือ

1. สำนักทฤษฎีองค์การสมัยดั้งเดิม จะมุ่งเน้นโครงสร้างองค์การที่เป็นทางการ และการบรรลุวัตถุประสงค์เฉพาะที่กำหนดไว้เป็นหลัก

2. สำนักทฤษฎีองค์การเน้นมนุษยสัมพันธ์ จะมีลักษณะตรงข้ามกับสำนักทฤษฎีองค์การสมัยดั้งเดิม กล่าวคือ มีโครงสร้างองค์การอย่างไม่เป็นทางการ และให้ความสำคัญกับความรู้สึกของคนมากขึ้น

3. สำนักระบบและสถานการณ์ จะให้ความสำคัญกับการพิจารณาถึงลักษณะของระบบต่างๆ ภายในองค์การที่มีความสัมพันธ์กัน และสอดคล้องกับสภาพแวดล้อมขององค์การนั้นๆ

จากทฤษฎีองค์การของแต่ละสำนักตามข้างต้น จะพบว่า ในการศึกษาทฤษฎีองค์การให้เกิดความเข้าใจขึ้นได้นั้น จำเป็นจะต้องทำความเข้าใจหรือศึกษาพฤติกรรมองค์การประกอบด้วย เพราะการบรรลุผลสำเร็จขององค์การได้หรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับคนหรือสมาชิกภายในองค์การนั้นๆ เป็นสำคัญ

การออกแบบองค์การ โดยทั่วไปองค์การจะประกอบด้วยองค์ประกอบ 5 ส่วน คือ ฝ่ายบริหารระดับสูง ฝ่ายบริหารระดับกลาง กลุ่มผู้ปฏิบัติการ ฝ่ายสนับสนุนทางการบริหาร และฝ่ายสนับสนุนทางเทคนิค ซึ่งระดับของบทบาทหน้าที่และความสำคัญขององค์ประกอบใดๆ ข้างต้น จะขึ้นอยู่กับรูปแบบขององค์การ ที่มี 5 รูปแบบ (มินซ์เบอร์ก) คือ องค์การแบบโครงสร้างอย่างง่าย องค์การแบบเครื่องจักรกล องค์การทางวิชาชีพ องค์การแบบโครงสร้างแยกหน่วยงาน และองค์การแบบเฉพาะกิจ

ทั้งนี้ มีแนวคิดเกี่ยวกับวิธีการออกแบบองค์การ โดยใช้ยุทธศาสตร์ 3Rs (ฐิติกร พูลภัทรชีวิน) คือ การปรับความคิดความเข้าใจ (Rethinking) การปรับกระบวนการทำงาน (Reengineering) และ การปรับโครงสร้าง (Restructuring) ซึ่งเป็นการพัฒนาองค์การเพื่อเพิ่มประสิทธิผลในการปฏิบัติงาน

นอกจากนี้ ในปัจจุบันผู้ออกแบบองค์การควรตระหนักถึงลักษณะขององค์การสมัยใหม่ หรือ 5’s Model (รศ.ดร.เสน่ห์ จุ้ยโต) คือ องค์การจิ๋วแต่แจ๋วคุณภาพ (Small) องค์การฉลาดทรงภูมิปัญญา (Smart) องค์การยิ้มแย้มเปี่ยมน้ำใจ (Smile) องค์การร่วมมือไร้ความขัดแย้ง (Smooth) และ องค์การทำเรื่องยากให้ง่ายและเร็ว (Simplify) ซึ่งจะต้องอาศัยความรู้ความสามารถของผู้บริหาร (Competency) การมีวินัยและความรับผิดชอบต่อตนเอง ของพนักงาน (Self-Control) การมีกระบวนการที่ดีมีประสิทธิภาพ มีความน่าเชื่อถือ การมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ซึ่งลักษณะขององค์การตาม 5’s Model นี้ จะสามารถเพิ่มขีดความสามารถให้แก่องค์การ สู่ความเป็นเลิศได้

โดย สวรัย นัยนานนท์  ในกรุงเทพธุรกิจ

! http://blog.nation.ac.th/?p=2576